ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletคำพิพากษาศาลฎีกา
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแต่จำเลยหลบหนีขาดอายุความอย่างไร

 ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความ นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

 

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

peesirilaw@leenont

 

มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแต่จำเลยหลบหนีขาดอายุความอย่างไร

ถ้าผู้กระทำความผิดหรือจำเลยหลบหนีไปเมื่อศาลมีคำพิพากษาลงโทษแล้วและยังไม่ได้ตัวผู้กระทำความผิดมาเพื่อรับโทษ นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด เกินกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ตาม ป. อาญามาตรา 98 จะลงโทษผู้กระทำความผิดไม่ได้ เช่น จำเลยหลบหนีไปไม่มาฟังคำสั่งศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และคำพิพากษาศาลฎีกา การนับระยะเวลาว่าจะลงโทษจำเลยได้หรือไม่ จึงต้องนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ

 

     คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10494/2558

บทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 98 มีความหมาย 2 กรณี คือเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด กรณีแรก ถ้าผู้กระทำความผิดยังมิได้รับโทษ ซึ่งหมายถึงหลบหนีไปก่อนศาลมีคำพิพากษาลงโทษ หรือหลบหนีไปเมื่อศาลมีคำพิพากษาลงโทษแล้วและยังไม่ได้ตัวผู้กระทำความผิดมาเพื่อรับโทษ นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด เกินกำหนดเวลาที่กำหนดไว้จะลงโทษผู้กระทำความผิดไม่ได้ กรณีที่สอง ถ้าผู้กระทำความผิดได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีไป ซึ่งหมายถึงหลบหนีไประหว่างต้องโทษและยังไม่ได้ตัวผู้กระทำความผิดมาเพื่อรับโทษ นับแต่วันที่ผู้กระทำความผิดหลบหนีเกินกำหนดเวลาที่กำหนดไว้จะลงโทษผู้กระทำความผิดไม่ได้ ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีไปไม่มาฟังคำสั่งศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และคำพิพากษาศาลฎีกา จึงเป็นกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหายังไม่ได้รับโทษตามคำพิพากษา การนับระยะเวลาว่าจะลงโทษผู้ถูกกล่าวหาได้หรือไม่ จึงต้องนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ถูกกล่าวหา เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังวันที่ 24 เมษายน 2555 คดีจึงถึงที่สุดในวันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งเป็นวันที่ได้ตัวผู้ถูกกล่าวหามาจึงไม่เกินห้าปีอันล่วงเลยการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 98 (4)

คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงโทษผู้ถูกกล่าวหาว่า ประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นการละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31 (1), 33 วรรคสาม ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ให้จำคุก 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้จำคุก 3 เดือน คดีถึงที่สุด ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาลับหลังผู้ถูกกล่าวหา เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2555 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 182 และออกหมายจับผู้ถูกกล่าวหา ต่อมาวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 เจ้าพนักงานตำรวจจับผู้ถูกกล่าวหาได้นำตัวส่งศาลชั้นต้น ผู้ถูกกล่าวหาแถลงว่าคดีของผู้ถูกกล่าวหาขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 98 ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุด

       ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ถูกกล่าวหาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน อายุความที่ผู้ถูกกล่าวหาต้องรับผิดคือภายในห้าปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 98 (4) ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาวันที่ 24 เมษายน 2555 ถือว่าคำพิพากษาถึงที่สุดในวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา นับถึงวันนี้ (4 พฤศจิกายน 2557) ยังไม่เกินห้าปีคดีจึงไม่เกินกำหนดเวลาการลงโทษ จึงให้ออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกา

ผู้ถูกกล่าวหาอุทธรณ์

       ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

ผู้ถูกกล่าวหาฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ถูกกล่าวหาว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดชอบหรือไม่ ที่ผู้ถูกกล่าวหาฎีกาว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 98 บัญญัติว่า เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด ผู้นั้นยังมิได้รับโทษก็ดี ได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีก็ดี ถ้ายังมิได้ตัวผู้นั้นมาเพื่อรับโทษนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด หรือนับแต่วันที่ผู้กระทำความผิดหลบหนี... เมื่อผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีไม่ไปฟังคำสั่งศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และคำพิพากษาศาลฎีกา อายุความจึงยังคงเดินอยู่ จึงต้องนับอายุความตั้งแต่วันที่ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีนับแต่วันที่ 8 เมษายน 2551 ที่ศาลชั้นต้นออกหมายจับผู้ถูกกล่าวหา เมื่อนับถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 จึงเกินกว่า 5 ปี แล้วนั้น เห็นว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 98 บัญญัติว่า เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด ผู้นั้นยังมิได้รับโทษก็ดี ได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีก็ดี ถ้ายังมิได้ตัวผู้นั้นมาเพื่อรับโทษนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดหรือนับแต่วันที่ผู้กระทำความผิดหลบหนี แล้วแต่กรณีเกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ เป็นอันล่วงเลยการลงโทษ จะลงโทษผู้นั้นมิได้... บทบัญญัติดังกล่าวมีความหมาย 2 กรณี กล่าวคือ เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด กรณีแรก ถ้าผู้กระทำความผิดยังมิได้รับโทษซึ่งหมายถึงหลบหนีไปก่อนศาลมีคำพิพากษาลงโทษ หรือหลบหนีไปเมื่อศาลมีคำพิพากษาลงโทษแล้วและยังไม่ได้ตัวผู้กระทำความผิดมาเพื่อรับโทษ นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดเกินกำหนดเวลาที่กำหนดไว้จะลงโทษผู้กระทำความผิดไม่ได้ และกรณีที่สอง ถ้าผู้กระทำความผิดได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีไปซึ่งหมายถึงหลบหนีไประหว่างต้องโทษและยังไม่ได้ตัวผู้กระทำความผิดมาเพื่อรับโทษนับแต่วันที่ผู้กระทำความผิดหลบหนี เกินกำหนดเวลาที่กำหนดไว้จะลงโทษผู้กระทำความผิดไม่ได้ คดีนี้ ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีไม่มาฟังคำสั่งศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และคำพิพากษาศาลฎีกา และเพิ่งได้ตัวผู้ถูกกล่าวหามารับโทษตามคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 จึงเป็นกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหายังไม่ได้รับโทษตามคำพิพากษา การนับระยะเวลาว่าจะลงโทษผู้ถูกกกล่าวหาได้หรือไม่ จึงต้องนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ถูกกล่าวหา เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังวันที่ 24 เมษายน 2555 คดีจึงถึงที่สุดในวันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งเป็นวันที่ได้ตัวผู้ถูกกล่าวหามาจึงยังไม่เกินห้าปี อันจะล่วงเลยการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 98 (4) ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ถูกกล่าวหาฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน

  แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

 




เกี่ยวกับคดีอาญา

การนับอายุความคดีความผิดอันยอมความได้
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากในฟ้องที่มิใช่ข้อสาระสำคัญ
ปลัดกระทรวงไม่มีอำนาจสั่งย้ายโจทก์ไปดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัด
จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่
การสนทนาผ่านเมสเซนเจอร์ไม่เป็นการกล่าวไขข่าวให้แพร่หลาย
ภยันตรายจากการประทุษร้ายที่จะใช้อ้างเพื่อการป้องกันสิทธิ
ฟ้องข้อหาค้ามนุษย์ บังคับใช้แรงงาน ข่มขืนใจผู้อื่น หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น
กระทำชำเราเด็กและพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปีจำคุก 48 ปี
"อนาจาร" มีความหมายว่า การกระทำที่ไม่สมควรทางเพศ
พาเด็กหญิงจากที่เปิดเผยเข้าไปในจุดลับตาผู้คน
หมิ่นประมาทกับดูหมิ่นซึ่งหน้า-ความผิดอาญามีโทษหนักเบาแตกต่างกัน
พรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย
ความผิดอันยอมความได้ | คดีหมิ่นประมาท | ร้องทุกข์ภายในสามเดือน
บันดาลโทสะหรือพยายามฆ่า
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร,เต็มใจไปด้วย
ขู่เข็ญให้จ่ายเงิน มิฉะนั้นเปิดเผยความลับวีดีโอ-ความสัมพันธ์ทางเพศ รีดเอาทรัพย์
ความผิดตามมาตรา 149 บทเฉพาะและมาตรา 157 บททั่วไป
พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
งดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือเล็งเห็นผลว่าอาจถึงแก่ความตายเป็นพยายามฆ่า
ลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะ
ลักทรัพย์นายจ้าง ปลอมเอกสารสิทธิ การกระทำกรรมเดียว
ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจเหนือศาลทหาร
ล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครอง
พกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
การกระทำโดยพลาด | พยายามฆ่า
ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
รอการลงโทษ,ให้การรับสารภาพ
เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
การกระทำชำเราที่ไม่ต้องรับโทษ
คำร้องทุกข์ | อำนาจพนักงานสอบสวน
ขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ-มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
ความผิดฐานบุกรุกเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร
พาไปเพื่อการอนาจาร -บุคคลอายุกว่าสิบห้าปี
ความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน
รอการกำหนดโทษ | รอการลงโทษ | พรบ.ล้างมลทิน
เบิกความอันเป็นเท็จในศาล
ป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
บันดาลโทสะเพราะเหตุยั่วยุให้โมโห
หมิ่นประมาท | เข้าใจโดยสุจริต
ความผิดฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้
เป็นอันตรายแก่จิตใจ - ใช้ยาสลบใส่กาแฟ
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร | รับส่งเด็กนักเรียน
บันดาลโทสะต้องถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง
หมิ่นประมาท | หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์โฆษณา
วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องห้ามฎีกา
บิดาบันดาลโทสะ | ผู้เสียหายด่าจำเลย(บิดา)หยาบคาย
เจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร
การริบทรัพย์สิน | ใช้ในการกระทำความผิด
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
คำว่า-วิชาชีพ-ในคดีอาญา
หลบหนีไปจากความควบคุมตามอำนาจของพนักงานสอบสวน
พยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจำคุกตลอดชีวิต
สเปรย์พริกไทยไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ
กระทำอนาจารต่อศิษย์นอกเวลาเรียน
ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ยังคงเป็นป่าตาม พ.ร.บ. ป่าไม้
ลงลายมือชื่อรับรองคนต่างด้าว 7 คน
ผู้สนับสนุนให้จำเลยกระทำความผิด
ทวงหนี้ลักษณะข่มขู่ว่าไม่จ่ายจะเดือดร้อนจำคุก 3 ปี
การทำนากุ้งไม่ใช่การประกอบอาชีพกสิกรรม
ลักทรัพย์นายจ้าง, ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
การจับกุมมิชอบกับการฟ้องคดีอาญา
รวบรวมฎีกาเรื่องเบิกความเท็จ
คำขอในส่วนแพ่งเนื่องความผิดอาญา
แม้ผู้ตายยิงจำเลยก่อนอ้างเหตุป้องกันตัวไม่ได้
ทำร้ายร่างกายกับการป้องกันตัว
พรากเด็กต่ำ15 ปี ไปเพื่อการอนาจารจำคุก 5 ปี
ซื้อเสียงเลือกตั้งไม่รอลงอาญา
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดอันพึงริบ
การเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
กระทำชำเราต่างวันต่างเวลาและต่างสถานที่ผิดหลายกรรม