ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องห้ามฎีกา

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความ นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

 

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

 

     เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวเยาวชนไปฝึกอบรม

     คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า เยาวชนมีความผิดลงโทษจำคุก 27 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งเยาวชนไปฝึกอบรมจนกว่าจะมีอายุครบ 24 ปี บริบูรณ์ ศาลอุทธรณ์แก้เป็นว่าให้จำคุกเยาวชน 12 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวเยาวชนไปฝึกอบรมมีกำหนดขึ้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 4 ปี เยาวชนฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่า การที่เยาวชนฎีกาแต่เพียงว่า ขอให้ส่งตัวเยาวชนไปให้บิดามารดาดูแลแทนการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนจึงต้องห้ามฎีกา ไม่มีบทบัญญัติใดให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้

 

      คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3937/2553

พนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์      โจทก์

     จำเลยที่ 1 ฎีกาเพียงว่าขอให้ส่งตัวจำเลยที่ 1 ไปให้บิดามารดาดูแลแทนการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรม เห็นว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 แต่ยังคงเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นให้ส่งตัวจำเลยที่ 1 ไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมเช่นเดิม เพียงแต่แก้ไขระยะเวลาการฝึกและอบรม อันเป็นการกำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.104 (2) ดังนี้แม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 1 จะโต้แย้งว่าไม่ได้ร่วมกระทำความผิด แต่ในชั้นฎีกาจำเลยที่ 1 เพียงแต่ขอให้ศาลมอบตัวจำเลยที่ 1 ให้บิดามารดาเพื่อดูแลแทนการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมอันเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 121 ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามตามมาตรา 124 ประกอบมาตรา 121 และไม่มีบทบัญญัติใดให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้เหมือนในชั้นอุทธรณ์ และแม้ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่ง แต่ไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 โดยอาศัย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ เพราะเป็นกรณีที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ดังนี้ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะเห็นว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่จึงไม่รับวินิจฉัย

          (มติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2553)

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 80, 83, 91, 288, 289, 371 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิ ริบกระสุนปืนของกลาง

          จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธ
          ระหว่างพิจารณานางปรียาภรณ์ มารดาของนายศราวุธ ผู้ตายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 83 และมาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 80, 83 มาตรา 371 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคสองและวรรคสาม (ที่ถูก วรรคสาม), 72 ทวิ วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 1 มีอายุ 17 ปีเศษ ลดมาตราส่วนโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 กระทงละกึ่งหนึ่ง ฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 25 ปี ฐานมีอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานพาอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ไปในเมือง หมู่บ้าน และทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 1 ปี รวมจำคุก 27 ปี อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยที่ 1 ไปฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 6 จังหวัดนครสวรรค์ จนกว่าจำเลยที่ 1 จะมีอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์ จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80, 83 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคสองและวรรคสาม (ที่ถูก วรรคสาม), 72 ทวิ วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 2 มีอายุ 17 ปีเศษ อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534 มาตรา 106 ให้รอการกำหนดโทษจำเลยที่ 2 ไว้มีกำหนด 2 ปี ให้ผู้ปกครองจำเลยที่ 2 รับตัวจำเลยที่ 2 ไปปกครองดูแลโดยเคร่งครัด และให้คุมความประพฤติจำเลยที่ 2 ไว้มีกำหนด 2 ปี ให้จำเลยที่ 2 ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก 3 เดือนต่อครั้ง มีกำหนด 2 ปี ให้ทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่จำเลยที่ 2 และพนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ให้จำเลยที่ 2 ประกอบอาชีพหรือเรียนหนังสือให้เป็นกิจจะลักษณะ ให้ละเว้นการคบหาสมาคมหรือการประพฤติใดอันอาจนำไปสู่การกระทำผิดเช่นเดียวกันนี้อีก และห้ามดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือเสพยาเสพติดให้โทษทุกชนิด ห้ามเที่ยวเตร่ในเวลากลางคืน หรือในสถานเริงรมย์ทุกแห่ง และห้ามเกี่ยวข้องกับการพนันทุกชนิด กับให้จำเลยที่ 2 อยู่ในโอวาทของผู้ปกครองโดยเคร่งครัด และให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 3 ข้อหาอื่นสำหรับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้ให้ยก ริบกระสุนปืนของกลาง

          จำเลยที่ 1 อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 83 และมาตรา 288 ประกอบมาตรา 83, 80 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 เมื่อลดมาตราส่วนโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 กึ่งหนึ่งแล้ว ให้จำคุก 10 ปี เมื่อรวมกับโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้ว เป็นจำคุก 12 ปี อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยที่ 1 ไปฝึกและอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 6 จังหวัดนครสวรรค์ มีกำหนดขั้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 4 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้จำเลยที่ 1 ฟัง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

          จำเลยที่ 1 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาแต่เพียงว่าขอให้ส่งตัวจำเลยที่ 1 ไปให้บิดามารดาดูแลแทนการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมนั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 แต่ยังคงเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นให้ส่งตัวจำเลยที่ 1 ไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมเช่นเดิม เพียงแต่แก้ไขระยะเวลาการฝึกและอบรม อันเป็นการกำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) ดังนี้แม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 1 จะโต้แย้งว่าไม่ได้ร่วมกระทำความผิด แต่ในชั้นฎีกาจำเลยที่ 1 เพียงแต่ขอให้ศาลมอบตัวจำเลยที่ 1 ให้บิดามารดาเพื่อดูแลแทนการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมอันเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 121 ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามตามมาตรา 124 ประกอบมาตรา 121 และไม่มีบทบัญญัติใดให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ และแม้ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่ง แต่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 เป็นกฎหมายเฉพาะ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 โดยอาศัยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ ดังนี้ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มานั้น เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

 

          พิพากษายกฎีกาของจำเลยที่ 1

( พิษณุ ดำรงเกียรติวัฒนา - ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล - สิริรัตน์ จันทรา )
ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์ - นายพายัพ สนองไทย
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 - นางสาวนันทา ปัทมสูต

มาตรา 121 คดีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่งแล้ว ให้อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคได้ตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเหมือนคดีธรรมดา เว้นแต่ใน กรณีที่ศาลเยาวชนและครอบครัว ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
 (1) กำหนดให้ใช้วิธีการตาม มาตรา 74 (1) และ(5) แห่งประมวลกฎ หมายอาญา
 (2) กำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม มาตรา 104 เว้น แต่ในกรณีที่การใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนนั้นเป็นการพิพากษาหรือมีคำ สั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปเพื่อกักและอบรมมีกำหนดระยะเวลาเกินสามปี
 (3) กำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม มาตรา 105 เว้น แต่การกักและอบรมนั้นมีกำหนดระยะเวลาขั้นสูงเกินสามปี

มาตรา 124 คดีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีเยาวชนและ ครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง ให้ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นไปยังศาล ฎีกาได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ เหมือนคดีธรรมดา เว้นแต่กรณีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม มาตรา 121
 
มาตรา 104 ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจ ใช้วิธีการสำหรับเด็ก และเยาวชนแทนการลงโทษอาญาหรือวิธีการเพื่อความ ปลอดภัยได้ดังต่อไปนี้
 (1) เปลี่ยนโทษจำคุกหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยตาม มาตรา 39 (1) แห่งประมวลกฎหมายอาญา เป็นกักและอบรม ซึ่งจะต้องกักและอบรมใน สถานกักและอบรมของสถานพินิจตามเวลาที่ศาลกำหนด แต่ต้องไม่เกินกว่า เด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์
 (2) เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังสถาน พินิจ สถานศึกษา หรือสถานฝึกและอบรม หรือสถานแนะนำทางจิต ตามเวลา ที่ศาลกำหนดแต่ต้องไม่เกินกว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์
 (3) เปลี่ยนโทษปรับเป็นการคุมความประพฤติ โดยกำหนดเงื่อนไขข้อ เดียวหรือหลายข้อ ตาม มาตรา 100 ด้วยหรือไม่ก็ได้ ถ้าได้กำหนดเงื่อนไข ไว้ให้นำ มาตรา 100 วรรคสองและวรรคสามและ มาตรา 101 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
 หลักเกณฑ์วิธีการกักและอบรม หรือการฝึกและอบรมเด็กหรือเยาวชนให้ เป็นไปที่กำหนดในกฎกระทรวง
 ในกรณีที่ศาลได้พิจารณาความหนักเบาแห่งข้อหา และพฤติการณ์แห่งคดี แล้วเห็นว่าควรจะกักตัวหรือควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชนตาม (1) หรือ (2) ต่อไปหลังจากที่เด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้ว ให้ศาลระบุ ในคำพิพากษาให้ส่งตัวไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนด

ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ ลีนนท์  โทร 0859604258   สำนักงานกฎหมายพีศิริ ทนายความ
     




เกี่ยวกับคดีอาญา

การนับอายุความคดีความผิดอันยอมความได้
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากในฟ้องที่มิใช่ข้อสาระสำคัญ
ปลัดกระทรวงไม่มีอำนาจสั่งย้ายโจทก์ไปดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัด
จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่
การสนทนาผ่านเมสเซนเจอร์ไม่เป็นการกล่าวไขข่าวให้แพร่หลาย
ภยันตรายจากการประทุษร้ายที่จะใช้อ้างเพื่อการป้องกันสิทธิ
ฟ้องข้อหาค้ามนุษย์ บังคับใช้แรงงาน ข่มขืนใจผู้อื่น หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น
กระทำชำเราเด็กและพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปีจำคุก 48 ปี
"อนาจาร" มีความหมายว่า การกระทำที่ไม่สมควรทางเพศ
พาเด็กหญิงจากที่เปิดเผยเข้าไปในจุดลับตาผู้คน
หมิ่นประมาทกับดูหมิ่นซึ่งหน้า-ความผิดอาญามีโทษหนักเบาแตกต่างกัน
พรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย
ความผิดอันยอมความได้ | คดีหมิ่นประมาท | ร้องทุกข์ภายในสามเดือน
บันดาลโทสะหรือพยายามฆ่า
มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแต่จำเลยหลบหนีขาดอายุความอย่างไร
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร,เต็มใจไปด้วย
ขู่เข็ญให้จ่ายเงิน มิฉะนั้นเปิดเผยความลับวีดีโอ-ความสัมพันธ์ทางเพศ รีดเอาทรัพย์
ความผิดตามมาตรา 149 บทเฉพาะและมาตรา 157 บททั่วไป
พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
งดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือเล็งเห็นผลว่าอาจถึงแก่ความตายเป็นพยายามฆ่า
ลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะ
ลักทรัพย์นายจ้าง ปลอมเอกสารสิทธิ การกระทำกรรมเดียว
ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจเหนือศาลทหาร
ล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครอง
พกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
การกระทำโดยพลาด | พยายามฆ่า
ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
รอการลงโทษ,ให้การรับสารภาพ
เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
การกระทำชำเราที่ไม่ต้องรับโทษ
คำร้องทุกข์ | อำนาจพนักงานสอบสวน
ขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ-มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
ความผิดฐานบุกรุกเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร
พาไปเพื่อการอนาจาร -บุคคลอายุกว่าสิบห้าปี
ความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน
รอการกำหนดโทษ | รอการลงโทษ | พรบ.ล้างมลทิน
เบิกความอันเป็นเท็จในศาล
ป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
บันดาลโทสะเพราะเหตุยั่วยุให้โมโห
หมิ่นประมาท | เข้าใจโดยสุจริต
ความผิดฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้
เป็นอันตรายแก่จิตใจ - ใช้ยาสลบใส่กาแฟ
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร | รับส่งเด็กนักเรียน
บันดาลโทสะต้องถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง
หมิ่นประมาท | หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์โฆษณา
บิดาบันดาลโทสะ | ผู้เสียหายด่าจำเลย(บิดา)หยาบคาย
เจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร
การริบทรัพย์สิน | ใช้ในการกระทำความผิด
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
คำว่า-วิชาชีพ-ในคดีอาญา
หลบหนีไปจากความควบคุมตามอำนาจของพนักงานสอบสวน
พยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจำคุกตลอดชีวิต
สเปรย์พริกไทยไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ
กระทำอนาจารต่อศิษย์นอกเวลาเรียน
ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ยังคงเป็นป่าตาม พ.ร.บ. ป่าไม้
ลงลายมือชื่อรับรองคนต่างด้าว 7 คน
ผู้สนับสนุนให้จำเลยกระทำความผิด
ทวงหนี้ลักษณะข่มขู่ว่าไม่จ่ายจะเดือดร้อนจำคุก 3 ปี
การทำนากุ้งไม่ใช่การประกอบอาชีพกสิกรรม
ลักทรัพย์นายจ้าง, ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
การจับกุมมิชอบกับการฟ้องคดีอาญา
รวบรวมฎีกาเรื่องเบิกความเท็จ
คำขอในส่วนแพ่งเนื่องความผิดอาญา
แม้ผู้ตายยิงจำเลยก่อนอ้างเหตุป้องกันตัวไม่ได้
ทำร้ายร่างกายกับการป้องกันตัว
พรากเด็กต่ำ15 ปี ไปเพื่อการอนาจารจำคุก 5 ปี
ซื้อเสียงเลือกตั้งไม่รอลงอาญา
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดอันพึงริบ
การเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
กระทำชำเราต่างวันต่างเวลาและต่างสถานที่ผิดหลายกรรม