ReadyPlanet.com


ซื้อที่ นส.3 ไว้ 20ปี มีคนเข้ามาทำกินแล้ว ทำไงดี


ผมซื้อที่ไว้ เป็น นส.3 ในเอกสารระบุ 10 ไร่  แต่จริง ๆ มีทั้งหมดประมาณ 20 ไร่ ผมเสียภาษีทุกปี ตามที่เอกสารระบุ แต่ไม่ได้ไปดูที่เลย เมื่อต้นปี ผมเข้าไป ปรากฏว่า มีคนเข้ามาทำกิน 2 เจ้าในที่ผม คาดว่าทำกินมาหลายปี เพราะต้นไม้โตหมดแล้ว ผมจะทำอย่างไรดีครับ ชื้แนะด้วยขอบคุณครับ



ผู้ตั้งกระทู้ สมพงษ์ :: วันที่ลงประกาศ 2009-12-15 19:18:56


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2016246)

ฟ้องขับไล่เลยครับ ไม่มีทางอื่นครับ

ถ้าไม่มีเวลาไปดูแลก็แบ่งปันให้กับผู้ยากจนบ้างก็เป็นกุศลนะครับ เพราะที่ดิน น.ส. ๓ ถือเป็นที่ดินมือเปล่า มีเพียงสิทธิครอบครอง หากไม่เรียกเอาคืนภายใน ๑ ปี ก็คงเสียเปรียบในข้อกฎหมายครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-12-15 20:06:38


ความคิดเห็นที่ 2 (2016357)

ฟ้องคดีเรียกคืนสิทธิครอบครอง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของรวมที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) เลขที่ 6/2498 หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านม้า อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำเลยที่ 1 เป็นมารดาของจำเลยที่ 2 และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 8896 ตำบลบ้านม้า อำเภอบางไทร (เสนาน้อย) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันตก เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2542 จำเลยทั้งสองได้ล้อมรั้วไม้ไผ่ในที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินโฉนดเลขที่ 8896 โจทก์แจ้งให้จำเลยทั้งสองระงับการกระทำดังกล่าวแต่จำเลยทั้งสองล้อมรั้วจนแล้วเสร็จ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนรั้วออกไปจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองหรือไม่ เห็นว่า การที่จำเลยทั้งสองได้ล้อมรั้วไม้ไผ่ที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นของโจทก์ และเมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยทั้งสองระงับการกระทำดังกล่าวแต่จำเลยทั้งสองยังคงทำการล้อมรั้วจนแล้วเสร็จ กรณีย่อมเห็นได้ว่าจำเลยทั้งสองได้แสดงเจตนาแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทนับตั้งแต่วันที่มีการล้อมรั้วไม้ไผ่ คือ ในวันที่ 8 ธันวาคม 2542 ที่โจทก์ฎีกาว่าหลังเกิดเหตุผู้ใหญ่บ้านได้เรียกโจทก์และจำเลยทั้งสองมาไกล่เกลี่ยเรื่องที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองตกลงกับโจทก์ว่าหามีการรังวัดสอบเขตที่ดินแล้วปรากฏว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยทั้งสองจะคืนให้โจทก์ และต่อมาทั้งสองฝ่ายยังได้ทำบันทึกต่อพนักงานสอบสวนด้วยว่า หากผลการรังวัดสอบเขตที่ดินได้ความว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ใดก็จะดำเนินการฟ้องคดีต่อไป แสดงว่าจำเลยทั้งสองยังเคารพสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์หาใช่เป็นการแย่งการครอบครองไม่และกรณีต้องนำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 (ที่ถูก มาตรา 193/14) ประกอบมาตรา 1386 โจทก์จึงไม่ต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2542 นั้น เห็นว่า การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง นั้น เป็นบทบังคับเรื่องกำหนดเวลาสำหรับฟ้อง ไม่ใช่เรื่องอายุความ จึงไม่อาจนำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทในวันที่ 15 ตุลาคม 2544 ซึ่งเกิน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง โจทก์ย่อมขาดสิทธิฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนรั้วออกไปจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย”

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2009-12-16 05:52:02


ความคิดเห็นที่ 3 (2016468)

หมายความว่าผมฟ้องไปก็แพ้ จะต้องแบ่งที่ส่วนเกินที่เขามาทำกินไปให้เขาใช่หรือไม่

ผู้แสดงความคิดเห็น สมพงษ์ วันที่ตอบ 2009-12-16 13:49:23


ความคิดเห็นที่ 4 (2016516)

ผลของคดีต้องให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดครับ ตามธรรมชาติเมื่อฟ้องก็ต้องหวังผลครับ อยู่ที่ข้อเท็จจริงเป็นมาอย่างไร เรามีข้ออ้างอะไรหรือไม่ เจรจากับเขาแล้วหรือยัง แล้วเขาอ้างว่าอะไร

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-12-16 15:13:55



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล