ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




ปลัดกระทรวงไม่มีอำนาจสั่งย้ายโจทก์ไปดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัด

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความ (นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ) โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont

ปลัดกระทรวงไม่มีอำนาจสั่งย้ายโจทก์ไปดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัด

การบรรจุแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการระดับ 8 ให้อธิบดีเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของปลัดกระทรวงโดยตรง การที่ปลัดกระทรวง (จำเลย) ให้ ด. ออกคำสั่งย้ายโจทก์ ถือได้ว่าเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนในความผิดนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6653/2562

แม้จำเลยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการที่สังกัดในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่อำนาจหน้าที่ในการบรรจุแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการระดับ 8 ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ดังกล่าวเมื่อได้รับความเห็นชอบจากปลัดกระทรวง ไม่ใช่เป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดกระทรวงโดยตรง จำเลยในฐานะปลัดกระทรวง จึงไม่มีอำนาจสั่งย้ายโจทก์ไปดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัดอำนาจเจริญด้วยตนเอง จึงขาดคุณสมบัติเฉพาะตัวตามที่กฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ ไม่อาจลงโทษจำเลยในฐานะเป็นตัวการเพราะใช้ให้กระทำความผิดได้ แต่การที่จำเลยให้ ด. ออกคำสั่งย้ายโจทก์ ถือได้ว่าเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ตาม ป.อ. มาตรา 86 ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนในความผิดส่วนนี้ได้

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 157 กับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 2,000,000 บาท

ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ประทับฟ้อง

จำเลยให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จำคุก 1 ปี และปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 กับให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 1,400,000 บาท คำขออื่นให้ยก

โจทก์และจำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 84 อีกกรรมหนึ่ง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป จำคุกกระทงละ 1 ปี รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 2 ปี ไม่ปรับ ไม่รอการลงโทษ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีส่วนแพ่งทั้งสองศาลให้เป็นพับ

จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติในชั้นนี้ว่า ขณะเกิดเหตุโจทก์รับราชการตำแหน่งผู้อำนวยการกองการอนุญาต กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นข้าราชการระดับ 8 เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2546 นายบรรพต ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 399/2546 เรื่อง เลื่อนข้าราชการ โดยให้เลื่อนโจทก์ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก (นักวิชาการป่าไม้ 9) สำนักส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ กรมป่าไม้ ซึ่งเป็นการเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนผู้ที่จะเกษียณราชการในวันที่ 30 กันยายน 2546 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาให้โอนกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปเป็นกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 เป็นต้นไป วันที่ 1 ตุลาคม 2546 จำเลยซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีคำสั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ 278/2546 เรื่อง ให้ยกเลิกการแต่งตั้งข้าราชการกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 399/2546 โดยให้ระงับการมอบหมายงานในหน้าที่ตามคำสั่งดังกล่าว และถือว่าเป็นการให้ยกเลิกคำสั่งต่าง ๆ ดังกล่าวไว้ก่อน จนกว่าจะได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและนำปัญหาข้อกฎหมายหารือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ข้อยุติต่อไป หากผลการหารือปรากฏว่าถูกต้อง คำสั่งต่าง ๆ ดังกล่าวก็จะมีผลสมบูรณ์มาตั้งแต่ต้น หากไม่ถูกต้องก็จะได้ดำเนินการสรรหาใหม่ ซึ่งผู้ได้รับแต่งตั้งตามคำสั่งดังกล่าวจะได้รับการพิจารณาด้วย วันที่ 29 ตุลาคม 2546 จำเลยซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีคำสั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ 310/2546 เรื่อง รับโอนข้าราชการพลเรือนสามัญ โดยให้รับโอนนายดำรงค์ ผู้อำนวยการสำนัก (นักวิชาการป่าไม้ 9) สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก (นักวิชาการป่าไม้ 9) สำนักส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ กรมป่าไม้ และวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 นายดำรงค์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมป่าไม้ มีคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 543/2546 เรื่อง ย้ายข้าราชการ โดยความเห็นชอบจากจำเลยในฐานะปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ย้ายโจทก์ไปดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัดอำนาจเจริญ ต่อมามีคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 559/2546 ให้ยกเลิกคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 399/2546 ต่อมาศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ 278/2546 เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการระงับการแต่งตั้งโจทก์ตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 399/2546 และเพิกถอนคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 543/2546 เฉพาะในส่วนที่ย้ายโจทก์ ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีคำสั่ง ที่ 122/2557 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2557 ให้ยกเลิกคำสั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ 278/2546 และกรมป่าไม้มีคำสั่ง ที่ 1583/2557 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2557 ให้ยกเลิกคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 543/2546 แล้ว

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่ เห็นว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าในขณะที่โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง (เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 8) กองการอนุญาต กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก (นักวิชาการป่าไม้ 9) สำนักส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ กรมป่าไม้ ตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 399/2546 ลงวันที่ 4 กันยายน 2546 ดังนี้ ผู้บังคับบัญชาของโจทก์ในขณะนั้น คือ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คำสั่งดังกล่าวเป็นการแต่งตั้งข้าราชการทดแทนข้าราชการที่จะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 2546 จึงต้องกำหนดให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 ประกอบกับไม่ปรากฏว่าการออกคำสั่งดังกล่าวมีผลประโยชน์แอบแฝงหรือเอื้อประโยชน์แก่ผู้หนึ่งผู้ใดโดยมิชอบ ตรงกันข้ามกลับจะเป็นประโยชน์ต่องานราชการของสำนักส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจจะได้ดำเนินอย่างต่อเนื่อง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจแต่งตั้งโจทก์ให้ดำรงตำแหน่งในระดับ 9 คำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 399/2546 จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้มีพระราชกฤษฎีกาให้โอนกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปเป็นกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 เป็นต้นไป ทำให้คำสั่งแต่งตั้งโจทก์ให้ดำรงตำแหน่งในระดับ 9 เป็นคำสั่งแต่งตั้งล่วงหน้าโดยมีผลใช้บังคับในวันที่กรมป่าไม้โอนย้ายจากสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่จำเลยกลับมีคำสั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ 278/2546 ให้ระงับการมอบหมายงานในหน้าที่ตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 399/2546 และมีคำสั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ 310/2546 ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2546 รับโอนนายดำรงค์ ผู้อำนวยการสำนัก (นักวิชาการป่าไม้ 9) สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก (นักวิชาการป่าไม้ 9) สำนักส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ กรมป่าไม้ แทนโจทก์ โดยไม่ดำเนินการสรรหา แสดงว่าจำเลยเจตนาไม่ให้โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก (นักวิชาการป่าไม้ 9) สำนักส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ และจะไม่สรรหาผู้มาดำรงตำแหน่งดังกล่าว แต่จะโอนนายดำรงค์มาดำรงตำแหน่งดังกล่าวแทน เมื่อนายดำรงค์โอนมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจแล้ว นายดำรงค์ในฐานะรักษาราชการแทนอธิบดีกรมป่าไม้ ได้ทำบันทึกข้อความลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 เสนอขอความเห็นชอบจากจำเลยในฐานะปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อสับเปลี่ยนตำแหน่ง ให้โจทก์ไปดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัดอำนาจเจริญแทนนายสุนันต์ และให้นายสุนันต์ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองการอนุญาตแทนโจทก์ ซึ่งจำเลยมีคำสั่งเห็นชอบ พฤติการณ์บ่งชี้ว่าจำเลยมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ ไม่ให้โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ และให้โจทก์ไปดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัดอำนาจเจริญ โดยการใช้นายดำรงค์ให้มีคำสั่งย้ายโจทก์ไปดำรงตำแหน่งดังกล่าวโดยความเห็นชอบของจำเลย คำสั่งและความเห็นชอบของจำเลยเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบ ดังนั้น การกระทำของจำเลยที่ออกคำสั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ 278/2546 ให้ระงับการมอบหมายงานในหน้าที่ตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 399/2546 และให้ถือว่าเป็นการยกเลิกคำสั่งดังกล่าวไว้ก่อน จึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ส่วนที่จำเลยใช้ให้นายดำรงค์ออกคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 543/2546 ย้ายโจทก์ไปดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งเป็นการย้ายไปดำรงตำแหน่งที่ต่ำกว่าเดิม นั้น เห็นว่า แม้จำเลยจะดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการที่สังกัดในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็ตาม แต่อำนาจหน้าที่ในการบรรจุแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการระดับ 8 ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ดังกล่าวเมื่อได้รับความเห็นชอบจากปลัดกระทรวง ไม่ใช่เป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดกระทรวงโดยตรง จำเลยในฐานะปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่มีอำนาจสั่งย้ายโจทก์ให้ไปดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัดอำนาจเจริญด้วยตนเอง จึงขาดคุณสมบัติเฉพาะตัวตามที่กฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ ไม่อาจลงโทษจำเลยในฐานะเป็นตัวการเพราะใช้ให้กระทำความผิดได้ แต่การที่จำเลยให้นายดำรงค์ออกคำสั่งย้ายโจทก์ ถือได้ว่าเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนในความผิดส่วนนี้ได้

พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 (เดิม) และมาตรา 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 86 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จำคุก 1 ปี และฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จำคุก 8 เดือน รวมจำคุก 1 ปี 8 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมคดีส่วนแพ่งในชั้นฎีกาให้เป็นพับ

ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา

 ป.อ. ม. 84, ม. 86, ม. 157 (เดิม)

แหล่งที่มา

 กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

 แม้การมีชื่อร่วมในโฉนดที่ดินจะได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นเจ้าของรวม

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยกย่องเลี้ยงดูหญิงอื่นอย่างเปิดเผยต่อหน้าสาธารณะชนทั่วไปว่าเป็นภริยาของจำเลยและมีบุตรด้วยกัน ศาลชั้นต้นให้หย่าขาดและแบ่งสินสมรสครึ่งหนึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้แบ่งที่ดินเป็นสามส่วนเพราะมีชื่อบิดาจำเลยร่วมถือกรรมสิทธิ์ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่าให้แบ่งคนละครึ่งตามศาลชั้นต้นเพราะบิดาไม่ได้ช่วยผ่อนเงินกู้แต่มีชื่อร่วมกู้เพื่อให้ธนาคารอนุมัติเงินกู้เท่านั้น 




เกี่ยวกับคดีอาญา

การนับอายุความคดีความผิดอันยอมความได้
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากในฟ้องที่มิใช่ข้อสาระสำคัญ
จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่
การสนทนาผ่านเมสเซนเจอร์ไม่เป็นการกล่าวไขข่าวให้แพร่หลาย
ภยันตรายจากการประทุษร้ายที่จะใช้อ้างเพื่อการป้องกันสิทธิ
ฟ้องข้อหาค้ามนุษย์ บังคับใช้แรงงาน ข่มขืนใจผู้อื่น หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น
กระทำชำเราเด็กและพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปีจำคุก 48 ปี
"อนาจาร" มีความหมายว่า การกระทำที่ไม่สมควรทางเพศ
พาเด็กหญิงจากที่เปิดเผยเข้าไปในจุดลับตาผู้คน
หมิ่นประมาทกับดูหมิ่นซึ่งหน้า-ความผิดอาญามีโทษหนักเบาแตกต่างกัน
พรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย
ความผิดอันยอมความได้ | คดีหมิ่นประมาท | ร้องทุกข์ภายในสามเดือน
บันดาลโทสะหรือพยายามฆ่า
มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแต่จำเลยหลบหนีขาดอายุความอย่างไร
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร,เต็มใจไปด้วย
ขู่เข็ญให้จ่ายเงิน มิฉะนั้นเปิดเผยความลับวีดีโอ-ความสัมพันธ์ทางเพศ รีดเอาทรัพย์
ความผิดตามมาตรา 149 บทเฉพาะและมาตรา 157 บททั่วไป
พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
งดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือเล็งเห็นผลว่าอาจถึงแก่ความตายเป็นพยายามฆ่า
ลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะ
ลักทรัพย์นายจ้าง ปลอมเอกสารสิทธิ การกระทำกรรมเดียว
ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจเหนือศาลทหาร
ล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครอง
พกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
การกระทำโดยพลาด | พยายามฆ่า
ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
รอการลงโทษ,ให้การรับสารภาพ
เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
การกระทำชำเราที่ไม่ต้องรับโทษ
คำร้องทุกข์ | อำนาจพนักงานสอบสวน
ขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ-มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
ความผิดฐานบุกรุกเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร
พาไปเพื่อการอนาจาร -บุคคลอายุกว่าสิบห้าปี
ความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน
รอการกำหนดโทษ | รอการลงโทษ | พรบ.ล้างมลทิน
เบิกความอันเป็นเท็จในศาล
ป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
บันดาลโทสะเพราะเหตุยั่วยุให้โมโห
หมิ่นประมาท | เข้าใจโดยสุจริต
ความผิดฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้
เป็นอันตรายแก่จิตใจ - ใช้ยาสลบใส่กาแฟ
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร | รับส่งเด็กนักเรียน
บันดาลโทสะต้องถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง
หมิ่นประมาท | หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์โฆษณา
วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องห้ามฎีกา
บิดาบันดาลโทสะ | ผู้เสียหายด่าจำเลย(บิดา)หยาบคาย
เจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร
การริบทรัพย์สิน | ใช้ในการกระทำความผิด
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
คำว่า-วิชาชีพ-ในคดีอาญา
หลบหนีไปจากความควบคุมตามอำนาจของพนักงานสอบสวน
พยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจำคุกตลอดชีวิต
สเปรย์พริกไทยไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ
กระทำอนาจารต่อศิษย์นอกเวลาเรียน
ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ยังคงเป็นป่าตาม พ.ร.บ. ป่าไม้
ลงลายมือชื่อรับรองคนต่างด้าว 7 คน
ผู้สนับสนุนให้จำเลยกระทำความผิด
ทวงหนี้ลักษณะข่มขู่ว่าไม่จ่ายจะเดือดร้อนจำคุก 3 ปี
การทำนากุ้งไม่ใช่การประกอบอาชีพกสิกรรม
ลักทรัพย์นายจ้าง, ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
การจับกุมมิชอบกับการฟ้องคดีอาญา
รวบรวมฎีกาเรื่องเบิกความเท็จ
คำขอในส่วนแพ่งเนื่องความผิดอาญา
แม้ผู้ตายยิงจำเลยก่อนอ้างเหตุป้องกันตัวไม่ได้
ทำร้ายร่างกายกับการป้องกันตัว
พรากเด็กต่ำ15 ปี ไปเพื่อการอนาจารจำคุก 5 ปี
ซื้อเสียงเลือกตั้งไม่รอลงอาญา
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดอันพึงริบ
การเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
กระทำชำเราต่างวันต่างเวลาและต่างสถานที่ผิดหลายกรรม