ReadyPlanet.com


พรากผู้เยาว์ อายุ 15 แต่ไม่เกิน18 ปี คู่กรณีไม่ติดใจเอาคาวม ต้องติดคุกมั้ย


แฟนดิฉันได้แต่งงานกับดิฉันแล้ว แต่มีคดีพรากผู้เยาว์เด็ก อายุ 15 ปี เเต่ไม่เกิน18 ปี มีหมายศาลออกมา ตอนนี้ได้ใช้หลักทรัพย์ประกันตัวออกมาแล้ว เพื่อที่จะให้ปากคำในชั้นศาล (รอศาลเรียกตัว)  ในตอนนี้ได้ตกลงจ่ายค่าปรับสินไหมเป็นเงินจำนวนหนึ่งให้กับคู่กรณีไปเรียบร้อยแล้ว (จ่ายที่โรงพัก) โดยที่คู่กรณี (เจ้าทุกข์) ยินยอมถอนฟ้องไม่ติดใจเอาคาวม  พร้อมกับตำรวจได้ทำสำนวนยื่นในชั้นศาล  ว่าแฟนดิฉันได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้เรียบร้อยแล้ว และคู่กรณีไม่ติดใจเอาคาวม ยินยอมถอนฟ้องให้  แล้วเป็นอย่างนี้จะต้องติดคุกมั้ย ต้องเสียค่าปรับในชั้นศาลด้วยหรือเปล่า ถ้าเสียจะประมาณเท่าไหร่  



ผู้ตั้งกระทู้ kung-narng :: วันที่ลงประกาศ 2013-06-23 16:53:56


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2381023)

ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ เป็นความผิดต่อแผ่นดิน ซึ่งไม่สามารถยอมความกันได้ และไม่สามารถถอนฟ้องได้การบรรเทาความเสียหาย จนผู้เสียหายพอใจ ไม่ติดใจดำเนินคดีแพ่ง และคดีอาญา นั้น เป็นเพียงแสดงให้ศาลเห็นว่า จำเลยสำนึกผิดแล้วและได้บรรเทาความเสียหายแล้ว ศาลจึงมีเหตุที่จะลงโทษจำเลยสถานเบาได้ ความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่า 15 ปี ไม่เกิน 18 ปี เพื่อการอนาจาร และผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยนั้น มีโทษจำคุกขั้นต่ำ 2 ปี คำถามว่า

จะต้องติดคุกมั้ย -   โทษขั้นต่ำ 2 ปี รับสารภาพลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือ 1 ปี ก็ยังอยู่หลักเกณฑ์ที่ศาลจะรอการลงโทษได้ แต่อย่างไรก็ตามนั้นเป็นโทษขั้นต่ำ แต่โทษขั้นสูงคือ 10 ปี ศาลอาจลงโทษ 5 ปี ก็ได้ ลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือ 2 ปี ครึ่ง เป็นต้น ถ้าตอบแบบฟันธงคือ 50/50

ต้องเสียค่าปรับในชั้นศาลด้วยหรือเปล่า ถ้าเสียจะประมาณเท่าไหร่  - เป็นดุลพินิจของศาลครับ

สรุปคือ ไม่สามารถถอนฟ้องได้ มีโอกาส ติดคุก 50/50 แม้ว่าผู้เสียหายจะไม่ติดใจเอาความก็ตาม

มาตรา 319 ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไป เสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล เพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และ ปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงสองหมื่นบาท

มาตรา 56 ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุก และในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินสามปี ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อน หรือปรากฏว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ เมื่อศาลได้คำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือสภาพความผิดหรือเหตุอื่นอันควรปรานีแล้ว เห็นเป็นการสมควร ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้น มีความผิดแต่รอการกำหนดโทษไว้หรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้แล้วปล่อยตัวไป เพื่อให้โอกาสผู้นั้นกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลจะได้กำหนด แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดยจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนาย ลีนนท์ วันที่ตอบ 2013-07-03 22:32:40



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล