ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




จำเลยฉ้อโกงหลอกลวงเอาทรัพย์ขณะที่ผู้เสียหายป่วยทางจิต

 จำเลยฉ้อโกงหลอกลวงเอาทรัพย์ขณะที่ผู้เสียหายป่วยทางจิต

โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ฐานฉ้อโกง และให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ราคาทรัพย์ 9,525,287 บาท แก่ผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดจำคุก 54 เดือน จำคุกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 คนละ 34 เดือนแต่รอการลงโทษไว้ 2 ปีให้จำเลยทั้งสี่ชดใช้เงิน 8,035,387 บาท ศาลอุทธรณ์แก้ไขแล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยที่ 1 หลอกลวงเอาทรัพย์ไปจากผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งกระทำในขณะที่มีอาการป่วยทางจิต เป็นบุคคลที่มีภาวะแห่งจิตต่ำกว่าปกติ และย่อมถูกหลอกลวงได้โดยง่ายกว่าคนปกติโดยทั่วไปจึงถือเป็นการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงโดยอาศัยความอ่อนแอแห่งจิตของผู้ถูกหลอกลวงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 342 (2) หาใช่เป็นเพียงความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยแต่อย่างใด แต่เนื่องจากโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกา ศาลฎีกาจึงเพียงแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสี่เสียใหม่ให้ถูกต้อง แต่ก็ไม่อาจเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสี่ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2559

การที่จำเลยที่ 1 หลอกลวงเอาทรัพย์ไปจากผู้เสียหายที่ 1 ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 มีอาการป่วยทางจิต ซึ่งเป็นบุคคลที่มีภาวะแห่งจิตต่ำกว่าปกติ และย่อมถูกหลอกลวงได้โดยง่ายกว่าคนปกติทั่วไปนั้น ถือเป็นการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงโดยอาศัยความอ่อนแอแห่งจิตของผู้เสียหายที่ 1 ผู้ถูกหลอกลวง จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 342 (2) หาใช่เป็นเพียงความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ดังที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยไม่ แต่เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกา ศาลฎีกาจึงเพียงแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสี่เสียใหม่ให้ถูกต้อง แต่ก็ไม่อาจเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสี่ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 341, 342 และให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนหรือชดใช้ราคาทรัพย์ 9,525,287 บาท แก่ผู้เสียหาย

จำเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธ

ระหว่างพิจารณา รองศาสตราจารย์เพลินจิต ผู้เสียหายที่ 3 ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และมาตรา 341 ประกอบมาตรา 80 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 341 ประกอบมาตรา 80, 86 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำคุกจำเลยที่ 1 ฐานฉ้อโกงกระทงละ 6 เดือน รวม 7 กระทง และฐานพยายามฉ้อโกง กระทงละ 4 เดือนรวม 3 กระทง รวมจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 54 เดือน ลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานฉ้อโกงจำคุกคนละ 4 เดือนและปรับคนละ กระทงละ 3,000 บาท รวม 7 กระทง และฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานพยายามฉ้อโกงจำคุกคนละ กระทงละ 2 เดือน 20 วันและปรับคนละ กระทงละ 2,000 บาท รวม 3 กระทง รวมจำคุกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 คนละ 34 เดือน 60 วัน และปรับคนละ 27,000 บาท จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ประกอบอาชีพการงานที่มั่นคงเป็นกิจจะลักษณะ ไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ประกอบกับมีพฤติการณ์เป็นเพียงผู้สนับสนุนเท่านั้น โทษจำคุกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทุกกระทงให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนหรือชดใช้ราคาทรัพย์ 8,035,387 บาท แก่ผู้เสียหาย ข้อหาและคำขออื่นให้ยก

โจทก์ โจทก์ร่วม และจำเลยทั้งสี่อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า หากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนหรือชดใช้ราคาทรัพย์ 8,395,387 บาท แก่ผู้เสียหาย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยทั้งสี่ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังเป็นยุติว่า นายประกิตเผ่า ผู้เสียหายที่ 1 เป็นบุตรของนายช่วง และรองศาสตราจารย์เพลินจิต โจทก์ร่วม ผู้เสียหายที่ 1 มีพี่ชาย 2 คน คือนายประกิตพงศ์ และนายประกิตพันธุ์ มีน้องสาว 1 คน คือ นางฐารินี ส่วนนางอลิสา ผู้เสียหายที่ 2 เป็นภริยาของผู้เสียหายที่ 1 จดทะเบียนสมรสกันในปี 2537 และมีบุตรด้วยกัน 2 คนผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2 และครอบครัวย้ายออกจากบ้านของบิดามารดาไปอยู่ที่ตำบลศาลายาอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2549 เมื่อปี 2536 ผู้เสียหายที่ 1 สำเร็จการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลและรับราชการเป็นแพทย์ประมาณ 2 ปี จึงลาออกจากราชการมาช่วยกิจการโรงเรียนกวดวิชาแอพพลายด์ฟิสิกส์ อันเป็นกิจการของครอบครัวเมื่อประมาณปี 2537 ซึ่งขณะเกิดเหตุมีทั้งหมด 4 สาขา ได้แก่ สาขาสยามสแควร์ สาขาบางกะปิ สาขางามวงศ์วาน และสาขาวิสุทธิกษัตริย์ และยังได้ร่วมหุ้นกับผู้อื่นอีกประมาณ 13 ถึง 14 สาขาทั่วประเทศบุคคลในครอบครัวแบ่งงานกันรับผิดชอบในโรงเรียนกวดวิชาดังกล่าว โดยโจทก์ร่วมทำหน้าที่บริหารงานด้านบัญชีและการเงิน นายช่วงและผู้เสียหายที่ 1 ทำหน้าที่ฝ่ายวิชาการและเป็นครูผู้สอน ผู้เสียหายที่ 2 ทำหน้าที่บริหารงานบุคคล ส่วนนายประกิตพันธุ์และนางฐารินีทำหน้าที่ค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการและผลิตสื่อการเรียนการสอน และโจทก์ร่วมยังเป็นผู้จัดสรรรายได้ต่างๆ ให้บุคคลในครอบครัวโดยใช้หลักว่าผู้ใดทำงานมากจะได้รับส่วนแบ่งมาก จำนวนเงินรายได้ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับจำนวนนักเรียนที่สมัครในแต่ละปี จำเลยที่ 1 เกิดปี 2525 จำเลยที่ 1 รู้จักกับผู้เสียหายที่ 1 ตั้งแต่เรียนชั้นมัธยม เพราะไปเรียนกวดวิชาที่โรงเรียนของผู้เสียหาย 1 จำเลยที่ 1 แพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล สาขาวิชาสอบเข้าเรียนคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2544 ต่อมาได้สอบคัดเลือกใหม่ได้ที่คณะกายภาพบำบัดและปี 2546 สอบคัดเลือกเข้าเรียนใหม่ได้ที่คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยก่อนสอบ จำเลยที่ 1 ก็ไปนั่งเรียนที่โรงเรียนของผู้เสียหายที่ 1 ด้วย

การที่จำเลยที่ 1 หลอกลวงเอาทรัพย์ไปจากผู้เสียหายที่ 1 โดยมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นผู้สนับสนุน ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 มีอาการป่วยทางจิต ซึ่งเป็นบุคคลที่มีภาวะแห่งจิตต่ำกว่าคนปกติ และย่อมถูกหลอกลวงได้โดยง่ายกว่าคนปกติทั่วไปนั้นถือเป็นการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงโดยอาศัยความอ่อนแอแห่งจิตของผู้เสียหายที่ 1 ผู้ถูกหลอกลวงแล้ว จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 342 (2) หาใช่เป็นเพียงความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ดังที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยไม่แต่เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกา ศาลฎีกาจึงเพียงแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสี่เสียใหม่ให้ถูกต้อง แต่ไม่อาจเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสี่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 นอกจากนี้ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนหรือชดใช้ราคาทรัพย์คือ ค่าเช่าห้องพักคอนโดมิเนียมของพนักงานรักษาความปลอดภัยอีก 60,000 บาท และค่าใช้จ่ายรายเดือนอีก 300,000 บาท แก่ผู้เสียหายนั้นเมื่อรวมกับค่าเช่าห้องพักคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนหรือชดใช้ 150,000 บาท แก่ผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นเงิน 510,000 บาท แต่โจทก์ขอค่าเช่าห้องพักจำเลยที่ 1 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนหรือชดใช้ 150,000 บาท แก่ผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นเงิน 510,000 บาท คอนโดมิเนียมตามฟ้องในส่วนนี้มาเพียง 410,000 บาท การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าใช้จ่ายรายเดือนดังกล่าวให้ 300,000 บาท รวมแล้วเป็นเงิน 510,000 บาท นั้น จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสี่ไม่ต้องคืนอาวุธปืนทั้ง 3 กระบอก เป็นเงิน 200,000 บาท แก่ผู้เสียหาย แต่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้นำเงินที่จำเลยทั้งสี่ต้องชดใช้คืนในส่วนของอาวุธปืนจำนวน 130,000 บาท ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น หักออกจากราคาทรัพย์ที่จำเลยทั้งสี่ต้องร่วมกันคืนหรือชดใช้แก่ผู้เสียหายด้วยซึ่งเป็นการไม่ชอบเช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 342 (2) และมาตรา 342 (2) ประกอบมาตรา 80 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 342 (2) ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 342 (2) ประกอบมาตรา 80, 86 ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนหรือชดใช้ราคาทรัพย์รวม 8,165,387 บาท แก่ผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2 และโจทก์ร่วม นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์




เกี่ยวกับคดีอาญา

ไม่มีเจตนาเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ที่เป็นประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
การกระทำของจำเลยเป็นการไตร่ตรองไว้ก่อน ตาม ป.อ. มาตรา 289 (4)
ป.อ. มาตรา 54 ในการคำนวณการเพิ่มโทษหรือลดโทษที่จะลง
รถยนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะซุกซ่อนและขนส่งบุหรี่ซิกาแรตในการกระทำความผิด
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้นั้นสภาพความเป็นลูกหนี้เจ้าหนี้เกิดขึ้นทันที
ความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนให้ปฏิบัติหรือละเว้นตามมาตรา 157
การกระทำความผิดระหว่างผู้บุพการีต่อผู้สืบสันดานหรือผู้สืบสันดานต่อผู้บุพการี
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบากว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้น
พาไปเพื่อการอนาจาร -บุคคลอายุกว่าสิบห้าปี
ความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน
รอการกำหนดโทษ | รอการลงโทษ | พรบ.ล้างมลทิน
เบิกความอันเป็นเท็จในศาล
จำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาใดไม่แน่ชัด
ป้องกันพอสมควรแก่เหตุ-ป้องกันเกินกว่าเหตุ
บันดาลโทสะเพราะเหตุยั่วยุให้โมโห
หมิ่นประมาท | เข้าใจโดยสุจริต
ความผิดฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้
เป็นอันตรายแก่จิตใจ - ใช้ยาสลบใส่กาแฟ
บันดาลโทสะต้องถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง
หมิ่นประมาท | หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์โฆษณา
วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องห้ามฎีกา
ผู้เสียหายด่าจำเลย(บิดา)หยาบคายกรณีจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
เจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร
การริบทรัพย์สิน | ใช้ในการกระทำความผิด
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
คำว่า-วิชาชีพ-ในคดีอาญา
หลบหนีไปจากความควบคุมตามอำนาจของพนักงานสอบสวน
สเปรย์พริกไทยไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร | รับส่งเด็กนักเรียน
ลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะ
กระทำอนาจารต่อศิษย์นอกเวลาเรียน
ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ยังคงเป็นป่าตาม พ.ร.บ. ป่าไม้
เป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์และใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต
ลงลายมือชื่อรับรองคนต่างด้าว 7 คน
ความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นตาม ป.อาญา มาตรา 188
ผู้สนับสนุนให้จำเลยกระทำความผิด
ทวงหนี้ลักษณะข่มขู่ว่าไม่จ่ายจะเดือดร้อนจำคุก 3 ปี
การทำนากุ้งไม่ใช่การประกอบอาชีพกสิกรรม
ลักทรัพย์นายจ้าง, ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
การจับกุมมิชอบกับการฟ้องคดีอาญา
คำขอในส่วนแพ่งเนื่องความผิดอาญา
แม้ผู้ตายยิงจำเลยก่อนอ้างเหตุป้องกันตัวไม่ได้
ทำร้ายร่างกายกับการป้องกันตัว
พรากเด็กต่ำ15 ปี ไปเพื่อการอนาจารจำคุก 5 ปี
ซื้อเสียงเลือกตั้งไม่รอลงอาญา
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดอันพึงริบ
การเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
กระทำชำเราต่างวันต่างเวลาและต่างสถานที่ผิดหลายกรรม
เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล
การพรากเด็กไม่ว่าเด็กจะออกจากบ้านเองก็ย่อมเป็นความผิดทั้งสิ้น
ผู้ปกครองอนุญาตให้ไปดูโทรทัศน์ที่บ้านของจำเลยเท่านั้น
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมและฐานฉ้อโกง
พิพากษาจำคุกจำเลยศาลฎีกายกฟ้องเพราะคำฟ้องไม่ได้ลงชื่อ
หมิ่นประมาทกับดูหมิ่นซึ่งหน้า-ความผิดอาญามีโทษหนักเบาแตกต่างกัน
พรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย
พยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจำคุกตลอดชีวิต
บันดาลโทสะหรือพยายามฆ่า
ความผิดอันยอมความได้ | คดีหมิ่นประมาท | ร้องทุกข์ภายในสามเดือน
พกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
การสมรสในต่างประเทศระหว่างหญิงไทยกับหญิงไทย
การกระทำชำเราที่ไม่ต้องรับโทษ
การสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายอิสลามจำเลยไม่ต้องรับโทษ
กระทำโดยประมาทไม่อาจอ้างเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่มีอำนาจสอบสวนไม่มีอำนาจฟ้อง
ให้กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราถูกจำคุก 48 เดือน
ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ก่อนคดีถึงที่สุดคดีอาญาระงับ
บุตรติดมารดาไม่อยู่ในความปกครองของบิดาเลี้ยง
การชวนเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีเข้าไปในห้องนอนไม่ผิดพรากผู้เยาว์
กระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีจำคุก 50 ปี
จำเลยไม่มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี
การนับอายุความคดีความผิดอันยอมความได้
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากในฟ้อง
ปลัดกระทรวงไม่มีอำนาจสั่งย้ายโจทก์ไปดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัด
จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่
การสนทนาผ่านเมสเซนเจอร์ไม่เป็นการกล่าวไขข่าวให้แพร่หลาย
ภยันตรายจากการประทุษร้ายที่จะใช้อ้างเพื่อการป้องกันสิทธิ
ฟ้องข้อหาค้ามนุษย์ บังคับใช้แรงงาน
กระทำชำเราเด็กและพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปีจำคุก 48 ปี
"อนาจาร" มีความหมายว่า การกระทำที่ไม่สมควรทางเพศ
พาเด็กหญิงจากที่เปิดเผยเข้าไปในจุดลับตาผู้คน
จำเลยเป็นบุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจให้กู้ยืมเงินโดยไม่ได้รับอนุญาต
ขายทองเงินผ่อนอำพรางการให้กู้ยืมเงินดอกเบี้ย318%ต่อปี
ศาลฎีกาพิพากษาให้รอการกำหนดโทษจำเลยรอการชำระเงิน
มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแต่จำเลยหลบหนีขาดอายุความอย่างไร
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร,เต็มใจไปด้วย
ขู่เข็ญให้จ่ายเงิน มิฉะนั้นเปิดเผยความลับวีดีโอ-ความสัมพันธ์ทางเพศ รีดเอาทรัพย์
ความผิดตามมาตรา 149 บทเฉพาะและมาตรา 157 บททั่วไป
ลักทรัพย์นายจ้าง ปลอมเอกสารสิทธิ การกระทำกรรมเดียว
ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจเหนือศาลทหาร
พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครอง
งดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือเล็งเห็นผลว่าอาจถึงแก่ความตายเป็นพยายามฆ่า
การกระทำโดยพลาด
ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
รอการลงโทษ,ให้การรับสารภาพ
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
คำร้องทุกข์ | อำนาจพนักงานสอบสวน
ขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ-มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
ความผิดฐานบุกรุกเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร