ReadyPlanet.com


มาตรา 1364


ถ้าโจทก์และจำเลยตกลงกันไม่ได้ใน ปพพม 1364 โจทก์จะต้องทำอย่างไรต่อไป??

ถ้าศาลสั่งให้โจทก์และจำเลยปฏิบัติ ตาม ปพพม 1364 โจทก์จะต้องปฏิบัติอย่างไร??

ขอคุณล่วงหน้าคร๊าบ



ผู้ตั้งกระทู้ coconut747 (suphansa747-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-11-21 13:46:57


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2008857)

คำถามของคุณถามมากว้างเกินไป หากเป็นนักศึกษาแนะนำให้หาคำพิพากษาศาลฎีกามาอ่านเฉพาะเรื่องได้  ขอให้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่คัดลอกมานี้แล้วคงจะได้คำตอบตามคำถามบ้างนะครับ

 

คำพิพากษาที่  3819/2547


การแบ่งสินสมรส

 

โจทก์กับจำเลย (โจทก์เป็นภริยา จำเลยเป็นสามี)  กู้ยืมเงินจากธนาคารมาสร้างตึกแถวให้เช่า 2 หลัง จำนวนเงิน 1,700,000 บาท ผ่อนชำระหนี้เงินกู้แล้วยังคงเหลือหนี้ร่วมกัน 1,500,000 บาท ตึกแถวให้เช่า 2 หลังปลูกสร้างในที่ดินของสามี ที่มีบ้านของสามีอันเป็นสินส่วนตัวอยู่ 1 หลัง ภริยาฟ้องขอหย่าโดยให้ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งแปลงออกขายทอดตลาดนำสินสมรสมาแบ่งกัน ศาลฎีกาเห็นว่าการนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดทั้งแปลงออกขายทอดตลาดย่อมไม่ถูกต้องเพราะทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นสินส่วนตัวของสามี แต่หากจะขายเฉพาะตึกแถว 2 หลัง ก็คงไม่มีใครซื้อเพราะผู้ซื้อไม่ได้ที่ดินไปด้วย ดังนั้นจึงให้นำค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพราะปลูกตึกแถว 2 หลัง มาแบ่งให้ภริยาตามส่วน โดยคำนวนจากเงินกู้ยืม  1,700,000 บาท ที่นำมาก่อสร้างตึกแถว 2 หลัง เมื่อยังมีหนี้กู้ยืมอีก 1,500,000 บาท ส่วนที่เหลือ 200,000 บาท จึงเป็นสินสมรสที่ควรนำมาแบ่งกันคนละกึ่งหนึ่ง


ป.พ.พ. มาตรา 1364 การแบ่งทรัพย์สินพึงกระทำโดยแบ่งทรัพย์สินนั้นเอง ระหว่างเจ้าของรวม หรือโดยขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน


ถ้าเจ้าของรวมไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์สินอย่างไรไซร้ เมื่อเจ้าของ รวมคนหนึ่งคนใดขอ ศาลอาจสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่ง ถ้าส่วนที่แบ่งให้ ไม่เท่ากันไซร้ จะสั่งให้ทดแทนกันเป็นเงินก็ได้ ถ้าการแบ่งเช่นว่านี้ไม่อาจทำ ได้หรือจะเสียหายมากนักก็ดี ศาลจะสั่งให้ขายโดยประมูลราคากันระหว่าง เจ้าของรวมหรือขายทอดตลาดก็ได้

 

 

 

โจทก์ฟ้องโดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาขอให้พิพากษาให้โจทก์หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับจำเลยและแบ่งสินสมรสให้โจทก์กึ่งหนึ่งคิดเป็นเงิน 5,335,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสาม ในอัตราเดือนละ 6,000 บาท นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าบุตรทั้งสามจะมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ และให้โจทก์มีอำนาจปกครองบุตรทั้งสามแต่เพียงผู้เดียว

          จำเลยให้การ ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา ให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้ง 3 คนแต่เพียงผู้เดียว โดยให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสาม เดือนละ 6,000 บาท (ที่ถูกแต่ละคน เดือนละ 2,000 บาท) นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าบุตรผู้เยาว์ทั้งสามจะอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ (ที่ถูกแต่ละคนจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ) ให้ขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 5104 ตำบลลาดกระบัง (คลองประเวศบุรีรมย์) อำเภอลาดกระบัง (แสนแสบ) จังหวัดพระนคร เนื้อที่ 3 งาน 43 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้าง แล้วนำเงินมาแบ่งให้แก่โจทก์ 1 ส่วน ส่วนจำเลยได้รับ 3 ส่วน ให้โจทก์และจำเลยชดใช้หนี้เงินกู้ยืมแก่ธนาคารคนละกึ่งหนึ่ง สำหรับรถยนต์ยี่ห้อมิตซูบิชิ หมายเลขทะเบียน 9 ษ-1960 กรุงเทพมหานคร ให้โจทก์และจำเลยร่วมกันผ่อนชำระราคาจนครบถ้วนแล้วจดทะเบียนโอนเป็นชื่อโจทก์และจำเลย จากนั้นให้ดำเนินการขายทอดตลาดรถยนต์คันดังกล่าวเพื่อนำเงินมาแบ่งแก่โจทก์และจำเลยคนละกึ่งหนึ่ง คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก สำหรับค่าฤชาธรรมเนียมศาลที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถานั้น ให้จำเลยชำระต่อศาลในนามของโจทก์

          จำเลยอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสาม โดยจำเลยสามารถไปเยี่ยมเยียนบุตรผู้เยาว์ทั้งสาม ณ ภูมิลำเนาของโจทก์และบุตรผู้เยาว์ทั้งสามได้สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ให้จำเลยจ่ายเงินสินสมรสให้แก่โจทก์จำนวน 100,000 บาท โดยโจทก์ไม่ต้องร่วมชำระหนี้เงินกู้ยืมแก่ธนาคารผู้ให้กู้ ยกคำขอที่ให้ขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแล้วนำเงินมาแบ่งให้โจทก์กับจำเลย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

          โจทก์ฎีกา

          ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นฟังได้ว่า โจทก์และจำเลยเป็นสามีภริยากันโดยจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายเมื่อปี 2533 และมีบุตรด้วยกัน 3 คน หลังโจทก์ฟ้องหย่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้หย่า จำเลยมิได้อุทธรณ์ในประการนี้ ประเด็นเรื่องหย่าเป็นอันถึงที่สุด คงมีปัญหาเฉพาะเรื่องการแบ่งสินสมรสตามฎีกาของโจทก์เพียงว่าสมควรให้ขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 5104 ตำบลลาดกระบัง (คลองประเวศบุรีรมย์) อำเภอลาดกระบัง (แสนแสบ) กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 3 งาน 43 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้าง แล้วนำเงินมาแบ่งให้โจทก์ 1 ใน 4 ส่วนหรือไม่ ปัญหานี้ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 5104 ดังกล่าว รวมทั้งบ้านเลขที่ 169 ซึ่งปลูกสร้างอยู่ในที่ดินเป็นสินส่วนตัวของจำเลย ยกเว้นตึกแถว 2 ชั้น จำนวน 2 หลัง ซึ่งปลูกเป็นห้องเช่ารวม 16 ห้อง เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลย เห็นว่า ทรัพย์สินส่วนที่เป็นสินสมรสอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมมีเพียงตึกแถว 2 หลัง การจะให้ขายทอดตลาดที่ดินทั้งแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดซึ่งมีบ้านพักอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยอยู่อีก 1 หลัง ย่อมเป็นการไม่ชอบ เพราะทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นสินส่วนตัวของจำเลยมิใช่กรรมสิทธิ์รวม แต่หากจะให้ขายทอดตลาดเฉพาะตึกแถว 2 หลังที่เป็นสินสมรสแล้วนำเงินมาแบ่งกันก็คาดหมายได้ว่าจะไม่มีผู้ซื้อหรือถึงขายได้ก็จะได้ราคาที่ไม่เหมาะสม เพราะผู้ซื้อไม่มีสิทธิในที่ดิน ศาลฎีกาย่อมเห็นควรให้แบ่งทรัพย์โดยให้ตึกแถว 2 หลังที่เป็นสินสมรสตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน และนำค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นถือเป็นสินสมรสอันจะต้องนำมาแบ่งให้แก่โจทก์ตามส่วน ทั้งนี้ ตามนัยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 ประกอบมาตรา 1364 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่คู่ความนำสืบว่า โจทก์จำเลยร่วมกันกู้ยืมเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มาเพื่อปลูกสร้างตึกแถว 2 หลังดังกล่าวเป็นเงิน 1,700,000 บาท ดังนั้น ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพราะการสร้างห้องเช่าจึงเท่ากับ 1,700,000 บาท นอกจากนี้ได้ความจากทางนำสืบของจำเลยซึ่งโจทก์มิได้โต้แย้งว่ายังมีหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่ธนาคารอยู่จำนวน 1,500,000 บาท จึงต้องนำเงิน 1,500,000 บาท มาหักออกจากราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นเสียก่อน เหลือเท่าใด จึงเป็นสินสมรสที่จะต้องแบ่งกันระหว่างโจทก์และจำเลยคนละครึ่ง ซึ่งเท่ากับคนละ 100,000 บาท ...ที่ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินสินสมรสให้แก่โจทก์จำนวน 100,000 บาท โดยโจทก์ไม่ต้องร่วมกันชำระหนี้เงินกู้ยืมแก่ธนาคารผู้ให้กู้ ยกคำขอที่ให้ขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแล้วนำเงินมาแบ่งให้โจทก์และจำเลยนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น”

          พิพากษายืน


 

 

( เกรียงชัย จึงจตุรพิธ - อมร วีรวงศ์ - วสันต์ ตรีสุวรรณ )

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-11-22 09:49:40


ความคิดเห็นที่ 2 (2009006)

//คำถามแรกถ้าโจทก์ตกลงกันไม่ได้ ก็ในเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายนำเสนอคดีต่อศาล และจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้แล้ว (หรือไม่ก็ตาม) คุณถามว่าถ้าตกลงกันไม่ได้ ทั้งสองฝ่ายต่างก็ต้องนำสืบพิสูจน์ให้ศาลเป็นเพื่อให้เป็นไปตามที่ตนได้กล่าวอ้างไว้ เช่นส่วนของคุณเท่านี้ ส่วนของฉันเท่านั้นเป็นต้น ฯลฯ

//หากว่าศาลจะสั่งตาม มาตรา 1364 ศาลก็จะสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามวรรคสอง ศาลท่านจะไม่สั่งให้ปฎิบัติตามทั้งมาตราหรอกครับ เพราะการสั่งทั้งมาตราก็เท่ากับว่าไม่ได้ช่วยตัดสินเพื่อเป็นการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมอย่างใดเลย  และเมื่อศาลมีคำสั่งแล้วถ้าเห็นด้วยก็ดำเนินการตามที่ศาลสั่งทั้งสองฝ่ายหากไม่เห็นด้วยก็ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือน ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น รอยเปลื้อน วันที่ตอบ 2009-11-22 20:51:19



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล