

พยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจำคุกตลอดชีวิต พยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจำคุกตลอดชีวิต ตามพฤติการณ์เมื่อจำเลย(สามี)พบผู้เสียหาย(สามีใหม่)ก็ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายแล้วหลบหนีไป การที่จำเลยนำอาวุธติดตัวไปด้วยแสดงว่าจำเลยเตรียมอาวุธปืนเพื่อที่จะฆ่าผู้เสียหายไว้แล้ว บ้านจำเลยและบ้านที่เกิดเหตุอยู่ห่างกันพอสมควร ระหว่างการเดินทางไปที่เกิดเหตุจำเลยย่อมคิดทบทวนหลายครั้งแล้วว่าจะฆ่าผู้เสียหาย เมื่อไปถึงจำเลยก็ได้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายไปเลยโดยไม่ได้พูดคุยอะไรกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพยายามฆ่าผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจำคุกตลอดชีวิต คำให้การจำเลยมีประโยชน์ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุก 33 ปี 4 เดือน ว. เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย อยู่กินด้วยกันที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพรต่อมาเลิกกันโดยมิได้จดทะเบียนหย่า ว. ย้ายไปอยู่จังหวัดภูเก็ต ได้รู้จักกับผู้เสียหายและได้อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้เสียหาย จำเลยตามไปจังหวัดภูเก็ตและขู่ว่าหากแต่งงานใหม่จะฆ่า ว. กับผู้เสียหาย ต่อมาปี 2547 ว. กับผู้เสียหายได้มางานศพบิดา ว. ที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จำเลยขู่จะฆ่า ว. และผู้เสียหายอีก จน ว. ได้แจ้งความไว้กับเจ้าพนักงานตำรวจ แสดงว่าจำเลยมีความโกรธแค้น ว. และผู้เสียหายและก็คงหาโอกาสที่จะฆ่าบุคคลทั้งสองมาตลอด จนวันเกิดเหตุเมื่อจำเลยทราบว่า ว. และผู้เสียหายมาที่อำเภอหลังสวน จำเลยก็ได้เดินทางจากบ้านจำเลยไปที่บ้านพักของ ว. และผู้เสียหาย เมื่อไปถึงจำเลยก็ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายแล้วหลบหนีไป การที่จำเลยนำอาวุธติดตัวไปด้วยแสดงว่าจำเลยเตรียมอาวุธปืนเพื่อที่จะฆ่าผู้เสียหายไว้แล้ว ทั้งบ้านจำเลยและบ้านที่เกิดเหตุซึ่งอยู่คนละหมู่บ้านกันย่อมมีระยะทางห่างกันพอสมควร ระหว่างที่จำเลยเดินทางไปจำเลยย่อมคิดทบทวนหลายครั้งแล้วว่าจะฆ่าผู้เสียหาย เมื่อไปถึงจำเลยก็ได้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายไปเลยโดยไม่ได้พูดคุยอะไรกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพยายามฆ่าผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน จำเลยให้การปฏิเสธ แต่เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว จำเลยขอถอนคำให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับสารภาพในข้อหามีและพาอาวุธปืน ส่วนข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน จำเลยให้การว่ากระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานพยายามฆ่าผู้อื่น จำคุก 10 ปี ฐานมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 6 เดือน คำให้การจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษฐานพยายามฆ่าผู้อื่นให้หนึ่งในสาม และฐานมีและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้กระทงละกึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ฐานพยายามฆ่าผู้อื่นจำคุก 6 ปี 8 เดือน ฐานมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 6 เดือน ฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 3 เดือน รวมจำคุก 6 ปี 17 เดือน ข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนให้ยก ริบของกลาง โจทก์อุทธรณ์ จำเลยฎีกา พิพากษายืน เจตนาร่วมในการกระทำความผิดฐานพยายามฆ่า การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธยิงไปยังกลุ่มวัยรุ่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทันทีทันใด แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ห้ามปรามจำเลยที่ 1 ก็อาจเป็นไปได้ว่าจำเลยที่ 2 มิได้คาดคิดว่าจำเลยที่ 1 จะกระทำเช่นนั้น พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 มีเจตนาร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานพยายามฆ่า คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2550 จำเลยที่ 1 กับที่ 2 พร้อมพวกไปเที่ยวงานวัด มีชายคนหนึ่งขับรถจักรยานยนต์มาชนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงชกต่อยกับชายดังกล่าว จำเลยที่ 2 กับพวกเข้าห้ามหลังจากนั้นจำเลยทั้งสองกับพวกไปรับประทานอาหารที่บ้านจำเลยที่ 1 มีคนใช้ขวดสุราขว้างปามาที่บ้านจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 โมโหมาก จึงหยิบอาวุธปืนแก๊ปยาวที่อยู่ในบ้านออกมาหน้าบ้านโดยจำเลยที่ 2 เดินตามมาด้วย จำเลยที่ 1 ยิงปืนไปยังกลุ่มวัยรุ่นโดยจำเลยที่ 2 ยืนอยู่ใกล้ ๆ กระสุนปืนถูกโจทก์ร่วมที่ศีรษะได้รับบาดเจ็บไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีสาเหตุโกรธเคืองกับกลุ่มวัยรุ่นที่ขว้างปาบ้านของจำเลยที่ 1 และขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ก็มิได้แสดงอาการอย่างใดอันจะชี้ให้เห็นว่ามีเจตนาร่วมกับจำเลยที่ 1 ยิงกลุ่มวัยรุ่นดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธยิงไปยังกลุ่มวัยรุ่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทันทีทันใด แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ห้ามปรามจำเลยที่ 1 ก็อาจเป็นไปได้ว่าจำเลยที่ 2 มิได้คาดคิดว่าจำเลยที่ 1 จะกระทำเช่นนั้น พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 มีเจตนาร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานพยายามฆ่าตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 371, 91, 83, 80, 32, 33 ริบอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนของกลาง จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น นายบ่าว โสภา ผ้เสียหาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ส่วนจำเลยที่ 1 (ต่อมา)ถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 80, 371 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ออกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคหนึ่ง, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานพยายามฆ่าผู้อื่น จำคุก 10 ปี ฐานมีอาวุธ จำคุก 1 ปี และปรับ 3,000 บาท ฐานพาอาวุธปืน เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ปรับ 3,000 บาท รวมจำคุก 11 ปี และปรับ 6,000 บาท คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่งในสามคงจำคุก 7 ปี 4 เดือน และปรับ 4,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ริบอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลาง จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง แต่ให้ริบของกลาง โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุในฟ้อง จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมถูกที่บริเวณศีรษะเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับอันตรายแก่กาย คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจกท์ว่า จำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่... เห็นว่า มูลเหตุแห่งคดีนี้เกิดจากจำเลยที่ 1 กับที่ 2 พร้อมพวกไปเที่ยวงานวัด มีชายคนหนึ่งขับรถจักรยานยนต์มาชนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงชกต่อยกับชายดังกล่าว จำเลยที่ 2 กับพวกเข้าห้าม หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองกับพวกไปรับประทานอาหารที่บ้านจำเลยที่ 1 มีขวดสุราขว้างปามาที่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 โมโหมาก จึงหยิบอาวุธปืนแก๊ปยาวที่อยู่ในบ้านออกมาหน้าบ้าน โดยจำเลยที่ 2 เดินตามมาด้วยจำเลยที่ 1 ยิงปืนไปยังกลุ่มวัยรุ่นโดยจำเลยที่ 2 ยืนใอยู่กล้ๆ กระสุนปืนถูกโจทก์ร่วมที่ศีรษะได้รับบาดเจ็บ ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีสาเหตุโกรธเคืองกับกลุ่มวัยรุ่นที่ขว้างปาบ้านของจำเลยที่ 1 และขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ก็มิได้แสดงอาการอย่างใดอันจะชี้ให้เห็นว่ามีเจตนาร่วมกับจำเลยที่ 1 ยิงกลุ่มวัยรุ่นดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงไปยังกลุ่มวัยรุ่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทันทีทันใด แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ห้ามปรามจำเลยที่ 1 ก็อาจเป็นไปได้ว่าจำเลยที่ 2 มิได้คาดคิดว่าจำเลยที่ 1 จะกระทำเช่นนั้น พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 มีเจตนาร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น” พิพากษายืน ความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 1 โดยไตร่ตรองไว้ก่อน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6663/2562 การที่จำเลยกับผู้เสียหายที่ 1 ชกต่อยและแยกย้ายจากกันแล้ว จำเลยบอกผู้เสียหายที่ 1 ให้รออยู่ก่อน จำเลยจะกลับไปเอาอาวุธปืน แล้วจำเลยขับรถจักรยานยนต์ไปเอาอาวุธปืนของกลางกลับมายังที่เกิดเหตุโดยใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง นับเป็นเวลาเพียงพอที่จำเลยสามารถระงับสติอารมณ์ทำให้โทสะหมดสิ้นไปและกลับมามีสติสัมปชัญญะได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยเดินทางกลับมายังที่เกิดเหตุแล้วใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายที่ 1 จึงเป็นเหตุการณ์ที่ขาดตอนกันไปแล้ว จำเลยจะอ้างว่าเป็นการตัดสินใจเฉพาะหน้าและไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อนหาได้ไม่ พฤติการณ์ของจำเลยบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยตระเตรียมการพร้อมที่จะกลับไปฆ่าผู้เสียหายที่ 1 จำเลยจึงมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายที่ 1 โดยไตร่ตรองไว้ก่อน เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 1 โดยไตร่ตรองไว้ก่อน โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 91, 288, 289, 358, 371 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 4, 8 ทวิ, 72 ทวิ และริบอาวุธปืนของกลาง จำเลยให้การปฏิเสธ แต่ก่อนสืบพยาน จำเลยขอถอนคำให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 80, 358, 371 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 1 เดือน ฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกตลอดชีวิต จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 ฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต คงจำคุก 15 วัน ฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน คงจำคุก 25 ปี รวมเป็นจำคุก 25 ปี 15 วัน และริบอาวุธปืนของกลาง จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สำหรับความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควร กับฐานทำให้เสียทรัพย์ จำเลยไม่อุทธรณ์จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 1 โดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ ข้อเท็จจริงได้ความจากทางนำสืบของโจทก์ว่า ในวันเกิดเหตุจำเลยและผู้เสียหายที่ 1 มีเรื่องชกต่อยกัน หลังจากที่มีผู้ห้ามปรามจำเลยและผู้เสียหายที่ 1 ให้แยกจากกันแล้ว จำเลยบอกผู้เสียหายที่ 1 ว่า ให้รออยู่ก่อน จำเลยจะไปเอาอาวุธปืน จากนั้นประมาณครึ่งชั่วโมง จำเลยขับรถจักรยานยนต์ตามไปพบผู้เสียหายที่ 1 กับพวกจอดรถกระบะอยู่บริเวณที่เกิดเหตุ นายสายันณ์ พวกของผู้เสียหายที่ 1 ลงจากรถเข้าไปห้ามปรามจำเลย แต่จำเลยไม่ฟังแล้วใช้อาวุธปืนของกลางยิงไปที่ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งนั่งอยู่ภายในรถ 1 นัด กระสุนปืนถูกกระจกรถฝั่งด้านคนขับทะลุเข้าไปถูกผู้เสียหายที่ 1 บริเวณหน้าท้องจนเป็นเหตุรับอันตรายแก่กาย เห็นว่า การที่จำเลยกับผู้เสียหายที่ 1 ชกต่อยและแยกย้ายจากกันแล้ว จำเลยบอกผู้เสียหายที่ 1 ให้รออยู่ก่อน จำเลยจะกลับไปเอาปืน แล้วจำเลยขับรถจักรยานยนต์ไปเอาอาวุธปืนของกลางกลับมายังที่เกิดเหตุโดยใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง นับเป็นเวลาเพียงพอที่จำเลยสามารถระงับสติอารมณ์ทำให้โทสะหมดสิ้นไปและกลับมามีสติสัมปชัญญะได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยเดินทางกลับมายังที่เกิดเหตุแล้วใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายที่ 1 จึงเป็นเหตุการณ์ที่ขาดตอนกันไปแล้ว จำเลยจะอ้างว่าเป็นการตัดสินใจเฉพาะหน้าและไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อนหาได้ไม่ พฤติการณ์ของจำเลยบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยตระเตรียมการพร้อมที่จะกลับไปฆ่าผู้เสียหายที่ 1 จำเลยจึงมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายที่ 1 โดยไตร่ตรองไว้ก่อน เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 1 โดยไตร่ตรองไว้ก่อน ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบานั้น เนื่องจากความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) มีโทษประหารชีวิตสถานเดียว การพยายามกระทำความผิดต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษประหารชีวิต ดังนั้นเมื่อลดโทษประหารชีวิตลงหนึ่งในสามจึงเหลือโทษจำคุกตลอดชีวิต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 52 (1) ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้โดยจำคุกตลอดชีวิตก่อนลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 คงจำคุก 25 ปี นั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาไม่อาจลงโทษจำเลยให้ต่ำกว่านี้ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2563
จำเลยกับผู้เสียหายที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยาและมีบุตรด้วยกัน เพิ่งเลิกคบหากันก่อนเกิดเหตุเพียงหนึ่งเดือน ความสัมพันธ์ยังคงมีอยู่ไม่ถึงกับตัดขาดทีเดียว การที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ตามหาผู้เสียหายที่ 2 ในขณะที่เพิ่งมีปากเสียงกัน จำเลยจึงอยู่ในสภาวะอารมณ์ขุ่นเคืองและโกรธ มากกว่าที่จะวางแผนหรือใคร่ครวญตรึกตรองหาวิธีทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 เมื่อจำเลยเห็นผู้เสียหายที่ 2 บริเวณบ้านที่เกิดเหตุโดยบังเอิญ จำเลยเลี้ยวรถกลับไปจอดหน้าบ้านที่เกิดเหตุแล้วเดินเข้าไปหา ผู้เสียหายที่ 2 เห็นจำเลยก็วิ่งหนี จำเลยวิ่งตามไปใช้อาวุธมีดที่พกติดตัวมาแทงทำร้าย เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน ได้รับอันตรายสาหัส เป็นเหตุการณ์เฉพาะหน้า จำเลยกระทำไปโดยขาดความยับยั้งชั่งใจและขาดสติด้วยคิดว่าผู้เสียหายที่ 2 ตีจากและหันไปคบกับผู้เสียหายที่ 3 พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 80, 91, 295, 297, 289, 364, 365, 371 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มาตรา 3, 4 ริบของกลาง
จำเลยให้การรับสารภาพข้อหาพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยและโดยไม่มีเหตุสมควร แต่ข้อหาอื่นให้การรับว่าทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 จริง แต่กระทำโดยบันดาลโทสะ
ระหว่างพิจารณา นายสมศักดิ์ ผู้เสียหายที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ก่อนสืบพยานผู้เสียหายที่ 1 ขอถอนคำร้อง ศาลชั้นต้นอนุญาต แต่ให้จำหน่ายคำร้องเสียจากสารบบความ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
นางสาวภัทรวดี ผู้เสียหายที่ 2 โดยนายบุญเสียน ผู้แทนโดยชอบธรรม ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลผู้เสียหายที่ 2 เป็นเงิน 50,000 บาท ค่าเสียหายต่อจิตใจที่ใบหน้าเสียโฉมเป็นเงิน 100,000 บาท ค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติเป็นเงิน 54,000 บาท และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นเนื่องจากผู้เสียหายที่ 2 ต้องรักษาตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเงิน 250,000 บาท
นายสมพรโชค ผู้เสียหายที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลเป็นเงิน 13,844 บาท ค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติเป็นเงิน 90,000 บาท รวมเป็นเงิน 103,844 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยให้การในคดีส่วนแพ่งขอให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80, 295, 365 (1) (2) (3) ประกอบมาตรา 364, 371 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยและโดยไม่มีเหตุสมควร ปรับ 1,000 บาท ฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ฐานกระทำการอันเป็นความรุนแรงในครอบครัว และฐานบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืนโดยใช้กำลังประทุษร้ายและโดยมีอาวุธ เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานพยายามฆ่าผู้อื่นซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 10 ปี และฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น จำคุก 1 ปี จำเลยให้การรับสารภาพฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยและโดยไม่มีเหตุสมควร และทางนำสืบของจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้อื่นและฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยและโดยไม่มีเหตุสมควรให้กึ่งหนึ่งและลดโทษฐานพยายามฆ่าผู้อื่นและฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นให้หนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยและโดยไม่มีเหตุสมควร คงปรับ 500 บาท ฐานพยายามฆ่าผู้อื่น คงจำคุก 6 ปี 8 เดือน และฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น คงจำคุก 8 เดือน รวมจำคุก 6 ปี 16 เดือน และปรับ 500 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ริบของกลาง ข้อหาอื่นให้ยก กับให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายที่ 2 เป็นเงิน 128,000 บาท และให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ร้องที่ 3 เป็นเงิน 14,844 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 14,844 บาท นับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้เสียหายที่ 3 ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีส่วนแพ่งให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 80 ให้ลงโทษฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้จำคุกตลอดชีวิต ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 คงจำคุก 33 ปี 4 เดือน เมื่อรวมกับโทษฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยและโดยไม่มีเหตุสมควร และฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว คงจำคุก 33 ปี 12 เดือน และปรับ 500 บาท ให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายที่ 3 เป็นเงิน 23,844 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 23,844 บาท นับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้เสียหายที่ 3 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติโดยคู่ความมิได้ฎีกาโต้แย้งเป็นอย่างอื่นว่า ผู้เสียหายที่ 2 เคยอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรด้วยกัน 1 คน ผู้เสียหายที่ 1 เป็นเจ้าของบ้านที่เกิดเหตุ ผู้เสียหายที่ 3 เป็นบุตรของผู้เสียหายที่ 1 ในวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยเข้าไปในบ้านที่เกิดเหตุแล้วใช้อาวุธมีดยาว 5.5 นิ้ว ด้ามมีดยาวประมาณ 4 นิ้ว แทงผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส มีบาดแผลเป็นบริเวณใบหน้าและรอบดวงตามองเห็นได้ชัดเจน ต้องเสียโฉมอย่างติดตัว และมีบาดแผลบริเวณแขนขวาต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาและจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันและเป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 3 ได้รับบาดเจ็บเป็นอันตรายแก่กายและจิตใจ ในวันเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยพร้อมยึดอาวุธมีดที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดและฝักมีดที่ตกในที่เกิดเหตุเป็นของกลาง สำหรับความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยและโดยไม่มีเหตุสมควร ฐานกระทำการอันเป็นความรุนแรงในครอบครัว ฐานบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืนโดยใช้กำลังประทุษร้ายและโดยมีอาวุธ ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น และคดีในส่วนแพ่งของผู้เสียหายที่ 2 คู่ความไม่อุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค 9 มิได้แก้ไขค่าสินไหมทดแทนในส่วนของผู้เสียหายที่ 2 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น จำเลยไม่อุทธรณ์ คงมีแต่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายที่ 3 เป็นเงิน 23,844 บาท พร้อมดอกเบี้ย โจทก์ไม่ฎีกา คงมีแต่จำเลยฎีกา ดังนั้น ความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นและค่าสินไหมที่จำเลยต้องชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายที่ 3 เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9
คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ เห็นว่า จำเลยกับผู้เสียหายที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยากันมาตั้งแต่ปี 2557 มีบุตรด้วยกัน 1 คน ผู้เสียหายที่ 2 เคยถูกจำเลยทำร้ายร่างกายเป็นประจำ และผู้เสียหายที่ 2 เพิ่งเลิกคบหากับจำเลยก่อนเกิดเหตุเพียง 1 เดือน ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับผู้เสียหายที่ 2 ยังคงมีอยู่ไม่ถึงกับตัดขาดเสียทีเดียว โดยผู้เสียหายที่ 2 เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 2 ยังพูดคุยกับจำเลยและจำเลยยืนยันขอกลับมาอยู่กับผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งจำเลยเบิกความเจือสมเข้ามาว่า ช่วงเกิดเหตุจำเลยยังไม่เลิกคบหากับผู้เสียหายที่ 2 แต่ผู้เสียหายที่ 2 ขอกลับไปอยู่กับบิดามารดาของตน และจำเลยรู้สึกโกรธเมื่อได้ยินข่าวว่าผู้เสียหายที่ 2 คบหากับบุคคลอื่น แสดงว่า จำเลยยังมีความผูกพันและอาลัยอาวรณ์ผู้เสียหายที่ 2 อยู่ ส่วนเหตุการณ์ก่อนเกิดเหตุที่จำเลยพูดคุยกับผู้เสียหายที่ 2 ทางเฟซบุ๊กของนางสาวเกียร์ นั้น จำเลยพูดคุยกับผู้เสียหายที่ 2 เวลาประมาณ 15 นาฬิกา ขณะนั้นผู้เสียหายที่ 2 ก็ยอมรับว่า จำเลยไม่รู้ว่าผู้เสียหายที่ 2 อยู่ที่ใด และผู้เสียหายที่ 2 คบหาอยู่กับผู้เสียหายที่ 3 หรือไม่การที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์มีญาติซ้อนท้ายมาอีก 2 คน ตามหาผู้เสียหายที่ 2 ในขณะที่เพิ่งมีปากเสียงกับผู้เสียหายที่ 2 เกี่ยวกับเรื่องทวงเงินค่าสินสอดและความสัมพันธ์ระหว่างผู้เสียหายที่ 2 กับบุคคลอื่น จำเลยจึงอยู่ในสภาวะอารมณ์ขุ่นเคืองและโกรธมากกว่าที่จะวางแผนหรือใคร่ครวญตรึกตรองหาวิธีทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 ดังที่โจทก์ฟ้องดังจะเห็นได้จากพฤติการณ์ที่จำเลยขับรถผ่านบ้านที่เกิดเหตุไป แสดงว่าจำเลยไม่รู้ว่าผู้เสียหายที่ 2 อยู่ที่บ้านที่เกิดเหตุ เมื่อจำเลยเห็นผู้เสียหายที่ 2 บริเวณบ้านที่เกิดเหตุโดยบังเอิญ จำเลยจึงเลี้ยวรถกลับไปจอดหน้าบ้านที่เกิดเหตุ แล้วเดินเข้าไปหาผู้เสียหายที่ 2 ในทันที ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 2 เมื่อเห็นจำเลยก็วิ่งหนี จำเลยจึงวิ่งตามไปทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 รวมทั้งผู้เสียหายที่ 3 ซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน ซึ่งน่าจะเป็นเหตุการณ์เฉพาะหน้า จำเลยกระทำไปโดยขาดความยับยั้งชั่งใจและขาดสติด้วยคิดว่าผู้เสียหายที่ 2 ตีจาก และหันไปคบกับผู้เสียหายที่ 3 พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ สมควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้น เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้ว ฎีกาข้ออื่นของจำเลยไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เว้นแต่ค่าสินไหมทดแทนในส่วนของผู้เสียหายที่ 3 ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 |