ReadyPlanet.com


กลฉ้อฉล และ การฉ้อฉล ต่างกันไหม๊คะ


อยากจะทราบว่า กลฉ้อฉล และ การฉ้อฉล ต่างกันไหม๊คะ แล้วแตกต่างกันยังงัย คือ งง อ่ะค่ะ

ขอบคุณนะคะ



ผู้ตั้งกระทู้ Pitchy :: วันที่ลงประกาศ 2009-12-14 23:23:42


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2016141)

ขอแสดงความเห็นสั้นๆครับ

1. กลฉ้อฉล เป็นการหลอกให้ทำนิติกรรม คู่สัญญาหลอกกันเอง

2. การฉ้อฉลเจ้าหนี้ เป็นการทำนิติกรรมแล้วทำให้เจ้าหนี้เสียเปลียบ ดังนั้นเจ้าหนี้ไม่ใช่คู่สัญญา แต่ได้รับผลจากการฉ้อฉลของคู่สัญญา

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-12-15 14:28:32


ความคิดเห็นที่ 2 (2016828)

ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5386/2551

ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 352/2542 ให้จำเลยที่ 1 ในคดีนี้กับพวกชำระหนี้ให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ในคดีนี้กับพวกไม่ชำระ โจทก์จึงขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดี ระหว่างการบังคับคดีจำเลยที่ 1 ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ในคดีนี้กับพวกได้ชำระหนี้ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 352/2542 ของศาลชั้นต้นจนเป็นที่พอใจแก่โจทก์แล้ว โจทก์ก็ย่อมไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่ถูกจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิอีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 และคดีนี้โจทก์ฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้แม้จำเลยที่ 2 ฎีกาแต่เพียงผู้เดียว ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ไม่ได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247

โจทก์ฟ้องว่า ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 28577 ตำบลวังตะกอ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง

          จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ

          จำเลยที่ 2 ให้การขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท กับให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

          จำเลยที่ 2 อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 1,500 บาท แทนโจทก์

          จำเลยที่ 2 ฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 352/2542 ของศาลชั้นต้น ซึ่งโจทก์ในคดีนี้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ในคดีนี้กับพวกเป็นจำเลย ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมให้จำเลยที่ 1 ในคดีนี้กับพวกชำระหนี้ให้แก่โจทก์จำนวน 9,250,987.32 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ย แต่จำเลยที่ 1 ในคดีนี้กับพวกไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดี ระหว่างการบังคับคดีจำเลยที่ 1 ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์ โจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาท ต่อมาจำเลยที่ 1 ในคดีนี้กับพวกได้เจรจากับโจทก์เกี่ยวกับหนี้สินที่ค้างชำระอยู่ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 352/2542 ซึ่งทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้ และจำเลยที่ 1 ในคดีนี้กับพวกได้ชำระหนี้จำนวน 3,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ตามข้อตกลงจนเป็นที่พอใจแก่โจทก์ และโจทก์ก็ไม่ติดใจเรียกร้องหนี้ใดๆ จากจำเลยที่ 1 ในคดีนี้กับพวกอีก ปรากฏตามสำเนารายงานกระบวนพิจารณาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 352/2542 ของศาลชั้นต้น ซึ่งจำเลยที่ 2 แนบมาท้ายคำแถลงการณ์ในชั้นอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 16 กันยายน 2547 เห็นว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ในคดีนี้กับพวกได้ชำระหนี้ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 352/2542 ของศาลชั้นต้นจนเป็นที่พอใจแก่โจทก์แล้ว โจทก์ก็ย่อมไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่ถูกจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิอีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษามานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยที่ 2 ฟังขึ้น กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ในข้ออื่นอีกต่อไป และเนื่องจากคดีนี้ โจทก์ฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2 ฎีกาแต่เพียงผู้เดียว ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ไม่ได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247

          พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น *** วันที่ตอบ 2009-12-17 11:54:52



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล