
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความ นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258
-ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th
-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line :
(1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3) peesirilaw หรือ (4) @peesirilaw (5) @leenont1
-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย QR CODE

ลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะ
ลักทรัพย์เงินเหรียญจำนวน 842 บาท ของวัด และเงินเหรียญอยู่ในพานที่ตั้งอยู่ที่พระพุทธรูปเพื่อให้ประชาชนมากราบไว้สักการบูชาในวัดซึ่งสถานดังกล่าวประชาชนสามารถเข้าไปได้จึงเป็น "สาธารณสถาน" การลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5456/2553
พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด โจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักเหรียญกษาปณ์รวมเป็นเงิน 842 บาท ของวัดผู้เสียหายโดยเหรียญกษาปณ์ดังกล่าวอยู่ในพานและบาตรวางอยู่บนชั้นสามของอาคารเจษฎาบดินทร์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเพื่อให้ประชาชนมากราบไหว้สักการะบูชาภายในวัดผู้เสียหาย สถานที่เกิดเหตุลักทรัพย์จึงเป็นสถานที่ซึ่งประชาชนทั่วไปมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ ตรงกับคำนิยามคำว่า “สาธารณสถาน” ตาม ป.อ. มาตรา 1 (3) ทั้งนี้เพื่อการสักการะบูชาพระพุทธรูปซึ่งประดิษฐานไว้ให้ประชาชนกราบไหว้สักการะบูชา จึงเป็นการลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะดังที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 93, 335 (1) (9) ริบกระเป๋า 1 ใบของกลาง และเพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่งตามกฎหมาย
จำเลยให้การรับสารภาพ และรับว่าเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1) (9) วรรคสอง จำคุก 2 ปี เพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 เป็นจำคุก 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน ริบกระเป๋าของกลาง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1) วรรคแรก ให้ยกฟ้องโจทก์เฉพาะข้อหาที่ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (9) นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะหรือไม่ เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักเหรียญกษาปณ์รวมเป็นเงิน 842 บาท ของวัดผู้เสียหาย โดยเหรียญกษาปณ์ดังกล่าวอยู่ในพานและบาตรวางอยู่บนชั้นสามของอาคารเจษฎาบดินทร์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเพื่อให้ประชาชนมากราบไหว้สักการบูชาภายในวัดผู้เสียหาย สถานที่เกิดเหตุลักทรัพย์จึงเป็นสถานที่ซึ่งประชาชนทั่วไปมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ตรงกับนิยามคำว่า “สาธารณสถาน” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (3) ทั้งนี้เพื่อการสักการะบูชาพระพุทธรูปซึ่งประดิษฐานไว้ให้ประชาชนกราบไหว้สักการะบูชา จึงเป็นการลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะดังที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ไม่ปรับบทลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (9) วรรคแรกด้วยนั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (9) วรรคแรก นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
( ธนสิทธิ์ นิลกำแหง - มนูพงศ์ รุจิกัณหะ - สมควร วิเชียรวรรณ )
ศาลอาญากรุงเทพใต้ - นางชมภู่ ใจเงินสุทธิ์ มากมณี
ศาลอุทธรณ์ - นายสุภัทร อยู่ถนอม
มาตรา 335 ผู้ใดลักทรัพย์
(1) ในเวลากลางคืน
(2) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือ ในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะ อื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัย โอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัว ภยันตรายใด ๆ
(3) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใด ๆ
(4) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทาง คนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(5) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วย ประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(6) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(7) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สอง คนขึ้นไป
(8) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้ บริการสาธารณที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ ในสถานที่นั้น ๆ
(9) ในสถานที่บูชาสาธารณ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยานที่จอดรถ หรือเรือสาธารณ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยาน สาธารณ
(10) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(11) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(12) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มา จากการกสิกรรมนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาท ถึงหนึ่งหมื่นบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะ ดังที่บัญญัติไว้ในอนุ มาตรา ดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุ มาตรา ขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่ สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับ ประกอบกสิกรรมผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวใน มาตรานี้ เป็นการกระทำ โดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทานและทรัพย์นั้นมีราคา เล็กน้อยศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 334 ก็ได้
ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ ลีนนท์ โทร 0859604258
สำนักงานกฎหมายพีศิริ ทนายความ