ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletคำพิพากษาศาลฎีกา
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




เป็นอันตรายแก่จิตใจ - ใช้ยาสลบใส่กาแฟ

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความ นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

 

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

     เป็นอันตรายแก่จิตใจ | ใช้ยาสลบใส่กาแฟ
     ...ส่วนการทำให้โกรธ ให้กลัว ให้เสียใจเป็นอารมณ์ ซึ่งเป็นอาการอันเกิดจากจิตใจ ไม่ใช่ตัวจิตใจโดยแท้ไม่เป็นอันตรายแก่จิตใจ ...

     จำเลยกับพวกใช้ยากดประสาทอย่างแรงใส่ลงในกาแฟให้ผู้เสียหายดื่ม เมื่อผู้เสียหายดื่มแล้วสิ้นสติไปแทบจะทันทีแล้วจำเลยกับพวกได้ลักเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป ผู้เสียหายฟื้นคืนสติที่โรงพยาบาลหลังจากเวลาล่วงไปประมาณ 12 ชั่วโมงดังนี้ แม้ผู้เสียหายจะไม่ได้รับอันตรายแก่กายอย่างหนึ่งอย่างใดก็ถือได้ว่าเป็นอันตรายแก่จิตใจของผู้เสียหายแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม

ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ สองหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท

 

     คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2531

     โจทก์ฟ้องว่าจำเลยร่วมกับพวกชิงทรัพย์ผู้เสียหาย โดยใช้ยาสลบใส่ลงในกาแฟให้ผู้เสียหายดื่ม จนมึนเมาสลบไม่ได้สติจำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม จำคุก 12 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกา

      ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่าตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุที่โจทก์ฟ้อง ได้มีคนร้ายใช้ยาสลบใส่ลงในกาแฟให้นายชาญ  นาวาอากาศโทสุรีย์ นายนิรันดร์ ไทยเนียม และนาวาอากาศตรีประจวบ ผู้เสียหายทั้งสี่ดื่ม จนผู้เสียหายทั้งสี่มึนเมาสลบไม่ได้สติและคนร้ายได้ลักเอาทรัพย์ของผู้เสียหายตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องไปเจ้าหน้าที่ตำรวจจับจำเลยได้ในคืนเกิดเหตุแพทย์ได้ทำการตรวจร่างกายผู้เสียหายทั้งสี่แล้วลงความเห็นว่าได้รับยากดประสาทอย่างแรงส่วนเศษกาแฟของกลางผู้ชำนาญการพิเศษตรวจพิสูจน์พบสารชนิดพีโนบาร์บิตาล ซึ่งเป็นสารชนิดวัตถุออกฤทธิ์ต่อประสาทเจือปนอยู่ทำให้ผู้ดื่มสารดังกล่าวหมดสติ คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยว่า จำเลยได้กระทำผิดดังฟ้องโจทก์หรือไม่ โจทก์มีนายนิรันดร์ นาวาอากาศโทสุรีย์และนาวาอากาศตรีประจวบผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานต่างเบิกความสอดคล้องต้องกันว่า ขณะผู้เสียหายทั้งสี่ นางสาวต๋อยและจำเลยเล่นไพ่ในห้องเลขที่ 609 ของโรงแรมวังใต้ นางสาวต๋อยได้พูดโทรศัพท์สั่งกาแฟจากห้องอาหาร เมื่อพนักงานโรงแรมนำกาแฟมาให้แล้วนางสาวต๋อยเป็นผู้ชงกาแฟและร่วมกับจำเลยแจกกาแฟให้ทุกคนที่อยู่ในห้องดื่ม ผู้เสียหายทั้งสี่ได้ดื่มกาแฟ ส่วนจำเลยกับนางสาวต๋อยไม่ได้ดื่มกาแฟด้วย เมื่อดื่มแล้วผู้เสียหายทั้งสี่ก็หมดสติ เมื่อฟื้นขึ้นมาปรากฏว่าทรัพย์สินสูญหายไป และโจทก์มีนายอรุณ ต่อศิริ พนักงานขับรถของกรมป่าไม้มาเบิกความเป็นพยานประกอบใกล้ชิดขณะเกิดเหตุว่า คืนเกิดเหตุเวลาประมาณ 1 นาฬิกา ขณะพยานจะเข้าห้องพักเลขที่ 611 ได้พบจำเลยและนางสาวต๋อยเปิดประตูห้องเลขที่ 609 ออกมา พยานจึงชวนจำเลยกับนางสาวต๋อยไปที่ห้องพยาน แต่จำเลยบอกว่าจะรีบกลับ หลังจากนั้นจำเลยกับนางสาวต๋อยก็ลงลิฟต์ไปชั้นล่างเมื่อพยานเข้าไปในห้องเลขที่ 609 พบผู้เสียหายทั้งสี่นอนสิ้นสติอยู่เชื่อว่าถูกวางยา จึงวิ่งลงมาทางบันไดเพื่อตามหาจำเลยกับนางสาวต๋อย พบจำเลยยืนอยู่หน้าร้านอาหารในโรงแรมจึงควบคุมตัวไว้และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจับ ตามคำพยาน โจทก์ดังกล่าวซึ่งไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองจำเลยกับพวกมาก่อน จึงไม่ระแวงสงสัยว่าจะแกล้งปรักปรำจำเลยโดยไม่เป็นความจริง น่าเชื่อว่าเบิกความไปตามที่รู้เห็นจริง คดีนี้แม้โจทก์จะไม่มีพยานรู้เห็นขณะจำเลยกับพวกใส่ยาสลบลงในกาแฟให้ผู้เสียหายทั้งสี่ดื่มแต่ก็ได้ความว่าในห้องเลขที่ 609 นอกจากผู้เสียหายทั้งสี่แล้วคงมีจำเลยกับนางสาวต๋อยอยู่ด้วยโดยไม่มีคนอื่นอีกเลยนางสาวต๋อยเป็นคนชงกาแฟเมื่อชงแล้วจำเลยกับนางสาวต๋อยก็ช่วยกันแจกกาแฟให้ผู้เสียหายทั้งสี่ดื่มโดยทั้งสองคนไม่ได้ดื่มกาแฟและไม่ได้หมดสติไปด้วย หากจำเลยกับพวกไม่ทราบว่าในกาแฟมียาสลบผสมอยู่ จำเลยกับพวกก็คงจะร่วมดื่มกาแฟและคงจะหมดสติอยู่ในห้องกับผู้เสียหายทั้งสี่ด้วย อีกประการหนึ่ง ถ้าจำเลยกับพวกมิได้วางยาสลบผู้เสียหายทั้งสี่เพื่อหวังเอาทรัพย์สินจริงแล้ว เมื่อเห็นผู้เสียหายทั้งสี่นอนสลบเช่นนั้น จำเลยกับพวกก็น่าจะช่วยแก้ไขให้ฟื้นจากสลบ หรืออย่างน้อยก็น่าจะแจ้งเหตุให้พนักงานโรงแรมหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบทันที แต่กลับปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้ออกจากห้องไปโดยมิได้แจ้งให้ผู้ใดทราบเลยและในคืนเกิดเหตุ เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยไว้ที่หน้าห้องอาหารในโรงแรมวังใต้ตามที่นายอรุณแจ้ง เมื่อตรวจค้นตัวจำเลยก็พบธนบัตร เหรียญกษาปณ์ ใบมีดโกนหนวด และไม้ขีดไฟแช็ก ตามเอกสารหมาย จ.6 ซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งของผู้เสียหายทั้งสี่ พฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวเชื่อว่าจำเลยกับพวกอีก1 คน ได้ร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายโดยใช้ยาสลบผสมในกาแฟให้ผู้เสียหายทั้งสี่ดื่มเป็นเหตุให้ผู้เสียหายทั้งสี่หมดสติไป อยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ แล้วจำเลยกับพวกได้ลักเอาทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งสี่ไป ทั้งนี้เพื่อให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์และการพาเอาทรัพย์ไป จึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้อง ที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยเองก็ได้ดื่มกาแฟจนมีอาการมึนศีรษะหมดสติไปด้วยนั้นไม่น่าเชื่อเพราะนายอรุณเบิกความว่าได้พบจำเลยและนางสาวต๋อยออกมาจากห้องเลขที่ 609 เมื่อนายอรุณเข้าไปในห้องเลขที่ 609 เห็นผู้เสียหายทั้งสี่หมดสติจึงวิ่งลงไปข้างล่าง พบจำเลยยืนอยู่หน้าห้องอาหารจึงควบคุมตัวจำเลยไว้แล้วแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาจับจำเลย พยานจำเลยจึงไม่มีน้ำหนักรับฟังหักล้างพยานโจทก์ได้ ส่วนที่ว่า การกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคสาม หรือไม่นั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่พิจารณาแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยกับพวกใช้สารพีโนบาร์บิตาลซึ่งเป็นยากดประสาทอย่างแรงใส่ลงในกาแฟให้ผู้เสียหายดื่ม เมื่อผู้เสียหายดื่มแล้วสิ้นสติไปแทบจะทันทีและไปฟื้นคืนสติที่โรงพยาบาลหลังจากเวลาล่วงไปประมาณ 12 ชั่วโมงแม้ผู้เสียหายจะไม่ได้รับอันตรายแก่กายอย่างหนึ่งอย่างใดก็ถือได้ว่าเป็นอันตรายแก่จิตใจอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคสาม ตามที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยต้องกันมา และที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบานั้นศาลฎีกาเห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม ซึ่งกฎหมายกำหนดโทษให้จำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี ที่ศาลล่างทั้งสองวางโทษจำคุกเพียง 12 ปีนั้น นับว่าเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น"

                   พิพากษายืน
        ( ประชา บุญวนิช - ดุสิต วราโห - เสริมพงศ์ วรยิ่งยง )

 

      หมายเหตุ

      ปัญหาในคดีนี้ในส่วนที่ว่าผลของการใช้ยากดประสาทปนกาแฟให้ผู้เสียหายกิน ทำให้สิ้นสติไปเกือบจะทันทีเป็นเวลา 12 ชั่วโมงจึงฟื้นคืนสตินั้น ผลถึงขนาดนี้เป็นอันตรายแก่จิตใจตามความหมายในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 และ 339 วรรค 3 หรือไม่การใช้สารที่เป็นยากดประสาทให้กินเป็นการกระทำให้เกิดผลแก่จิตใจผลนั้นถึงขนาดที่ได้ชื่อว่าเป็นอันตรายหรือไม่เป็นข้อยากที่จะต้องพิจารณาตามแนวที่ศาลได้วินิจฉัยไว้โดยเทียบเคียงกับความคิดเห็นของวิญญูชนทั่วไปเป็นหลัก คำว่าเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจนี้ตามมาตรา 254 เดิมในกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ใช้คำว่าทำร้ายถึง "ทุพพลภาพหรือวิกลจริต" จากร่างภาษาอังกฤษที่ว่าinjurethebodyormind ซึ่งตามตัวอักษรก็แปลว่าทำความเสียหายแก่กายหรือจิตใจ โดยเป็นที่เข้าใจกันว่า ถึงทุพพลภาพหรือวิกลจริตนั้นเป็นการเกินและหนักไป ศาลจึงพิจารณาตามความหมายที่ควรจะเป็นในมาตรา 295 และ 339 จึงใช้คำว่า เป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกัน ตามบรรทัดฐานที่เคยมีมา เมาหมดสติจนรุ่งเช้าจึงรู้สึกตัวไม่ถือเป็นวิกลจริตตาม มาตรา 254 กฎหมายลักษณะอาญาเดิม (คำพิพากษาฎีกาที่ 518 ถึง 520/2462,3 ธส.321)เรื่องนี้เป็นกรณีตามกฎหมาย มาตรา254 เดิมซึ่งใช้คำว่าถึงวิกลจริตต่อมา อาการวิงเวียนคลื่นไส้ไม่ได้สติคล้ายเป็นบ้าไป 15ชั่วโมงถือเป็นทำร้ายถึงวิกลจริตตาม มาตรา 254(คำพิพากษาฎีกาที่626/2493,2493 ฎ.608) เรื่องหลังนี้ดูจะสมเหตุผลมากกว่าและใกล้เคียงกับฎีกาปัจจุบันนี้ ส่วนการทำให้โกรธ ให้กลัว ให้เสียใจเป็นอารมณ์ ซึ่งเป็นอาการอันเกิดจากจิตใจ ไม่ใช่ตัวจิตใจโดยแท้ไม่เป็นอันตรายแก่จิตใจ อาการวิงเวียนเป็นไข้เป็นผลทางประสาทจากจิตใจเกิดแก่กายมากกว่าเกิดแก่จิตใจ น่าจะพิจารณาในแง่เป็นอันตรายแก่กายหรือไม่มากกว่าเป็นอันตรายแก่จิตใจ จิตใจเป็นที่เกิดของความรู้สึกนึกคิด ความรู้สึกสำนึก ประสาทและอาการทางประสาทเป็นเรื่องของร่างกายหมดสติเป็นเรื่องของจิตใจ แต่เกิดจากการใช้สารระงับประสาทเป็นการกระทำแก่กายให้เกิดผลเป็นอันตรายแก่จิตใจนั่นเอง

โดยสรุปการใช้ยากดประสาทให้กินเป็นการกระทำต่อกายเพราะประสาทเป็นส่วนของร่างกาย แต่ไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายเพียงแต่วิงเวียนปวดศีรษะเป็นไข้ ไม่ถึงเป็นอันตรายแก่กายแต่อาการที่เป็นผลเกิดแก่จิตใจคือสลบหมดสติเป็นผลแก่จิตใจหมดสติถึง 12 ชั่วโมงถือเป็นอันตรายแก่จิตใจ หากสลบเพียงชั่วครู่ไม่ถือเป็นอันตรายแก่จิตใจ (คำพิพากษาฎีกาที่ 680/2488,2488 ฎ.642,ที่ 569/2496,2496 ฎ.593)
         จิตติ

ปรึกษากฎหมาย  ปรึกษาทนายความ ลีนนท์  พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 0859604258   สำนักงานกฎหมายพีศิริ ทนายความ
 




เกี่ยวกับคดีอาญา

การนับอายุความคดีความผิดอันยอมความได้
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากในฟ้องที่มิใช่ข้อสาระสำคัญ
ปลัดกระทรวงไม่มีอำนาจสั่งย้ายโจทก์ไปดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัด
จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่
การสนทนาผ่านเมสเซนเจอร์ไม่เป็นการกล่าวไขข่าวให้แพร่หลาย
ภยันตรายจากการประทุษร้ายที่จะใช้อ้างเพื่อการป้องกันสิทธิ
ฟ้องข้อหาค้ามนุษย์ บังคับใช้แรงงาน ข่มขืนใจผู้อื่น หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น
กระทำชำเราเด็กและพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปีจำคุก 48 ปี
"อนาจาร" มีความหมายว่า การกระทำที่ไม่สมควรทางเพศ
พาเด็กหญิงจากที่เปิดเผยเข้าไปในจุดลับตาผู้คน
หมิ่นประมาทกับดูหมิ่นซึ่งหน้า-ความผิดอาญามีโทษหนักเบาแตกต่างกัน
พรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย
ความผิดอันยอมความได้ | คดีหมิ่นประมาท | ร้องทุกข์ภายในสามเดือน
บันดาลโทสะหรือพยายามฆ่า
มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแต่จำเลยหลบหนีขาดอายุความอย่างไร
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร,เต็มใจไปด้วย
ขู่เข็ญให้จ่ายเงิน มิฉะนั้นเปิดเผยความลับวีดีโอ-ความสัมพันธ์ทางเพศ รีดเอาทรัพย์
ความผิดตามมาตรา 149 บทเฉพาะและมาตรา 157 บททั่วไป
พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
งดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือเล็งเห็นผลว่าอาจถึงแก่ความตายเป็นพยายามฆ่า
ลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะ
ลักทรัพย์นายจ้าง ปลอมเอกสารสิทธิ การกระทำกรรมเดียว
ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจเหนือศาลทหาร
ล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครอง
พกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
การกระทำโดยพลาด | พยายามฆ่า
ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
รอการลงโทษ,ให้การรับสารภาพ
เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
การกระทำชำเราที่ไม่ต้องรับโทษ
คำร้องทุกข์ | อำนาจพนักงานสอบสวน
ขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ-มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
ความผิดฐานบุกรุกเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร
พาไปเพื่อการอนาจาร -บุคคลอายุกว่าสิบห้าปี
ความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน
รอการกำหนดโทษ | รอการลงโทษ | พรบ.ล้างมลทิน
เบิกความอันเป็นเท็จในศาล
ป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
บันดาลโทสะเพราะเหตุยั่วยุให้โมโห
หมิ่นประมาท | เข้าใจโดยสุจริต
ความผิดฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร | รับส่งเด็กนักเรียน
บันดาลโทสะต้องถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง
หมิ่นประมาท | หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์โฆษณา
วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องห้ามฎีกา
บิดาบันดาลโทสะ | ผู้เสียหายด่าจำเลย(บิดา)หยาบคาย
เจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร
การริบทรัพย์สิน | ใช้ในการกระทำความผิด
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
คำว่า-วิชาชีพ-ในคดีอาญา
หลบหนีไปจากความควบคุมตามอำนาจของพนักงานสอบสวน
พยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจำคุกตลอดชีวิต
สเปรย์พริกไทยไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ
กระทำอนาจารต่อศิษย์นอกเวลาเรียน
ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ยังคงเป็นป่าตาม พ.ร.บ. ป่าไม้
ลงลายมือชื่อรับรองคนต่างด้าว 7 คน
ผู้สนับสนุนให้จำเลยกระทำความผิด
ทวงหนี้ลักษณะข่มขู่ว่าไม่จ่ายจะเดือดร้อนจำคุก 3 ปี
การทำนากุ้งไม่ใช่การประกอบอาชีพกสิกรรม
ลักทรัพย์นายจ้าง, ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
การจับกุมมิชอบกับการฟ้องคดีอาญา
รวบรวมฎีกาเรื่องเบิกความเท็จ
คำขอในส่วนแพ่งเนื่องความผิดอาญา
แม้ผู้ตายยิงจำเลยก่อนอ้างเหตุป้องกันตัวไม่ได้
ทำร้ายร่างกายกับการป้องกันตัว
พรากเด็กต่ำ15 ปี ไปเพื่อการอนาจารจำคุก 5 ปี
ซื้อเสียงเลือกตั้งไม่รอลงอาญา
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดอันพึงริบ
การเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
กระทำชำเราต่างวันต่างเวลาและต่างสถานที่ผิดหลายกรรม