สำนักงานพีศิริ ทนายความ ตั้งอยู่เลขที่ 34/159 หมู่ 8 ซอยบางมดแลนด์ แยก 13 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 ติดต่อทนายความ 085-9604258 สำหรับแผนที่การเดินทาง กรุณาคลิ๊กที่ "ที่ตั้งสำนักงาน" ด้านบนสุด ทนายความ ทนาย สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ ปรึกษากฎหมายกับทนายความลีนนท์ โทรเลย ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ

กระทำชำเราเด็กและพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปีจำคุก 48 ปี
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความ (นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ) โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont กระทำชำเราเด็กและพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปีจำคุก 48 ปี การที่เด็กซึ่งไปหาน้องต่างบิดาที่บ้านจำเลยใกล้กันเพียงข้ามถนนเด็กเล่นอยู่กับน้องจำเลยเรียกเด็กให้เข้าไปหาในห้องนอนแล้วกระทำชำเราถือเป็นการกระทำ 1 ครั้งและพาเข้าไปในห้องน้ำซึ่งในบ้านเดียวกันถือเป็นการกระทำอีก 1 ครั้ง เป็นการพาไปหรือแยกเด็กออกไปจากความปกครองดูแลของผู้ปกครองทำให้การปกครองดูแลถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนโดยไม่ได้รับความยินยอม เป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองเพื่อการอนาจาร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7041/2562 แม้บ้านที่ผู้เสียหายที่ 1 พักอาศัยอยู่กับผู้เสียหายที่ 2 กับบ้านจำเลยอยู่ใกล้กันเพียงมีถนนคั่น และผู้เสียหายที่ 1 ไปหาน้องต่างบิดาที่บ้านจำเลยชั่วครั้งชั่วคราวเพื่อวิ่งเล่นแล้วกลับมาที่บ้าน ระหว่างนี้ถือว่าผู้เสียหายที่ 1 ยังอยู่ในความปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 2 โดยไม่คำนึงว่าบ้านอยู่ห่างกันหรืออยู่ใกล้ไกลเพียงใด และจำเลยทราบดีว่าผู้เสียหายที่ 2 ห้ามและไม่ยินดีให้ผู้เสียหายที่ 1 มาที่บ้านจำเลย การที่จำเลยเรียกผู้เสียหายที่ 1 ไปจากบริเวณที่ผู้เสียหายที่ 1 อยู่กับน้องให้เข้าไปหาในห้องนอนแล้วกระทำชำเรา กับเรียกผู้เสียหายที่ 1 ให้เข้าไปในห้องน้ำและกระทำชำเรา แม้ห้องนอนหรือห้องน้ำกับบริเวณที่ผู้เสียหายที่ 1 อยู่กับน้องจะเป็นบริเวณบ้านเดียวกัน แต่การกระทำของจำเลยแสดงว่ามีเจตนาพาผู้เสียหายที่ 1 จากบริเวณหนึ่งไปอีกบริเวณหนึ่งแล้ว ทั้งเมื่อจำเลยขี่จักรยานพาผู้เสียหายที่ 1 ไปที่คลองท้ายหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านจำเลย 200 ถึง 300 เมตร เพื่อกระทำชำเรา ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยแต่ละครั้ง เป็นการพาไปหรือแยกผู้เสียหายที่ 1 ออกไปจากความปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 2 ทำให้การปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 2 ถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนโดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอม เป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 และเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเสียจากผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปกครองดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 277, 283 ทวิ, 317 จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสาม, 283 ทวิ วรรคสอง (เดิม), 317 วรรคสาม (เดิม) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ความผิดฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารและกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน 4 กระทง แต่ละกระทงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกกระทงละ 7 ปี ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร 4 กระทง จำคุกกระทงละ 5 ปี รวมจำคุก 48 ปี จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 ทวิ วรรคสอง (เดิม) และมาตรา 317 วรรคสาม (เดิม) ลงโทษจำเลยตามมาตรา 277 วรรคสาม จำคุกกระทงละ 7 ปี รวม 4 กระทง เป็นจำคุก 28 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ และจำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า ผู้เสียหายที่ 2 ได้เลี้ยงดูเป็นผู้ปกครองหรือผู้ดูแลผู้เสียหายที่ 1 ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ จนถึงปัจจุบัน โดยพักอาศัยอยู่ที่บ้านของผู้เสียหายที่ 2 ตั้งอยู่ริมถนนฝั่งตรงข้ามกับบ้านที่เกิดเหตุที่จำเลยซึ่งเป็นสามีใหม่ของนางสาว อ. พักอาศัยอยู่ บ้านทั้งสองหลังอยู่ในระยะที่สามารถเดินหากันได้ วันที่ 17 มีนาคม 2560 แพทย์ตรวจร่างกายผู้เสียหายที่ 1 พบว่าบริเวณอวัยวะเพศส่วนนอกมีบาดแผลฟกช้ำเล็ก ๆ ข้างคลิตอริส บริเวณเยื่อพรหมจรรย์และช่องคลอดไม่พบร่องรอยฉีกขาด ไม่พบตัวอสุจิและไม่พบสาร Acid phosphatase ชั้นจับกุมแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่า กระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน จำเลยให้การปฏิเสธ ชั้นสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยเพิ่มเติมว่า พรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองเพื่อการอนาจาร พาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร และกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี จำเลยให้การปฏิเสธ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าไปเพื่อการอนาจารและฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 ทวิ วรรคสอง (เดิม) และมาตรา 317 วรรคสาม (เดิม) หรือไม่ เห็นว่า คดีนี้แม้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้เสียหายที่ 1 ไปที่บ้านจำเลยเพื่อไปหาน้องซึ่งเป็นบุตรของจำเลยผู้เป็นบิดาเลี้ยงกับมารดาของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งอาศัยอยู่บ้านตรงข้ามคนละฝั่งถนน แต่จำเลยเบิกความตอบโจทก์ถามค้านยอมรับว่าผู้เสียหายที่ 1 จะมาเล่นกับน้องที่บ้านจำเลยไม่บ่อยนัก เนื่องจากผู้เสียหายที่ 2 ห้ามและไม่ยินดีที่จะให้ผู้เสียหายที่ 1 มาที่บ้านจำเลย ดังนั้น แม้บ้านที่ผู้เสียหายที่ 1 พักอาศัยอยู่กับผู้เสียหายที่ 2 กับบ้านจำเลยอยู่ใกล้กันเพียงมีถนนคั่นอยู่ และผู้เสียหายที่ 1 ไปหาน้องที่บ้านจำเลยเป็นบางครั้งนั้น พฤติการณ์ที่ผู้เสียหายที่ 1 ออกจากบ้านเพื่อไปหาน้องที่บ้านจำเลยชั่วครั้งชั่วคราวและกลับมาบ้าน ระหว่างนี้ถือว่าผู้เสียหายที่ 1 ยังอยู่ในความปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 2 โดยไม่จำต้องคำนึงว่าบ้านอยู่ห่างกันหรืออยู่ใกล้ไกลเพียงใด ที่สำคัญอย่างยิ่งจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าผู้เสียหายที่ 2 ห้ามและไม่ยินดีให้ผู้เสียหายที่ 1 มาที่บ้านจำเลย เช่นนี้การที่จำเลยเรียกผู้เสียหายที่ 1 ไปจากบริเวณที่ผู้เสียหายที่ 1 อยู่กับน้องให้เข้าไปหาในห้องนอนแล้วกระทำชำเราในครั้งแรกและครั้งที่สอง กับเรียกผู้เสียหายที่ 1 ไปจากบริเวณที่ผู้เสียหายที่ 1 อยู่กับน้องให้เข้าไปในห้องน้ำและกระทำชำเราในครั้งที่สาม แม้ห้องนอนหรือห้องน้ำกับบริเวณที่ผู้เสียหายที่ 1 อยู่กับน้องจะเป็นบริเวณบ้านเดียวกันก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยบ่งชี้แสดงให้เห็นว่ามีเจตนาพาผู้เสียหายที่ 1 จากบริเวณหนึ่งไปอีกบริเวณหนึ่งแล้ว ทั้งการที่จำเลยขี่จักรยานพาผู้เสียหายที่ 1 ไปที่คลองท้ายหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านจำเลยไปประมาณ 200 ถึง 300 เมตร เพื่อกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ในครั้งที่สี่ เช่นนี้ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวทั้งสี่ครั้งเป็นการพาไปหรือแยกผู้เสียหายที่ 1 ออกไปจากการปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 2 ทำให้การปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 2 ถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนโดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอมด้วย อันเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 และเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 1ไปเสียจากผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปกครองดูแล โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกฟ้องฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร และฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น อนึ่ง เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 มีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2562 ในมาตรา 5 ให้ยกเลิกความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 และให้ใช้ความใหม่แทน แต่กฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิดไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงให้ใช้กฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยไว้ พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสาม (เดิม), 283 ทวิ วรรคสอง (เดิม), 317 วรรคสาม (เดิม) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ความผิดฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารและฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน 4 กระทง แต่ละกระทงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกกระทงละ 7 ปี ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร 4 กระทง จำคุกกระทงละ 5 ปี รวมจำคุก 48 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ป.อ. ม. 283 ทวิ, ม. 317 แหล่งที่มา กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา |