ReadyPlanet.com


ฟ้องศาลแรงงานได้หรือไม่


ตอนนี้ผมโดนบริษัทที่ผมทำงานอยู่ค้างจ่ายเงินเดือนมา เดือนครึ่งแล้ว ผมอยากจะถาวว่าผมสามารถไปฟ้องที่ศาลแรงงานได้หรือไม่ และใช้เวลาประมาณเท่าไหร่ถึงจะบังคับบริษัทให้จ่ายเงินเดือนให้ผมได้ เพราะตอนนี้เดือดร้อนมาก



ผู้ตั้งกระทู้ BAS :: วันที่ลงประกาศ 2010-02-22 09:55:18


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2037877)

ฟ้องได้แน่นอนครับ ใช้เวลาเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับการต่อสู้คดีหรือไม่ แต่ก็คง 2 - 6 เดือนครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-02-22 13:38:53


ความคิดเห็นที่ 2 (2037892)

 ให้เเจ้งพนักงานตรวจเเรงงานเเห่งท้องที่ที่คุณทำงานอยู่หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนาอยู่ก่อนครับ

หลังจากพนักงานตรวจเเรงงานมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว ฝ่ายที่ไม่พอใจคำสั่งจึงมีสิทธิฟ้องต่อศาลเเรงงานต่อไป

ผู้แสดงความคิดเห็น ทรงภพ (Songphobk-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-02-22 14:13:25


ความคิดเห็นที่ 3 (2037898)

 เเจ้งพนักงานตรวจเเรงงานเเห่งท้องที่ที่คุณทำงานอยู่ก่อนครับ หลังจากนั้นจะมีคำสั่งของพนักงานตรวจเเรงงานออกมาภายในเวลาอันสมควรครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทรงภพ วันที่ตอบ 2010-02-22 14:17:30


ความคิดเห็นที่ 4 (2037925)

บทบัญญัติตามมาตรา 123 ดังกล่าวมีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งแต่เพียงทางเดียว กล่าวคือ จะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานก็ได้ แต่จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ หากลูกจ้างเลือกใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานซึ่งเป็นแนวทางใหม่แล้ว ก็ยังไม่มีสิทธิที่จะฟ้องเป็นคดีต่อศาลแรงงานตามแนวทางปกติในระหว่างนั้น


อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

http://www.peesirilaw.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=peesirilawcom&thispage=19&No=1219939

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-02-22 15:45:44


ความคิดเห็นที่ 5 (2038046)

ด้วยความเคารพต่อท่านลีนนท์ ในกรณีดังกล่าว ผมมีความคิดเห็นว่า จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนด โดยมิไช่เป็นการใช้สิทธิเลือกว่าจะทำอย่างใดอย่างหนึ่งไปได้ก่อน ซึ่งขั้นตอนต้องเป็นไปตามนี้ครับ

1.ต้องยื่นเรื่องต่อพนักงานตรวจเเรงงานก่อน หลังจากนั้นรอฟังคำสั่ง ภายใน60หรืออาจขยายเป็น90วันได้ ถ้าจำเป็น

2.หลังจากพนักงานตรวจเเรงงาน มีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ฝ่ายที่ไม่พอใจคำสั่ง จึงมีสิทธิฟ้องต่อศาลเเรงงานได้ครับ

ความเห็นไม่ถูกต้องอย่างไร โปรดชี้เเนะครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ผู้แสดงความคิดเห็น ทรงภพ (songphobk-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-02-22 20:54:18


ความคิดเห็นที่ 6 (2038120)

ขอชอบคุณคุณทรงภพ ที่ได้สละเวลามาร่วมแสดงความคิดเห็นครับ

ขออธิบายเพิ่มเติมว่าคำตอบของผมมาจากนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ทำลิ้งค์ไว้ข้างต้น หากคุณทรงภพได้อ่าแล้วมีความเห็นแตกต่างประการใดช่วยเพิ่มเติมมาด้วยนะครับ

และในทางปฏิบัติก็มีการฟ้องโดยตรงโดยไม่ได้ผ่านพนักงานตรวจแรงงานก็ได้ทำคดีมาแล้วครับ

 

http://www.peesirilaw.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=peesirilawcom&thispage=19&No=1219939

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-02-23 07:04:49


ความคิดเห็นที่ 7 (2038241)

 จากการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาตามลิ้งค์ที่ท่านลีนนท์ทำมาให้นั้น สรุปแแนวทางในการดำเนินคดีนี้ได้ 2ทางเลือกครับ

    ทางเลือกที่1ใช้สิทธิตามพรบ.คุ้มครองเเรงงานมาตรา123 ซึ่งจะต้องดำเนินตามขั้นตอนโดยยื่นเรื่องต่อพนักงานตรวจเเรงงานก่อน หลังจากนั้นเมื่อมีคำสั่งจากพนักงานตรวจเเรงงานออกมาแล้ว ถ้าฝ่ายใดไม่พอใจคำสั่งจึงจะมีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลเเรงงานได้ ในเเนวทางนี้จะใช้สิทธิทั้งยื่นเรื่องต่อพนักงานตรวจเเรงงานและฟ้องศาลเเรงงานไปพร้อมหรือในช่วงเวลาเดียวกันไม่ได้ครับ

               เเนวทางนี้ทั้งผมและท่านลีนนท์มีความเห็นเดียวกัน

   ทางเลือกที่2 ใช้สิทธิตามพรบ.จัดตั้งศาลเเรงงาน มาตรา8 ฟ้องต่อศาลเเรงงานไปได้เลย แต่เมื่อใช้สิทธิตามทางเลือกนี้แล้ว จะนำคดีเดียวกันนี้มายื่นต่อพนักงานตรวจเเรงงานเพื่อให้วินิจฉัยอีกไม่ได้

               แนวทางนี้ ท่านลีนนท์มองเห็นและเเนะนำมาแล้วในความเห็นที่1ของกระทู้นี้ ส่วนผมเพิ่งมานึกขึ้นได้ หลังจากอ่านฎีกาทั้งหมดแล้ว

               ดังนั้นขอขอบคุณท่านลีนนท์อย่างสูง ที่ช่วยทบทวนความจำให้ผมครับ

               ถ้าผมยังมองกรณีนี้ผิดอีก ช่วยเเนะนำด้วยนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทรงภพ (Songphobk-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-02-23 13:25:02


ความคิดเห็นที่ 8 (2038257)

คุณทรงภพเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ หากมีเวลาก็เข้ามาตอบคำถามในเว็บบอร์ดเรื่อย ๆ นะครับ แม้บางครั้งอาจมีความเห็นที่แตกต่างก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะในเรื่องกฎหมายนั้นแม้ศาลชั้นต้น,ชั้นอุทธรณ์และฎีกา ยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่เสมอ แม้ศาลฎีกาเองก็กลับหลักกฎหมายกันเองอยู่ก็บ่อยครั้ง

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-02-23 14:04:20


ความคิดเห็นที่ 9 (2038321)

 ขอบคุณท่านลีนนท์ครับ ที่ให้กำลังใจผม

ผู้แสดงความคิดเห็น ทรงภพ วันที่ตอบ 2010-02-23 16:49:58



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล