ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ฟ้องข้อหาค้ามนุษย์ บังคับใช้แรงงาน

 ฟ้องข้อหาค้ามนุษย์ บังคับใช้แรงงาน ข่มขืนใจผู้อื่น หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น 

ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าตามพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดตกลงยินยอมไปทำงานเป็นลูกเรือบนเรือประมงโดยสมัครใจและเป็นเรื่องปกติที่เรือประมงซึ่งไปหาปลานอกน่านน้ำไทยต้องล่องทะเลหาปลาเป็นเวลานานจึงจะกลับเข้าฝั่ง และการที่ไต้ก๋งเรือเก็บหนังสือเดินทางของโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดไว้เพื่อความสะดวกในการให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบระหว่างเดินทาง มิใช่เพื่อป้องกันมิให้โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดหลบหนี 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7008/2562

ตามพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดตกลงยินยอมเปลี่ยนลักษณะงานจากการทำงานคัดแยกปลาและตัดหัวปลาในแพปลามาเป็นการทำงานเป็นลูกเรือบนเรือประมง แม้ถูกไต้ก๋งเรือบางคนบังคับขู่เข็ญให้ทำงานก็เป็นลักษณะนิสัยใจคอของไต้ก๋งเรือแต่ละคน ยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดถูกบังคับขู่เข็ญให้ทำงาน และเป็นเรื่องปกติที่เรือประมงซึ่งไปหาปลานอกน่านน้ำไทยต้องล่องทะเลหาปลาเป็นเวลานานจึงจะกลับเข้าฝั่ง และการที่ไต้ก๋งเรือเก็บหนังสือเดินทางของโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดไว้เพื่อความสะดวกในการให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบระหว่างเดินทางก็เป็นวิธีปฏิบัติที่เรือประมงโดยทั่วไปกระทำกัน มิใช่เพื่อป้องกันมิให้โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดหลบหนี ส่วนค่าจ้างโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดตกลงให้ น. และ ก. รับเงินค่าจ้างแทนเพื่อนำไปส่งให้แก่ครอบครัวของแต่ละคนที่ประเทศกัมพูชาแล้วถ่ายรูปส่งให้โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดดูระหว่างที่ทำงานอยู่บนเรือประมง โดยมีการนำเงินค่าจ้างส่งให้จริง และหลังเกิดเหตุตัวแทนของ ค. เจ้าของเรือประมงได้จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดแล้ว เพียงแต่โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดยังโต้แย้งว่ามีค่าแรงในการทำงานวันหยุดและค่าแรงการทำงานล่วงเวลาต้องจ่ายเพิ่มอีก จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กับพวกหลอกลวงโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดและเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยการบังคับใช้แรงงานโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ด

คดีนี้ เดิมศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกันกับคดีหมายเลขแดงที่ คม.3/2560 ของศาลชั้นต้น โดยให้เรียกโจทก์ทั้งสองสำนวนว่า โจทก์ เรียกจำเลยในสำนวนดังกล่าวว่า จำเลยที่ 1 และเรียกจำเลยในสำนวนนี้ว่า จำเลยที่ 2 แต่คดีสำหรับจำเลยที่ 1 ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 คงขึ้นมาสู่ศาลฎีกาเฉพาะคดีสำนวนนี้

โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองสำนวนและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 4, 6, 7, 9 วรรคหนึ่ง วรรคสอง, 10, 11, 52 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 309, 310, 310 ทวิ นับโทษจำเลยที่ 2 ต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ คม.3/2559 ของศาลชั้นต้น

จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ แต่จำเลยที่ 2 รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้นับโทษต่อ

ระหว่างพิจารณา ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาตเฉพาะข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309, 310, 310 ทวิ ประกอบมาตรา 83 ศาลอุทธรณ์ภาค 8 อนุญาตในความผิดต่อพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ด้วย โดยให้เรียกผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดว่า โจทก์ร่วมที่ 1 ถึงที่ 11 ตามลำดับ

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา โดยอัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกาเฉพาะจำเลยที่ 2

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติโดยคู่ความไม่ได้โต้แย้งในชั้นฎีกาว่า ก่อนเกิดเหตุเรือประมง ก. นาวามงคลชัย 1 มีนางคำนึงนวล เป็นเจ้าของ จอดเทียบท่าอยู่ที่บริเวณท่าเรือในจังหวัดสมุทรสาครติดกับโรงไม้ของจำเลยที่ 2 ต่อมาเรือประมงดังกล่าวออกจากฝั่งไปหาปลาในน่านน้ำไทยและน่านน้ำสากล โดยมีโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดคนสัญชาติกัมพูชาทำงานเป็นลูกเรืออยู่บนเรือประมงดังกล่าวเป็นเวลาประมาณ 13 เดือน จนกระทั่งวันที่ 21 มกราคม 2559 จำเลยที่ 1 ได้ควบคุมเรือกลับเข้าฝั่งประเทศไทยที่จังหวัดระนอง จากนั้นทีมสหวิชาชีพสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จังหวัดระนอง สัมภาษณ์โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดแล้ว มีความเห็นว่า โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ พนักงานสอบสวนจึงดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองในข้อหาร่วมกันค้ามนุษย์ สมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์และได้ลงมือกระทำความผิดตามที่ได้สมคบกัน ร่วมกันค้ามนุษย์โดยร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปโดยการบังคับใช้แรงงาน ร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพของผู้ถูกข่มขืนใจ หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย และให้ผู้อื่นนั้นกระทำการใดให้แก่ผู้กระทำหรือบุคคลอื่น จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ สำหรับคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกฟ้อง โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดไม่ฎีกา คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า ก่อนเกิดเหตุประมาณ 1 เดือน เรือประมง ก. นาวามงคลชัย 1 จอดเทียบท่าอยู่ที่บริเวณท่าเรือในจังหวัดสมุทรสาครติดกับโรงไม้ของจำเลยที่ 2 โดยนายนางเป็นผู้พาโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 11 จากประเทศกัมพูชาเข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยให้พักอาศัยอยู่บนเรือประมง ก. นาวามงคลชัย 1 ส่วนโจทก์ร่วมที่ 2 สมัครใจมาทำงานเป็นลูกเรือประมงและพักอาศัยอยู่บนเรือประมง ก. นาวามงคลชัย 1 เช่นกัน ซึ่งขณะโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดพักอาศัยอยู่บนเรือประมงดังกล่าว โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดเบิกความว่าไม่ได้ถูกควบคุมหรือคุมขัง แต่ยังคงไปไหนมาไหนได้โดยอิสระ เพราะโรงไม้ของจำเลยที่ 2 ไม่ได้ปิดประตูและไม่มีคนเฝ้า โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดจึงสามารถออกจากเรือประมงที่พักผ่านโรงไม้ของจำเลยที่ 2 ออกไปด้านนอกได้โดยสะดวกและยังเคยไปเที่ยวงานวัดโดยไม่ต้องขออนุญาตใครอีกด้วย แสดงว่าขณะที่โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดพักอาศัยอยู่บนเรือประมง ก. นาวามงคลชัย 1 นั้น มิได้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังให้อยู่แต่ในเรือแต่อย่างใด คงมีอิสระที่จะไปไหนมาไหนได้โดยสะดวก แม้ต่อมาโจทก์ร่วมที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 7 และที่ 11 กับนายทีเรทและนายเพงจะหลบหนีออกจากเรือเพื่อจะให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมและส่งตัวกลับไปยังประเทศกัมพูชา แต่ได้ความจากคำเบิกความของดาบตำรวจเอกพจน์ เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองสมุทรสงคราม พยานจำเลยทั้งสองว่า ขณะพยานปฏิบัติหน้าที่อำนวยความสะดวกในด้านการจราจรที่บริเวณหน้าโรงเรียนสารสาสน์ เห็นมีกลุ่มชายประมาณ 10 คน กำลังเดินข้ามสะพานแม่น้ำแม่กลอง ถนนพระรามที่ 2 มุ่งหน้ากรุงเทพมหานคร และเห็นรถกระบะคันหนึ่งขับผ่านมา คนในรถโบกไม้โบกมือเรียกกลุ่มชายดังกล่าวขึ้นรถทั้งหมด จากนั้นนายพรชัย ลูกจ้างของนางคำนึงนวลลงจากรถกระบะเดินมาหาพยานบอกว่า กลุ่มชายดังกล่าวเป็นชาวกัมพูชาลูกน้องของนางคำนึงนวลจะไปทำงานเป็นลูกเรือประมงแต่ยังไม่ได้ทำงานจึงอยากกลับบ้าน โดยกลุ่มชายดังกล่าวไม่ได้แสดงอากัปกิริยาเพื่อให้พยานช่วยเหลือ พยานจึงไม่สงสัยอะไรและปฏิบัติหน้าที่งานจราจรต่อไป ทั้งโจทก์ร่วมที่ 7 ยังเบิกความตอบทนายจำเลยที่ 2 ถามค้านอีกว่า หลังจากนายเพงกลับมาที่เรือประมง ก. นาวามงคลชัย 1 แล้ว นายเพงขออนุญาตนายนางเดินทางกลับประเทศกัมพูชาเพราะบิดาป่วย ปรากฏว่านายนางไม่ขัดข้องโดยอนุญาตให้นายเพงเดินทางกลับไปยังประเทศกัมพูชาได้ ซึ่งถ้าหากนายนางพาโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 11 มาขายให้แก่จำเลยที่ 2 จริงดังที่โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 11 เบิกความ ก็ไม่น่าเชื่อว่านายนางจะยอมให้นายเพงเดินทางกลับไปประเทศกัมพูชาได้ เพราะนายเพงอาจนำความไปบอกครอบครัวของโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 11 อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้นายนาง นางคำนึงนวล และจำเลยที่ 2 ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมดำเนินคดีก็เป็นได้ และแม้โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดจะเบิกความต่อไปว่า โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพื่อต้องการทำงานคัดแยกปลาและตัดหัวปลาในแพปลา มิใช่ต้องการทำงานเป็นลูกเรือบนเรือประมง แต่เมื่อนายนางพาโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 11 มาพักอาศัยอยู่บนเรือประมง ก. นาวามงคลชัย 1 เป็นแรมเดือนโดยยังมิได้ทำงานคัดแยกปลาและตัดหัวปลาในแพปลา กับนายนางยังพาโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 11 ไปซื้อของใช้ส่วนตัวเป็นเงินคนละ 2,000 ถึง 3,000 บาท มากักตุนไว้ จึงมีเหตุให้เชื่อว่าโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 11 ย่อมรู้ตั้งแต่นั้นแล้วว่าการซื้อของใช้มากมายมากักตุนเช่นนี้ก็เพื่อนำติดตัวไปใช้บนเรือประมงเพราะเรือต้องออกทะเลหาปลาเป็นเวลานานกว่าจะกลับเข้าฝั่ง หาใช่นำไปใช้ในการคัดแยกปลาและตัดหัวปลาที่แพปลาเพราะเป็นการทำงานบนชายฝั่งแต่อย่างใดไม่ นอกจากนี้ก่อนที่เรือประมง ก. นาวามงคลชัย 1 จะเดินทางออกจากฝั่งไปล่องทะเลหาปลา ได้ความจากคำเบิกความของดาบตำรวจพิเชษฐ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสมุทรสาคร พยานจำเลยทั้งสองว่า ก่อนที่พยานจะปล่อยเรือประมง ก. นาวามงคลชัย 1 เดินทางออกจากฝั่งที่ท่าเทียบเรือในจังหวัดสมุทรสาคร พยานตรวจดูลูกเรือประมงทุกคนแล้ว ปรากฏว่ามีใบหน้าและรายชื่อตรงกับหนังสือเดินทางและหนังสือคนประจำเรือ และยังสอบถามลูกเรือผ่านล่ามแล้วทุกคนบอกว่าจะเดินทางไปประเทศปาปัวนิวกินี แต่จะไปนานเท่าใดพยานจำไม่ได้ โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีลูกเรือคนใดแสดงอากัปกิริยาท่าทีขัดขืนไม่ยอมลงเรือประมงดังกล่าว โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดลงเรือประมงที่มีอุปกรณ์หาปลาและมีอวนอยู่ในเรือ โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดควรจะทราบว่าเรือลำดังกล่าวเป็นเรือประมงที่ต้องออกหาปลามิใช่เรือโดยสาร การที่โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดยินยอมลงเรือโดยมิได้ทักท้วงและเจ้าหน้าที่สอบถามโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดถึงความสมัครใจในการทำงานบนเรือประมงแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดตกลงยินยอมเปลี่ยนลักษณะงานจากการทำงานคัดแยกปลาและตัดหัวปลาในแพปลามาเป็นการทำงานเป็นลูกเรือบนเรือประมงดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดจะเบิกความว่า การทำงานเป็นลูกเรือบนเรือประมง ก. นาวามงคลชัย 1 ถูกไต้ก๋งเรือบังคับให้ทำงานหามรุ่งหามค่ำ ถูกดุด่าและตีทำร้ายให้ทำงาน 22 ชั่วโมง ต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 13 เดือน แต่ก็ได้ความจากโจทก์ร่วมที่ 1 เบิกความตอบทนายจำเลยที่ 2 ถามค้านว่า ระหว่างที่เรือออกเดินทางไปประเทศปาปัวนิวกินี โจทก์ร่วมที่ 1 มีอิสระภายในเรือเดินไปไหนมาไหนได้ มีพ่อครัวทำอาหารให้รับประทาน เมื่อเรือแม่มารับปลาจะนำอาหารสด เช่น หมู ไก่ ปลาและผักต่าง ๆ มาส่ง รวมทั้งโจทก์ร่วมที่ 1 สามารถสั่งอาหารอื่น ๆ กับเรือแม่ได้ เวลาว่างเมื่อเรือทอดสมอเคยเห็นลูกเรือคนอื่น ๆ นั่งตกปลา โจทก์ร่วมที่ 2 เบิกความตอบทนายจำเลยที่ 2 ถามค้านว่า ระหว่างที่เรือแล่นในทะเล โจทก์ร่วมที่ 2 ตกหมึกได้เก็บไว้รับประทานเอง ส่วนลูกเรือคนอื่น ๆ ตกหมึกได้จะขายให้แก่เรือที่แล่นผ่านไปมาและเก็บเงินที่ขายได้เป็นรายได้ส่วนตัว และโจทก์ร่วมที่ 3 เบิกความตอบทนายจำเลยที่ 2 ถามค้านว่า เมื่อลงอวนลอยเสร็จแล้วจะใช้เวลา 3 ชั่วโมง จึงจะยกอวนขึ้น ช่วงเวลาลงอวนจนถึงเวลาเก็บอวน โจทก์ร่วมที่ 3 จะนอนพักผ่อนโดยมีเวลาพักผ่อนประมาณ 8 ชั่วโมง และในช่วงเวลา 13 เดือน มีเวลาประมาณ 4 เดือนที่ไม่ได้ลงอวนจับปลา คงซ่อมอวนบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ จึงแสดงให้เห็นว่าโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดมิได้ทำงานตลอดเวลาโดยไม่ได้พักผ่อนหรือมีเวลาพักผ่อนเพียง 2 ชั่วโมง ต่อวัน ดังที่โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดเบิกความ เพราะโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดยังมีเวลาพักผ่อนในช่วงเวลาตอนที่มิได้ลงอวนหาปลา หรือมีบางช่วงบางเวลาที่โจทก์ร่วมบางคนใช้เวลาพักผ่อนด้วยการตกปลา ซึ่งหากกรณีเป็นจริงดังที่โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดอ้างว่าต้องทำงาน 22 ชั่วโมง ต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 13 เดือนแล้ว ตามสภาพร่างกายของคนโดยทั่วไป หากทำงานหนักติดต่อกันเป็นระยะเวลานานร่างกายย่อมต้องอ่อนเพลียและไม่สามารถทนต่อสภาพการทำงานและความเป็นอยู่แบบนั้นได้ ส่วนกรณีที่โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดถูกไต้ก๋งเรือบังคับขู่เข็ญให้ทำงาน แม้จะได้ความจากโจทก์ร่วมที่ 4 และที่ 5 ว่า โจทก์ร่วมที่ 4 ถูกไต้ก๋งเรือคนที่ 1 ใช้ไม้ตีที่หลังอย่างแรง ส่วนโจทก์ร่วมที่ 5 ถูกตี 1 ครั้ง ในช่วงที่เริ่มทำงานใหม่ ๆ แต่เหตุที่ถูกตีเนื่องจากทำงานช้า และเมื่อเริ่มทำงานดีขึ้นไม่มีความผิดพลาดก็ไม่เคยถูกตีอีก โจทก์ร่วมนอกจากนี้ก็เบิกความว่าไม่เคยถูกไต้ก๋งเรือตีทำร้าย ยิ่งไปกว่านั้นโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดเบิกความสอดคล้องกันว่าไต้ก๋งเรือคนที่ 3 คือจำเลยที่ 1 มีจิตใจดีงาม ไม่เคยดุด่าและตีทำร้าย หากมีใครเจ็บป่วยก็จะนำยามาให้รับประทาน รวมทั้งยามว่างจากการทำงานก็อนุญาตให้ลูกเรือพักผ่อนด้วยการฟังเพลงหรือดูโทรทัศน์ในห้องของไต้ก๋งเรือได้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าการดุด่าหรือทำร้ายบังคับลูกเรือให้ทำงานเป็นลักษณะนิสัยใจคอของไต้ก๋งเรือแต่ละคนมากกว่า จึงฟังไม่ได้โดยสนิทใจว่าโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดถูกบังคับขู่เข็ญให้ทำงาน และที่โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดอ้างว่าถูกบังคับให้อยู่ในเรือโดยมิได้กลับเข้าฝั่งและถูกเก็บหนังสือเดินทางไว้ไม่ให้หนีไปไหนนั้น ก็ได้ความจากคำเบิกความของนายอภิสิทธิ์ นายกสมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย พยานจำเลยทั้งสองว่า เมื่อเรือประมงออกจากฝั่งไปหาปลาในทะเลนอกน่านน้ำไทยเป็นระยะทางไกลและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เพื่อความคุ้มทุนเรือประมงจึงต้องล่องทะเลหาปลาอยู่เป็นระยะเวลานานจึงจะกลับเข้าฝั่งสักครั้ง และหนังสือเดินทางของลูกเรือไต้ก๋งเรือต้องเก็บไว้เพื่อความสะดวกในการให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบระหว่างเดินทาง เพราะหากหนังสือเดินทางสูญหายลูกเรืออาจถูกเจ้าหน้าที่จับกุมดำเนินคดีได้ ฉะนั้นการที่เรือประมง ก. นาวามงคลชัย 1 ออกทะเลหาปลาเป็นเวลา 13 เดือน จึงกลับเข้าฝั่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ และการที่ไต้ก๋งเรือเป็นผู้เก็บหนังสือเดินทางของโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดไว้ ก็เป็นวิธีปฏิบัติที่เรือประมงโดยทั่วไปกระทำกัน มิใช่เพื่อป้องกันมิให้โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดหลบหนีแต่อย่างใด สำหรับเรื่องค่าจ้าง แม้โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดจะเบิกความว่า ตั้งแต่โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดทำงานบนเรือประมง ก. นาวามงคลชัย 1 ไม่เคยได้รับค่าจ้างเลยแม้แต่น้อย แต่การที่นายนางเป็นผู้ทำหนังสือเดินทางและพาโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 11 เดินทางจากประเทศกัมพูชาเข้ามาในประเทศไทย กับทั้งพาไปซื้อของใช้ส่วนตัวมากักตุนไว้ย่อมมีค่าใช้จ่าย นายพรชัยลูกจ้างของนางคำนึงนวล พยานจำเลยทั้งสองก็เบิกความเกี่ยวกับเรื่องค่าจ้างของโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดว่า โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดตกลงให้นายนางและนายแก้วเป็นคนรับเงินค่าจ้างแทนเพื่อนำไปส่งให้แก่ครอบครัวของแต่ละคนที่ประเทศกัมพูชาแล้วถ่ายรูปมาให้พยานเพื่อส่งให้แก่โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดดูระหว่างที่ทำงานอยู่บนเรือประมง โดยในข้อนี้นางจาบ มารดาโจทก์ร่วมที่ 3 ที่ 7 และที่ 11 กับนายตุ้ย บิดาโจทก์ร่วมที่ 10 พยานโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดก็เบิกความยอมรับว่า นายนางได้นำเงินค่าจ้างของโจทก์ร่วมที่ 3 ที่ 7 ที่ 10 และที่ 11 ไปมอบให้แก่นางจาบและนายตุ้ยจริง ทั้งโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดเบิกความเจือสมกับนางสาวชนาวรรณ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดระนอง พยานจำเลยทั้งสองว่า ภายหลังเกิดเหตุมีตัวแทนของนางคำนึงนวลนำเงินค่าจ้างคนละ 25,000 บาท ไปมอบให้แก่โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดจริง เพียงแต่โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดโต้แย้งว่าเป็นเงินค่าจ้างที่ไม่ถูกต้องเพราะยังมีค่าแรงในการทำงานวันหยุดและค่าแรงในการทำงานล่วงเวลาที่ต้องจ่ายเพิ่มอีกด้วย ดังนี้ จึงบ่งชี้ให้เห็นว่า นางคำนึงนวลได้จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดไปแล้วจริง เพียงแต่โจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดยังไม่พอใจในจำนวนเงินของค่าจ้างดังกล่าวเท่านั้น นอกจากนี้โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดก็มิได้นำสืบให้เห็นถึงความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันระหว่างจำเลยที่ 2 กับนายนางและนางคำนึงนวลแต่อย่างใด เมื่อจำเลยที่ 2 ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมดำเนินคดี จำเลยที่ 2 ก็ให้การปฏิเสธตลอดมา พยานหลักฐานโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดที่นำสืบมาจึงยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้อง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7491/2562

เหตุเกิดปี 2558 อันเป็นเวลาขณะที่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ใช้บังคับ ต่อมามีการบังคับใช้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560 ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า “แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ” และคำว่า “บังคับใช้แรงงาน” และให้ยกเลิกความในมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 และให้ใช้ความตามมาตรา 6 ที่บัญญัติใหม่แทน ซึ่งการกระทำของจำเลยตามฟ้องยังเป็นความผิดอยู่ และกฎหมายใหม่แก้ไขบทกำหนดโทษตามมาตรา 52 ด้วย มีอัตราโทษสูงกว่า จึงเป็นกรณีที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิด ซึ่งกฎหมายใหม่ไม่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ต้องบังคับตามกฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคแรก เช่นเดียวกับการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 6 โดย พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 พ.ศ.2562 และในส่วนที่พระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติเพิ่มความผิดฐานบังคับใช้แรงงานหรือบริการและบทกำหนดโทษตามมาตรา 6/1 และมาตรา 52/1 ขึ้นใหม่ เมื่อขณะกระทำความผิดไม่มีกฎหมายบัญญัติความผิดฐานดังกล่าวและกำหนดโทษไว้ จึงใช้บทมาตราดังกล่าวบังคับแก่จำเลยคดีนี้ไม่ได้ การกระทำของจำเลยทั้งหกตามฟ้องจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 และมาตรา 52 (เดิม)องค์ประกอบในการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ด้วยการบังคับใช้แรงงานตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ต้องมีการกระทำในลักษณะเป็นการข่มขืนใจให้ทำงานหรือให้บริการโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของบุคคลนั้นเอง หรือของบุคคลอื่น โดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยทำให้บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้เพียงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ล็อกกุญแจห้องพักกักขังผู้เสียหายที่ 4 ที่ 5 ที่ 7 ที่ 9 ถึงที่ 11 และที่ 13 ไว้ในช่วงเวลากลางคืนแต่ให้ออกมาทำงานในตอนเช้าโดยมีเจตนาเพื่อมิให้ผู้เสียหายดังกล่าวหลบหนีโดยไม่ปรากฏพยานหลักฐานอื่นใดมาประกอบให้รับฟังได้แน่ชัดว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำการอื่นใดอันเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายดังกล่าวเพื่อให้ทำงาน การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อผู้เสียหายดังกล่าวจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานค้ามนุษย์ คงเป็นเพียงความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 310 อันเป็นความผิดที่รวมอยู่ในความผิดฐานค้ามนุษย์ตามฟ้องและมีโทษเบากว่า ศาลมีอำนาจลงโทษในความผิดที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้ายสำหรับการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายที่ 3 ที่ 6 ที่ 8 และที่ 12 ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้เสียหายดังกล่าวได้พยายามหลบหนีออกจากฟาร์มที่เกิดเหตุถึงสองครั้งแต่ไม่สามารถหนีไปได้โดยถูกพวกของจำเลยที่ 1 พากลับมาส่งที่ฟาร์ม จากนั้นผู้เสียหายได้ถูกจำเลยกับพวกทำร้ายร่างกาย พูดข่มขู่ไม่ให้หลบหนี และถูกกักขังบังคับให้ทำงานอยู่ในฟาร์ม พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าผู้เสียหายที่ 3 ที่ 6 ที่ 8 และที่ 12 ไม่ต้องการทำงานกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 อีกต่อไป การจับตัวผู้เสียหายดังกล่าวไว้เมื่อหลบหนีและเอาตัวกลับมาทำงานที่ฟาร์มย่อมบ่งชี้ให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยชัดแจ้งที่ต้องการบังคับใช้แรงงานของผู้เสียหายดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในส่วนนี้จึงเป็นไปเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เป็นความผิดฐานร่วมกันค้ามนุษย์ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (1) (เดิม) และฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นและให้ผู้อื่นนั้นกระทำการใดตาม ป.อ. มาตรา 310 ทวิ อันเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานร่วมกันค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นบทหนัก

โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งหกตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 4, 6, 10, 13, 35, 52 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 4, 64 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 4, 28, 44, 45, 48, 108, 144, 146, 148, 149 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 4, 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 58, 83, 91, 295, 310 ทวิ, 312 ทวิ, 371, 391 พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 มาตรา 17, 53, 58 บวกโทษจำคุกของจำเลยที่ 4 ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 706/2558 ของศาลชั้นต้น เข้ากับโทษจำคุกของจำเลยที่ 4 ในคดีนี้ กับให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายที่ 1 เป็นเงิน 370,520 บาท ผู้เสียหายที่ 3 เป็นเงิน 270,400 บาท ผู้เสียหายที่ 4 เป็นเงิน 85,400 บาท ผู้เสียหายที่ 5 เป็นเงิน 337,900 บาท ผู้เสียหายที่ 6 เป็นเงิน 370,520 บาท ผู้เสียหายที่ 7 เป็นเงิน 84,400 บาท ผู้เสียหายที่ 8 เป็นเงิน 270,480 บาท ผู้เสียหายที่ 9 เป็นเงิน 176,400 บาท ผู้เสียหายที่ 10 เป็นเงิน 84,400 บาท ผู้เสียหายที่ 11 เป็นเงิน 184,400 บาท ผู้เสียหายที่ 12 เป็นเงิน 184,400 บาท และผู้เสียหายที่ 13 เป็นเงิน 176,400 บาท ริบอาวุธปืน 3 กระบอก ของกลาง

จำเลยทั้งหกให้การปฏิเสธ แต่จำเลยที่ 4 รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้บวกโทษ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (1) วรรคหนึ่ง, 10 วรรคหนึ่ง, 13 วรรคหนึ่ง, 52 วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 90 วรรคหนึ่ง, 108, 144 วรรคหนึ่ง, 146 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295, 310 ทวิ พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 มาตรา 17, 53, 58 (ที่ถูก มาตรา 8, 17, 53, 58) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันค้ามนุษย์โดยร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปและผู้กระทำเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ จำคุกกระทงละ 12 ปี รวม 13 กระทง เป็นจำคุก 156 ปี ฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ จำคุกกระทงละ 1 ปี รวม 8 กระทง เป็นจำคุก 8 ปี ฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น จำคุก 1 ปี ฐานร่วมกันเป็นนายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยฝ่าฝืนกฎหมาย จำคุก 6 เดือน ฐานร่วมกันเป็นนายจ้างไม่จัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ปรับ 20,000 บาท ฐานร่วมกันเป็นนายจ้างไม่ติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ปรับ 100,000 บาท ฐานร่วมกันเป็นนายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวง จำคุก 6 เดือน รวมจำคุก 165 ปี 12 เดือน และปรับ 120,000 บาท แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว ให้จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 50 ปี และปรับ 120,000 บาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) จำเลยที่ 2 มีความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (1) วรรคหนึ่ง, 10 วรรคหนึ่ง, 52 วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 90 วรรคหนึ่ง, 108, 144 วรรคหนึ่ง, 146 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 ทวิ พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 มาตรา 17, 53, 58 (ที่ถูก มาตรา 8, 17, 53, 58) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันค้ามนุษย์โดยร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป จำคุกกระทงละ 6 ปี รวม 13 กระทง เป็นจำคุก 78 ปี ฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น จำคุก 1 ปี ฐานร่วมกันเป็นนายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยฝ่าฝืนกฎหมาย จำคุก 6 เดือน ฐานร่วมกันเป็นนายจ้างไม่จัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ปรับ 20,000 บาท ฐานร่วมกันเป็นนายจ้างไม่ติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ปรับ 100,000 บาท ฐานร่วมกันเป็นนายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวง จำคุก 6 เดือน รวมจำคุก 79 ปี 12 เดือน และปรับ 120,000 บาท แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว ให้จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 50 ปี และปรับ 120,000 บาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) จำเลยที่ 3 มีความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (1) วรรคหนึ่ง, 10 วรรคหนึ่ง, 52 วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันค้ามนุษย์โดยร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป จำคุกกระทงละ 6 ปี รวม 13 กระทง เป็นจำคุก 78 ปี ฐานร่วมกันช่วยเหลือคนต่างด้าวให้พ้นจากการจับกุม จำคุกกระทงละ 6 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 12 เดือน คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 3 เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง ลดโทษให้กระทงละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 52 ปี 8 เดือน แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว ให้จำคุกจำเลยที่ 3 มีกำหนด 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) จำเลยที่ 4 มีความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (1) วรรคหนึ่ง, 10 วรรคหนึ่ง, 52 วรรคหนึ่ง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง, 72 วรรคสาม การกระทำของจำเลยที่ 4 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันค้ามนุษย์โดยร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป จำคุกกระทงละ 6 ปี รวม 13 กระทง เป็นจำคุก 78 ปี ฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ จำคุกกระทงละ 1 ปี รวม 8 กระทง เป็นจำคุก 8 ปี ฐานมีอาวุธปืนมีเครื่องหมายทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี รวมจำคุก 87 ปี แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว ให้จำคุกจำเลยที่ 4 มีกำหนด 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) นำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 706/2558 ของศาลชั้นต้น บวกเข้ากับโทษจำคุกของจำเลยที่ 4 คดีนี้ รวมเป็นจำคุก 50 ปี 6 เดือน จำเลยที่ 5 มีความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (1) วรรคหนึ่ง, 10 วรรคหนึ่ง, 52 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยที่ 5 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำคุกกระทงละ 6 ปี รวม 13 กระทง เป็นจำคุก 78 ปี คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 5 เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง ลดโทษให้กระทงละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 52 ปี แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว ให้จำคุกจำเลยที่ 5 มีกำหนด 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) จำเลยที่ 6 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 การกระทำของจำเลยที่ 6 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ปรับกระทงละ 2,000 บาท รวม 2 กระทง เป็นปรับ 4,000 บาท จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 6 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 (ที่แก้ไขใหม่), 29/1, 30 (ที่แก้ไขใหม่) ข้อหาและคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก คืนอาวุธปืนของกลาง 3 กระบอก แก่เจ้าของ ให้ขังจำเลยที่ 6 สำหรับความผิดฐานร่วมกันค้ามนุษย์โดยร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปไว้ระหว่างอุทธรณ์ กับให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายที่ 1 เป็นเงิน 63,800 บาท ผู้เสียหายที่ 3 เป็นเงิน 70,200 บาท ผู้เสียหายที่ 4 เป็นเงิน 56,000 บาท ผู้เสียหายที่ 5 เป็นเงิน 56,000 บาท ผู้เสียหายที่ 6 เป็นเงิน 70,200 บาท ผู้เสียหายที่ 7 เป็นเงิน 56,000 บาท ผู้เสียหายที่ 8 เป็นเงิน 70,200 บาท ผู้เสียหายที่ 9 เป็นเงิน 53,200 บาท ผู้เสียหายที่ 10 เป็นเงิน 56,000 บาท ผู้เสียหายที่ 11 เป็นเงิน 56,000 บาท ผู้เสียหายที่ 12 เป็นเงิน 56,000 บาท และผู้เสียหายที่ 13 เป็นเงิน 53,200 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

โจทก์และจำเลยทั้งหกอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานร่วมกันเป็นนายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวง สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ปรับคนละ 50,000 บาท ไม่ลงโทษจำคุก เมื่อรวมกับโทษฐานร่วมกันเป็นนายจ้างไม่จัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยฝ่าฝืนกฎหมายตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ปรับคนละ 20,000 บาท แล้ว เป็นปรับคนละ 70,000 บาท ความผิดฐานร่วมกันช่วยเหลือคนต่างด้าวให้พ้นจากการจับกุม สำหรับจำเลยที่ 3 ให้ลงโทษปรับกระทงละ 30,000 บาท รวม 2 กระทง เป็นปรับ 60,000 บาท อีกสถานหนึ่ง เมื่อลดโทษให้หนึ่งในสามตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว คงปรับ 40,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันค้ามนุษย์โดยร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปและผู้กระทำเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในความผิดฐานร่วมกันค้ามนุษย์โดยร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 4 ในความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ในความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันเป็นนายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยฝ่าฝืนกฎหมาย และฐานร่วมกันเป็นนายจ้างไม่ติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตราย และเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 4 ฐานมีอาวุธปืนมีเครื่องหมายทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 6 ในความผิดฐานใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ให้ยกคำขอบวกโทษจำเลยที่ 4 และให้ยกคำขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 13 นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

โจทก์ฎีกา โดยอัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง สำหรับจำเลยที่ 6 ในความผิดฐานร่วมกันค้ามนุษย์ สำหรับจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานร่วมกันช่วยเหลือคนต่างด้าวให้พ้นจากการจับกุม และสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันเป็นนายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยทั้งหกกระทำความผิดฐานร่วมกันค้ามนุษย์ด้วยการบังคับใช้แรงงาน โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่สามคนขึ้นไปและโดยจำเลยที่ 1 เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ และต้องร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 13 หรือไม่ คดีนี้เหตุเกิดปี 2558 อันเป็นเวลาขณะที่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ใช้บังคับ ต่อมามีการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560 ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า “แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ” และคำว่า “บังคับใช้แรงงาน” และให้ยกเลิกความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 และให้ใช้ความตามมาตรา 6 ที่บัญญัติใหม่แทน ซึ่งการกระทำของจำเลยตามฟ้องยังเป็นความผิดอยู่ และกฎหมายใหม่แก้ไขบทกำหนดโทษตามมาตรา 52 ด้วย มีอัตราโทษสูงกว่า จึงเป็นกรณีที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิด ซึ่งกฎหมายใหม่ไม่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ต้องบังคับตามกฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคแรก และต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มีพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 พ.ศ.2562 ใช้บังคับ ให้ยกเลิกความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560 ให้ใช้ความตามมาตรา 6 ที่บัญญัติใหม่แทน ซึ่งการกระทำของจำเลยตามฟ้องยังคงเป็นความผิดอยู่ และคงกำหนดโทษตามมาตรา 52 ที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นกรณีที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิด ซึ่งไม่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดอีกเช่นกัน จึงต้องบังคับตามกฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคแรก ส่วนที่พระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติเพิ่มมาตรา 6/1 กำหนดความผิดฐานบังคับใช้แรงงานหรือบริการขึ้นใหม่ และเพิ่มบทบัญญัติมาตรา 52/1 เป็นบทกำหนดโทษของความผิดฐานดังกล่าว แต่ขณะกระทำความผิดไม่มีกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบัญญัติความผิดฐานบังคับใช้แรงงานและกำหนดโทษไว้ จึงใช้มาตรา 6/1 และมาตรา 52/1 บังคับแก่จำเลยในคดีนี้ไม่ได้ การกระทำของจำเลยทั้งหกตามฟ้องจึงคงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 และมาตรา 52 (เดิม)

ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 หน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายที่ 3 ถึงที่ 13 และให้ผู้เสียหายที่ 3 ถึงที่ 13 กระทำการใด หรือกระทำการดังกล่าวเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยการบังคับใช้แรงงานหรือบริการตามนิยามในมาตรา 4 (เดิม) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 หรือไม่ โดยบทนิยามดังกล่าวบัญญัติว่า “การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ” หมายความว่า การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี ...การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ การบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า หรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม และ “การบังคับใช้แรงงาน” หมายความว่า การข่มขืนใจให้ทำงานหรือให้บริการโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของบุคคลนั้นเอง หรือของบุคคลอื่น โดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยทำให้บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้เพียงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ล็อกกุญแจห้องพักกักขังผู้เสียหายไว้ในช่วงเวลากลางคืนแต่ให้ออกมาทำงานในตอนเช้าโดยมีเจตนาเพื่อไม่ให้ผู้เสียหายที่ 4 ที่ 5 ที่ 7 ที่ 9 ถึงที่ 11 และที่ 13 หลบหนี กรณีมิใช่เป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังเพื่อให้ผู้เสียหายดังกล่าวกระทำการใดให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือผู้อื่น ทั้งโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดมาประกอบให้รับฟังได้แน่ชัดว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำการอื่นใดอันเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายที่ 4 ที่ 5 ที่ 7 ที่ 9 ถึงที่ 11 และที่ 13 เพื่อให้ทำงาน การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อผู้เสียหายที่ 4 ที่ 5 ที่ 7 ที่ 9 ถึงที่ 11 และที่ 13 จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานค้ามนุษย์ คงเป็นเพียงความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 อันเป็นความผิดที่รวมอยู่ในความผิดตามฟ้องและมีโทษเบากว่า ศาลมีอำนาจลงโทษในความผิดที่พิจารณาได้ความได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย และการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเจตนาเดียวเพื่อไม่ให้ผู้เสียหายทั้งหมดเหล่านั้นหลบหนี จึงเป็นความผิดกรรมเดียว

สำหรับการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายที่ 3 ที่ 6 ที่ 8 และที่ 12 นั้น ผู้เสียหายที่ 3 เบิกความว่า ระหว่างการทำงานจำเลยที่ 1 เคยทำร้ายผู้เสียหายที่ 3 โดยใช้เข่าตีที่ท้อง ใช้ศอกตีที่กกหูและใช้มือตีที่ศีรษะ และผู้เสียหายที่ 3 ที่ 6 ที่ 8 และที่ 12 เบิกความสอดคล้องกันว่า ไม่อยากทำงานที่ฟาร์มที่เกิดเหตุต่อไปจึงชักชวนกันหนีและได้หนีออกจากฟาร์มที่เกิดเหตุถึงสองครั้งแต่ไม่สามารถหนีไปได้ โดยถูกพวกของจำเลยพากลับมาส่งที่ฟาร์มที่เกิดเหตุ หลังจากนั้นได้ถูกจำเลยที่ 1 กับพวกลงโทษโดยการทำร้ายร่างกาย พูดข่มขู่ไม่ให้หลบหนี และถูกกักขังบังคับให้ทำงานอยู่ในฟาร์มที่เกิดเหตุเช่นเดิม จนกระทั่งเจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปช่วยเหลือ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายที่ 3 ที่ 6 ที่ 8 และที่ 12 ไม่ต้องการจะทำงานกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 อีกต่อไป ประกอบกับมีการใช้กำลังทำร้ายร่างกายและข่มขู่ผู้เสียหายที่ 3 ที่ 6 ที่ 8 และที่ 12 ภายหลังจับตัวได้เมื่อหลบหนี จากนั้นก็เอาตัวกลับมาทำงานที่ฟาร์มที่เกิดเหตุ ย่อมบ่งชี้ให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยชัดแจ้งที่ต้องการบังคับใช้แรงงานของผู้เสียหายดังกล่าวนั่นเอง ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่า การกักขังหน่วงเหนี่ยวและการติดตามจับตัวผู้เสียหายที่หลบหนีกลับมาและทำร้ายร่างกายมีเจตนาเพียงเพื่อมิให้หลบหนีเพราะอาจนำความผิดมาสู่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ หรือเพราะว่ากล่าวห้ามหลบหนีแล้วยังฝ่าฝืนทำให้เกิดโทสะ นั้น เห็นว่า การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดโดยจ้างแรงงานต่างด้าวโดยผิดกฎหมาย จึงไม่อาจยกเหตุว่าต้องกระทำความผิดเช่นนั้นเพื่อมิให้ผู้เสียหายถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมซึ่งจะเป็นเหตุให้ความผิดมาถึงตัวจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขึ้นเป็นข้ออ้างได้ ส่วนข้ออ้างที่ว่า เงินเดือนของผู้เสียหายเมื่อหักค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาทำงาน เงินที่เบิกล่วงหน้า ค่าของกินที่ซื้อและค่าของใช้ส่วนตัวแล้วอาจเหลือไม่พอจ่ายค่าจ้างนั้น ก็ไม่มีมูลให้อ้าง เพราะปรากฏว่าเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถูกจับกุม มีเงินค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ค้างจ่ายแก่ผู้เสียหายทุกคนอยู่ และที่อ้างว่าให้อิสระแก่ผู้เสียหายที่จะเดินทางกลับบ้านที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้หากต้องการ ก็เป็นเพียงคำพูดที่ขัดแย้งต่อข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปฏิบัติต่อผู้เสียหายตามที่ได้ความในการพิจารณา หรือที่อ้างอีกว่าได้ให้อิสระแก่ผู้เสียหายที่จะโทรศัพท์ติดต่อญาติที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวนั้นก็ขัดต่อข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ยึดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายทุกคนไว้ตั้งแต่เดินทางมาถึงฟาร์มที่เกิดเหตุ ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 3 ที่ 6 ที่ 8 และที่ 12 จึงเป็นไปเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เป็นความผิดฐานร่วมกันค้ามนุษย์ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (1) และฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นและให้ผู้อื่นนั้นกระทำการใดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 ทวิ อันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท และเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 4 ที่ 5 ที่ 7 ที่ 9 ถึงที่ 11 และที่ 13 เพราะกระทำในคราวเดียวกัน ต้องลงโทษฐานร่วมกันค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 สำหรับจำเลยที่ 1 ขณะกระทำความผิดเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจจึงต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดฐานดังกล่าวตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 13 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันค้ามนุษย์ด้วยการบังคับใช้แรงงานสำหรับผู้เสียหายที่ 3 ที่ 6 ที่ 8 และที่ 12 และข้อหาหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้นบางส่วน

 




เกี่ยวกับคดีอาญา

ความผิดฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ article
เป็นอันตรายแก่จิตใจ - ใช้ยาสลบใส่กาแฟ
บันดาลโทสะต้องถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง
หมิ่นประมาท | หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์โฆษณา
วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องห้ามฎีกา
ผู้เสียหายด่าจำเลย(บิดา)หยาบคายกรณีจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
เจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร
การริบทรัพย์สิน | ใช้ในการกระทำความผิด
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
คำว่า-วิชาชีพ-ในคดีอาญา
หลบหนีไปจากความควบคุมตามอำนาจของพนักงานสอบสวน
สเปรย์พริกไทยไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร | รับส่งเด็กนักเรียน
ลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะ
กระทำอนาจารต่อศิษย์นอกเวลาเรียน
ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ยังคงเป็นป่าตาม พ.ร.บ. ป่าไม้
เป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์และใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต
ลงลายมือชื่อรับรองคนต่างด้าว 7 คน
ความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นตาม ป.อาญา มาตรา 188
ผู้สนับสนุนให้จำเลยกระทำความผิด
ทวงหนี้ลักษณะข่มขู่ว่าไม่จ่ายจะเดือดร้อนจำคุก 3 ปี
การทำนากุ้งไม่ใช่การประกอบอาชีพกสิกรรม
ลักทรัพย์นายจ้าง, ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
การจับกุมมิชอบกับการฟ้องคดีอาญา
คำขอในส่วนแพ่งเนื่องความผิดอาญา
แม้ผู้ตายยิงจำเลยก่อนอ้างเหตุป้องกันตัวไม่ได้
ทำร้ายร่างกายกับการป้องกันตัว
พรากเด็กต่ำ15 ปี ไปเพื่อการอนาจารจำคุก 5 ปี
ซื้อเสียงเลือกตั้งไม่รอลงอาญา
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดอันพึงริบ
การเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
กระทำชำเราต่างวันต่างเวลาและต่างสถานที่ผิดหลายกรรม
เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล
การพรากเด็กไม่ว่าเด็กจะออกจากบ้านเองก็ย่อมเป็นความผิดทั้งสิ้น
ผู้ปกครองอนุญาตให้ไปดูโทรทัศน์ที่บ้านของจำเลยเท่านั้น
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมและฐานฉ้อโกง
พิพากษาจำคุกจำเลยศาลฎีกายกฟ้องเพราะคำฟ้องไม่ได้ลงชื่อ
หมิ่นประมาทกับดูหมิ่นซึ่งหน้า-ความผิดอาญามีโทษหนักเบาแตกต่างกัน
พรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย
พยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจำคุกตลอดชีวิต
บันดาลโทสะหรือพยายามฆ่า
ความผิดอันยอมความได้ | คดีหมิ่นประมาท | ร้องทุกข์ภายในสามเดือน
พกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
การสมรสในต่างประเทศระหว่างหญิงไทยกับหญิงไทย
การกระทำชำเราที่ไม่ต้องรับโทษ
การสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายอิสลามจำเลยไม่ต้องรับโทษ
กระทำโดยประมาทไม่อาจอ้างเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่มีอำนาจสอบสวนไม่มีอำนาจฟ้อง
ให้กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราถูกจำคุก 48 เดือน
ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ก่อนคดีถึงที่สุดคดีอาญาระงับ
บุตรติดมารดาไม่อยู่ในความปกครองของบิดาเลี้ยง
การชวนเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีเข้าไปในห้องนอนไม่ผิดพรากผู้เยาว์
กระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีจำคุก 50 ปี
จำเลยไม่มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี
การนับอายุความคดีความผิดอันยอมความได้
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากในฟ้อง
ปลัดกระทรวงไม่มีอำนาจสั่งย้ายโจทก์ไปดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัด
จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่
การสนทนาผ่านเมสเซนเจอร์ไม่เป็นการกล่าวไขข่าวให้แพร่หลาย
ภยันตรายจากการประทุษร้ายที่จะใช้อ้างเพื่อการป้องกันสิทธิ
กระทำชำเราเด็กและพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปีจำคุก 48 ปี
"อนาจาร" มีความหมายว่า การกระทำที่ไม่สมควรทางเพศ
พาเด็กหญิงจากที่เปิดเผยเข้าไปในจุดลับตาผู้คน
จำเลยเป็นบุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจให้กู้ยืมเงินโดยไม่ได้รับอนุญาต
ขายทองเงินผ่อนอำพรางการให้กู้ยืมเงินดอกเบี้ย318%ต่อปี
ศาลฎีกาพิพากษาให้รอการกำหนดโทษจำเลยรอการชำระเงิน
มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแต่จำเลยหลบหนีขาดอายุความอย่างไร
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร,เต็มใจไปด้วย
ขู่เข็ญให้จ่ายเงิน มิฉะนั้นเปิดเผยความลับวีดีโอ-ความสัมพันธ์ทางเพศ รีดเอาทรัพย์
ความผิดตามมาตรา 149 บทเฉพาะและมาตรา 157 บททั่วไป
ลักทรัพย์นายจ้าง ปลอมเอกสารสิทธิ การกระทำกรรมเดียว
ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจเหนือศาลทหาร
พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครอง
งดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือเล็งเห็นผลว่าอาจถึงแก่ความตายเป็นพยายามฆ่า
การกระทำโดยพลาด
ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
รอการลงโทษ,ให้การรับสารภาพ
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
คำร้องทุกข์ | อำนาจพนักงานสอบสวน
ขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ-มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
ความผิดฐานบุกรุกเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร
พาไปเพื่อการอนาจาร -บุคคลอายุกว่าสิบห้าปี
ความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน
รอการกำหนดโทษ | รอการลงโทษ | พรบ.ล้างมลทิน
เบิกความอันเป็นเท็จในศาล
ป้องกันพอสมควรแก่เหตุ-ป้องกันเกินกว่าเหตุ
บันดาลโทสะเพราะเหตุยั่วยุให้โมโห
หมิ่นประมาท | เข้าใจโดยสุจริต