ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์และใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต

เป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์และใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต

จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ เป็นหัวหน้าส่วนราชการมีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรให้เป็นไปตามเป้าหมายและแผนงานที่กำหนดไว้ จัดการดูแลรักษาเงิน การอนุมัติการให้ปฏิบัติราชการแทนรวมทั้งการอนุมัติอนุญาตให้ข้าราชการและลูกจ้างในสังกัดเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร อนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ อนุมัติให้ใช้รถยนต์ส่วนกลางออกนอกเขตจังหวัดที่ตั้งสำนักงาน หรือเป็นการใช้ข้ามคืนของข้าราชการและลูกจ้างในสังกัด การสั่งให้ข้าราชการและลูกจ้างในสังกัดปฏิบัติงานนอกเวลาและการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าทำการนอกเวลาได้ตามสิทธิ รวมทั้งการอนุมัติสัญญารับรองการยืมเงินทดรองราชการของข้าราชการในสังกัด จำเลยจึงมีหน้าที่โดยตรงในการจัดการและดูแลรักษาเงินที่ได้รับมอบหมายจากผู้เสียหาย การที่จำเลยใช้อำนาจในตำแหน่งสั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาขออนุมัติยืมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดโครงการที่ไม่ได้จ่ายจริง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการที่ไม่ได้ไปจริง เพื่อเป็นค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มที่จ่ายเกินความจริง จำเลยเป็นผู้อนุมัติและสั่งจ่ายเช็คให้ผู้ใต้บังคับบัญชานำเช็คเรียกเก็บเงินแล้วนำเงินให้จำเลยหรือนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยและจำเลยสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำใบสำคัญส่งใช้เงินยืมอันเป็นเท็จ การกระทำของจำเลยเป็นวิธีการในการเบียดบังเอาเงินที่จำเลยมีหน้าที่ต้องจัดการและรักษาเพื่อให้เงินมาอยู่ในความครอบครองของจำเลยแล้วจำเลยเบียดบังเอาเงินดังกล่าวไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นอันเป็นการทุจริต เป็นความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 147 และการสั่งการและการดำเนินการโดยมิชอบดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายต่อรัฐและผู้เสียหายซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 151 ด้วย 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2566

วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบให้ใช้ระบบไต่สวนและเป็นไปโดยรวดเร็ว และก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ศาลอาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควร ซึ่งรวมทั้งการเรียกพยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่โดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอก็ได้ เพื่อให้ได้ความจริงของเรื่องนั้น ๆ และเมื่อได้ทำการไต่สวนพยานอย่างเต็มที่แล้ว จะพิพากษายกฟ้องโดยยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ก็ได้

โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 147, 151 ให้จำเลยคืนเงิน 662,213 บาท แก่กรมส่งเสริมการเกษตร ผู้เสียหาย

จำเลยให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 (เดิม), 151 (เดิม) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์และฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์เพียงบทเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกกระทงละ 5 ปี ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน จำนวน 13 กระทง รวมจำคุก 39 ปี 52 เดือน ให้จำเลยคืนเงิน 662,213 บาท แก่ผู้เสียหาย

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยกระทำผิดรวม 8 กระทง รวมจำคุก 24 ปี 32 เดือน ให้จำเลยคืนเงิน 138,106 บาท แก่ผู้เสียหาย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

โจทก์และจำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ทางไต่สวนข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยรับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งเกษตรจังหวัดสุรินทร์ สังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบให้ใช้ระบบไต่สวนและเป็นไปโดยรวดเร็วตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้และข้อบังคับของประธานศาลฎีกา…” หาได้ใช้ระบบกล่าวหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแต่อย่างใดไม่ พระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 22 บัญญัติว่า “ในคดีที่อัยการสูงสุด พนักงานอัยการ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. หรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ ให้ศาลนำรายงานและสำนวนการสอบสวนหรือสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของโจทก์ มาเป็นหลักในการแสวงหาความจริง และอาจสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานได้ตามที่เห็นสมควร” มาตรา 25 บัญญัติว่า “ในการสืบพยานบุคคล ไม่ว่าจะเป็นพยานที่คู่ความฝ่ายใดอ้างหรือที่ศาลเรียกมาเอง ให้ศาลแจ้งให้พยานทราบประเด็นและข้อเท็จจริงที่จะทำการสืบพยาน แล้วให้พยานเบิกความในข้อนั้นด้วยตนเองหรือตอบคำถามศาล ศาลอาจถามพยานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับคดีแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างก็ตาม แล้วจึงอนุญาตให้คู่ความถามพยานเพิ่มเติม

การถามพยานตามวรรคหนึ่ง จะใช้คำถามนำก็ได้

หลังจากคู่ความถามพยานตามวรรคหนึ่งแล้ว ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดถามพยานอีก เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล”

และข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยวิธีการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 ข้อ 23 “ก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลอาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควร ซึ่งรวมทั้งการเรียกพยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่ด้วยโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอก็ได้” จากบทบัญญัติและข้อบังคับดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเป็นวิธีพิจารณาที่แสวงหาความจริงโดยศาลและศาลมีอำนาจไต่สวนเต็มที่เพื่อให้ได้ความจริงของเรื่องนั้น ๆ ดังนั้น หากศาลอุทธรณ์มีข้อสงสัยข้างต้นหรือต้องการไต่สวนพยานปากใดก็ชอบที่จะกำหนดให้ศาลชั้นต้นไต่สวนให้ได้ความจริง ทั้งนี้ตามกฎหมายข้างต้นประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 43 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 (2) และจะพิพากษายกฟ้องโดยยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสองได้เฉพาะเมื่อเห็นว่าศาลได้ทำการไต่สวนพยานอย่างเต็มที่แล้ว ซึ่งเมื่อพิเคราะห์พยานหลักฐานที่ได้จากการไต่สวนคดีนี้ เห็นว่า เพียงพอที่จะวินิจฉัยได้แล้วจึงเห็นควรวินิจฉัยโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานเพิ่มเติม

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยต่อไปว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และมาตรา 151 หรือไม่ เห็นว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งเกษตรจังหวัดสุรินทร์ สังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร จึงเป็นหัวหน้าส่วนราชการมีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรให้เป็นไปตามเป้าหมายและแผนงานที่กำหนดไว้ จัดการดูแลรักษาเงินของสำนักงานการเกษตรจังหวัดสุรินทร์ การอนุมัติการให้ปฏิบัติราชการแทน หรือการดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งการอนุมัติอนุญาตให้ข้าราชการและลูกจ้างในสังกัดเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร อนุมัติให้เบิกจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ อนุมัติให้ใช้รถยนต์ส่วนกลางออกนอกเขตจังหวัดที่ตั้งสำนักงาน หรือเป็นการใช้ข้ามคืนของข้าราชการและลูกจ้างในสังกัด การสั่งให้ข้าราชการและลูกจ้างในสังกัดปฏิบัติงานนอกเวลาและการอนุมัติให้เบิกจ่ายค่าทำการนอกเวลาได้ตามสิทธิ รวมทั้งการอนุมัติสัญญารับรองการยืมเงินทดรองราชการของข้าราชการในสังกัดที่ไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ตามคำสั่งสำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์ ที่ 15/2558 เรื่องการมอบหมายงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์ คำสั่งจังหวัดสุรินทร์ ที่ 5010/2540 เรื่องการมอบอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด นายอำเภอและปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอปฏิบัติราชการแทน และคำสั่งจังหวัดสุรินทร์ ที่ 2565/2542 เรื่อง การมอบอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดให้แก่รองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด นายอำเภอและปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ปฏิบัติราชการแทน จำเลยจึงมีหน้าที่โดยตรงในการจัดการและดูแลรักษาเงินที่สำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์ได้รับมอบหมายจากผู้เสียหาย การที่จำเลยใช้อำนาจในตำแหน่งสั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาขออนุมัติยืมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดโครงการที่ไม่ได้จ่ายจริง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการที่ไม่ได้ไปจริง เพื่อเป็นค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มที่จ่ายเกินความจริง จำเลยเป็นผู้อนุมัติและสั่งจ่ายเช็คโดยไม่ขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ออก ซึ่งผิดระเบียบ ให้ผู้ใต้บังคับบัญชานำเช็คเรียกเก็บเงินแล้วนำเงินให้จำเลยหรือนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยและจำเลยสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำใบสำคัญส่งใช้เงินยืมอันเป็นเท็จ แม้การเบิกจ่ายเงินจะมีเจ้าหน้าที่อื่นดูแลดังที่จำเลยอ้างมาในฎีกา แต่จำเลยในฐานะเป็นหัวหน้าส่วนราชการก็ยังคงมีหน้าที่จัดการและรักษาเงินดังกล่าวด้วย การกระทำของจำเลยดังวินิจฉัยข้างต้นเป็นวิธีการในการเบียดบังเอาเงินที่จำเลยมีหน้าที่ต้องจัดการและรักษาเพื่อให้เงินมาอยู่ในความครอบครองของจำเลยแล้วจำเลยเบียดบังเอาเงินดังกล่าวไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นอันเป็นการทุจริต เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และการสั่งการและการดำเนินการโดยมิชอบดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายต่อรัฐและผู้เสียหายซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ด้วย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6792/2561 ที่จำเลยอ้างมาในฎีกาข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้ ทางไต่สวนข้อเท็จจริงจึงมีน้ำหนักมั่นคง ไม่เป็นพิรุธขัดกันเอง และไม่ขัดแย้งกับเอกสารดังที่จำเลยอ้างมาในฎีกา ฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ทุกข้อ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ยกฟ้องโจทก์บางส่วนนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น ส่วนฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น

พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 (เดิม), 151 (เดิม) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์และฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งแต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์เพียงบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกกระทงละ 5 ปี ทางไต่สวนพยานจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 13 กระทง รวมจำคุก 39 ปี 52 เดือน ให้จำเลยคืนเงิน 662,213 บาท แก่ผู้เสียหาย

 




เกี่ยวกับคดีอาญา

ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบากว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ลักทรัพย์โดยสุจริต, ความผิดลักทรัพย์ vs การเข้าใจผิด, คดีลักทรัพย์ในเครือญาติ,
การกระทำของจำเลยเป็นการไตร่ตรองไว้ก่อน, ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนมาตรา 289 (4), โทษประหารชีวิตในคดีอาญา
ป.อ. มาตรา 54 ในการคำนวณการเพิ่มโทษหรือลดโทษที่จะลง
ความผิดฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่, การพนันออนไลน์ผิดกฎหมาย, การฟ้องอั้งยี่และซ่องโจร
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร, อำนาจปกครองบิดามารดา
กระทำชำเราผู้เยาว์ในบ้านไม่ถือว่าแยกเด็กจากอำนาจปกครองดูแล
จำเลยไม่มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี
ผู้ปกครองอนุญาตให้ไปดูโทรทัศน์ที่บ้านของจำเลยเท่านั้น
การกระทำโดยพลาด
รอการลงโทษ,ให้การรับสารภาพ
ขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ-มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
รถยนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะซุกซ่อนและขนส่งบุหรี่ซิกาแรตในการกระทำความผิด
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้นั้นสภาพความเป็นลูกหนี้เจ้าหนี้เกิดขึ้นทันที
ความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนให้ปฏิบัติหรือละเว้นตามมาตรา 157
การกระทำความผิดระหว่างผู้บุพการีต่อผู้สืบสันดานหรือผู้สืบสันดานต่อผู้บุพการี
พาไปเพื่อการอนาจาร -บุคคลอายุกว่าสิบห้าปี
ความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน
จำเลยฉ้อโกงหลอกลวงเอาทรัพย์ขณะที่ผู้เสียหายป่วยทางจิต
รอการกำหนดโทษ | รอการลงโทษ | พรบ.ล้างมลทิน
เบิกความอันเป็นเท็จในศาล
จำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาใดไม่แน่ชัด
ป้องกันพอสมควรแก่เหตุ-ป้องกันเกินกว่าเหตุ
บันดาลโทสะเพราะเหตุยั่วยุให้โมโห
หมิ่นประมาท | เข้าใจโดยสุจริต
ความผิดฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้
เป็นอันตรายแก่จิตใจ - ใช้ยาสลบใส่กาแฟ
บันดาลโทสะต้องถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง
หมิ่นประมาท | หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์โฆษณา
วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องห้ามฎีกา
ผู้เสียหายด่าจำเลย(บิดา)หยาบคายกรณีจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
เจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร
การริบทรัพย์สิน | ใช้ในการกระทำความผิด
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
คำว่า-วิชาชีพ-ในคดีอาญา
หลบหนีไปจากความควบคุมตามอำนาจของพนักงานสอบสวน
สเปรย์พริกไทยไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร | รับส่งเด็กนักเรียน
ลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะ
กระทำอนาจารต่อศิษย์นอกเวลาเรียน
ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ยังคงเป็นป่าตาม พ.ร.บ. ป่าไม้
ลงลายมือชื่อรับรองคนต่างด้าว 7 คน
ความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นตาม ป.อาญา มาตรา 188
ผู้สนับสนุนให้จำเลยกระทำความผิด
ทวงหนี้ลักษณะข่มขู่ว่าไม่จ่ายจะเดือดร้อนจำคุก 3 ปี
การทำนากุ้งไม่ใช่การประกอบอาชีพกสิกรรม
ลักทรัพย์นายจ้าง, ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
การจับกุมมิชอบกับการฟ้องคดีอาญา
คำขอในส่วนแพ่งเนื่องความผิดอาญา
แม้ผู้ตายยิงจำเลยก่อนอ้างเหตุป้องกันตัวไม่ได้
ทำร้ายร่างกายกับการป้องกันตัว
พรากเด็กต่ำ15 ปี ไปเพื่อการอนาจารจำคุก 5 ปี
ซื้อเสียงเลือกตั้งไม่รอลงอาญา
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดอันพึงริบ
การเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
กระทำชำเราต่างวันต่างเวลาและต่างสถานที่ผิดหลายกรรม
เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล
การพรากเด็กไม่ว่าเด็กจะออกจากบ้านเองก็ย่อมเป็นความผิดทั้งสิ้น
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมและฐานฉ้อโกง
พิพากษาจำคุกจำเลยศาลฎีกายกฟ้องเพราะคำฟ้องไม่ได้ลงชื่อ
หมิ่นประมาทกับดูหมิ่นซึ่งหน้า-ความผิดอาญามีโทษหนักเบาแตกต่างกัน
พรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย
พยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจำคุกตลอดชีวิต
บันดาลโทสะหรือพยายามฆ่า
ความผิดอันยอมความได้ | คดีหมิ่นประมาท | ร้องทุกข์ภายในสามเดือน
พกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
การสมรสในต่างประเทศระหว่างหญิงไทยกับหญิงไทย
การกระทำชำเราที่ไม่ต้องรับโทษ
การสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายอิสลามจำเลยไม่ต้องรับโทษ
กระทำโดยประมาทไม่อาจอ้างเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่มีอำนาจสอบสวนไม่มีอำนาจฟ้อง
ให้กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราถูกจำคุก 48 เดือน
ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ก่อนคดีถึงที่สุดคดีอาญาระงับ
บุตรติดมารดาไม่อยู่ในความปกครองของบิดาเลี้ยง
การชวนเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีเข้าไปในห้องนอนไม่ผิดพรากผู้เยาว์
กระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีจำคุก 50 ปี
การนับอายุความคดีความผิดอันยอมความได้
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากในฟ้อง
ปลัดกระทรวงไม่มีอำนาจสั่งย้ายโจทก์ไปดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัด
จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่
การสนทนาผ่านเมสเซนเจอร์ไม่เป็นการกล่าวไขข่าวให้แพร่หลาย
ภยันตรายจากการประทุษร้ายที่จะใช้อ้างเพื่อการป้องกันสิทธิ
ฟ้องข้อหาค้ามนุษย์ บังคับใช้แรงงาน
กระทำชำเราเด็กและพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปีจำคุก 48 ปี
"อนาจาร" มีความหมายว่า การกระทำที่ไม่สมควรทางเพศ
พาเด็กหญิงจากที่เปิดเผยเข้าไปในจุดลับตาผู้คน
จำเลยเป็นบุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจให้กู้ยืมเงินโดยไม่ได้รับอนุญาต
ขายทองเงินผ่อนอำพรางการให้กู้ยืมเงินดอกเบี้ย318%ต่อปี
ศาลฎีกาพิพากษาให้รอการกำหนดโทษจำเลยรอการชำระเงิน
มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแต่จำเลยหลบหนีขาดอายุความอย่างไร
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร,เต็มใจไปด้วย
ขู่เข็ญให้จ่ายเงิน มิฉะนั้นเปิดเผยความลับวีดีโอ-ความสัมพันธ์ทางเพศ รีดเอาทรัพย์
ความผิดตามมาตรา 149 บทเฉพาะและมาตรา 157 บททั่วไป
ลักทรัพย์นายจ้าง ปลอมเอกสารสิทธิ การกระทำกรรมเดียว
ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจเหนือศาลทหาร
พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครอง
งดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือเล็งเห็นผลว่าอาจถึงแก่ความตายเป็นพยายามฆ่า
ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา