ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ลักทรัพย์นายจ้าง, ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย

ลักทรัพย์นายจ้าง, ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย

     จำเลยลักทองคำแท่งและทองคำรูปพรรณของผู้เสียหายไปหรือไม่?โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานใดรู้เห็นว่าจำเลยลักทองคำแท่งและทองคำรูปพรรณของผู้เสียหายไป พยานหลักฐานของโจทก์ คงมีแต่ผู้เสียหายไปร้องทุกข์กล่าวโทษสงสัยว่าจำเลยน่าจะเป็นคนร้ายเนื่องจากมีหลักฐานจับได้ว่าจำเลยลักบัตรเครดิตของตนไปนั้น ยังมีน้ำหนักไม่เพียงพอให้รับฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายรายนี้ เพียงแต่พฤติการณ์ในทางคดีที่จำเลยเป็นคนรับใช้ในบ้านของผู้เสียหาย ๆ มีความไว้ใจให้อยู่บ้านยังกล้าลักบัตรเครดิตของผู้เสียหายไปซื้อสินค้า พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังมีข้อน่าสงสัยว่า จำเลยจะเป็นคนร้ายลักทองคำแท่งและทองคำรูปพรรณของผู้เสียหายไปหรือไม่ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2552

 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด      โจทก์

          การลักบัตรเครดิตของนายจ้างกับการปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอมและฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น เป็นคนละวาระกัน ทั้งทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดก็แตกต่างกัน กล่าวคือทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดฐานลักบัตรเครดิตของนายจ้างเป็นบัตรเครดิต ส่วนทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารใช้เอกสารปลอมและฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่นเป็นสินค่าที่จำเลยได้จากร้านค้าคือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ รองเท้า และสร้อยข้อมือทองคำ ฉะนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน หาใช่กรรมเดียวไม่ แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้อุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหานี้ แต่ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือหลายกรรมต่างกันเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษเสียให้ถูกต้องโดยไม่แก้โทษได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง 212 ประกอบมาตรา 225

          โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า เมื่อระหว่างต้นเดือนมีนาคม 2547 เวลากลางวันถึงปลายเดือนเมษายน 2547 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยลักสร้อยข้อมือทองคำหนัก 1 สลึง 2 เส้นราคา 2,500 บาท สร้อยข้อมือทองคำหนัก 2 สลึง 1 เส้น ราคา 2,500 บาท แหวนทองคำปลอกมีดหนัก 1 สลึง 2 วง ราคา 2,500 บาท สร้อยข้อมือพลอยโกเมนสีแดง 1 เส้น ราคา 11,000 บาท สร้อยคอทองคำลายข้าวโพดหนัก 1 บาท ราคา 4,700 บาท และทองคำแท่งหนัก 10 บาท ราคา 47,000 บาท รวมราคา70,200 บาท ของนางสาวสุภวรรณ ผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยไป และเมื่อวันที่ 18 เมษายน2547เวลากลางวัน จำเลยลักบัตรเครดิตของผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยไป แล้วจำเลยนำบัตรเครดิตวีซ่าการ์ดดังกล่าวไปใช้แสดงต่อนางสาวสุวรรณา พนักงานของร้านเทเลแม็กซ์ สาขาโรบินสันบางรัก เพื่อซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย นางสาวสุวรรณา ร้านเทเลแม็กซ์ สาขาโรบินสันบางรัก ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ผู้อื่นและประชาชน ทั้งนี้จำเลยกระทำโดยทุจริตเพื่อหลอกลวงนางสาวสุวรรณาด้วยการแสดงบัตรเครดิตดังกล่าว แล้วจำเลยแสดงตนเป็นบุคคลตามบัตรเครดิตโดยลงลายมือชื่อ “สุภวรรณ” ซึ่งเป็นลายมือชื่อปลอมในช่องลายมือชื่อด้านล่างของใบบันทึกรายการขายให้เหมือนกับลายมือชื่อในด้านหลังของบัตรเครดิต เพื่อให้นางสาวสุวรรณาหลงเชื่อว่าจำเลยคือบุคคลชื่อสุภวรรณ เจ้าของบัตรเครดิตที่แท้จริงอันเป็นความเท็จ ความจริงแล้วบัตรเครดิตดังกล่าวต้องใช้โดยผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของบัตรเครดิตเท่านั้น โดยการหลอกลวงของจำเลยทำให้นางสาวสุวรรณาหลงเชื่อจึงยอมมอบสินค้าดังกล่าวให้แก่จำเลยไป ต่อมาธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)ได้เรียกเก็บเงินจากผู้เสียหาย ผู้เสียหายชำระเงินให้ธนาคารแล้วและเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2547 เวลากลางวัน จำเลยลักบัตรเครดิตวีซ่าการ์ดของผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยไปแล้วจำเลยนำบัตรเครดิตวีซ่าการ์ดดังกล่าวไปใช้แสดงต่อนางสาวจารุนันท์ พนักงานขายเครื่องหนังของห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาบางรัก เพื่อซื้อรองเท้า โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายนางสาวจารุนันท์ ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาบางรัก ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ผู้อื่นและประชาชน ทั้งนี้จำเลยกระทำโดยทุจริตเพื่อหลอกลวงนางสาวจารุนันท์ ด้วยการแสดงบัตรเครดิตดังกล่าวแล้วจำเลยแสดงตนเป็นบุคคลตามบัตรเครดิตโดยลงลายมือชื่อ “สุภวรรณ” ซึ่งเป็นลายมือชื่อปลอมในช่องลายมือชื่อด้านล่างของใบบันทึกรายการขายให้เหมือนกับลายมือชื่อในด้านหลังของบัตรเครดิตเพื่อให้นางสาวจารุนันท์หลงเชื่อว่าจำเลยคือบุคคลชื่อสุภวรรณ เจ้าของบัตรเครดิตที่แท้จริงอันเป็นความเท็จ ความจริงแล้วบัตรเดรดิตดังกล่าวต้องใช้โดยผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของบัตรเครดิตเท่านั้น โดยการหลอกลวงของจำเลยทำให้นางสาวจารุนันท์หลงเชื่อจึงยอมมอบสินค้าดังกล่าวให้แก่จำเลยไป ต่อมาธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้เรียกเก็บเงินจากผู้เสียหาย ผู้เสียหายชำระเงินให้ธนาคารแล้ว และเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2547 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยลักบัตรเครดิตวีซ่าการ์ดของผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยไป แล้วจำเลยนำบัตรเครดิตวีซ่าการ์ดดังกล่าวไปใช้แสดงต่อนางปริศนา พนักงานขายของร้านออโรล่า สาขาโลตัส สุขุมวิท 50 เพื่อซื้อสร้อยข้อมือทองคำ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย นางปริศนา ร้านออโรล่า สาขาโลตัส สุขุมวิท 50 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ผู้อื่นและประชาชน ทั้งนี้จำเลยกระทำโดยทุจริต เพื่อหลอกลวงนางปริศนาด้วยการแสดงบัตรเครดิตดังกล่าวแล้วจำเลยแสดงตนเป็นบุคคลตามบัตรเครดิตโดยลงลายมือชื่อ “สุภวรรณ” ซึ่งเป็นลายมือชื่อปลอมในช่องลายมือชื่อด้านล่างของใบบันทึกรายการขายให้เหมือนกับลายมือชื่อในด้านหลังของบัตรเครดิตเพื่อให้นางปริศนาหลงเชื่อว่าจำเลยคือบุคคลชื่อสุภวรรณ เจ้าของบัตรเครดิตที่แท้จริงอันเป็นความเท็จความจริงแล้วบัตรเครดิตดังกล่าวต้องใช้โดยผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของบัตรเครดิตเท่านั้น โดยการหลอกลวงของจำเลยทำให้นางปริศนาหลงเชื่อจึงยอมมอบสินค้าดังกล่าวให้แก่จำเลยไป ต่อมาธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้เรียกเก็บเงินจากผู้เสียหาย ผู้เสียหายชำระเงินให้ธนาคารแล้ว ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 268, 335 (1) (11), 341, 342 (1), 91 ให้จำเลยคืนหรือใช้เงิน 102,175.75 บาทแก่ผู้เสียหาย

          จำเลยให้การปฏิเสธ

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 วรรคแรก, 268วรรคแรก, 335 (11) วรรคแรก, 342 (1) เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานลักทองคำแท่งและทองคำรูปพรรณของนายจ้างจำคุก 3 ปี ความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ให้ลงโทษตามมาตรา 268 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 264 วรรคแรก ตามมาตรา 268 วรรคสอง แต่กระทงเดียว และความผิดฐานลักบัตรเครดิตของนายจ้าง ความผิดฐานใช้เอกสารปลอม กับความผิดฐานฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานลักบัตรเครดิตของนายจ้างซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำเลยกระทำความผิดในวันที่ 18 และ 23 เมษายน 2547 เป็นความผิด 2 กรรม ให้ลงโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี เป็นจำคุก 4 ปี และจำเลยกระทำความผิดฐานใช้เอกสารปลอม และความผิดฐานฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2547 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่นซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 2 ปี รวมจำคุก 9 ปี จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน เป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 6 ปี ให้จำเลยคืนหรือใช้เงิน 102,175.75 บาท แก่ผู้เสียหาย ข้อหาอื่นให้ยก

          จำเลยอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องข้อหาลักทองคำแท่งและทองคำรูปพรรณของนายจ้างโทษของความผิดอื่นทุกกระทงนอกจากนี้รวมแล้วจำคุก 6 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้วคงจำคุก 4 ปี ให้จำเลยคืนหรือใช้เงิน 31,975.75 บาท แก่ผู้เสียหาย คำขออื่นให้ยก นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

 โจทก์ฎีกา

 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “...พิเคราะห์แล้ว  ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ยุติว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุในฟ้องมีคนร้ายลักทรัพย์ทองคำแท่งและทองคำรูปพรรณของผู้เสียหายไปตามบัญชีทรัพย์ถูกประทุษร้ายไม่ได้คืนในรายการที่ 2 ถึงรายการที่ 7

   คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยลักทองคำแท่งและทองคำรูปพรรณของผู้เสียหายไปหรือไม่ เห็นว่า โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานใดรู้เห็นว่าจำเลยลักทองคำแท่งและทองคำรูปพรรณของผู้เสียหายไป คงมีแต่ผู้เสียหายไปร้องทุกข์กล่าวโทษสงสัยว่าจำเลยน่าจะเป็นคนร้ายรายนี้เนื่องจากผู้เสียหายมีหลักฐานจับได้ว่าบัตรเครดิตของตนที่ถูกลักไปมีการนำไปซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ยี่ห้อโนเกีย รุ่น 3660 โดยระบุทะเบียนชื่อผู้ขอใช้หมายเลขโทรศัพท์เป็นชื่อจำเลยและหมายเลขในบัตรเครดิตเป็นหมายเลขตรงกับบัตรเครดิตของผู้เสียหายที่ถูกลักไป ซึ่งเป็นหลักฐานเชื่อมโยงถึงตัวจำเลยประกอบกับเมื่อผู้เสียหายสอบถามจำเลยก็ยอมรับว่าได้ลักบัตรเครดิตของผู้เสียหายไปจริงและได้เขียนบันทึกการยอมรับสารภาพไว้ แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับทองคำแท่งและทองคำรูปพรรณ จำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้ลักไป ทั้งบันทึกคำรับสารภาพ จำเลยก็ยอมรับแต่เพียงว่าลักบัตรเครดิต ไม่มีการยอมรับเรื่องทองคำแท่งและทองคำรูปพรรณของผู้เสียหาย หากจำเลยลักไปจริงก็น่าจะยอมรับความจริงทั้งหมดทุกกรณี ในชั้นสอบสวนจำเลยก็ให้การเช่นเดียวกันนี้อีก ดังนี้เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมายืนยันหรือพิสูจน์ได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายลักทองคำแท่งและทองคำรูปพรรณของผู้เสียหายไปจริง แม้โจทก์จะมีนางวิลัย มาเบิกความว่าจำเลยเคยนำทองคำแท่งยาวประมาณ 4 นิ้ว มาอวดให้พยานดูและโจทก์มีสมุดโทรศัพท์ส่วนตัวของจำเลยที่เขียนรายการทรัพย์สินทั้ง 6 รายการไว้ตรงกับลักษณะทองคำแท่งและทองคำรูปพรรณของผู้เสียหายที่หายไปมีการขีดฆ่ารายการนั้นทิ้งมาแสดงสนับสนุนก็ตาม แต่นางวิลัยเคยเป็นลูกจ้างของพี่ชายผู้เสียหาย ทั้งจำเลยเบิกความตอบคำถามค้านของโจทก์ปฏิเสธอยู่ว่า เคยนำสร้อยคอทองคำ 1 เส้น ซึ่งจำเลยซื้อมาในช่วงตรุษจีนเนื่องจากได้รับโบนัสมาให้นางวิลัยดูเท่านั้น จึงอาจทำให้นางวิลัยสับสนในเรื่องตัวทรัพย์และเบิกความไปได้ว่า ทรัพย์ที่จำเลยนำมาให้ดูนั้นเป็นทองคำแท่ง พยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวยังมีน้ำหนักไม่เพียงพอให้รับฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายรายนี้ เพียงแต่พฤติการณ์ในทางคดีที่จำเลยเป็นคนรับใช้ในบ้านของผู้เสียหายซึ่งอยู่ด้วยกันมานานถึง 4 ปี มีความไว้ใจให้อยู่บ้านดูแลมารดาผู้เสียหายที่ป่วย ยังกล้าลักบัตรเครดิตของผู้เสียหายไปซื้อสินค้า เมื่อผู้เสียหายจับได้และตรวจสอบทรัพย์สินในบ้านก็พบว่ามีทองคำแท่งและทองคำรูปพรรณหายไปอีก 6 รายการ และน่าจะเป็นจำเลยที่ลักไป เพราะจำเลยอยู่ในบ้านน่าจะรู้เห็นที่ซ่อนทรัพย์ดังกล่าวได้ดี ก็เป็นแต่เพียงการคาดเดาชวนให้สงสัยในตัวจำเลยเท่านั้น พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังมีข้อน่าสงสัยว่า จำเลยจะเป็นคนร้ายลักทองคำแท่งและทองคำรูปพรรณของผู้เสียหายไปหรือไม่ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในข้อหานี้นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

          อนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาปรับบทความผิดของจำเลยว่า ความผิดฐานลักบัตรเครดิตของนายจ้าง ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมกับความผิดฐานฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่นเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานลักบัตรเครดิตของนายจ้าง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวนั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา เพราะการลักบัตรเครดิตของนายจ้างกับการปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอมและฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น เป็นคนละวาระกัน ทั้งทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดก็แตกต่างกัน กล่าวคือทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดฐานลักบัตรเครดิตของนายจ้างเป็นบัตรเครดิต ส่วนทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอมและฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่นเป็นสินค้าที่จำเลยได้จากร้านค้าคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ รองเท้า และสร้อยข้อมือทองคำ ฉะนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน หาใช่กรรมเดียวไม่ แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้อุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหานี้ แต่ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือหลายกรรมต่างกันเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษเสียให้ถูกต้องโดยไม่แก้โทษได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง 212 ประกอบมาตรา 225”

          พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264 วรรคแรก,268 วรรคแรก, 335 (11) วรรคแรก, 342 (1) เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ลงโทษความผิดฐานลักบัตรเครดิตของนายจ้าง 2 กระทง ความผิดฐานปลอมเอกสาร ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและความผิดฐานฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่นเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 อีก 3 กระทง รวมเป็น 5 กระทง ส่วนโทษและนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์.

     พยานบอกเล่ามีน้ำหนักน้อยยกประโยชน์ แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย

ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 3 มีส่วนเกี่ยวข้องกับเมทแอมเฟตามีนของกลางอย่างไร เพราะเมทแอมเฟตามีนของกลางตามข้อเท็จจริงยึดได้ในห้องพักของจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเชื่อมโยงแน่นอนว่าเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 3  แม้จะปรากฏในบันทึกการจับกุมว่าจำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพ ก็ต้องห้ามมิให้รับฟัง ส่วนในชั้นสอบสวนปรากฏว่า ครั้งแรกจำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพ ต่อมาสอบสวนเพิ่มเติมให้การปฏิเสธ อ่านถ้อยคำให้การโดยรวมแล้วเหมือนจำเลยที่ 3 ให้ถ้อยคำรับสารภาพไม่ชัดแจ้งว่าเป็นการกระทำเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนของกลางในคดีนี้หรือเป็นการกระทำก่อนเกิดเหตุ  ทั้งจำเลยที่ 1 ก็มาเบิกความว่าจำเลยที่ 3 ไม่ได้เกี่ยวข้อง ดังนั้น พยานหลักฐานหลักของโจทก์จึงมีแต่คำซัดทอดของผู้ต้องหาร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3 และคำพยานบอกเล่าชั้นสอบสวนมีน้ำหนักน้อยไม่มีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุนให้รับฟังได้มั่นคงสิ้นสงสัย ต้องยกประโยชน์ แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยที่ 3 (พิพากษาศาลฎีกาที่ 2108/2562)




เกี่ยวกับคดีอาญา

ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบากว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ลักทรัพย์โดยสุจริต, ความผิดลักทรัพย์ vs การเข้าใจผิด, คดีลักทรัพย์ในเครือญาติ,
การกระทำของจำเลยเป็นการไตร่ตรองไว้ก่อน, ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนมาตรา 289 (4), โทษประหารชีวิตในคดีอาญา
ป.อ. มาตรา 54 ในการคำนวณการเพิ่มโทษหรือลดโทษที่จะลง
ความผิดฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่, การพนันออนไลน์ผิดกฎหมาย, การฟ้องอั้งยี่และซ่องโจร
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร, อำนาจปกครองบิดามารดา
กระทำชำเราผู้เยาว์ในบ้านไม่ถือว่าแยกเด็กจากอำนาจปกครองดูแล
จำเลยไม่มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี
ผู้ปกครองอนุญาตให้ไปดูโทรทัศน์ที่บ้านของจำเลยเท่านั้น
การกระทำโดยพลาด
รอการลงโทษ,ให้การรับสารภาพ
ขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ-มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
รถยนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะซุกซ่อนและขนส่งบุหรี่ซิกาแรตในการกระทำความผิด
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้นั้นสภาพความเป็นลูกหนี้เจ้าหนี้เกิดขึ้นทันที
ความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนให้ปฏิบัติหรือละเว้นตามมาตรา 157
การกระทำความผิดระหว่างผู้บุพการีต่อผู้สืบสันดานหรือผู้สืบสันดานต่อผู้บุพการี
พาไปเพื่อการอนาจาร -บุคคลอายุกว่าสิบห้าปี
ความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน
จำเลยฉ้อโกงหลอกลวงเอาทรัพย์ขณะที่ผู้เสียหายป่วยทางจิต
รอการกำหนดโทษ | รอการลงโทษ | พรบ.ล้างมลทิน
เบิกความอันเป็นเท็จในศาล
จำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาใดไม่แน่ชัด
ป้องกันพอสมควรแก่เหตุ-ป้องกันเกินกว่าเหตุ
บันดาลโทสะเพราะเหตุยั่วยุให้โมโห
หมิ่นประมาท | เข้าใจโดยสุจริต
ความผิดฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้
เป็นอันตรายแก่จิตใจ - ใช้ยาสลบใส่กาแฟ
บันดาลโทสะต้องถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง
หมิ่นประมาท | หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์โฆษณา
วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องห้ามฎีกา
ผู้เสียหายด่าจำเลย(บิดา)หยาบคายกรณีจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
เจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร
การริบทรัพย์สิน | ใช้ในการกระทำความผิด
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
คำว่า-วิชาชีพ-ในคดีอาญา
หลบหนีไปจากความควบคุมตามอำนาจของพนักงานสอบสวน
สเปรย์พริกไทยไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร | รับส่งเด็กนักเรียน
ลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะ
กระทำอนาจารต่อศิษย์นอกเวลาเรียน
ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ยังคงเป็นป่าตาม พ.ร.บ. ป่าไม้
เป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์และใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต
ลงลายมือชื่อรับรองคนต่างด้าว 7 คน
ความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นตาม ป.อาญา มาตรา 188
ผู้สนับสนุนให้จำเลยกระทำความผิด
ทวงหนี้ลักษณะข่มขู่ว่าไม่จ่ายจะเดือดร้อนจำคุก 3 ปี
การทำนากุ้งไม่ใช่การประกอบอาชีพกสิกรรม
การจับกุมมิชอบกับการฟ้องคดีอาญา
คำขอในส่วนแพ่งเนื่องความผิดอาญา
แม้ผู้ตายยิงจำเลยก่อนอ้างเหตุป้องกันตัวไม่ได้
ทำร้ายร่างกายกับการป้องกันตัว
พรากเด็กต่ำ15 ปี ไปเพื่อการอนาจารจำคุก 5 ปี
ซื้อเสียงเลือกตั้งไม่รอลงอาญา
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดอันพึงริบ
การเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
กระทำชำเราต่างวันต่างเวลาและต่างสถานที่ผิดหลายกรรม
เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล
การพรากเด็กไม่ว่าเด็กจะออกจากบ้านเองก็ย่อมเป็นความผิดทั้งสิ้น
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมและฐานฉ้อโกง
พิพากษาจำคุกจำเลยศาลฎีกายกฟ้องเพราะคำฟ้องไม่ได้ลงชื่อ
หมิ่นประมาทกับดูหมิ่นซึ่งหน้า-ความผิดอาญามีโทษหนักเบาแตกต่างกัน
พรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย
พยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจำคุกตลอดชีวิต
บันดาลโทสะหรือพยายามฆ่า
ความผิดอันยอมความได้ | คดีหมิ่นประมาท | ร้องทุกข์ภายในสามเดือน
พกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
การสมรสในต่างประเทศระหว่างหญิงไทยกับหญิงไทย
การกระทำชำเราที่ไม่ต้องรับโทษ
การสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายอิสลามจำเลยไม่ต้องรับโทษ
กระทำโดยประมาทไม่อาจอ้างเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่มีอำนาจสอบสวนไม่มีอำนาจฟ้อง
ให้กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราถูกจำคุก 48 เดือน
ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ก่อนคดีถึงที่สุดคดีอาญาระงับ
บุตรติดมารดาไม่อยู่ในความปกครองของบิดาเลี้ยง
การชวนเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีเข้าไปในห้องนอนไม่ผิดพรากผู้เยาว์
กระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีจำคุก 50 ปี
การนับอายุความคดีความผิดอันยอมความได้
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากในฟ้อง
ปลัดกระทรวงไม่มีอำนาจสั่งย้ายโจทก์ไปดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัด
จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่
การสนทนาผ่านเมสเซนเจอร์ไม่เป็นการกล่าวไขข่าวให้แพร่หลาย
ภยันตรายจากการประทุษร้ายที่จะใช้อ้างเพื่อการป้องกันสิทธิ
ฟ้องข้อหาค้ามนุษย์ บังคับใช้แรงงาน
กระทำชำเราเด็กและพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปีจำคุก 48 ปี
"อนาจาร" มีความหมายว่า การกระทำที่ไม่สมควรทางเพศ
พาเด็กหญิงจากที่เปิดเผยเข้าไปในจุดลับตาผู้คน
จำเลยเป็นบุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจให้กู้ยืมเงินโดยไม่ได้รับอนุญาต
ขายทองเงินผ่อนอำพรางการให้กู้ยืมเงินดอกเบี้ย318%ต่อปี
ศาลฎีกาพิพากษาให้รอการกำหนดโทษจำเลยรอการชำระเงิน
มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแต่จำเลยหลบหนีขาดอายุความอย่างไร
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร,เต็มใจไปด้วย
ขู่เข็ญให้จ่ายเงิน มิฉะนั้นเปิดเผยความลับวีดีโอ-ความสัมพันธ์ทางเพศ รีดเอาทรัพย์
ความผิดตามมาตรา 149 บทเฉพาะและมาตรา 157 บททั่วไป
ลักทรัพย์นายจ้าง ปลอมเอกสารสิทธิ การกระทำกรรมเดียว
ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจเหนือศาลทหาร
พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครอง
งดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือเล็งเห็นผลว่าอาจถึงแก่ความตายเป็นพยายามฆ่า
ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา