ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ขายทองเงินผ่อนอำพรางการให้กู้ยืมเงินดอกเบี้ย318%ต่อปี

ขายทองเงินผ่อนอำพรางการให้กู้ยืมเงินดอกเบี้ย318%ต่อปี

 เมื่อผู้เสียหายได้รับสร้อยคอทองคำจากบริษัทฯ(ผู้ขาย)ก็นำไปขายในวันเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงเจตนาที่แท้จริงของผู้เสียหายในการผูกนิติสัมพันธ์กับบริษัทว่าผู้เสียหายต้องการเงินสดจากบริษัทมาใช้จ่ายตามความประสงค์ของตนเท่านั้น หาใช่ต้องการทองรูปพรรณมาเพื่อเป็นเครื่องประดับหรือเก็บไว้เพื่อเก็งกำไรในส่วนต่างของราคาทองคำ เมื่อบริษัทได้รับการติดต่อจากผู้เสียหาย บริษัทจึงไปซื้อสร้อยคอทองคำมาให้ผู้เสียหายทำสัญญาซื้อขายด้วยวิธีผ่อนชำระราคาแก่บริษัทเป็นรายวันเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงข้อห้ามเรื่องการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยบริษัททราบดีอยู่แล้วว่าผู้เสียหายจะนำสร้อยคอทองคำที่ได้รับไปขายในทันทีเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินสด เหตุที่ผู้เสียหายยินยอมทำสัญญาซื้อขายสร้อยคอทองคำก็เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินสดตามความประสงค์ของตนในลักษณะที่จำยอมต้องกระทำ ข้อเท็จจริงได้ความว่า บริษัทซื้อสร้อยคอทองคำมาในราคา 10,300 บาท แต่กำหนดราคาขายให้ผู้เสียหาย 14,615.25 บาท โดยต้องผ่อนชำระราคาให้แล้วเสร็จภายใน 48 วัน คำนวณเป็นผลประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับไม่ต่ำกว่าอัตราร้อยละ 318 ต่อปี ซึ่งเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามที่กฎหมายกำหนด จำเลยมีความผิดฐานร่วมกันกระทำการอันมีลักษณะเป็นการอำพรางการให้กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2564

โจทก์บรรยายฟ้องความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 เพียงว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันให้ผู้เสียหายทำสัญญาซื้อขายทองรูปพรรณสร้อยคอทองคำลายโซ่กลม ในลักษณะผ่อนชำระรายงวด อันเป็นการอำพรางการให้กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มาตรา 4 (1) มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองอำพรางการให้กู้ยืมเงินโดยกำหนดข้อความอันเป็นเท็จในเรื่องจำนวนเงินกู้หรือเรื่องอื่น ๆ ไว้ในหลักฐานการกู้ยืมเพื่อปิดบังการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 4 (2) แต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มาตรา 4 (2) ด้วย จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งเสื้อคลุม 2 ตัว ซึ่งปักชื่อบริษัท น. จำเลยทั้งสองใช้สวมใส่เพื่อแสดงตนว่าเป็นพนักงานของบริษัท น. ส่วนรถจักรยานยนต์เป็นเพียงยานพาหนะใช้เพื่อความสะดวกในการเดินทาง จึงไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงอันศาลจะใช้ดุลพินิจพิพากษาให้ริบได้

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มาตรา 4 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ข้อ 5, 7, 8, 14, 16 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83, 91 ริบของกลางทั้งหมด

จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ให้คืนสมุดตารางการรับชำระค่าสินค้าในแต่ละครั้ง 1 แผ่น เงินสด 280 บาท รถจักรยานยนต์ และเสื้อคลุม 2 ตัว ของกลางแก่เจ้าของ

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มาตรา 4 (1) (2) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 จำคุก 6 เดือน และปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 โดยให้คุมความประพฤติของจำเลยที่ 1 ไว้ตลอดเวลาที่รอการลงโทษ ให้จำเลยที่ 1 ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 3 เดือน ต่อครั้ง ให้จำเลยที่ 1 กระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์มีกำหนด 24 ชั่วโมง ตามเงื่อนไขและกำหนดระยะเวลาที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควร และห้ามจำเลยที่ 1 ทำงานติดตามทวงหนี้หรือยุ่งเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดอีก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ริบสมุดตารางการรับชำระราคาสินค้า เงินสด รถจักรยานยนต์ และเสื้อคลุม ของกลาง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยที่ 1 ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นฎีการับฟังเป็นยุติว่า จำเลยทั้งสองเป็นพนักงานของบริษัทนิวมิรัล แอนด์ โกลด์ (2009) จำกัด ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการสาขามีอำนาจตรวจสอบข้อมูลและอนุมัติขายสินค้าให้แก่ลูกค้า ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นพนักงานทดลองงานโดยฝึกงานอยู่กับจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2561 นางสาวกุหลาบ ผู้เสียหายทำสัญญาซื้อทองรูปพรรณประเภทสร้อยคอลายโซ่กลม น้ำหนัก 7.6 กรัม (สองสลึง) 1 เส้น ราคา 14,615.25 บาท จากบริษัทนิวมิรัล แอนด์ โกลด์ (2009) จำกัด ตกลงชำระราคาในวันทำสัญญา 1,400 บาท ส่วนที่เหลือผ่อนชำระเป็นรายวัน วันละ 280 บาท รวม 48 งวด โดยงวดสุดท้ายชำระ 55.25 บาท ต่อมาวันที่ 15 มิถุนายน 2561 จำเลยทั้งสองสวมเสื้อคลุมของบริษัทขับรถจักรยานยนต์ไปหาผู้เสียหายซึ่งขายผลไม้สดและผลไม้ดองอยู่ที่ตลาดวัดสามง่าม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม เพื่อเก็บเงินซึ่งผู้เสียหายผ่อนชำระราคาสร้อยคอทองคำที่ซื้อไปจำนวน 280 บาท หลังจากจำเลยทั้งสองได้รับเงินแล้ว พันตำรวจโทพีระพงษ์ และร้อยตำรวจเอกการุณ เจ้าพนักงานตำรวจกองกำกับการสืบสวนตำรวจภูธรนครปฐมกับพวกจับกุมจำเลยทั้งสองในข้อหาร่วมกันประกอบธุรกิจให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อหาร่วมกันอำพรางการให้กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ เจ้าพนักงานตำรวจยึดสมุดตารางการรับชำระค่าสินค้าในแต่ละครั้ง 1 แผ่น เงินสด 280 บาท รถจักรยานยนต์หมายเลขทะเบียน 1 กณ นครปฐม 7397 และเสื้อคลุม 2 ตัว เป็นของกลาง วันที่ 24 กรกฎาคม 2562 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง มีหนังสือที่ กค 1014/2953 ถึงผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรดอนตูมชี้แจงว่า บริษัทที่ขายสินค้าของตนเองเป็นทางการค้าปกติและให้ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าไปสามารถเลือกผ่อนชำระเงินเป็นงวด ๆ ได้ จะไม่ถือว่าเป็นการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลที่ต้องขออนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สำหรับความผิดฐานร่วมกันประกอบธุรกิจให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ ส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 สำหรับจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน โจทก์มิได้ฎีกาจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7

คดีคงขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาเฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 1 สำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 ว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานร่วมกันกระทำการอันมีลักษณะเป็นการอำพรางการให้กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 หรือไม่ เห็นว่า เมื่อผู้เสียหายได้รับสร้อยคอทองคำจากบริษัทนิวมิรัล แอนด์ โกลด์ (2009) จำกัด ก็นำไปขายในวันเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงเจตนาที่แท้จริงของผู้เสียหายในการผูกนิติสัมพันธ์กับบริษัทว่าผู้เสียหายต้องการเงินสดจากบริษัทมาใช้จ่ายตามความประสงค์ของตนเท่านั้น หาใช่ต้องการทองรูปพรรณมาเพื่อเป็นเครื่องประดับหรือเก็บไว้เพื่อเก็งกำไรในส่วนต่างของราคาทองคำที่อาจเพิ่มขึ้นในอนาคตแต่อย่างใดไม่ เมื่อพิจารณาถึงการประกอบการธุรกิจของบริษัทนิวมิรัล แอนด์ โกลด์ (2009) จำกัด ปรากฏว่าบริษัทมีสถานประกอบการเป็นอาคารพาณิชย์ และมีป้ายโฆษณาติดไว้ที่ด้านหน้าของอาคาร ว่า “จำหน่าย : อุปกรณ์เสริม เคสมือถือ บัตรเติมเงิน ซิมการ์ด เบอร์เทพ ติดฟิล์มกันรอยทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ” โดยไม่ได้ระบุถึงการจำหน่ายทองรูปพรรณแต่อย่างใด ส่วนภาพที่ 3 เป็นตู้วางสินค้าซึ่งไม่แน่ชัดว่าขณะเกิดเหตุมีสินค้าวางอยู่ตามภาพหรือไม่ เพราะเป็นภาพถ่ายที่จำเลยทั้งสองส่งเป็นพยานในชั้นพิจารณา อาจมีการนำสินค้ามาวางแล้วถ่ายภาพหลังจากจำเลยทั้งสองถูกจับกุมดำเนินคดีแล้วก็ได้ อย่างไรก็ตาม ตู้วางสินค้าดังกล่าวมีสินค้าอยู่ในตู้เพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยมีกำไล แหวน และสร้อยคอทองคำเพียงไม่กี่ชิ้นรวมอยู่ในกล่องกระจกเพียงกล่องเดียววางปะปนอยู่กับสินค้าที่เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าบริษัทไม่ได้มีทองรูปพรรณวางจำหน่ายเป็นปกติทางการค้าของตนเพื่อให้ลูกค้าได้เลือกซื้อเหมือนเช่นร้านค้าทองทั่วไป เมื่อได้รับการติดต่อจากผู้เสียหาย บริษัทจึงไปซื้อสร้อยคอทองคำมาให้ผู้เสียหายทำสัญญาซื้อขายด้วยวิธีผ่อนชำระราคาแก่บริษัทเป็นรายวัน แต่จากเจตนาที่แท้จริงของผู้เสียหายที่ต้องการเงินสดมาใช้จ่ายย่อมไม่มีความจำเป็นที่ผู้เสียหายจะต้องเลือกแบบของทองรูปพรรณเพราะอย่างไรก็ต้องนำไปขายอยู่ดี คำเบิกความของนายเอกชัยและนางสาวสุดาพยานจำเลยทั้งสองที่อ้างว่า ผู้เสียหายมีความประสงค์จะซื้อสร้อยคอทองคำลายโซ่กลมหนักสองสลึงจึงไม่อาจรับฟังเป็นความจริงได้ พฤติการณ์แห่งคดีเชื่อว่า ผู้เสียหายเพียงแต่แจ้งความประสงค์ต้องการเงินจำนวนหนึ่งแก่บริษัท แล้วบริษัทไปซื้อสร้อยคอทองคำที่มีราคาใกล้เคียงกับจำนวนเงินที่ผู้เสียหายต้องการมาให้ผู้เสียหายทำสัญญาซื้อขายในราคาที่บวกผลประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับด้วยวิธีผ่อนชำระราคาแก่บริษัทเป็นรายวันแทน ทั้งนี้เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงข้อห้ามเรื่องการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยบริษัททราบดีอยู่แล้วว่าผู้เสียหายจะนำสร้อยคอทองคำที่ได้รับไปขายในทันทีเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินสด เหตุที่ผู้เสียหายยินยอมทำสัญญาซื้อขายสร้อยคอทองคำตามรูปแบบการดำเนินธุรกิจของบริษัทก็เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินสดตามความประสงค์ของตนในลักษณะที่จำยอมต้องกระทำ หาใช่ว่าผู้เสียหายเปลี่ยนเจตนาในการทำนิติกรรมจากกู้ยืมเงินมาเป็นการซื้อขายสร้อยคอทองคำแบบผ่อนชำระราคาโดยสมัครใจดังที่จำเลยที่ 1 ฎีกาไม่ การที่บริษัทให้ผู้เสียหายทำสัญญาซื้อขายสร้อยคอทองคำด้วยวิธีผ่อนชำระราคาจึงเป็นการอำพรางการให้กู้ยืมเงิน เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า บริษัทซื้อสร้อยคอทองคำมาในราคา 10,300 บาท แต่กำหนดราคาขายให้ผู้เสียหาย 14,615.25 บาท โดยต้องผ่อนชำระราคาให้แล้วเสร็จภายใน 48 วัน คำนวณเป็นผลประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับไม่ต่ำกว่าอัตราร้อยละ 318 ต่อปี ซึ่งเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามที่กฎหมายกำหนด การกระทำของบริษัทจึงมีลักษณะเป็นการอำพรางการให้กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 1 นั้น ได้ความจากนางสาวสุดาว่า จำเลยที่ 1 ทำงานที่บริษัทนิวมิรัล แอนด์ โกลด์ (2009) จำกัด มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 ซึ่งเป็นเวลาก่อนเกิดเหตุประมาณ 3 ปี ต่อมาให้ทดลองงานเป็นผู้จัดการสาขา มีหน้าที่อนุมัติการซื้อขายสินค้าแทนนางสาวสุดา สอดคล้องกับสำเนาใบกำกับภาษี/ใบส่งของและสำเนาใบเสร็จรับเงินค่าสร้อยคอทองคำที่บริษัทขายให้แก่ผู้เสียหาย ที่มีจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในช่องผู้รับมอบอำนาจแสดงว่าจำเลยที่ 1 ร่วมรู้เห็นกับวิธีการดำเนินธุรกิจของบริษัทรวมทั้งการทำสัญญาซื้อขายสร้อยคอทองคำระหว่างบริษัทกับผู้เสียหายอันเป็นการอำพรางการให้กู้ยืมเงิน จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานร่วมกันกระทำการอันมีลักษณะเป็นการอำพรางการให้กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มาตรา 4 (1) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย แต่คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องสำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 เพียงว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันให้ผู้เสียหายทำสัญญาซื้อขายทองรูปพรรณสร้อยคอทองคำลายโซ่กลม ในลักษณะผ่อนชำระรายงวด อันเป็นการอำพรางการให้กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มาตรา 4 (1) มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองอำพรางการให้กู้ยืมเงินโดยกำหนดข้อความอันเป็นเท็จในเรื่องจำนวนเงินกู้หรือเรื่องอื่น ๆ ไว้ในหลักฐานการกู้ยืมเพื่อปิดบังการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 4 (2) แต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มาตรา 4 (2) ด้วย จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง นอกจากนี้ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้ริบเสื้อคลุมและรถจักรยานยนต์ของกลางนั้น ปรากฏว่าเสื้อคลุม 2 ตัว ซึ่งปักชื่อบริษัทนิวมิรัล แอนด์ โกลด์ (2009) จำกัด จำเลยทั้งสองใช้สวมใส่เพื่อแสดงตนว่าเป็นพนักงานของบริษัทดังกล่าว ส่วนรถจักรยานยนต์เป็นเพียงยานพาหนะใช้เพื่อความสะดวกในการเดินทางจึงมิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดในคดีนี้โดยตรงอันศาลจะใช้ดุลพินิจพิพากษาให้ริบได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มาตรา 4 (2) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 กับที่ให้ริบเสื้อคลุมและรถจักรยานยนต์ของกลาง ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้นบางส่วน

พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มาตรา 4 (1) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ไม่ริบเสื้อคลุม 2 ตัว และรถจักรยานยนต์หมายเลขทะเบียน 1 กณ นครปฐม 7397 ของกลาง โดยให้คืนแก่เจ้าของ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7

 




เกี่ยวกับคดีอาญา

ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบากว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ลักทรัพย์โดยสุจริต, ความผิดลักทรัพย์ vs การเข้าใจผิด, คดีลักทรัพย์ในเครือญาติ,
การกระทำของจำเลยเป็นการไตร่ตรองไว้ก่อน, ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนมาตรา 289 (4), โทษประหารชีวิตในคดีอาญา
ป.อ. มาตรา 54 ในการคำนวณการเพิ่มโทษหรือลดโทษที่จะลง
ความผิดฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่, การพนันออนไลน์ผิดกฎหมาย, การฟ้องอั้งยี่และซ่องโจร
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร, อำนาจปกครองบิดามารดา
กระทำชำเราผู้เยาว์ในบ้านไม่ถือว่าแยกเด็กจากอำนาจปกครองดูแล
จำเลยไม่มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี
ผู้ปกครองอนุญาตให้ไปดูโทรทัศน์ที่บ้านของจำเลยเท่านั้น
การกระทำโดยพลาด
รอการลงโทษ,ให้การรับสารภาพ
ขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ-มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
รถยนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะซุกซ่อนและขนส่งบุหรี่ซิกาแรตในการกระทำความผิด
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้นั้นสภาพความเป็นลูกหนี้เจ้าหนี้เกิดขึ้นทันที
ความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนให้ปฏิบัติหรือละเว้นตามมาตรา 157
การกระทำความผิดระหว่างผู้บุพการีต่อผู้สืบสันดานหรือผู้สืบสันดานต่อผู้บุพการี
พาไปเพื่อการอนาจาร -บุคคลอายุกว่าสิบห้าปี
ความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน
จำเลยฉ้อโกงหลอกลวงเอาทรัพย์ขณะที่ผู้เสียหายป่วยทางจิต
รอการกำหนดโทษ | รอการลงโทษ | พรบ.ล้างมลทิน
เบิกความอันเป็นเท็จในศาล
จำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาใดไม่แน่ชัด
ป้องกันพอสมควรแก่เหตุ-ป้องกันเกินกว่าเหตุ
บันดาลโทสะเพราะเหตุยั่วยุให้โมโห
หมิ่นประมาท | เข้าใจโดยสุจริต
ความผิดฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้
เป็นอันตรายแก่จิตใจ - ใช้ยาสลบใส่กาแฟ
บันดาลโทสะต้องถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง
หมิ่นประมาท | หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์โฆษณา
วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องห้ามฎีกา
ผู้เสียหายด่าจำเลย(บิดา)หยาบคายกรณีจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
เจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร
การริบทรัพย์สิน | ใช้ในการกระทำความผิด
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
คำว่า-วิชาชีพ-ในคดีอาญา
หลบหนีไปจากความควบคุมตามอำนาจของพนักงานสอบสวน
สเปรย์พริกไทยไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร | รับส่งเด็กนักเรียน
ลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะ
กระทำอนาจารต่อศิษย์นอกเวลาเรียน
ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ยังคงเป็นป่าตาม พ.ร.บ. ป่าไม้
เป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์และใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต
ลงลายมือชื่อรับรองคนต่างด้าว 7 คน
ความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นตาม ป.อาญา มาตรา 188
ผู้สนับสนุนให้จำเลยกระทำความผิด
ทวงหนี้ลักษณะข่มขู่ว่าไม่จ่ายจะเดือดร้อนจำคุก 3 ปี
การทำนากุ้งไม่ใช่การประกอบอาชีพกสิกรรม
ลักทรัพย์นายจ้าง, ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
การจับกุมมิชอบกับการฟ้องคดีอาญา
คำขอในส่วนแพ่งเนื่องความผิดอาญา
แม้ผู้ตายยิงจำเลยก่อนอ้างเหตุป้องกันตัวไม่ได้
ทำร้ายร่างกายกับการป้องกันตัว
พรากเด็กต่ำ15 ปี ไปเพื่อการอนาจารจำคุก 5 ปี
ซื้อเสียงเลือกตั้งไม่รอลงอาญา
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดอันพึงริบ
การเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
กระทำชำเราต่างวันต่างเวลาและต่างสถานที่ผิดหลายกรรม
เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล
การพรากเด็กไม่ว่าเด็กจะออกจากบ้านเองก็ย่อมเป็นความผิดทั้งสิ้น
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมและฐานฉ้อโกง
พิพากษาจำคุกจำเลยศาลฎีกายกฟ้องเพราะคำฟ้องไม่ได้ลงชื่อ
หมิ่นประมาทกับดูหมิ่นซึ่งหน้า-ความผิดอาญามีโทษหนักเบาแตกต่างกัน
พรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย
พยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจำคุกตลอดชีวิต
บันดาลโทสะหรือพยายามฆ่า
ความผิดอันยอมความได้ | คดีหมิ่นประมาท | ร้องทุกข์ภายในสามเดือน
พกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
การสมรสในต่างประเทศระหว่างหญิงไทยกับหญิงไทย
การกระทำชำเราที่ไม่ต้องรับโทษ
การสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายอิสลามจำเลยไม่ต้องรับโทษ
กระทำโดยประมาทไม่อาจอ้างเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่มีอำนาจสอบสวนไม่มีอำนาจฟ้อง
ให้กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราถูกจำคุก 48 เดือน
ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ก่อนคดีถึงที่สุดคดีอาญาระงับ
บุตรติดมารดาไม่อยู่ในความปกครองของบิดาเลี้ยง
การชวนเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีเข้าไปในห้องนอนไม่ผิดพรากผู้เยาว์
กระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีจำคุก 50 ปี
การนับอายุความคดีความผิดอันยอมความได้
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากในฟ้อง
ปลัดกระทรวงไม่มีอำนาจสั่งย้ายโจทก์ไปดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัด
จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่
การสนทนาผ่านเมสเซนเจอร์ไม่เป็นการกล่าวไขข่าวให้แพร่หลาย
ภยันตรายจากการประทุษร้ายที่จะใช้อ้างเพื่อการป้องกันสิทธิ
ฟ้องข้อหาค้ามนุษย์ บังคับใช้แรงงาน
กระทำชำเราเด็กและพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปีจำคุก 48 ปี
"อนาจาร" มีความหมายว่า การกระทำที่ไม่สมควรทางเพศ
พาเด็กหญิงจากที่เปิดเผยเข้าไปในจุดลับตาผู้คน
จำเลยเป็นบุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจให้กู้ยืมเงินโดยไม่ได้รับอนุญาต
ศาลฎีกาพิพากษาให้รอการกำหนดโทษจำเลยรอการชำระเงิน
มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแต่จำเลยหลบหนีขาดอายุความอย่างไร
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร,เต็มใจไปด้วย
ขู่เข็ญให้จ่ายเงิน มิฉะนั้นเปิดเผยความลับวีดีโอ-ความสัมพันธ์ทางเพศ รีดเอาทรัพย์
ความผิดตามมาตรา 149 บทเฉพาะและมาตรา 157 บททั่วไป
ลักทรัพย์นายจ้าง ปลอมเอกสารสิทธิ การกระทำกรรมเดียว
ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจเหนือศาลทหาร
พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครอง
งดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือเล็งเห็นผลว่าอาจถึงแก่ความตายเป็นพยายามฆ่า
ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา