ReadyPlanet.com


การทำสัญญาส่วนบุคคลในครอบครัว


 

สวัสดีค่ะ คุณทนาย

ดิฉันมีเรื่องจะปรึกษาเกี่ยวกับบ้านพร้อมที่ดินค่ะ เรื่องคือว่า    สามีของดิฉันได้ทำการซื้อบ้านพร้อมที่ดินในจังหวัดภูเก็ตและในตอนนั้นเขาได้ทำการซื้อในนามเพื่อนของเขา ในปี2550 เขาได้ทำการนำบ้านไปจำนองกับธนาคารกรุงเทพ โดยมีสามีของดิฉันเป็นพยานด้วย หลังจากนั้นสามีของดิฉันเป็นผู้ผ่อนชำระบ้านและที่ดินดังกล่าวนั้น ในปี 2553 ทางดิฉันและสามีจะนำเงินไปชำระทางแบงค์ให้หมดโดยจะต้องให้ตัวเพื่อนเขาเป็นคนชำระเงินที่แบงค์นี้ใช่มั้ยค่ะ ? (ดิฉันไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ) หลังจากนั่นดิฉันและเพื่อนเราจะทำการโอนบ้านพร้อมที่ดินให้มาเป็นในนามของดิฉัน ไม่ทราบว่าเราจะทำการโอนได้ในวันทำการ วันนั้นได้เลยหรือเปล่า ค่ะ ?

ส่วนเรื่องที่อยากจะทราบมาก ก็คือ สามีของดิฉันอยากจะทำสัญญาสักฉบับสำหรับปกป้องสิทธิ์ของเขา แต่ดิฉันไม่รู้ว่าเราจะทำสัญญาใดกันดี และเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับเขาและดิฉันด้วยค่ะ

ต่างชาติไม่สามารถที่ดินในเมืองไทยสามีดิฉันรู้ดี  ดังนั้นเขาจึงต้องการทำสัญญาปกป้องสิทธิ์ของเขา และทางดิฉันก็อยากจะปกป้องสิทธิ์ของดิฉันเหมือน  ดิฉันคิดว่าดิฉันคงจะไม่โกงเขาหรอกว่าแต่ถ้าเขามีผู้หญิงคนอื่นล่ะค่ะ ดิฉันจะทำอย่างไร ดี ? เพื่อเป็นการปกปั้องสิทธิ์ของกันและกัน

กรุณาช่วยแนะนำด้วยนะค่ะ

ขอขอบคุณมากค่ะ

(ไม่ทราบว่าเมืองไทยมีทนายความพูดภาษาสวีเดนมีมั้ยค่ะ )

ขอเบอร์โทรศัพท์ด้วยค่ะ

 



ผู้ตั้งกระทู้ Nadear :: วันที่ลงประกาศ 2009-11-17 04:13:32


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2007212)

1. สำหรับเรื่องโอนบ้านในวันเดียวกันสามารถทำได้ครับ แจ้งทางธนาคารล่วงหน้าเพื่อความสะดวกในการจัดเตรียมเอกสารครับ

2. การทำสัญญาสามารถทำได้ครับ อาจจะเรียกว่าการถือครองกรรมสิทธิ์แทนก็ได้ครับ แต่การถือครองกรรมสิทธิ์แทนบุคคลต่างด้าว มีความผิดตามกฎหมาย(มีโทษจำคุกด้วย)  ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่บอกใครก็ไม่มีใครรู้ เว้นแต่หากทางเจ้าหน้าที่ที่ดินทราบว่าคุณมีสามีต่างด้าว เขาก็จะต้องให้สามีคุณทำหนังสือรับรองยืนยันว่า เงินที่ซื้อที่ดินพร้อมบ้านนี้เป็นเงินส่วนต้วของคุณเพียงคนเดียวเท่านั้น ซึ่งในกรณีนี้จะทำให้สัญญาข้างต้นสิ้นผลบังคับได้เพราะมีหนังสือ 2 ฉบับที่มีเจตนาขัดแย้งกัน

3. เมื่อกฎหมายไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวถือครองที่ดินในประเทศไทย การปกป้องสิทธิ์ดังกล่าวก็เป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมาย เราเป็นคนไทย ลองคิดดูเล่น ๆ ว่า หากคนต่างด้าวทุกคนหลีกเลี่ยงกฎหมายโดยวิธีใดก็ตาม ซื้อที่ดินในประเทศไทยทั้งประเทศ ต่อไปลูกหลานเราในอนาคตจะต้องเช่าดินคนต่างด้าวเป็นที่อยู่อาศัยก็เป็นได้ (คิดเล่น ๆ นะครับ)

4. ทนายความพูดภาษาสวีเดนคงมีมาก แต่ผมไม่รู้จักใครเป็นการส่วนตัว จริง ๆ หาล่ามช่วยก็น่าจะได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-11-17 05:28:53


ความคิดเห็นที่ 2 (2007479)

สวัสดีดีค่ะ (อีกรอบ) ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำตอบ ... แต่ดิฉันมีคำถามเพิ่มค่ะ

ตอนที่เราจะนำเงินไปชำระกับทางแบงค์ต้องให้คนจำนองบ้านเป็นคนไปชำระที่แบงค์ใช่มั้ยค่ะ ?  ส่วนในกรณีของสามีดิฉัน

เขาคิดว่าจะให้ดิฉันทำสัญญากู้เงินกับเขาไว้โดยไม่มีกำหนดระยะเวลา..เขากลัวดิฉันจะทิ้งเขาไปเมื่อดิฉันได้บ้านและที่ดินแล้ว....มันจะมีผลอะไรกับตัวดิฉันหรึอเปล่าในอนาคต ? คุณทนายคิดว่าอย่างไรค่ะ...... ดิฉันจะทำสัญญานั้นดีหรึอเปล่า ค่ะ .. ดิฉันไม่อยากมีข้อผูกมัดอะไรมากมาย .... แต่ดิฉันคิดว่าเขาคงอยากจะทำเพื่อความสบายใจของเขาเอง

แต่เราจะต้องปรึกษาทนายเรื่องนี้อย่างละเอียด แต่เขารู้ดีว่าเขาไม่มีสิทธิ์ซื้อที่ดินของบ้านเรา 

ดิฉันจะทำอย่างไรดีค่ะ ?

ขอขอบคุณอีกครั่งค่ะ

นาเดีย (สวีเดน)

ผู้แสดงความคิดเห็น นาเดีย วันที่ตอบ 2009-11-17 20:31:57


ความคิดเห็นที่ 3 (2007483)

หวัดดีค่ะ คุณลีนนท์

คุณลีพูดถูกค่ะ แต่สำหรับในกรณีนี้ดิฉันกับเพื่อนของเขาเราจะทำการโอนที่ดินพร้อมบ้าน กัน เพียงแค่ 2 คน ส่วนตัวเขาเองคงไม่มีสิทธิ์ทำอะไรได้ทั้งนั้น แต่พอดีว่าดิฉันได้อ่านเจอ สัญญาค้ำประกันเงินกู้ กับ สัญญาเช่า .....คุณลีนนท์ค่ะ ถ้าดิฉันจะแนะนำให้เขาทำสัญญาเช่ากับดิฉันไว้ เป็นเวลา 30 ปี ได้รึเปล่าค่ะ ? ดิฉันคิดเป็นวิธีที่ดีที่สุด สำหรับเขาและดีสำหรับด้วยดิฉันด้วย ....

(เพื่อนดิฉันได้ทำกับสามีชาวเยอรมัน เหมือนกันค่ะ เขาทำสัญญาเช่า ไว้ 30 ปี ค่ะ)

ขอขอบคุณค่ะ

นาเดีย

ผู้แสดงความคิดเห็น นาเดีย วันที่ตอบ 2009-11-17 21:00:09


ความคิดเห็นที่ 4 (2007548)

การทำสัญญาเช่าแบบระยะยาวเป็นวิธีที่ดีที่สุด และหากครบกำหนด 30 ปี ก็อาจต่อสัญญาต่อไปอีกได้ แต่ต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือต้องไปทำที่สำนักงานที่ดินครับ

การไถ่ถอนจำนอง โดยปกติจะดำเนินการที่สำนักงานที่ดิน แต่เราประสานงานกับธนาคารก่อน นัดหมายว่าจะไปทำการจะทะเบียนไถ่ถอนและทำการโอนจากชื่อเพื่อนมาเป็นชื่อของคุณในวันเดียวกันเลย

เราต้องเตรียมแคชเชียร์เช็คเท่าจำนวนเงินที่จะไถ่ถอนจำนองพอจดทะเบียนเสร็จ เราได้โฉนดชื่อเราก็จ่ายเงินให้ธนาคารแบบยื่นหมูยื่นแมวครับ

หากทำสัญญาเช่าแล้วก็คงไม่ต้องทำสัญญากู้เงินต่อกันอีกเพราะอาจทำให้คุณต้องผูกพันจริง ๆ คนเรานั้นยามที่เข้าใจกันอะไรก็ได้ทั้งนั้น แต่เวลาไม่พอใจกัน สัญญากู้นั้นอาจกลับมาร้ายคุณได้ เพราะศาล(กฎหมาย) เขาต้องว่ากันไปตามพยานหลักฐานครับ

ส่วนที่คุณพูดถึงสัญญาค้ำประกันนั้นไม่เข้าใจครับ แต่สัญญาเช่าสามารถทำได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-11-18 05:29:01



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล