ReadyPlanet.com


คดีมรดกที่ดิน โฉนดเลขที่ 74XXX


  เรียนทนายความสำนักกฎหมายพีศิริน่ะครับ อยากขอคำปรึษาคดีที่ดินมรดก ซึ่งเรื่องราวเป็นอย่างนี้นาะครับ (เหคุการณ์จริง)

 

ข้อพิพาทของมรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 74XXX
                 เนื่องจากนางสมศรี XXX ได้เสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็ง ในวันที่  5 กุมภาพันธ์ 2538 ซึ่งก่อนตายนางสมศรี  XXX ได้สั่งเสียลูกๆไว้ว่า ที่ดินที่เหลืออยู่แปลงสุดท้าย(โฉนดเลขที่ 74XXX) ห้ามขาย แต่ให้ลูกๆทุกคนมีสิทธิในการปลูกบ้านอาศัยอยู่ได้โดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้
ซึ่งนางสมศรี XXX มีลูกทั้งหมด 10 คน
คนที่ 1    นางเพทาย           XXX      ปัจจุบันอายุ  64 ปี
คนที่ 2    นางไพรวรรณ      XXX      ปัจจุบันอายุ  62 ปี
คนที่ 3    นางมณี                  XXX      ปัจจุบันอายุ  61 ปี
คนที่ 4    นางประนอม        XXX      ปัจจุบันอายุ  60 ปี
คนที่ 5    นายสมเกียรติ      XXX      ปัจจุบันอายุ  55 ปี
คนที่ 6    นายสมยศ              XXX      ปัจจุบันอายุ  53 ปี
คนที่ 7    นายสมศักดิ์           XXX      ปัจจุบันอายุ  51 ปี
คนที่ 8    นางประมวลรัตน์   XXX   ปัจจุบันอายุ  46 ปี
คนที่ 9    นางน้ำทิพย์          XXX      ปัจจุบันอายุ  42 ปี
คนที่ 10 นางสาวอรอนงค์   XX        ปัจจุบันอายุ  27 ปี
           ต่อมานาย สมศักดิ์ XXX พี่ชายคนที่ 7 ได้ยื่นร้องต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกจากศาล ในวันที่ 10 ก.ค 2538 ซึ่งโดยที่พี่น้องคนอื่นไม่รับทราบ ว่าสามารถดำเนินการได้อย่างไร รวมทั้งน้องสาวคนเล็ก  น.ส อรอนงค์ XXX ขณะนั้นยังไม่บรรลุนิติภาวะ ซึ่งในทางปฏิบัติการยื่นขอเป็นผู้จัดการมรดกจำเป็นต้องใช้เอกสาร หนังสือให้การยินยอมในการร้องขอจัดการมรดกของทายาท
    การจัดการมรดกของนาย สมศักดิ์ XXX เป็นดังนี้
          วันที่ 18 ธ.ค 2540 นายสมศักดิ์ XXX ได้เข้าจดทะเบียนเป็นผู้จัดการมรกดตามคำสั่งศาลจังหวัดชลบุรี  คดีหมายเลขแดงที่ XXX/2538 ล.ว10 กค 38
          วันที่ 26 ก.ย 2550 นายสมศักดิ์ XXX ได้จดทะเบียนโอนมรดกในที่ดิน
          วันที่ 26 ก.ย 2550 ได้จดจำนองกับนายสมชาย XXX
          วันที่ 5 มี.ค 2551 ได้ไถ่ถอน จากนายสมชาย XXX
          วันที่ 1 พ.ค 2552 ได้จดทะเบียนโอนให้แก่นางณัฎฐา XXX ภรรยาของตัวเอง( โดยทางพฤตินัย และจดทะเบียน )
 
                ซึ่งในระหว่างที่นายสมศักดิ์ XXX ได้รับเป็นผู้จัดการมรดกนั้นทายาท(บุตร) ก็ยังได้อาศัยในโฉนดเลขที่ 74XXX ไม่ได้ย้ายไปไหน
           ในวันที่ 17 ส.ค 2537 นายสมเกียรติ XXX ได้ย้ายเข้ามาอยู่บ้านเลขที่ XXX/XX หมู่ที่ 6 ต.บึง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
           วันที่ 10 ก.ย. 2547 นางไพรวัลย์   XXX ได้ย้ายจากบ้านเลขที่ 133 ม.4 ต.ปลวกแดง อ.ปลวกแดง จ.ระยอง เข้ามาปลูกบ้านในโฉนดเลขที่ 74XXX โดยจดทะเบียน บ้านเลขที่ XXX/XXX ม.X ต.บึง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งในทางพฤตินัยได้เข้ามาปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ 2545 โดยมีพยาน นางน้ำทิพย์ XXX
             ในวันที่ 25 ก.ย 2550 นางน้ำทิพย์ XXX บุตรคนที่ 9 ได้ย้ายจากบ้านเลขที่ XXX/XXX หมู่ที่ X ต.บึง อ.ศรีราชา          จ.ชลบุรี แต่ยังคงปลูกบ้านในโฉนดเลขที่ 74XXX และจดทะเบียน บ้านเลขที่ XXX/XXหมู่ที่ X ต.บึง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
 
  อยากทราบแนวทางการดำเนินคดีครับ
1. คดีความหมดอายุความแล้วหรือยัง
2. การฟ้องขอแบ่งที่ดิน สามารถทำได้หรือไม่ครับ และโอกกาสชนะมีกี่เปอร์เซ็นต์
3. เราสามารถฟ้องทางแพ่งได้อย่างไร
4. เราสามารถฟ้องอาญาได้หรือไม่
5. เนื่องจากคดีนี้อยู่ที่ชลบุรี ถ้าเราจะให้สำนักกฎหมายพีศิริฟ้องให้ จะมีค่าใช้จ่ายเป็นเท่าไหร่ครับ
   ถ้าบางคำตอบเป็นความลับก็ส่งทาง e-mail ก็ได้น่ะครับ
 
 



ผู้ตั้งกระทู้ Eua :: วันที่ลงประกาศ 2010-01-12 09:12:39


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2023971)

ขอข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ครับ

1. ตั้งแต่ 5 กุมภาพันธ์ 2538 ทำไมถึงปล่อยยาวมาถึงปัจจุบัน (14 ปี)

2. ทรัพย์สินอื่น ๆ ได้แบ่งไปแล้วหรือไม่ หรือมีทีดินแปลงเดียว

3. ปัจจุบันที่ดังกล่าวทายาทยังอาศัยอยู่ใช่หรือไม่

4. นิติกรรมต่าง ๆ ทีผู้จัดการมรดกทำทายาททราบเมื่อใด

5. ได้เคยพูดคุยกันแล้วหรือไม่ แล้วท่าทีของผู้จัดการมรดกเป็นออย่างไร เช่นอ้างว่าอะไรทำไมไม่ดำเนินการแบ่งให้ทายาท

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-01-12 09:35:59


ความคิดเห็นที่ 2 (2023998)

ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ค่ะ

1.เนื่องจากว่าพี่น้องมาอยู่รวมกันบนที่ดิน  และไม่เคยมีปัญหาเลยไม่เคยคุยกันเรื่องแบ่งมรดก ส่วนพี่น้องคนอื่นที่ไม่ได้อยู่ก็ไม่เคยทวงถาม เพราะเป็นที่ของมารดา ไม่คิดที่จะแยกที่ดินอยู่แล้ว  ประกอบกับไม่เคยทราบเรื่องการทำนิติกรรมต่างๆ ของผู้จัดการมรดก

2.ทรัพย์สินอื่นๆ ไม่มีค่ะ  มีที่ดินแปลงเดียว  แต่บนที่ดินมีสิ่งปลูกสร้างเป็นบ้านเก่าที่ปลูกอยู่แล้ว 1 หลัง (ประมาณ 50 ปีได้แล้ว)  และบ้านที่พี่น้องมาปลูกใหม่อีก 2 หลัง 

3.ทายาทยังอาศัยอยู่ รวมผู้จัดการมรดกด้วย (ผู้จัดการมรดกย้ายเข้ามาเมื่อปี 2550) ทายาทคนที่ 5 เข้ามาปี 2537  คนที่ 9 และ 10 อาศัยตั้งแต่เกิด  แต่ย้ายออกจากบ้านเก่าและปลูกบ้านใหม่บนที่ดินเมื่อปี 2550  โดยผู้จัดการมรดกสั่งให้ย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านเก่าด้วย (ไม่บอกเหตุผล)

4.ทราบเรื่องการเป็นผู้จัดการมรดกประมาณปี 2547 เนื่องจากทายาทคนที่ 2 ดำเนินการขอเลขที่บ้านที่ปลูกใหม่แต่ไม่ได้ จึงทราบว่ามีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก  แต่ก็ไม่ได้ดำเนินการอย่างไร เพราะคิดว่ายังไงก็พี่น้อง และที่ดินก็ยังเป็นของครอบครัว ไม่คิดว่าจะมีปัญหา  มาทราบว่าที่ดินมีการโอนให้กับภรรยาของผู้จัดการมรดกเมื่อวันที่ 6 ม.ค.53  เนื่องจากพี่น้องได้คุยกันว่าแม่เสียมาหลายปีแล้ว  ตอนนี้ที่ดินเป็นอย่างไรบ้าง  เพราะผู้จัดการมรดกไม่เคยชี้แจง และไม่เคยให้ดูโฉนดที่ดิน จึงไปที่สำนักงานที่ดิน  จึงทราบเรื่องการโอนมรดกเป็นชื่อผู้จัดการมรดก นำที่ดินเข้าจำนองในวันที่โอนมรดก (ไม่ทราบเหตุผลการจำนอง) ไถ่ถอน จนถึงเรื่องที่โดนโอนให้กับภรรยา (ผู้จัดการมรดกนำที่ดินเข้าจำนองหลังจากที่ให้ทายาทคนที่ 9 ย้ายออกจากทะเบียนบ้านเก่า  เนื่องจากเป็นเจ้าบ้านได้เพียงวันเดียว) หลังจากไถ่ถอน ได้โอนให้ภรรยาเมื่อเดือน พ.ค.52

5.เคยคุยกันคร่าวๆ ไม่จริงจังว่าทำไมยังไม่แบ่ง (คุยกันตอนที่ให้ทายาทคนที่ 9 ย้ายออกจากทะเบียนบ้าน) ผู้จัดการมรดกบอกว่าไม่แบ่งเนื่องจากถ้าแบ่งไปกลัวทายาทอื่นๆ จะขาย  ก็เลยไม่ได้ทำอะไรต่อ  เพราะว่าไม่มีใครคิดขายอยู่แล้ว แต่ไม่ทราบเลยว่าโดนผู้จัดการโอนที่ดินไปแล้ว

ขอบคุณค่ะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น Ornanong วันที่ตอบ 2010-01-12 10:35:25


ความคิดเห็นที่ 3 (2024004)
1. คดีความหมดอายุความแล้วหรือยัง
--มรดกยังไม่ได้แบ่ง จึงยังไม่หมดอายุความ
 
2. การฟ้องขอแบ่งที่ดิน สามารถทำได้หรือไม่ครับ และโอกกาสชนะมีกี่เปอร์เซ็นต์
---สามารถทำได้ครับ เพราะมรดกตกทอดแก่ทายาทนับแต่เจ้ามรดกตาย ผู้จัดการมรดกรับโอนมาเป็นของตนในฐานะผู้จัดการมรดก จึงเป็นการถือแทนทายาทอื่น ๆ ครับส่วนโอกาสชนะคดีมากน้อยเท่าใดนั้นเร็วเกินไปที่จะตอบ แต่แนวโน้มค่อนข้างดีครับ
 
3. เราสามารถฟ้องทางแพ่งได้อย่างไร
--ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนและให้จดชื่อทายาททุกคนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมหรือให้แบ่งปันตามสิทธิของทายาท
 
4. เราสามารถฟ้องอาญาได้หรือไม่
---ผู้จัดการยักยอกทรัพย์มรดก
 
5. เนื่องจากคดีนี้อยู่ที่ชลบุรี
--ไม่มีปัญหา ครับ ค่อยปรึกษากันทีหลัง
 
 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-01-12 10:49:49


ความคิดเห็นที่ 4 (2024028)

ขอบคุณมากค่ะ

มีเรื่องรบกวนสอบถามอีกหน่อยค่ะ  ถ้าทายาทตกลงที่จะพูดคุยกันก่อน  แต่กลัวว่าจะคุยกันไม่รู้เรื่อง และผู้จัดการมรดกจะโอนหรือทำการใดๆ กับที่ดินอีก  ถ้าจะอายัดที่ดินก่อนได้มั๊ยคะ  ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง  และตอนนี้ที่ดินเป็นชื่อของภรรยา ทายาทจะสามารถแจ้งอายัดที่ดินได้หรือป่าว  หรือว่าต้องแจ้งความคะ

ขอบคุณมากค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น Ornanong วันที่ตอบ 2010-01-12 12:05:31


ความคิดเห็นที่ 5 (2024053)

ทางออกที่ดีที่สุดก็คือการเจรจาครับ ควรให้โอกาสกับผู้จัดการมรดกที่จะโอนที่ดินกลับคืนมาเป็นชื่อของทายาททุกคนตามสิทธิเสียโดยเร็ว ขีดเส้นตายไว้สัก  15 วันไม่เกิน 1 เดือน หากไม่ปฏิบัติตาม แจ้งความดำเนินคดีอาญา คดียักยอกอายุความ 3 เดือนนับแต่วันที่รู้แต่ไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่ยักยอก ตอนนี้คุณรู้แล้วก็ต้องนับแต่วันที่รู้เหตุแห่งการกระทำความผิดต้องแจ้งความภายใน 3 เดือน เพราะเป็นความผิดอันยอมความได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-01-12 13:23:17


ความคิดเห็นที่ 6 (2027614)

หากตกลงกันได้ ผู้จัดการมรดกและภรรยายอมที่จะคืนที่ดินให้  โดยไม่ต้องฟ้องร้อง ทายาทสามารถรับโอนคืนที่กรมที่ดินได้เลยหรือเปล่าคะ  

ผู้แสดงความคิดเห็น Ornanong วันที่ตอบ 2010-01-23 08:38:43


ความคิดเห็นที่ 7 (2027740)

ได้ครับแต่ก็ต้องเสียค่าโอนตามปกติครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-01-23 15:01:27



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล