ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร, อำนาจปกครองบิดามารดา

 ท นาย อาสา ฟรี

 

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

•  ความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร

•  อำนาจปกครองบิดามารดา กฎหมาย

•  การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญา

•  มาตรา 317 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83

•  สิทธิบิดามารดาและการละเมิดอำนาจปกครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2567 สรุปประเด็นสำคัญเกี่ยวกับความผิดทางอาญาและสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่เกี่ยวข้อง โดยในกรณีนี้ผู้เสียหายที่ 1 (เด็กหญิง น.) ซึ่งอายุไม่เกินสิบห้าปี ได้ถูกจำเลยและพวกชักชวนให้ไปค้าประเวณี และมีการซื้อขายบริการทางเพศจากเธอซึ่งเป็นการละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 (มารดาของผู้เสียหายที่ 1) ดังนั้นการกระทำของจำเลยจึงถือเป็นความผิดฐานร่วมกันพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารตามมาตรา 317 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83

ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับอำนาจปกครองและการพรากผู้เยาว์

บิดามารดาเป็นผู้มีอำนาจปกครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1566 โดยสิทธินี้จะไม่สิ้นสุดแม้บุตรจะไม่ได้พักอาศัยด้วย ดังในกรณีที่ผู้เยาว์ (ผู้เสียหายที่ 1) หลบหนีจากบ้านไป ผู้เสียหายที่ 2 (มารดา) ยังคงมีสิทธิในการติดต่อและดูแลบุตรของตน การที่จำเลยและพวกได้ชักชวนผู้เสียหายที่ 1 ไปทำงานค้าประเวณีจึงถือเป็นการพรากผู้เยาว์ที่อายุต่ำกว่าสิบห้าปีโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

การกระทำของจำเลยถูกพิจารณาภายใต้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม ที่ระบุถึงความผิดในการพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร โดยจำเลยถูกลงโทษจำคุก 5 ปี ส่วนการกระทำที่ละเมิดสิทธิทางเพศของเด็กหญิง น. นั้น ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาให้ลงโทษตามมาตรา 277 และ 283 ทวิ ซึ่งกล่าวถึงการกระทำชำเราและการร่วมกันพาผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร แม้จะยินยอมก็ตาม แต่พิจารณาตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้กระทำการใดที่ฝ่าฝืนอำนาจปกครองจะต้องรับผิดทั้งในทางอาญาและแพ่ง

สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

ผู้เสียหายที่ 1 (ผู้เยาว์) และผู้แทนโดยชอบธรรมสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ซึ่งเป็นสิทธิของผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดอาญา อย่างไรก็ตาม โจทก์ (อัยการ) ไม่สามารถเรียกค่าสินไหมแทนผู้เสียหายได้ หากผู้เสียหายมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ซึ่งพิจารณาให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 30,000 บาท รวมถึงดอกเบี้ยตามที่กำหนด

สรุปผลการพิพากษาของศาลฎีกา

ศาลฎีกาพิพากษาแก้ไขคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ โดยให้จำเลยรับผิดในความผิดตามมาตรา 317 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83 คือ ร่วมกันพรากเด็กเพื่อการอนาจาร ซึ่งเป็นความผิดหลายกรรมให้ลงโทษจำคุกทั้งสิ้น 10 ปี

 

อำนาจปกครองุบุตร, พรากผู้เยาว์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2567

บิดามารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ซึ่งอำนาจปกครองเป็นอำนาจที่ผูกติดกับสถานะความเป็นบิดามารดาในความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างบิดามารดาและบุตร การที่บุคคลอื่นกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนอำนาจปกครองของบิดามารดาจะต้องรับผิดฐานละเมิดในทางแพ่ง และฐานพรากผู้เยาว์ในทางอาญาด้วย ถึงแม้ว่าผู้เสียหายที่ 1 หลบหนีออกจากบ้านก็ไม่ทำให้อำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 มารดาสิ้นสุดไป และในระหว่างที่ผู้เสียหายที่ 1 ไม่อยู่กับผู้เสียหายที่ 2 ผู้เสียหายที่ 2 ก็พยายามโทรศัพท์ติดต่อผู้เสียหายที่ 1 แต่ติดต่อไม่ได้ แสดงว่าผู้เสียหายที่ 2 ยังคงห่วงใยผู้เสียหายที่ 1 การที่ผู้เสียหายที่ 1 ถูก พ. ชักชวนไปค้าประเวณี และจำเลยซื้อบริการทางเพศ น. ส่วนพวกของจำเลยซื้อบริการทางเพศผู้เสียหายที่ 1 โดยจำเลยมอบเงินค่าซื้อบริการทางเพศ น. และผู้เสียหายที่ 1 แก่ พ. และจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ด้วย จึงเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้เสียหายที่ 2 มารดา การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันโดยทุจริตรับตัวผู้เสียหายที่ 1 อายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งถูกพรากจากมารดาเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83

ส่วนสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนั้น เป็นสิทธิของผู้ร้องที่ได้รับความเสียหายในมูลละเมิดอันเกิดจากการกระทำความผิดอาญา กฎหมายกำหนดให้สามารถขอค่าสินไหมทดแทนเข้ามาในคดีอาญาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 โดยเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เสียหายเท่านั้น ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจโจทก์เรียกค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแทนผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องไม่ฎีกาโต้แย้งคัดค้าน ถือว่าผู้ร้องพอใจในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ในคดีส่วนแพ่งแล้ว โจทก์ไม่อาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ในคดีส่วนแพ่งแทนผู้ร้องได้

โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องว่าขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 277, 283 ทวิ, 317 และนับโทษของจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.13/2563 ของศาลชั้นต้น

จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ

ระหว่างพิจารณา เด็กหญิง น. ผู้เสียหายที่ 1 โดยนาง อ. ผู้เสียหายที่ 2 ผู้แทนโดยชอบธรรมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายแก่ร่างกายที่ต้องเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาเป็นเงิน 100,000 บาท ค่าเสียหายจากการต้องทนทุกข์ทรมานทางร่างกาย จิตใจ อนามัย เป็นเงิน 200,000 บาท และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการรักษาพยาบาลเป็นเงิน 30,000 บาท รวมเป็นเงิน 330,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันกระทำความผิดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

จำเลยให้การในคดีส่วนแพ่งว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง จึงไม่ได้กระทำละเมิดต่อผู้เสียหายที่ 1 ค่าสินไหมทดแทนสูงเกินส่วนและไม่มีหลักฐานมาแสดง ขอให้ยกคำร้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคหนึ่ง, 283 ทวิ วรรคสอง, 317 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม และฐานร่วมกันพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร แม้เด็กนั้นจะยินยอมก็ตาม เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 5 ปี ฐานร่วมกันโดยทุจริตรับตัวเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งถูกพรากไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจาร จำคุก 5 ปี รวมจำคุก 10 ปี และให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 330,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2562 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้เสียหายที่ 1 ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ ส่วนที่โจทก์ขอให้นับโทษของจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.13/2563 ของศาลชั้นต้นนั้น เนื่องจากคดีดังกล่าวศาลรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย จึงไม่อาจนับโทษต่อได้ ให้ยกคำขอในส่วนนี้

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานร่วมกันโดยทุจริตรับตัวเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งถูกพรากไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจาร และให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 30,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2562 เป็นต้นไป ถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้เสียหายที่ 1 อัตราดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 นั้น ถ้ากระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนอัตราโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเมื่อใดก็ให้ปรับเปลี่ยนไปตามนั้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามขอ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนแพ่งชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งมิใช่ภริยาตนโดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม โจทก์ไม่ขออนุญาตฎีกาและจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ฎีกา ความผิดฐานดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5

ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้แย้งคัดค้านในชั้นฎีกาฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุเด็กหญิง น. ผู้เสียหายที่ 1 อายุ 13 ปีเศษเป็นบุตรของนาง อ. ผู้เสียหายที่ 2 ส่วนนาย ป. บิดาของผู้เสียหายที่ 1 ถึงแก่ความตายแล้ว ผู้เสียหายที่ 2 ทำงานอยู่จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนผู้เสียหายที่ 1 พักอาศัยอาศัยอยู่กับนาง ค. ย่าของผู้เสียหายที่ 1 และเรียนหนังสือที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนตั้งแต่เล็กจนผู้เสียหายที่ 1 เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจากนั้นผู้เสียหายที่ 1 ได้ย้ายไปอยู่กับผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งมีสามีใหม่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ผู้เสียหายที่ 1 พักอาศัยอยู่กับผู้เสียหายที่ 2 ประมาณ 9 เดือน ได้ทะเลาะกับผู้เสียหายที่ 2 จึงไปพักอาศัยอยู่บ้านป้าในอำเภอเดียวกันได้ 1 สัปดาห์ ผู้เสียหายที่ 1 ก็ทะเลาะกับป้าอีก จึงกลับไปอยู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนพักอาศัยอยู่กับนางสาว ง. ที่เคยอยู่ด้วยกันที่หอพัก ก. วันเกิดเหตุเวลาประมาณเที่ยงคืน นางสาว พ. ติดต่อผู้เสียหายที่ 1 ว่ามีงานค้าประเวณี แล้วขับรถจักรยานยนต์ไปรับผู้เสียหายที่ 1 จากนั้นพาไปที่ร้านข้าวต้ม ช. พบนางสาว น. และจำเลยกับพวกอีก 3 คน แล้วพากันเดินทางไปที่รีสอร์ท บ. เปิดห้องหมายเลข 1 จำเลยซื้อบริการทางเพศนางสาว น. ส่วนนาย อ. กับพวกของจำเลยซื้อบริการทางเพศผู้เสียหายที่ 1 โดยจำเลยได้มอบเงินค่าซื้อบริการทางเพศนางสาว น. และผู้เสียหายที่ 1 แก่นางสาว พ. 3,000 บาท และในวันเกิดเหตุจำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันโดยทุจริตรับตัวเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งถูกพรากไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า ความผิดฐานพรากเด็กหรือผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองอำนาจปกครองหรือสิทธิในการให้การศึกษา อบรม ดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครอง ผู้ดูแล ซึ่งเป็นผู้ที่กฎหมายกำหนดให้เป็นบุคคลที่มีอำนาจ มีสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบในการดูแลเด็กหรือผู้เยาว์ที่อยู่ในความปกครองดูแล เพื่อให้บุคคลเหล่านี้สามารถใช้สิทธิให้การศึกษาอบรมและดูแลเด็กได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้เด็กหรือผู้เยาว์เจริญเติบโตทั้งด้านร่างกาย จิตใจ มีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะดูแลตนเองได้ ซึ่งเป็นสิทธิที่เด็กหรือผู้เยาว์มีติดตัวมาตั้งแต่เกิดภายใต้หลักการตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ประเทศไทยในฐานะสมาชิกของอนุสัญญาต้องดำเนินการที่เหมาะสมทั้งด้านนิติบัญญัติ ด้านบริหารและด้านกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้เด็กได้รับการปกป้องคุ้มครองและให้เกิดการปฏิบัติตามสิทธิตามมาตรฐานของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ในด้านนิติบัญญัติ มีการรับรองสิทธิเด็กไว้ตั้งแต่กฎหมายสูงสุด รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แม้มิได้บัญญัติรับรองสิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมายที่มีต่อเด็กหรือเยาวชนโดยตรง แต่ก็ได้บัญญัติรับรองและคุ้มครองสิทธิในครอบครัวไว้ในมาตรา 32 โดยสิทธิในครอบครัว หมายถึง สิทธิในความสัมพันธ์และความเป็นอยู่ของบุคคลในครอบครัวในอันที่จะอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกในครอบครัวรวมถึงสิทธิและหน้าที่ในการเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ก็ย่อมได้รับความคุ้มครองด้วย นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังมีบทบัญญัติการคุ้มครองสิทธิเด็กและผู้เยาว์ มาตรา 54 ที่รัฐรับรองสิทธิในด้านการศึกษาให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปีตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายและมาตรา 71 บัญญัติให้รัฐได้ให้ความคุ้มครองเด็กในด้านต่างๆ รวมถึงการคุ้มครองจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม นอกจากนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังได้กำหนดบุคคลผู้แสดงออกถึงอำนาจปกครองเด็กและผู้เยาว์ไว้ในบรรพ 5 โดยกำหนดผู้แสดงออกถึงอำนาจปกครองคือผู้แทนโดยชอบธรรมซึ่งแบ่งออกเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองกับผู้ปกครอง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 กำหนดให้ "บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา" ดังนั้นบิดามารดาจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง อำนาจปกครองของบิดามารดาเป็นอำนาจที่ผูกติดกับสถานะความเป็นบิดามารดาในความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างบิดามารดาและบุตร ซึ่งมาตรา 1567 กำหนดให้ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรและเรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอำนาจในการกำหนดที่อยู่ย่อมก่อให้เกิดสิทธิในการระงับยับยั้งมิให้บุตรไปที่แห่งใด การที่บุคคลอื่นกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนอำนาจปกครองของบิดามารดาจะต้องรับผิดฐานละเมิดในทางแพ่งและฐานพรากผู้เยาว์ในทางอาญาด้วย

การวินิจฉัยความรับผิดทางอาญา ต้องวินิจฉัยโดยเริ่มต้นพิจารณาจากโครงสร้างความรับผิดทางอาญาของบทบัญญัตินั้น ในการตีความกฎหมายอาญาแต่ละครั้งจึงต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายที่มุ่งจะคุ้มครองของบทบัญญัตินั้น ไม่ใช่วิเคราะห์เพียงถ้อยคำตามตัวอักษรเท่านั้น การพรากเด็กหรือผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเป็นการกระทำที่กระทบกระเทือนต่อความมุ่งหมายในการคุ้มครองอำนาจปกครองตามกฎหมายในความผิดฐานนี้ ดังนั้น ในการวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาในความผิดฐานพรากเด็กหรือผู้เยาว์ ต้องพิจารณาว่า ขณะกระทำความผิด บิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ยังมีสิทธิในการปกครองดูแลใช้อำนาจปกครองดูแลหรือไม่ เพราะหากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลไม่มีอำนาจปกครองดูแลแล้ว การกระทำของผู้กระทำจะไม่เป็นการพรากเพราะมิได้มีการละเมิดต่อความมุ่งหมายในการคุ้มครองทางกฎหมายในเรื่องนี้ การพรากนั้นเป็นการแยกเด็กหรือผู้เยาว์ออกจากความปกครองดูแลโดยไม่จำกัดวิธีการในการกระทำ แม้ไม่ได้ใช้กำลังหรือหลอกลวงก็ตามหรือแม้เด็กหรือผู้เยาว์ไม่ได้อยู่กับบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลก็อาจเป็นการพรากได้

คดีนี้แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้เสียหายที่ 1 ไม่ได้พักอาศัยอยู่กับผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองก็ตาม แต่อำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 เป็นอำนาจที่ผูกติดกับสถานะความเป็นมารดา จนกว่าผู้เสียหายที่ 1 จะบรรลุนิติภาวะหรือผู้เสียหายที่ 2 จะถูกถอนอำนาจปกครอง การที่ผู้เสียหายที่ 1 หลบหนีออกจากบ้านและมาพักอาศัยอยู่กับนางสาว ง. โดยสมัครใจ ก็ไม่ทำให้อำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 สิ้นสุดไป อีกทั้งข้อเท็จจริงในคดียังได้ความในระหว่างผู้เสียหายที่ 1 ไม่อยู่กับผู้เสียหายที่ 2 ผู้เสียหายที่ 2 ก็พยายามโทรศัพท์ติดต่อผู้เสียหายที่ 1 แต่ติดต่อไม่ได้เพราะผู้เสียหายที่ 2 เปลี่ยนซิมการ์ด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายที่ 2 ยังคงมีความห่วงใยเอาใจใส่ผู้เสียหายที่ 1 อยู่ การที่ผู้เสียหายที่ 1 ถูกชักชวนให้ไปค้าประเวณี จึงเป็นการพรากผู้เสียหายที่ 1 อายุไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้เสียหายที่ 2 มารดา การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันโดยทุจริตรับตัวผู้เสียหายที่ 1 อายุยังไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งถูกพรากจากมารดาเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษามานั้น ยังไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น

มีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของโจทก์ว่าจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายหรือไม่ เพียงใด เห็นว่า สิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเป็นสิทธิของผู้ร้องที่ได้รับความเสียหายในมูลหนี้ละเมิดอันเกิดจากการกระทำความผิดอาญา กฎหมายกำหนดให้สามารถยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนเข้ามาในคดีอาญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 ซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เสียหายเท่านั้น ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแทนผู้ร้องได้ เมื่อผู้ร้องไม่ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมถือว่า ผู้ร้องพอใจในคำพิพากษาในคดีส่วนแพ่งแล้ว โจทก์มิอาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ในคดีส่วนแพ่งแทนผู้ร้องได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ในส่วนนี้

พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83 ฐานร่วมกันโดยทุจริตรับตัวเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งถูกพรากไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจาร จำคุก 5 ปี รวมกับความผิดฐานอื่นจำคุก 10 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5




เกี่ยวกับคดีอาญา

ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบากว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ลักทรัพย์โดยสุจริต, ความผิดลักทรัพย์ vs การเข้าใจผิด, คดีลักทรัพย์ในเครือญาติ,
การกระทำของจำเลยเป็นการไตร่ตรองไว้ก่อน, ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนมาตรา 289 (4), โทษประหารชีวิตในคดีอาญา
ป.อ. มาตรา 54 ในการคำนวณการเพิ่มโทษหรือลดโทษที่จะลง
ความผิดฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่, การพนันออนไลน์ผิดกฎหมาย, การฟ้องอั้งยี่และซ่องโจร
กระทำชำเราผู้เยาว์ในบ้านไม่ถือว่าแยกเด็กจากอำนาจปกครองดูแล
จำเลยไม่มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี
ผู้ปกครองอนุญาตให้ไปดูโทรทัศน์ที่บ้านของจำเลยเท่านั้น
การกระทำโดยพลาด
รอการลงโทษ,ให้การรับสารภาพ
ขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ-มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
รถยนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะซุกซ่อนและขนส่งบุหรี่ซิกาแรตในการกระทำความผิด
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้นั้นสภาพความเป็นลูกหนี้เจ้าหนี้เกิดขึ้นทันที
ความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนให้ปฏิบัติหรือละเว้นตามมาตรา 157
การกระทำความผิดระหว่างผู้บุพการีต่อผู้สืบสันดานหรือผู้สืบสันดานต่อผู้บุพการี
พาไปเพื่อการอนาจาร -บุคคลอายุกว่าสิบห้าปี
ความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน
จำเลยฉ้อโกงหลอกลวงเอาทรัพย์ขณะที่ผู้เสียหายป่วยทางจิต
รอการกำหนดโทษ | รอการลงโทษ | พรบ.ล้างมลทิน
เบิกความอันเป็นเท็จในศาล
จำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาใดไม่แน่ชัด
ป้องกันพอสมควรแก่เหตุ-ป้องกันเกินกว่าเหตุ
บันดาลโทสะเพราะเหตุยั่วยุให้โมโห
หมิ่นประมาท | เข้าใจโดยสุจริต
ความผิดฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้
เป็นอันตรายแก่จิตใจ - ใช้ยาสลบใส่กาแฟ
บันดาลโทสะต้องถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง
หมิ่นประมาท | หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์โฆษณา
วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องห้ามฎีกา
ผู้เสียหายด่าจำเลย(บิดา)หยาบคายกรณีจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
เจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร
การริบทรัพย์สิน | ใช้ในการกระทำความผิด
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
คำว่า-วิชาชีพ-ในคดีอาญา
หลบหนีไปจากความควบคุมตามอำนาจของพนักงานสอบสวน
สเปรย์พริกไทยไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร | รับส่งเด็กนักเรียน
ลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะ
กระทำอนาจารต่อศิษย์นอกเวลาเรียน
ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ยังคงเป็นป่าตาม พ.ร.บ. ป่าไม้
เป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์และใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต
ลงลายมือชื่อรับรองคนต่างด้าว 7 คน
ความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นตาม ป.อาญา มาตรา 188
ผู้สนับสนุนให้จำเลยกระทำความผิด
ทวงหนี้ลักษณะข่มขู่ว่าไม่จ่ายจะเดือดร้อนจำคุก 3 ปี
การทำนากุ้งไม่ใช่การประกอบอาชีพกสิกรรม
ลักทรัพย์นายจ้าง, ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
การจับกุมมิชอบกับการฟ้องคดีอาญา
คำขอในส่วนแพ่งเนื่องความผิดอาญา
แม้ผู้ตายยิงจำเลยก่อนอ้างเหตุป้องกันตัวไม่ได้
ทำร้ายร่างกายกับการป้องกันตัว
พรากเด็กต่ำ15 ปี ไปเพื่อการอนาจารจำคุก 5 ปี
ซื้อเสียงเลือกตั้งไม่รอลงอาญา
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดอันพึงริบ
การเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
กระทำชำเราต่างวันต่างเวลาและต่างสถานที่ผิดหลายกรรม
เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล
การพรากเด็กไม่ว่าเด็กจะออกจากบ้านเองก็ย่อมเป็นความผิดทั้งสิ้น
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมและฐานฉ้อโกง
พิพากษาจำคุกจำเลยศาลฎีกายกฟ้องเพราะคำฟ้องไม่ได้ลงชื่อ
หมิ่นประมาทกับดูหมิ่นซึ่งหน้า-ความผิดอาญามีโทษหนักเบาแตกต่างกัน
พรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย
พยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจำคุกตลอดชีวิต
บันดาลโทสะหรือพยายามฆ่า
ความผิดอันยอมความได้ | คดีหมิ่นประมาท | ร้องทุกข์ภายในสามเดือน
พกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
การสมรสในต่างประเทศระหว่างหญิงไทยกับหญิงไทย
การกระทำชำเราที่ไม่ต้องรับโทษ
การสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายอิสลามจำเลยไม่ต้องรับโทษ
กระทำโดยประมาทไม่อาจอ้างเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่มีอำนาจสอบสวนไม่มีอำนาจฟ้อง
ให้กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราถูกจำคุก 48 เดือน
ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ก่อนคดีถึงที่สุดคดีอาญาระงับ
บุตรติดมารดาไม่อยู่ในความปกครองของบิดาเลี้ยง
การชวนเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีเข้าไปในห้องนอนไม่ผิดพรากผู้เยาว์
กระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีจำคุก 50 ปี
การนับอายุความคดีความผิดอันยอมความได้
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากในฟ้อง
ปลัดกระทรวงไม่มีอำนาจสั่งย้ายโจทก์ไปดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัด
จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่
การสนทนาผ่านเมสเซนเจอร์ไม่เป็นการกล่าวไขข่าวให้แพร่หลาย
ภยันตรายจากการประทุษร้ายที่จะใช้อ้างเพื่อการป้องกันสิทธิ
ฟ้องข้อหาค้ามนุษย์ บังคับใช้แรงงาน
กระทำชำเราเด็กและพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปีจำคุก 48 ปี
"อนาจาร" มีความหมายว่า การกระทำที่ไม่สมควรทางเพศ
พาเด็กหญิงจากที่เปิดเผยเข้าไปในจุดลับตาผู้คน
จำเลยเป็นบุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจให้กู้ยืมเงินโดยไม่ได้รับอนุญาต
ขายทองเงินผ่อนอำพรางการให้กู้ยืมเงินดอกเบี้ย318%ต่อปี
ศาลฎีกาพิพากษาให้รอการกำหนดโทษจำเลยรอการชำระเงิน
มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแต่จำเลยหลบหนีขาดอายุความอย่างไร
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร,เต็มใจไปด้วย
ขู่เข็ญให้จ่ายเงิน มิฉะนั้นเปิดเผยความลับวีดีโอ-ความสัมพันธ์ทางเพศ รีดเอาทรัพย์
ความผิดตามมาตรา 149 บทเฉพาะและมาตรา 157 บททั่วไป
ลักทรัพย์นายจ้าง ปลอมเอกสารสิทธิ การกระทำกรรมเดียว
ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจเหนือศาลทหาร
พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครอง
งดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือเล็งเห็นผลว่าอาจถึงแก่ความตายเป็นพยายามฆ่า
ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา