ReadyPlanet.com


กรณีข้อผิดพลาดในที่ดิน


สวัสดีคะ

คือว่าดิฉันมีปัญหาในเรื่องที่ดินคะ

คุณยายท่านมีที่ดินจำนวนหนึ่งคะเป็น สค.1 (ในปัจจุบันได้ทำเป็นที่เก็บไม้  และบ้าน) โดยมี

ชื่อท่านเป็น

เจ้าของแต่เพียงผู้เดียว   แต่

ว่าในตอนนี้ท่านได้เสียไปนานแล้ว   แต่ตอนนี้ทางน้องของคุณยาย

(ประมาณว่าคนรู้จักโดยไม่ได้เกี่ยวข้องกัน)ได้เข้า

มาอาศัยอยู่ 10 กว่าปี   และทางลูกของคุณยายคือคุณแม่ของดิฉันและพี่น้องคนอื่นๆได้รู้และ

อยากช่วยเหลือให้อยู่และทำกินไปก่อน  แต่เมื่อมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นก้อใให้ที่ดินนั้นเป็นของ

บรรดาลูกๆรวมถึงคุณแม่ของดิฉันด้วย   ไม่ได้ที่จะยกที่ดินดังกล่าวให้แต่อย่างใดต่อมา

ได้เข้ามาอ้างสิทธ์ถึงความเป็นเจ้าของในที่ดินดังกล่าว    ที่ทำกินเกินเวลา  10  ปี

รวมถึงที่นาก็มีชื่อเป็ยของคุณยายแต่เพียงผู้เดียวเหมือนกัน

แต่เป็นสินสมรสที่หามาได้   โดยที่คุณตาและคุณยายเสียไปนานแล้วว

และตอนนี้เรื่องก้อถึงศาล   แต่ทางผู้อาศัยก็ไม่ยอมคืนที่ดินให้แต่อย่างใดและกลับอ้างถึงสิทธ์

ครอบครอง

แต่เมื่อทางของคุณแม่และลูกคนอื่นๆของคุณยายนัดให้มาวัดที่ดินเขากลับไม่มาและหาข้อ

อ้างในเรื่องต่างๆมากมาย  ซึ่งจะทำการแบ่งให้ลูกๆแต่ละคนของคุณยาย

 

จึงอยากถามว่าคนที่เข้ามาอาศัยอยู่นั้นจะมีสิทธ์ชอบธรรมในที่ดินผืนดังกล่าวหรือไม่คะ

 

และขอแนวทางการแก้ปัญหาเป็นการเร่งด่วน

 

 

จึงขอขอบคุณมานะที่นี่

 

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ เจ้าของที่ดิน :: วันที่ลงประกาศ 2009-12-14 11:09:29


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2015769)

1. ที่คุณบอกว่าตอนนี้เรื่องถึงศาลแล้ว สรุปว่าคดีไปถึงไหนแล้วครับ ใครเป็นคนฟ้อง ใครเป็นจำเลย มีทนายความกันแล้วใช่ไหมครับ

2. ถ้าเขาเข้ามาอยู่โดยอาศัยสิทธิขอทำกินตามที่คุณเล่ามาเขาก็จะอ้างแย่งการครอบครองไม่ได้ครับ แต่เวลาเป็นคดีกัน แต่ละฝ่ายก็จะอ้างข้อเท็จจริงไม่เหมือนกัน ฝ่ายผู้แย่งเขาอาจปฏิเสธว่าเขาไม่ได้ขออนุญาตใครเขาเข้ามาอยู่โดยไม่มีใครหวงห้าม หรืออาจอ้างว่าซื้อมาจากคุณตา คุณยาย ชำระเงินกันเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องไปว่ากันในชั้นศาลนะครับ

3. หากเขาอ้างแย่งการครอบครอง ที่ดิน ส.ค. 1 เป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หากแย่งการครอบครองต้องฟ้องเรียกคืนภายใน 1 ปีครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-12-14 13:04:35


ความคิดเห็นที่ 2 (2015792)

ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกิน 1 ปี

 

 จำเลยล้อมรั้วไม้ไผ่ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์ โจทก์แจ้งให้จำเลยระงับการกระทำดังกล่าวแต่จำเลยยังคงทำการล้อมรั้วจนแล้วเสร็จ เป็นการแสดงเจตนาแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทนับตั้งแต่วันที่มีการล้อมรั้วไม้ไผ่

          ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เป็นบทบังคับเรื่องกำหนดเวลาสำหรับฟ้อง ไม่ใช่เรื่องอายุความ จึงไม่อาจนำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้

          โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกิน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง โจทก์ย่อมขาดสิทธิฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนรั้วออกไปจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย

 

 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของรวมที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) เลขที่ 6/2498 หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านม้า อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำเลยที่ 1 เป็นมารดาของจำเลยที่ 2 และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 8896 ตำบลบ้านม้า อำเภอบางไทร (เสนาน้อย) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันตก เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2542 จำเลยทั้งสองได้ล้อมรั้วไม้ไผ่ในที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินโฉนดเลขที่ 8896 โจทก์แจ้งให้จำเลยทั้งสองระงับการกระทำดังกล่าวแต่จำเลยทั้งสองล้อมรั้วจนแล้วเสร็จ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนรั้วออกไปจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองหรือไม่ เห็นว่า การที่จำเลยทั้งสองได้ล้อมรั้วไม้ไผ่ที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นของโจทก์ และเมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยทั้งสองระงับการกระทำดังกล่าวแต่จำเลยทั้งสองยังคงทำการล้อมรั้วจนแล้วเสร็จ กรณีย่อมเห็นได้ว่าจำเลยทั้งสองได้แสดงเจตนาแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทนับตั้งแต่วันที่มีการล้อมรั้วไม้ไผ่ คือ ในวันที่ 8 ธันวาคม 2542 ที่โจทก์ฎีกาว่าหลังเกิดเหตุผู้ใหญ่บ้านได้เรียกโจทก์และจำเลยทั้งสองมาไกล่เกลี่ยเรื่องที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองตกลงกับโจทก์ว่าหามีการรังวัดสอบเขตที่ดินแล้วปรากฏว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยทั้งสองจะคืนให้โจทก์ และต่อมาทั้งสองฝ่ายยังได้ทำบันทึกต่อพนักงานสอบสวนด้วยว่า หากผลการรังวัดสอบเขตที่ดินได้ความว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ใดก็จะดำเนินการฟ้องคดีต่อไป แสดงว่าจำเลยทั้งสองยังเคารพสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์หาใช่เป็นการแย่งการครอบครองไม่และกรณีต้องนำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 (ที่ถูก มาตรา 193/14) ประกอบมาตรา 1386 โจทก์จึงไม่ต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2542 นั้น เห็นว่า การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง นั้น เป็นบทบังคับเรื่องกำหนดเวลาสำหรับฟ้อง ไม่ใช่เรื่องอายุความ จึงไม่อาจนำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทในวันที่ 15 ตุลาคม 2544 ซึ่งเกิน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง โจทก์ย่อมขาดสิทธิฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนรั้วออกไปจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย”

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ


 

 

( วีระชาติ เอี่ยมประไพ - ประทีป เฉลิมภัทรกุล - มนูพงศ์ รุจิกัณหะ )

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ** วันที่ตอบ 2009-12-14 13:46:39


ความคิดเห็นที่ 3 (2015795)

การแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังเจ้าของ

 

ที่ดินพิพาทเป็นสิทธิครอบครองของโจทก์ที่ให้จำเลยเช่า การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทจึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ เป็นการยึดที่ดินพิพาทแทนโจทก์ แม้จะครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทนานเท่าใดก็ไม่อาจอ้างการแย่งการครอบครองในที่ดินพิพาทได้

 

 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 321 ตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เมื่อประมาณปี 2524 โจทก์ให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทเพื่อทำเกษตรกรรม ในอัตราค่าเช่าไร่ละ 500 บาท ต่อปี ต่อมาปี 2538 จำเลยไม่ชำระค่าเช่า ปัญหาตามฎีกาของจำเลยข้อแรกที่ว่า จำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์แล้วว่าไม่เจตนายึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์ โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยแย่งการครอบครองจึงหมดสิทธิฟ้องเอาที่ดินคืนนั้น เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารพร้อมทั้งขนย้ายสัมภาระและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่า จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทด้วยความสงบ เปิดเผย และยึดถือเป็นเจ้าของตลอดมาโดยจำเลยแย่งการครอบครองก่อนปี 2539 ถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี แล้ว โจทก์ไม่ได้ฟ้องเอาคืนการครอบครองภายใน 1 ปี จึงหมดสิทธิฟ้องคดี เห็นได้ว่าตามคำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้แสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ที่ดินพิพาทเป็นสิทธิครอบครองของโจทก์ที่ให้จำเลยเช่า การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทจึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ เป็นการยึดที่ดินพิพาทแทนโจทก์ แม้จะครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทนานเท่าใดก็ไม่อาจอ้างการแย่งการครอบครองในที่ดินพิพาทได้ นอกจากจะได้มีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไป เมื่อคำให้การของจำเลยไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุแย่งการครอบครองเกิน 1 ปี ตามคำให้การของจำเลยมายันโจทก์ได้โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องการแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทนี้มาก็เป็นการไม่ชอบ เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นที่จำเลยต่อสู้ไว้ในคำให้การ ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

 


    

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ


 

 

( ชาลี ทัพภวิมล - ชูเกียรติ ตันทวีวงศ์ - คำนวน เทียมสอาด )

 

 

คำพิพากษาที่  3416/2551
 

ผู้แสดงความคิดเห็น ***** วันที่ตอบ 2009-12-14 14:03:13



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล