ReadyPlanet.com


เดือนพฤษภาคมปี 53 นี้จะมีข่าวอภัยโทษมั้ยค่ะ


ได้ข่าวมาว่าสำหรับเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้จะมีข่าวอภัยโทษบ้างหรือเปล่าค่ะ (  พอดีว่าแฟนติดคุกคดีความผิดต่อเสรีภาพ ( กระทำความผิดในที่สาธารณะโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย  ศาลชั้นต้นตัดสินจำคุก  6  เดือน โดยไม่รอลงอาญา และ ยื่นอุทรณ์  ศาลอุทรณ์ ก็ยืน ตามศาลชั้นต้น ไม่ทราบว่าถ้ามีอภัยโทษแฟนจะได้รับการปล่อยตัวมั้ยค่ะ  จำคุกเมื่อวันที่  19  มกราคม  2553  นี้ค่ะ )



ผู้ตั้งกระทู้ คนที่รอคอย :: วันที่ลงประกาศ 2010-04-09 11:09:24


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2053936)

ตราบใดที่ยังไม่ประกาศพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ ก็ไม่มีใครรู้ได้ครับ นอกจากคนที่เสนอกฎหมายดังกล่าว

ผมไม่ทราบจริง ๆ ครับ แต่ได้ยินเขาพูดกันว่าทำนองนั้นครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-04-09 17:09:03


ความคิดเห็นที่ 2 (2057040)

ถ้าสมมุติว่าในเดือนพฤษภาคมนี้มีข่าวอภัยโทษเราจะทราบล่วงหน้ามั้ยค่ะ ( หรือว่าอาจจะไม่มี ) แต่ถ้ามีจริงเราสามารถทราบได้จากที่ไหน  หรือรับฟังรับชมได้จากที่ใดได้บ้าง

ใครทราบช่วยบอกหน่อยได้ไหมค่ะ  สงสารลูกที่ต้องรอการกลับมาของพ่อ  ( จากคนที่รอคอย )

ผู้แสดงความคิดเห็น คนที่รอคอย วันที่ตอบ 2010-04-22 11:00:35


ความคิดเห็นที่ 3 (2057598)

ขอบคุณสำหรับความเห็นที่ 1 ซึ่งถือเป็นกำลังใจ แม้ว่ายังไม่แน่ สำหรับคนอื่นก็ให้เผื่อใจด้วยนะคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น รอคอย วันที่ตอบ 2010-04-23 17:21:24


ความคิดเห็นที่ 4 (2057600)

อยากรู้เหมือนกันนะคะ เพราะเเฟนดิฉันก้ออยู่ในเรือนจำเหมือนกัน อยากให้ออกมาเริ่มต้นใหม่สักที แต่ตอนนี้ยังเหลืออยู่อีก 37 ปี ไม่รู้จาทำงายเหมือนกันคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น patty วันที่ตอบ 2010-04-23 17:32:44


ความคิดเห็นที่ 5 (2058830)

ดิฉันจะรอดูเดือนพฤษภาคมปีนี้นะคะ.. ว่าจะมีอภัยรึป่าว?

แฟนดิฉันตัดสินมาแร้ว 3 ปี ตอนนี้ติดแค่ 7 เดือนเอง..

กำหนดพ้นโทษ 5 ก.ย. 55.. แร้วอย่างนี้ถ้ามีการอภัยบ้าง แฟนดิฉันจะได้ลดเหลือเท่าไหร่คะ?

ถ้ามี/ไม่มียังไง ก้อช่วยตอบกลับด้วยนะคะ.. ขอบคุณมากค่ะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น นู๋.. วันที่ตอบ 2010-04-26 22:42:58


ความคิดเห็นที่ 6 (2060937)

วันนี้ไปเยี่ยมลูกที่เรือนจำพิเศษธนบุรีมา  ลูกก็บอกว่าทางเรือนจำก็ประกาศแล้วว่ามี แต่รายละเอียดเค้ายังไม่บอก ลูกถูกตัวสิน7เดือน ติดมาแล้ว 2 เดือนเหลืออีก5เดือนก็รอคอยความหวังอยู่เหมือนกันค่ะ ตอนนี้ใครพอทราบรายละเอียดก็ช่วยกรุณาบอกกันบ้างนะคะ เพราะลูกก็ฟังคนในเรือนจำพูดว่าเป็นนักโทษชั้นกลางยังไม่ได้  แต่ด้วยความเป็นจริงเพิ่งติด 2 เดือนจะได้เลื่อนเป็นนักโทษชั้นดี หรือ ชั้นเยี่ยมคงเป็นไปไม่ได้จริงไหม๊คะ  ถ้าใครรู้จริงก็บอกมั่งนะคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ภวดี ภัคบวรสกุล วันที่ตอบ 2010-05-04 16:00:48


ความคิดเห็นที่ 7 (2061734)

มีแน่นอน   เพราะ

ไปสืบมาแล้วคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น คนมีอดีต วันที่ตอบ 2010-05-06 20:26:46


ความคิดเห็นที่ 8 (2061738)

 

ได้ข่าวประมาณว่าคดียา  ถ้าผ่านอภัยปี50มาแล้วจะได้1/8  แต่ถ้าพึ่งจะได้ก็แค่1/9

ส่วนคดีทั่วไป จะ1/3ค่ะ(ชั้นเยี่ยม)

ผู้แสดงความคิดเห็น คนมีอดีต วันที่ตอบ 2010-05-06 20:33:51


ความคิดเห็นที่ 9 (2062388)

อยากทราบว่า พค ปี53 มีอภัยโทษ หรือเปล่า ใครทราบช่วยบอกทีนะค่ะ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เล็ก วันที่ตอบ 2010-05-09 00:26:39


ความคิดเห็นที่ 10 (2062580)

     ผมผ่านไปเเถวคลองเปรม เห็นเจ้าหน้าที่เตรียมจัดงาน...น่าจะงานเดียวกันนะครับ..99.99% อาทิตย์นี้เเน่นอนที่คลองเปรม..รอฟังข่าวโทรทัศน์กับวิทยุอย่างเดียวครับ..ทุกอย่างเจ้าหน้าที่ส่งเรื่องไปหมดเเล้วรอเเต่คำสั่งอย่างเดียว..เอาใจช่วยครับ...วันอังคารนี้ผมว่าเป็นวันดีนะลองดู

ผู้แสดงความคิดเห็น ยฟืกฟ วันที่ตอบ 2010-05-09 21:47:37


ความคิดเห็นที่ 11 (2064390)

อภัยโทษจะมาวันไหนของเดือนพฤษาภาคมค่ะ

ได้ข่าวว่าจะมีอภัยโทษในเดือนนั้น  อยากทราบว่า

วันไหน หรือเดือนหน้าค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น 10 (Moo22221-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-05-14 14:04:03


ความคิดเห็นที่ 12 (2064530)

อภัย53มีแน่ครับ....รอประกาศอย่างเดียว

ผู้แสดงความคิดเห็น k วันที่ตอบ 2010-05-14 22:06:59


ความคิดเห็นที่ 13 (2066477)

*+*  แฟนเราก็ติดเหมือน กัน คดีขับเสพ เหลือโทษ แค่ 7 เดือน

  อยากรุ้ว่ามีอภัย ปี 53 มาจะได้ออกเลยไหมค่ะ

 

ช่วยตอบด้วย  ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น *+* วันที่ตอบ 2010-05-20 21:52:22


ความคิดเห็นที่ 14 (2067365)

มีค่ะ แฟนหนูมีรายชื่อ อภัยโทษแร้ว แต่แค่ยังไม่ระบุว่าวันไหน ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น รอการกลับมา วันที่ตอบ 2010-05-23 21:05:31


ความคิดเห็นที่ 15 (2069245)

พระราชกฤษฎีกา
พระราชทานอภัยโทษ
พ.ศ. ๒๕๕๓
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
เป็นปีที่ ๖๕ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่ทรงพระราชดำ ริเห็นว่า เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษกปีที่ ๖๐
วันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ นับเป็นอภิลักขิตกาลสำคัญ สมควรพระราชทานอภัยโทษ
แก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ เพื่อเป็นการถวายพระราชกุศล และเพื่อให้โอกาสแก่บุคคลเหล่านั้นกลับประพฤติตน
เป็นพลเมืองดี อันจะเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ และมาตรา ๑๙๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
กับมาตรา ๒๖๑ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๑๗ อันเป็นกฎหมายที่มี
บทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับ
มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๕
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๓๓ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. ๒๕๕๓”
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้
“ผู้ต้องกักขัง” หมายความว่า ผู้ต้องโทษกักขังแทนโทษจำคุกหรือผู้ถูกกักขังแทนค่าปรับ
ซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลถึงที่สุดก่อนหรือในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
“ผู้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ” หมายความว่า ผู้ต้องโทษปรับ
ซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับตามมาตรา ๓๐/๑
แห่งประมวลกฎหมายอาญา ก่อนหรือในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับโดยผู้นั้นได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาล
และมิได้กระทำผิดเงื่อนไขแต่อย่างใด
“ผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ” หมายความว่า นักโทษเด็ดขาดซึ่งเป็นผู้ได้รับการพัก
การลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหาร หรือได้รับการลดวัน
ต้องโทษจำคุกตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์ ซึ่งมิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขแห่งการพักการลงโทษหรือ
การลดวันต้องโทษจำคุกก่อนหรือในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
“นักโทษเด็ดขาด” หมายความว่า ผู้ซึ่งในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับเป็นนักโทษเด็ดขาด
ตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์ หรือนักโทษตามกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหาร
“กำหนดโทษ” หมายความว่า กำหนดโทษที่ศาลได้กำหนดไว้ในคำพิพากษาและระบุไว้ใน
หมายแจ้งโทษเมื่อคดีถึงที่สุด หรือกำหนดโทษตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษหรือกำหนดโทษ
ดังกล่าวที่ได้ลดโทษลงแล้วโดยการได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือโดยเหตุอื่น
“ต้องโทษจำคุกเป็นครั้งแรก” หมายความว่า ต้องโทษเพราะถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุก
ไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี โดยมิได้ถูกศาลพิพากษาให้เพิ่มโทษฐานกระทำความผิดอีก
ตามมาตรา ๙๒ หรือมาตรา ๙๓ แห่งประมวลกฎหมายอาญาหรือตามกฎหมายอื่น
มาตรา ๔ ผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกานี้ต้องมีตัวอยู่ใน
ความควบคุมของทางราชการ หรือถูกกักขังไว้ในสถานที่หรือที่อาศัยที่ศาลหรือทางราชการกำหนด
ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับติดต่อกันไปจนถึงวันที่ศาลออกหมายสั่งปล่อยหรือลดโทษ หรือ
นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งปล่อยหรือลดโทษตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ผู้ทำงานบริการสังคม
หรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ และผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ

เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๓๓ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓
มาตรา ๕ ผู้ต้องโทษดังต่อไปนี้ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป
(๑) ผู้ต้องกักขัง
(๒) ผู้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ
(๓) ผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ
กรณีผู้ต้องกักขังตามวรรคหนึ่ง (๑) ซึ่งเป็นนักโทษเด็ดขาด และยังไม่ได้รับโทษกักขัง
แทนโทษจำคุกหรือยังไม่ได้ถูกกักขังแทนค่าปรับ ให้ผู้ต้องกักขังนั้นได้รับพระราชทานอภัยโทษ
ปล่อยตัวไปในส่วนของโทษกักขังแทนโทษจำคุกหรือในส่วนของการกักขังแทนค่าปรับ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๖ ภายใต้บังคับมาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒
นักโทษเด็ดขาดดังต่อไปนี้ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป
(๑) ผู้ต้องโทษจำคุกไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ซึ่งมีโทษจำคุกตามกำหนดโทษ
ที่จะต้องได้รับต่อไปเหลืออยู่รวมกันไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
(๒) ผู้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(ก) เป็นคนพิการโดยตาบอดทั้งสองข้าง มือหรือเท้าด้วนทั้งสองข้าง หรือเป็นบุคคลซึ่ง
แพทย์ของทางราชการไม่น้อยกว่าสองคนได้ตรวจรับรองเป็นเอกฉันท์ว่าเป็นคนทุพพลภาพมีลักษณะ
อันเห็นได้ชัด
(ข) เป็นคนเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
(โรคเอดส์) หรือโรคจิต ซึ่งทางราชการได้ทำการรักษามาแล้วไม่น้อยกว่าสามเดือนในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้
ใช้บังคับ และแพทย์ของทางราชการไม่น้อยกว่าสองคนได้ตรวจรับรองเป็นเอกฉันท์ว่าไม่สามารถจะรักษา
ในเรือนจำให้หายได้ และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้ว
ถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่าสามปี หรือไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๒ ของโทษตามกำหนดโทษ
เว้นแต่เป็นคนเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (โรคเอดส์) ระยะสุดท้าย
ซึ่งแพทย์ของทางราชการไม่น้อยกว่าสองคนได้ตรวจรับรองเป็นเอกฉันท์ว่าไม่สามารถจะรักษา
ในเรือนจำให้หายได้
(ค) เป็นหญิงซึ่งต้องโทษจำคุกเป็นครั้งแรก และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี
ต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้วถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๒ ของโทษตาม
กำหนดโทษ

เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๓๓ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓
(ง) เป็นคนมีอายุไม่ต่ำกว่าหกสิบปีบริบูรณ์ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับตามที่ปรากฏ
ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรหรือทะเบียนรายตัวของเรือนจำในกรณีไม่มีชื่อ
อยู่ในทะเบียนบ้าน และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ต้องเหลือโทษจำคุกไม่เกินสามปี
นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ หรือเป็นคนมีอายุตั้งแต่เจ็ดสิบปีขึ้นไป
(จ) เป็นผู้ต้องโทษจำคุกเป็นครั้งแรก และมีอายุยังไม่ครบยี่สิบปีบริบูรณ์ในวันที่
พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับตามที่ปรากฏในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรหรือ
ทะเบียนรายตัวของเรือนจำในกรณีไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียว
หรือหลายคดี ต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้วถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๒
ของโทษตามกำหนดโทษ หรือ
(ฉ) เป็นนักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยม และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี
โทษจำคุกตามกำหนดโทษที่จะต้องได้รับต่อไปเหลืออยู่รวมกันไม่เกินสองปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้
ใช้บังคับ
มาตรา ๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒
นักโทษเด็ดขาดซึ่งมิได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไปตามมาตรา ๖ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษ
ลดโทษ ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ต้องโทษประหารชีวิต ให้ลดลงเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต
(๒) ผู้ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต ให้เปลี่ยนเป็นกำหนดโทษจำคุกห้าสิบปี แล้วให้ลดโทษ
ตามลำดับชั้นนักโทษเด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหาร
ดังต่อไปนี้
ชั้นเยี่ยม ๑ ใน ๔
ชั้นดีมาก ๑ ใน ๕
ชั้นดี ๑ ใน ๖
ชั้นกลาง ๑ ใน ๗
โดยให้นับโทษจำคุกนั้นตั้งแต่วันที่ต้องรับโทษ เว้นแต่กรณีที่จะต้องนับโทษต่อจากคดีอื่น
ให้นับโทษต่อจากคดีอื่นนั้น

เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๓๓ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓
(๓) ผู้ต้องโทษจำคุกไม่ถึงตลอดชีวิต ให้ลดโทษจากกำหนดโทษตามลำดับชั้นนักโทษเด็ดขาด
ตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหาร ตาม (๒)
(๔) ผู้ต้องโทษจำคุกเพราะความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท ไม่ว่าจะมีความผิดอื่นร่วมด้วย
หรือไม่ ให้ลดโทษจากกำหนดโทษลง ๒ ใน ๓ เฉพาะความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
มาตรา ๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒ นักโทษเด็ดขาด
ซึ่งต้องโทษตามบัญชีลักษณะความผิดท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษ ลดโทษ
ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ต้องโทษประหารชีวิต ให้ลดลงเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต
(๒) ผู้ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต ให้เปลี่ยนเป็นกำหนดโทษจำคุกห้าสิบปี แล้วให้ลดโทษ
ตามลำดับชั้นนักโทษเด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหาร
ดังต่อไปนี้
ชั้นเยี่ยม ๑ ใน ๕
ชั้นดีมาก ๑ ใน ๖
ชั้นดี ๑ ใน ๗
ชั้นกลาง ๑ ใน ๘
โดยให้นับโทษจำคุกนั้นตั้งแต่วันที่ต้องรับโทษ เว้นแต่กรณีที่จะต้องนับโทษต่อจากคดีอื่น
ให้นับโทษต่อจากคดีอื่นนั้น
(๓) ผู้ต้องโทษจำคุกไม่ถึงตลอดชีวิต ให้ลดโทษจากกำหนดโทษตามลำดับชั้นนักโทษเด็ดขาด
ตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหาร ตาม (๒)
มาตรา ๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒ นักโทษเด็ดขาด
ซึ่งต้องโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกไม่เกินแปดปี ในความผิดฐานผลิต นำเข้าหรือส่งออก
หรือผลิต นำเข้าหรือส่งออกเพื่อจำหน่าย หรือจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิด
เกี่ยวกับยาเสพติด หรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษ
ลดโทษจากกำหนดโทษตามลำดับชั้นนักโทษเด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมาย
ว่าด้วยเรือนจำทหาร ดังต่อไปนี้

เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๓๓ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓
ชั้นเยี่ยม ๑ ใน ๗
ชั้นดีมาก ๑ ใน ๘
ชั้นดี ๑ ใน ๙
ชั้นกลาง ๑ ใน ๑๐
มาตรา ๑๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒ นักโทษเด็ดขาดซึ่งต้องโทษตาม
คำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเกินแปดปี จำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต ก่อนหรือในวันที่พระราช
กฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. ๒๕๕๐ ใช้บังคับ ในความผิดฐานผลิต นำเข้าหรือส่งออก
หรือผลิต นำเข้าหรือส่งออกเพื่อจำหน่าย หรือจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิด
เกี่ยวกับยาเสพติด หรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษ
ลดโทษ ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ต้องโทษประหารชีวิต ให้ลดลงเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต
(๒) ผู้ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต ให้เปลี่ยนเป็นกำหนดโทษจำคุกห้าสิบปี แล้วให้ลดโทษ
ตามลำดับชั้นนักโทษเด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหาร
ดังต่อไปนี้
ชั้นเยี่ยม ๑ ใน ๙
ชั้นดีมาก ๑ ใน ๑๐
ชั้นดี ๑ ใน ๑๑
ชั้นกลาง ๑ ใน ๑๒
โดยให้นับโทษจำคุกนั้นตั้งแต่วันที่ต้องรับโทษ เว้นแต่กรณีที่จะต้องนับโทษต่อจากคดีอื่น
ให้นับโทษต่อจากคดีอื่นนั้น
(๓) ผู้ต้องโทษจำคุกไม่ถึงตลอดชีวิต ให้ลดโทษจากกำหนดโทษตามลำดับชั้นนักโทษเด็ดขาด
ตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหาร ตาม (๒)
มาตรา ๑๑ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๒ นักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยมซึ่งถูกศาลพิพากษาให้เพิ่มโทษ
ฐานกระทำความผิดอีกตามมาตรา ๙๒ หรือมาตรา ๙๓ แห่งประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่น
ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษจากกำหนดโทษลง ๑ ใน ๙

เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๓๓ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓
มาตรา ๑๒ นักโทษเด็ดขาดดังต่อไปนี้ไม่อยู่ในข่ายได้รับพระราชทานอภัยโทษตาม
พระราชกฤษฎีกานี้
(๑) ผู้ต้องโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเกินแปดปี จำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต
ภายหลังวันที่พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. ๒๕๕๐ ใช้บังคับในความผิดฐานผลิต
นำเข้าหรือส่งออก หรือผลิต นำเข้าหรือส่งออกเพื่อจำหน่าย หรือจำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง
เพื่อจำหน่าย ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำ
ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
(๒) ผู้ซึ่งถูกศาลพิพากษาให้เพิ่มโทษฐานกระทำความผิดอีกตามมาตรา ๙๒ หรือมาตรา ๙๓
แห่งประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่น และมิใช่นักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยม
(๓) นักโทษเด็ดขาดชั้นเลวหรือชั้นเลวมาก
มาตรา ๑๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒ นักโทษเด็ดขาดที่ได้รับ
การแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานเรือนจำมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้
ใช้บังคับ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษลงเป็นพิเศษอีกหนึ่งปี
มาตรา ๑๔ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแห่งท้องที่ ผู้พิพากษาศาลแห่งท้องที่หรือตุลาการศาลทหาร
แห่งท้องที่หนึ่งคน และพนักงานอัยการแห่งท้องที่หรืออัยการทหารแห่งท้องที่หนึ่งคน รวมสามคน
เป็นคณะกรรมการ มีหน้าที่ตรวจสอบผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษและส่งรายชื่อต่อศาลแห่งท้องที่
ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ เพื่อความสะดวกแก่ศาลแห่ง
ท้องที่นั้นพิจารณาออกหมายสั่งปล่อยหรือลดโทษ หรือออกคำสั่งยกเลิกการทำงานบริการสังคมหรือ
ทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ แล้วแต่กรณี
ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ซึ่งถูกลงโทษจำคุกตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งจะได้รับพระราชทาน
อภัยโทษ ให้คณะกรรมการมีหน้าที่ตรวจสอบและส่งรายชื่อต่อนายกรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายใน
เก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ เพื่อนายกรัฐมนตรีพิจารณาออกคำสั่งปล่อย
หรือลดโทษ แล้วแต่กรณี
เมื่อได้มีหมายหรือคำสั่งปล่อยหรือลดโทษ หรือคำสั่งยกเลิกการทำงานบริการสังคมหรือ
ทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับแล้ว ให้คณะกรรมการทำบัญชีผู้ซึ่งได้รับพระราชทานอภัยโทษ
เก็บไว้ที่เรือนจำหรือทัณฑสถานหนึ่งฉบับ ส่งศาลหนึ่งฉบับ ส่งกระทรวงยุติธรรมหนึ่งฉบับ และ
ทูลเกล้า ฯ ถวายอีกหนึ่งฉบับ
หน้า ๙
เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๓๓ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓
ถ้าการแต่งตั้งกรรมการบางคนไม่สะดวกในการปฏิบัติ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
มีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการตามที่เห็นสมควรเป็นกรรมการแทนได้
ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง
ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
เป็นกรรมการ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด
มาตรา ๑๕ ในส่วนที่เกี่ยวกับนักโทษตามกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหาร ให้รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงกลาโหมแต่งตั้งข้าราชการเป็นคณะกรรมการตามที่เห็นสมควร มีหน้าที่ตรวจสอบผู้ซึ่งจะได้รับ
พระราชทานอภัยโทษและส่งรายชื่อต่อศาลทหารกรุงเทพ ศาลมณฑลทหาร หรือศาลจังหวัดทหาร
แล้วแต่กรณี ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ เพื่อความสะดวกแก่
ศาลทหารดังกล่าวพิจารณาออกหมายสั่งปล่อยหรือลดโทษ หรือออกคำสั่งยกเลิกการทำงานบริการสังคม
หรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ แล้วแต่กรณี
ให้นำมาตรา ๑๔ วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนำบทบัญญัติแห่งพระราชกฤษฎีกานี้มาใช้บังคับแก่นักโทษ
ตามกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหาร นอกจากที่ได้บัญญัติไว้แล้วในพระราชกฤษฎีกานี้ ให้รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงกลาโหมพิจารณาสั่งเทียบกรณีให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา ๑๖ ให้นายกรัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี

ผู้แสดงความคิดเห็น ** วันที่ตอบ 2010-05-29 18:34:20



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล