ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่มีอำนาจสอบสวนไม่มีอำนาจฟ้อง

ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่มีอำนาจสอบสวนไม่มีอำนาจฟ้อง

กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ว. ให้สมาชิกออมเงินแล้วนำเงินฝากไปให้สมาชิกกู้ยืมคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 บาท ต่อเดือนเกินกว่าร้อยละ 15 บาท ต่อปี เป็นการร่วมกันกระทำการอันต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ผู้เสียหายซึ่งเป็นสมาชิกจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่มีสิทธิร้องทุกข์ในความผิดฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวอันยอมความกันได้พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 404/2565

กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ว. มีวัตถุประสงค์ให้สมาชิกออมเงินแล้วนำเงินฝากของสมาชิกไปให้สมาชิกกู้ยืม โดยคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 บาท ต่อเดือน แล้วนำดอกเบี้ยมาจ่ายเป็นสวัสดิการให้แก่สมาชิก ดอกเบี้ยดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 24 บาท ต่อปี เกินกว่าร้อยละ 15 บาท ต่อปี ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 654 และ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ในขณะนั้น และ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 ที่ใช้บังคับภายหลัง ดังนี้ วัตถุประสงค์ในการดำเนินการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ว. จึงต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย และขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 สมาชิกทุกรายที่เข้าร่วมฝากเงินและกู้ยืมรวมทั้งชำระดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว หรือเมื่อผิดนัด ยินยอมให้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วยการนำต้นเงินและดอกเบี้ยค้างชำระที่ฝ่าฝืนกฎหมายรวมเข้ากันแล้วคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ต่อไปซึ่งเกินกว่าระเบียบข้อบังคับกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ว. (ฉบับปรับปรุง 2549) ข้อ 23 รวมถึงการส่งมอบเงินฝาก รับเงินกู้ยืม เงินกำไรหรือปันผล ดอกเบี้ยของสมาชิกในทุกขั้นตอนตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว เป็นการร่วมกันกระทำการอันต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ทั้งขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนซ้ำซ้อน โจทก์ร่วมและผู้เสียหายซึ่งเป็นสมาชิกจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีสิทธิร้องทุกข์ในความผิดฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์ดังกล่าว ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวอันยอมความกันได้ตาม ป.อ. มาตรา 356 พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง และพนักงานอัยการโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

โจทก์ฟ้องและแก้ไขฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสิบสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 352, 353 และให้ร่วมกันชดใช้เงิน 15,064,946.91 บาท แก่สมาชิกกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ว. ผู้เสียหาย

จำเลยทั้งสิบสี่ให้การปฏิเสธ

ระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 7 ถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 7 ออกจากสารบบความ และนางสาวแสงรุ้ง สมาชิกกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ว. ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์ โดยอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงภาค 6 ซึ่งได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษากลับว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 8 ถึงที่ 14 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 (เดิม) ประกอบมาตรา 83 จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 3 ปี จำคุกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 และที่ 8 ถึงที่ 14 มีกำหนดคนละ 2 ปี ทางนำสืบของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 8 ถึงที่ 14 เป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ เห็นสมควรลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้คนละหนึ่งในสาม คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 2 ปี จำคุกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 และที่ 8 ถึงที่ 14 มีกำหนดคนละ 1 ปี 4 เดือน ให้ยกคำขอที่ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 8 ถึงที่ 14 ร่วมกันชดใช้เงิน 15,064,946.91 บาท แก่สมาชิกกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ว. ผู้เสียหาย

จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 8 ถึงที่ 14 ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงซึ่งพิจารณาได้ความว่า เมื่อปี 2544 พระครู ส. เจ้าอาวาส ได้จัดตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ว. ขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ให้แก่ชุมชนให้มีเงินทุนหมุนเวียนในกลุ่มและส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก โดยให้สมาชิกออมเงินแล้วนำเงินฝากของสมาชิกไปให้สมาชิกกู้ยืมร้อยละ 2 บาท ต่อเดือน แล้วนำดอกเบี้ยที่สมาชิกกู้ยืมมาจ่ายเป็นเงินปันผลและสวัสดิการให้แก่สมาชิก กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ว. เปิดทำการในวันเสาร์แรกของเดือนตามระเบียบข้อบังคับกลุ่มสัจจะ ว. (ฉบับปรับปรุง 2549) ขณะเกิดเหตุมีจำเลยที่ 1 เป็นประธานกรรมการ จำเลยที่ 6 เป็นรองประธานกรรมการ จำเลยที่ 2 เป็นเลขานุการ จำเลยที่ 3 เป็นประชาสัมพันธ์ จำเลยที่ 4 และที่ 10 เป็นฝ่ายสินเชื่อ จำเลยที่ 5 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 11 ถึงที่ 13 เป็นฝ่ายการเงิน จำเลยที่ 7 เป็นเหรัญญิก และจำเลยที่ 14 เป็นฝ่ายบัญชี ปัจจุบันมีสมาชิก 1,897 คน เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2557 นายสมิง ในฐานะส่วนตัวและผู้รับมอบอำนาจจากสมาชิกกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ว. ผู้เสียหายรวม 322 คน ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสิบสี่ในข้อหาร่วมกันยักยอกทรัพย์ เนื่องจากนายสมิงกับพวกลาออกจากสมาชิกกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ว. แต่ไม่ได้รับเงินฝากคืนจากจำเลยทั้งสิบสี่ พนักงานสอบสวนจัดทำบัญชีทรัพย์ถูกประทุษร้ายไว้มีสมาชิกของกลุ่มออมทรัพย์ผู้เสียหายที่ลาออกปี 2555 จำนวน 77 คน รวมเป็นเงิน 656,570 บาท สมาชิกที่ลาออกปี 2556 จำนวน 147 คน รวมเป็นเงิน 1,589,800 บาท และสมาชิกที่ลาออกปี 2557 จำนวน 245 คน รวมเป็นเงิน 3,635,470 บาท รวมทั้งหมด 469 คน เป็นเงิน 5,881,840 บาท แจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลยทั้งสิบสี่ว่าเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น กระทำผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใด ๆ โดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น จำเลยทั้งสิบสี่ให้การปฏิเสธ ก่อนคดีนี้โจทก์ร่วมกับพวกรวม 434 คน เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสิบสี่และนางมัลลิกา เป็นจำเลยให้ร่วมกันชำระเงินฝากคืนพร้อมดอกเบี้ยต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ทั้งสี่ร้อยสามสิบสี่และจำเลยทั้งสิบห้าไปว่ากล่าวกันต่อไปตามสิทธิหลังจากได้มีการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนแล้วตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 135/2559 ต่อมาโจทก์ร่วมกับพวกรวม 6 คน เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสิบสี่และนางมัลลิกา เป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้น ขอให้ศาลพิพากษาให้เลิกห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน (กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ว.) และแต่งตั้งโจทก์ทั้งหกเป็นผู้ชำระบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์ดังกล่าวกับให้มีอำนาจแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีเพิ่มเติมได้ โจทก์ทั้งหกและจำเลยทั้งสิบห้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันตกลงเลิกกลุ่มออมทรัพย์ดังกล่าว โดยตั้งโจทก์ที่ 1 (โจทก์ร่วมคดีนี้) นางสาวทิพวิมล นายมานพ นางสาวกมลพร นายสันติ นายธงชัย (จำเลยที่ 5 คดีนี้) นางสาวสมจิตร (จำเลยที่ 4 คดีนี้) นางสาวสมัย (จำเลยที่ 12 คดีนี้) และนางสาววนัสวัณณ์ เป็นผู้ชำระบัญชีโดยให้นายสันติเป็นประธาน ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 580/2559 ของศาลชั้นต้น สำเนาคำฟ้อง สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม นายสันติกับพวกจัดทำรายการชำระบัญชีของกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ว. โดยสรุปรายการชำระบัญชีจากสมาชิกที่ให้ความร่วมมือส่งมอบสมุดเงินฝากแก่ผู้ชำระบัญชี 1,050 เล่ม แยกเป็นรายปีตั้งแต่ปี 2550 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2560 และสรุปรายงานการชำระบัญชีปรับปรุงถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2561 ปรากฏว่ากลุ่มออมทรัพย์ ว. ผู้เสียหายมีรายรับ 12,870,956.90 บาท เมื่อหักหนี้ค้างชำระ 4,600,291 บาท คงเหลือรายรับ 8,270,665.90 บาท ส่วนรายจ่ายจะนำดอกเบี้ยรับคงเหลือ 9,154,279 บาท หักด้วยเงินปันผล 1,516,341 บาท เฉลี่ยหุ้น 89,088.99 บาท สวัสดิการ 585,349 บาท และค่าตอบแทน 169,219 บาท คงเหลือเป็นดอกเบี้ยรับ 6,794,281.01 บาท เมื่อนำรายรับคงเหลือและดอกเบี้ยรับคงเหลือมารวมกันแล้วเป็นเงิน 15,064,946.91 บาท จากการตรวจสอบบัญชีเงินฝากของสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ดังกล่าว ปรากฏว่า ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2557 มีเงินอยู่ในบัญชี 26,879.41 บาท

พิเคราะห์แล้ว คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 8 ถึงที่ 14 ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 8 ถึงที่ 14 ร่วมกันกระทำความผิดฐานยักยอกตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันว่า พระครู ส. เจ้าอาวาส ได้ก่อตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ว. ขึ้น เมื่อปี 2544 โดยมีวัตถุประสงค์ให้สมาชิกออมเงินโดยรับฝากเงินจากสมาชิก และนำเงินฝากของสมาชิกให้สมาชิกกู้ยืมโดยคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 บาท ต่อเดือน และนำดอกเบี้ยมาจ่ายเป็นสวัสดิการให้แก่สมาชิกโดยมีจำเลยทั้งสิบสี่เป็นคณะกรรมการดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับกลุ่มสัจจะ ว. (ฉบับปรับปรุง 2549) ข้อ 22 อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 24 บาท ต่อปี เกินกว่าร้อยละ 15 บาท ต่อปี ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 และพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ในขณะนั้น และพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 ที่ใช้บังคับภายหลัง ซึ่งเป็นความผิดทางอาญามีโทษทั้งจำคุกและปรับ เยี่ยงนี้ วัตถุประสงค์ในการดำเนินการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ว. จึงต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย และเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 สมาชิกทุกรายที่เข้าร่วมฝากเงินและกู้ยืมรวมทั้งชำระดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว หรือเมื่อผิดนัดไม่สามารถชำระหนี้ได้ ยินยอมให้กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ว. ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วยการนำต้นเงินและดอกเบี้ยค้างชำระที่ฝ่าฝืนกฎหมายรวมเข้ากันแล้วคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ต่อไปซึ่งเกินกว่าระเบียบข้อบังคับกลุ่มสัจจะ ว. (ฉบับปรับปรุง 2549) ข้อ 23 รวมถึงการส่งมอบเงินฝาก รับเงินกู้ยืม เงินกำไรหรือปันผล ดอกเบี้ยของสมาชิกในทุกขั้นตอนทุกส่วนในการดำเนินการเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวเป็นการร่วมกันกระทำการอันต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ทั้งขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนซ้ำซ้อน เป็นผลสืบเนื่องเพราะเหตุที่วัตถุประสงค์ของกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ว. เป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว นายสมิง สมาชิกในฐานะส่วนตัวและสมาชิกกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ว. รวม 322 คน รวมถึงโจทก์ร่วม ผู้มอบอำนาจ จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) ไม่มีสิทธิแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสิบสี่ฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์ดังกล่าวซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวอันยอมความกันได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 356 พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 วรรคสอง และพนักงานอัยการโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 8 ถึงที่ 14 จะมิได้ฎีกา เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 8 ถึงที่ 14 ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องไม่อาจลงโทษในความผิดฐานร่วมกันยักยอกได้ กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 8 ถึงที่ 14 ข้ออื่นอีกต่อไป ส่วนการที่จำเลยทั้งสิบสี่จงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ว. หรือบริหารงานด้วยนโยบายที่ผิดพลาดบกพร่อง หรือกระทำโดยประมาทก่อให้เกิดความเสียหายแก่สมาชิกกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ว. ทั้ง 1,897 คน อย่างไร เป็นเรื่องที่สมาชิกแต่ละคนหรือหลายคนรวมกันว่ากล่าวเอาความแก่จำเลยทั้งสิบสี่ทางแพ่งต่างหากจากคดีนี้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 8 ถึงที่ 14 มานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 8 ถึงที่ 14 ฟังขึ้น

พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์

 



เกี่ยวกับคดีอาญา

ป้องกันพอสมควรแก่เหตุ-ป้องกันเกินกว่าเหตุ article
บันดาลโทสะเพราะเหตุยั่วยุให้โมโห article
หมิ่นประมาท | เข้าใจโดยสุจริต
ความผิดฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้
เป็นอันตรายแก่จิตใจ - ใช้ยาสลบใส่กาแฟ
บันดาลโทสะต้องถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง
หมิ่นประมาท | หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์โฆษณา
วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องห้ามฎีกา
ผู้เสียหายด่าจำเลย(บิดา)หยาบคายกรณีจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
เจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร
การริบทรัพย์สิน | ใช้ในการกระทำความผิด
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
คำว่า-วิชาชีพ-ในคดีอาญา
หลบหนีไปจากความควบคุมตามอำนาจของพนักงานสอบสวน
สเปรย์พริกไทยไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร | รับส่งเด็กนักเรียน
ลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะ
กระทำอนาจารต่อศิษย์นอกเวลาเรียน
ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ยังคงเป็นป่าตาม พ.ร.บ. ป่าไม้
เป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์และใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต
ลงลายมือชื่อรับรองคนต่างด้าว 7 คน
ความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นตาม ป.อาญา มาตรา 188
ผู้สนับสนุนให้จำเลยกระทำความผิด
ทวงหนี้ลักษณะข่มขู่ว่าไม่จ่ายจะเดือดร้อนจำคุก 3 ปี
การทำนากุ้งไม่ใช่การประกอบอาชีพกสิกรรม
ลักทรัพย์นายจ้าง, ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
การจับกุมมิชอบกับการฟ้องคดีอาญา
คำขอในส่วนแพ่งเนื่องความผิดอาญา
แม้ผู้ตายยิงจำเลยก่อนอ้างเหตุป้องกันตัวไม่ได้
ทำร้ายร่างกายกับการป้องกันตัว
พรากเด็กต่ำ15 ปี ไปเพื่อการอนาจารจำคุก 5 ปี
ซื้อเสียงเลือกตั้งไม่รอลงอาญา
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดอันพึงริบ
การเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
กระทำชำเราต่างวันต่างเวลาและต่างสถานที่ผิดหลายกรรม
เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล
การพรากเด็กไม่ว่าเด็กจะออกจากบ้านเองก็ย่อมเป็นความผิดทั้งสิ้น
ผู้ปกครองอนุญาตให้ไปดูโทรทัศน์ที่บ้านของจำเลยเท่านั้น
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมและฐานฉ้อโกง
พิพากษาจำคุกจำเลยศาลฎีกายกฟ้องเพราะคำฟ้องไม่ได้ลงชื่อ
หมิ่นประมาทกับดูหมิ่นซึ่งหน้า-ความผิดอาญามีโทษหนักเบาแตกต่างกัน
พรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย
พยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจำคุกตลอดชีวิต
บันดาลโทสะหรือพยายามฆ่า
ความผิดอันยอมความได้ | คดีหมิ่นประมาท | ร้องทุกข์ภายในสามเดือน
พกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
การสมรสในต่างประเทศระหว่างหญิงไทยกับหญิงไทย
การกระทำชำเราที่ไม่ต้องรับโทษ
การสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายอิสลามจำเลยไม่ต้องรับโทษ
กระทำโดยประมาทไม่อาจอ้างเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ให้กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราถูกจำคุก 48 เดือน
ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ก่อนคดีถึงที่สุดคดีอาญาระงับ
บุตรติดมารดาไม่อยู่ในความปกครองของบิดาเลี้ยง
การชวนเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีเข้าไปในห้องนอนไม่ผิดพรากผู้เยาว์
กระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีจำคุก 50 ปี
จำเลยไม่มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี
การนับอายุความคดีความผิดอันยอมความได้
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากในฟ้อง
ปลัดกระทรวงไม่มีอำนาจสั่งย้ายโจทก์ไปดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัด
จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่
การสนทนาผ่านเมสเซนเจอร์ไม่เป็นการกล่าวไขข่าวให้แพร่หลาย
ภยันตรายจากการประทุษร้ายที่จะใช้อ้างเพื่อการป้องกันสิทธิ
ฟ้องข้อหาค้ามนุษย์ บังคับใช้แรงงาน
กระทำชำเราเด็กและพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปีจำคุก 48 ปี
"อนาจาร" มีความหมายว่า การกระทำที่ไม่สมควรทางเพศ
พาเด็กหญิงจากที่เปิดเผยเข้าไปในจุดลับตาผู้คน
จำเลยเป็นบุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจให้กู้ยืมเงินโดยไม่ได้รับอนุญาต
ขายทองเงินผ่อนอำพรางการให้กู้ยืมเงินดอกเบี้ย318%ต่อปี
ศาลฎีกาพิพากษาให้รอการกำหนดโทษจำเลยรอการชำระเงิน
มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแต่จำเลยหลบหนีขาดอายุความอย่างไร
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร,เต็มใจไปด้วย
ขู่เข็ญให้จ่ายเงิน มิฉะนั้นเปิดเผยความลับวีดีโอ-ความสัมพันธ์ทางเพศ รีดเอาทรัพย์
ความผิดตามมาตรา 149 บทเฉพาะและมาตรา 157 บททั่วไป
ลักทรัพย์นายจ้าง ปลอมเอกสารสิทธิ การกระทำกรรมเดียว
ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจเหนือศาลทหาร
พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครอง
งดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือเล็งเห็นผลว่าอาจถึงแก่ความตายเป็นพยายามฆ่า
การกระทำโดยพลาด
ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
รอการลงโทษ,ให้การรับสารภาพ
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
คำร้องทุกข์ | อำนาจพนักงานสอบสวน
ขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ-มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
ความผิดฐานบุกรุกเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร
พาไปเพื่อการอนาจาร -บุคคลอายุกว่าสิบห้าปี
ความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน
รอการกำหนดโทษ | รอการลงโทษ | พรบ.ล้างมลทิน
เบิกความอันเป็นเท็จในศาล article