ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletคำพิพากษาศาลฎีกา
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




เจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความ นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

 

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

 

     ความผิดนอกราชอาณาจักร, เจตนาประสงค์ต่อผลหรือย่อมจะเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร

     คนร้ายลอยเรือซึ่งบรรทุกน้ำมันดีเซล 100,000 ลิตรเศษเพื่อดักให้เรือที่ชักธงชาติไทยมารับน้ำมันไปจำหน่ายให้แก่เรือประมงอีกทอดหนึ่ง แม้สถานที่ลอยเรือนั้นจะอยู่นอกราชอาณาจักรก็ตาม แต่คนร้ายก็มีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือย่อมจะเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร เพราะเรือที่รับช่วงน้ำมันจะต้องนำน้ำมันของกลางไปจำหน่ายให้แก่เรือประมงที่ทำการประมงในทะเลอาณาเขตซึ่งอยู่ในเขตราชอาณาจักรไทย แม้ว่าความผิดยังไม่สำเร็จแต่ยังอยู่ในขั้นพยายามก็ตาม แต่ตามกฎหมายศุลกากร ถือว่าเสมือนกับเป็นความผิดสำเร็จแล้ว
 
     มาตรา 5 ความผิดใดที่การกระทำแม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใดได้ กระทำในราชอาณาจักรก็ดี ผลแห่งการกระทำเกิดในราชอาณาจักร โดยผู้กระทำประสงค์ให้ผลนั้นเกิดในราชอาณาจักร หรือโดยลักษณะ แห่งการกระทำผลที่เกิดขึ้นควรเกิดในราชอาณาจักร หรือย่อมจะเล็ง เห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดในราชอาณาจักรก็ดี ให้ถือว่าความผิดนั้นได้ กระทำในราชอาณาจักร

     ในกรณีการตระเตรียมการ หรือพยายามกระทำการใด ซึ่งกฎหมาย บัญญัติเป็นความผิด แม้การกระทำนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักร ถ้าหากการกระทำนั้นจะได้กระทำตลอดไปจนถึงขั้นความผิดสำเร็จ ผลจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร ให้ถือว่าการตระเตรียมการหรือ พยายามกระทำความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักร

 

     คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5445/2552

 พนักงานอัยการจังหวัดภูเก็ต             โจทก์
 
          แม้เหตุจะเกิดที่นอกราชอาณาจักรแต่เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือย่อมจะเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร เพราะเรือที่รับช่วงน้ำมันจะต้องนำน้ำมันของกลางไปจำหน่ายให้แก่เรือที่ทำการประมงในทะเลอาณาเขตซึ่งอยู่ในเขตราชอาณาจักรไทย กรณีต้องด้วย ป.อ. มาตรา 5 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า การพยายามกระทำการใดซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แม้การกระทำนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักร ถ้าหากการกระทำนั้นจะได้กระทำตลอดไปจนถึงขั้นความผิดสำเร็จผลจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักรให้ถือว่าการพยายามกระทำความผิดได้กระทำในราชอาณาจักร และการพยายามกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดซึ่งถือเสมือนเป็นความผิดสำเร็จโดยมีโทษเช่นเดียวกับความผิดสำเร็จ จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469

          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2459 (ที่ถูก พ.ศ.2469) มาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 และมาตรา 8 พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2489 (ที่ถูก พ.ศ.2498) มาตรา 4 มาตรา 6 มาตรา 11 มาตรา 22 และมาตรา 23 พระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2521 มาตรา 4 มาตรา 6 ทวิ มาตรา 13 มาตรา 20 ทวิ และมาตรา 25 ตรี พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ.2466 มาตรา 2 มาตรา 19 และมาตรา 31 พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 มาตรา 3 มาตรา 277 และมาตรา 282 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 83 และมาตรา 91 ริบของกลางทั้งหมด เฉพาะวิทยุคมนาคมและเครื่องมือหาตำแหน่งที่เรือของกลางให้ริบไว้เพื่อใช้ในราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข จ่ายสินบนนำจับแก่ผู้นำจับและเงินรางวัลแก่ผู้จับตามกฎหมาย
          จำเลยให้การปฏิเสธ

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 มาตรา 277 และมาตรา 282 พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง มาตรา 11 วรรคหนึ่ง และมาตรา 23 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ.2466 มาตรา 19 และมาตรา 31 พระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2521 มาตรา 6 ทวิ วรรคหนึ่ง มาตรา 20 ทวิ และมาตรา 25 ตรี วรรคสอง พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานทำการในเรือในตำแหน่งนายเรือโดยมิได้รับประกาศนียบัตรรับรองความรู้ความสามารถอันถูกต้อง จำคุก 2 เดือน ฐานมีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากันให้ลงโทษฐานใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี 6 เดือน ฐานตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี 6 เดือน ฐานมีเครื่องตวง เครื่องวัดซึ่งไม่ถูกต้องตามความประสงค์ของกฎหมายไว้ในความครอบครอง จำคุก 6 เดือน ฐานตั้งสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 เดือน ฐานปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อจำหน่าย จำคุก 1 ปี 6 เดือน ฐานนำของที่ยังมิได้เสียค่าภาษีและยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักร ปรับ 1,439,496 บาท ฐานรับไว้ซึ่งของอันตนรู้ว่านำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ปรับ 330,600 บาท รวมจำคุก 5 ปี 3 เดือน และปรับ 1,770,096 บาท จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษหนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 3 ปี 6 เดือน และปรับ 1,180,064 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 และมาตรา 30 ในกรณีที่ต้องกักขังแทนค่าปรับ ให้กักขังจำเลยแทนค่าปรับ 2 ปี ริบของกลางทั้งหมด เฉพาะเครื่องวิทยุคมนาคมให้ริบไว้เพื่อใช้ในราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข ให้จ่ายสินบนร้อยละสามสิบและจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางที่ศาลสั่งริบ ตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 7 และมาตรา 8
          จำเลยอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 มาตรา 80 และมาตรา 83 ปรับ 1,439,496 บาท ลดโทษหนึ่งในสามตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว ปรับ 959,664 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 และมาตรา 30 โดยกักขังแทนค่าปรับ 2 ปี ริบของกลาง ให้จ่ายสินบนร้อยละสามสิบและจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางหรือค่าปรับตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 7 และมาตรา 8 ริบของกลางทั้งหมดโดยไม่สั่งให้ริบเครื่องวิทยุคมนาคมของกลางไว้เพื่อใช้ในราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขยกข้อหาและคำขออื่นนอกจากนี้ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น
          จำเลยฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาและโจทก์ไม่ฎีกาโต้แย้งว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุในฟ้อง จำเลยนำเรือบรรทุกน้ำมันชื่อสกายโอเชี่ยน 3 นำพาน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล 117,414 ลิตร ราคา 352,242 บาท ที่ยังมิได้เสียค่าภาษีและยังมิได้ผ่านศุลกากรแล่นจากประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์จะเข้ามายังราชอาณาจักรไทย โดยจำเลยนำเรือบรรทุกน้ำมันดังกล่าวมาจอดลอยลำในทะเล ณ บริเวณหมู่เกาะอาดัง และศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า มีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรว่า ที่เกิดเหตุอยู่ในทะเลอาณาเขตอันเป็นเขตราชอาณาจักรไทยหรือไม่ ซึ่งต้องฟังให้เป็นผลดีแก่จำเลยว่า จุดที่จำเลยลอยลำเรือนั้นอยู่นอกราชอาณาจักรไทย แต่พันตำรวจตรีสุวัฒน์ ดาบตำรวจวันชัย และสิบตำรวจโทชัยวัฒน์ ใช้เรือตรวจการของตำรวจน้ำไปจับจำเลยกับพวก ณ จุดดังกล่าวแล้วนำตัวจำเลยกับพวกส่งให้พันตำรวจเอกจงรักษ์ และพันตำรวจโทวีรวิทย์ พนักงานสอบสวน ดำเนินคดีในข้อหาลักลอบนำน้ำมันดีเซลเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตและข้อหาอื่น ๆ ตามฟ้อง พร้อมเรือบรรทุกน้ำมันสกายโอเชี่ยน 3 น้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล 117,414 ลิตร วิทยุรับส่ง 2 เครื่อง เครื่องมือหาตำแหน่งที่เรือ 2 เครื่อง มิเตอร์ 2 เครื่อง และสายน้ำมันพร้อมหัวจ่าย 4 สาย เป็นของกลาง ซึ่งต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยคงมีความผิดฐานร่วมกันพยายามนำของที่ยังไม่ได้เสียค่าภาษี (น้ำมันดีเซลของกลาง) และยังมิได้ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรทั้งได้ใช้และมีไว้เพื่อใช้กระทำความผิดซึ่งของกลางตามฟ้อง ข้อหาอื่นพิพากษายกฟ้องและให้ริบของกลางทั้งหมดนั้น แต่เนื่องจากการพยายามกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 มีโทษเช่นเดียวกับความผิดสำเร็จ ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว

          มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และจำเลยมีความผิดตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาหรือไม่ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า บริเวณทะเลจุดที่เกิดเหตุอยู่ในเขตต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีอำนาจตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่จะป้องกันมิให้มีการละเมิดกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการศุลกากรได้ ปรากฏว่าประเทศไทยได้ประกาศเขตอำนาจในเขตต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2538 แล้ว ดังนั้น ในขณะเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจจึงมีอำนาจตรวจค้นเรือใด ๆ ที่สงสัยว่าจะละเมิดกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการศุลกากรและจับกุมผู้ต้องสงสัยว่ากระทำผิดต่อกฎหมายและระเบียบดังกล่าวในทะเลซึ่งเป็นเขตต่อเนื่องได้ การจับกุมจำเลยกับพวกจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตลอดจนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2538 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุแล้ว ส่วนที่จำเลยอ้างว่า เจ้าพนักงานตำรวจกลั่นแกล้งจับกุมเพราะเรียกร้องเงินจากจำเลยไม่ได้นั้น เห็นว่า การจับกุมและการสอบสวนเป็นคนละขั้นตอนกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าคดีนี้มีการสอบสวนไม่ชอบอย่างไร โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง ตามคำเบิกความของจำเลยที่ตอบโจทก์ถามค้าน จำเลยเบิกความรับว่า จำเลยลอยเรือเพื่อให้เรือลำอื่นที่ชักธงชาติไทยมารับช่วงน้ำมันไปจำหน่ายแก่เรือประมงอีกทอดหนึ่ง แม้เหตุจะเกิดที่นอกราชอาณาจักรแต่เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือย่อมจะเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร เพราะเรือที่รับช่วงน้ำมันจะต้องนำน้ำมันของกลางไปจำหน่ายให้แก่เรือประมงที่ทำการประมงในทะเลอาณาเขตซึ่งอยู่ในเขตราชอาณาจักรไทย การกระทำของจำเลยจึงอยู่ในขั้นพยายามตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัย กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 5 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า การพยายามกระทำการใดซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แม้การกระทำนั้นจะได้กระทำนอกราชอาณาจักร ถ้าหากการกระทำนั้นจะได้กระทำตลอดไปจนถึงขั้นความผิดสำเร็จผลจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร ให้ถือว่าการพยายามกระทำความผิดของจำเลยดังกล่าวได้กระทำในราชอาณาจักร เมื่อการพยายามกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและถือเสมือนกับเป็นความผิดสำเร็จโดยมีโทษเช่นเดียวกับความผิดสำเร็จ จำเลยจึงมีความผิดตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษา ส่วนของกลางทั้งหมดตามฟ้องฟังได้ว่า เป็นทรัพย์สินที่จำเลยใช้และมีไว้เพื่อใช้กระทำความผิดดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ชอบที่จะสั่งริบของกลางทั้งหมดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) ได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ที่ลงโทษจำเลยมานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น

          พิพากษายืน
( ชาลี ทัพภวิมล - ดิเรก อิงคนินันท์ - นิยุต สุภัทรพาหิรผล )
ศาลจังหวัดภูเก็ต - นายทิษณุ เพ็งไพบูลย์

 

ศาลอุทธรณ์ภาค 8 - นายประจักษ์ เกียรติ์อนุพงศ์

***   ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ ลีนนท์  พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 0859604258    สำนักงานกฎหมายพีศิริ ทนายความ

                 




เกี่ยวกับคดีอาญา

การนับอายุความคดีความผิดอันยอมความได้
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากในฟ้องที่มิใช่ข้อสาระสำคัญ
ปลัดกระทรวงไม่มีอำนาจสั่งย้ายโจทก์ไปดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัด
จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่
การสนทนาผ่านเมสเซนเจอร์ไม่เป็นการกล่าวไขข่าวให้แพร่หลาย
ภยันตรายจากการประทุษร้ายที่จะใช้อ้างเพื่อการป้องกันสิทธิ
ฟ้องข้อหาค้ามนุษย์ บังคับใช้แรงงาน ข่มขืนใจผู้อื่น หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น
กระทำชำเราเด็กและพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปีจำคุก 48 ปี
"อนาจาร" มีความหมายว่า การกระทำที่ไม่สมควรทางเพศ
พาเด็กหญิงจากที่เปิดเผยเข้าไปในจุดลับตาผู้คน
หมิ่นประมาทกับดูหมิ่นซึ่งหน้า-ความผิดอาญามีโทษหนักเบาแตกต่างกัน
พรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย
ความผิดอันยอมความได้ | คดีหมิ่นประมาท | ร้องทุกข์ภายในสามเดือน
บันดาลโทสะหรือพยายามฆ่า
มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแต่จำเลยหลบหนีขาดอายุความอย่างไร
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร,เต็มใจไปด้วย
ขู่เข็ญให้จ่ายเงิน มิฉะนั้นเปิดเผยความลับวีดีโอ-ความสัมพันธ์ทางเพศ รีดเอาทรัพย์
ความผิดตามมาตรา 149 บทเฉพาะและมาตรา 157 บททั่วไป
พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
งดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือเล็งเห็นผลว่าอาจถึงแก่ความตายเป็นพยายามฆ่า
ลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะ
ลักทรัพย์นายจ้าง ปลอมเอกสารสิทธิ การกระทำกรรมเดียว
ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจเหนือศาลทหาร
ล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครอง
พกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
การกระทำโดยพลาด | พยายามฆ่า
ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
รอการลงโทษ,ให้การรับสารภาพ
เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
การกระทำชำเราที่ไม่ต้องรับโทษ
คำร้องทุกข์ | อำนาจพนักงานสอบสวน
ขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ-มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
ความผิดฐานบุกรุกเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร
พาไปเพื่อการอนาจาร -บุคคลอายุกว่าสิบห้าปี
ความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน
รอการกำหนดโทษ | รอการลงโทษ | พรบ.ล้างมลทิน
เบิกความอันเป็นเท็จในศาล
ป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
บันดาลโทสะเพราะเหตุยั่วยุให้โมโห
หมิ่นประมาท | เข้าใจโดยสุจริต
ความผิดฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้
เป็นอันตรายแก่จิตใจ - ใช้ยาสลบใส่กาแฟ
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร | รับส่งเด็กนักเรียน
บันดาลโทสะต้องถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง
หมิ่นประมาท | หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์โฆษณา
วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องห้ามฎีกา
บิดาบันดาลโทสะ | ผู้เสียหายด่าจำเลย(บิดา)หยาบคาย
การริบทรัพย์สิน | ใช้ในการกระทำความผิด
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
คำว่า-วิชาชีพ-ในคดีอาญา
หลบหนีไปจากความควบคุมตามอำนาจของพนักงานสอบสวน
พยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจำคุกตลอดชีวิต
สเปรย์พริกไทยไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ
กระทำอนาจารต่อศิษย์นอกเวลาเรียน
ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ยังคงเป็นป่าตาม พ.ร.บ. ป่าไม้
ลงลายมือชื่อรับรองคนต่างด้าว 7 คน
ผู้สนับสนุนให้จำเลยกระทำความผิด
ทวงหนี้ลักษณะข่มขู่ว่าไม่จ่ายจะเดือดร้อนจำคุก 3 ปี
การทำนากุ้งไม่ใช่การประกอบอาชีพกสิกรรม
ลักทรัพย์นายจ้าง, ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
การจับกุมมิชอบกับการฟ้องคดีอาญา
รวบรวมฎีกาเรื่องเบิกความเท็จ
คำขอในส่วนแพ่งเนื่องความผิดอาญา
แม้ผู้ตายยิงจำเลยก่อนอ้างเหตุป้องกันตัวไม่ได้
ทำร้ายร่างกายกับการป้องกันตัว
พรากเด็กต่ำ15 ปี ไปเพื่อการอนาจารจำคุก 5 ปี
ซื้อเสียงเลือกตั้งไม่รอลงอาญา
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดอันพึงริบ
การเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
กระทำชำเราต่างวันต่างเวลาและต่างสถานที่ผิดหลายกรรม