ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




กระทำชำเราต่างวันต่างเวลาและต่างสถานที่ผิดหลายกรรม

 กระทำชำเราต่างวันต่างเวลาและต่างสถานที่ผิดหลายกรรม

 การกระทำชำเราในแต่ละครั้งแม้กระทำไปโดยมีเจตนากระทำชำเราเหมือนกัน แต่ได้กระทำต่อผู้เสียหาย ต่างวันต่างเวลาและต่างสถานที่ คนละจังหวัดกัน มิได้กระทำต่อเนื่องกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

     คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5368/2562

     จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ครั้งแรกที่บ้านเพื่อนของจำเลย จังหวัดพังงา ในวันที่ 21 มกราคม 2549 และวันที่ 22 มกราคม 2549 จำเลยได้พาผู้เสียหายที่ 2 ไปที่บ้านญาติของจำเลย จังหวัดภูเก็ต แล้วกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 อีกครั้ง การกระทำชำเราของจำเลยในแต่ละครั้งแม้กระทำไปโดยมีเจตนากระทำชำเราเหมือนกัน แต่จำเลยได้กระทำต่อผู้เสียหายที่ 2 ต่างวันต่างเวลาและต่างสถานที่ คนละจังหวัดกัน มิได้กระทำต่อเนื่องกันแต่อย่างใด จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

     โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 277, 283 ทวิ, 284, 310, 317

     จำเลยให้การรับสารภาพ

     ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคหนึ่ง (เดิม), 283 ทวิ วรรคสอง (เดิม), 284 วรรคแรก (เดิม), 310 วรรคแรก (เดิม), 317 วรรคสาม (เดิม) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 18 ปีเศษ ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 (ที่ถูก มาตรา 76) ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีกับความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี รวม 2 กระทง จำคุกกระทงละ 5 ปี และปรับกระทงละ 5,000 บาท ฐานพาบุคคลอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร จำคุก 1 ปี 6 เดือน และปรับ 6,000 บาท ฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร จำคุก 3 ปี และปรับ 10,000 บาท ฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จำคุก 1 ปี และปรับ 2,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกฐานกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี กระทงละ 2 ปี 6 เดือน และปรับกระทงละ 2,500 บาท ฐานพาบุคคลอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร จำคุก 9 เดือน และปรับ 3,000 บาท ฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร จำคุก 1 ปี 6 เดือน และปรับ 5,000 บาท ฐานหน่วงเหนี่ยวกังขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จำคุก 6 เดือน และปรับ 1,000 บาท รวมจำคุก 5 ปี 33 เดือน และปรับ 14,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษมีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30

     โจทก์อุทธรณ์

     ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายกับความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีอันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 เมื่อรวมกับโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว คงจำคุกจำเลย 5 ปี 27 เดือน ไม่รอการลงโทษจำคุกและไม่ลงโทษปรับ จำหน่ายคดีสำหรับความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยการขู่เข็ญเสียจากสารบบความ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

     จำเลยฎีกา

     ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม (เดิม) ฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยการขู่เข็ญ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 วรรคแรก (เดิม) ฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 ทวิ วรรคสอง (เดิม) ฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 วรรคแรก (เดิม) และฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) สำหรับความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยการขู่เข็ญ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า ความผิดดังกล่าวเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อจำเลยนำเงิน 30,000 บาท มาจ่ายให้แก่ผู้เสียหายทั้งสอง และผู้เสียหายทั้งสองรับเงินไปแล้ว แปลได้ว่าผู้เสียหายทั้งสองถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป และพิพากษาให้จำหน่ายคดีสำหรับความผิดฐานดังกล่าวเสียจากสารบบความ ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยการขู่เข็ญจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8

     ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไป เห็นสมควรวินิจฉัยก่อนว่า ความผิดฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 ทวิ วรรคสอง (เดิม) และฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 วรรคแรก (เดิม) นั้น ขาดอายุความหรือไม่ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 บัญญัติว่า ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ (3) สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี โดยความผิดฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 ทวิ วรรคสอง (เดิม) มีระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี ส่วนความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 วรรคแรก (เดิม) มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี ความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าว จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดระหว่างวันที่ 20 ถึงวันที่ 22 มกราคม 2549 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 กรกฎาคม 2560 เกินกว่า 10 ปี คดีโจทก์ทั้งสองข้อหาดังกล่าวจึงขาดอายุความ และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (6) ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเสียให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225

     มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร รับฟังได้หรือไม่ว่าจำเลยกระทำผิด และความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ตามฟ้องโจทก์เป็นความผิดกรรมเดียวหรือความผิดสองกรรม คดีนี้ แม้ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารและความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ตามฟ้องโจทก์เป็นความผิดหลายกรรม โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ก็ตาม แต่ปัญหาว่าการที่จำเลยรับสารภาพแล้วโจทก์นำสืบไม่ได้ว่ากระทำผิด และปัญหาว่าความผิดตามฟ้องเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลอุทธรณ์ จำเลยก็สามารถยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 โดยความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร โจทก์ฎีกาทำนองว่า การกระทำของจำเลยไม่ถือว่าเป็นการพราก ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายนั้น เห็นว่า คำว่า "พราก" ในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ไปเสียจากบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยปราศจากเหตุอันสมควร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 หมายความว่า พาไปหรือแยกออกไปจากอำนาจปกครองดูแล ทำให้อำนาจปกครองดูแลของบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือน โดยบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็กไม่รู้เห็นยินยอมด้วย เป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็ก ทั้งนี้ไม่ว่าเด็กจะไปอยู่ที่ใด หากบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล เอาใจใส่อยู่ย่อมอยู่ในอำนาจปกครองของบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลตลอดเวลา คดีนี้ได้ความตามคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 2 ว่า ผู้เสียหายที่ 2 จะพักอาศัยอยู่กับยาย แต่ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 2 มาพักอาศัยอยู่กับผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นบิดา เพื่อนของผู้เสียหายที่ 2 แนะนำให้รู้จักกับจำเลยก่อนเกิดเหตุประมาณ 2 ถึง 3 วัน วันเกิดเหตุจำเลยมาตกเบ็ดกับภริยาและลูก จำเลยชักชวนผู้เสียหายที่ 2 ไปที่บ้านของจำเลยโดยพาภริยาและลูกไปด้วย ผู้เสียหายที่ 2 มีปัญหาทะเลาะกับผู้เสียหายที่ 1 จึงไปกับจำเลย แล้วจำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ไปบ้านเพื่อนของจำเลยที่บ้านน้ำเค็ม โดยจำเลยไม่ได้ให้ผู้เสียหายที่ 2 ออกไปไหน แล้วนอนค้างคืนที่บ้านน้ำเค็ม ในคืนดังกล่าวจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 โดยขู่ว่าหากไม่ยอมให้จำเลยกระทำชำเราจำเลยจะฆ่า ต่อมาผู้เสียหายที่ 2 แจ้งต่อจำเลยว่าต้องการกลับบ้านแต่จำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ไปที่จังหวัดภูเก็ต โดยจำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ไปที่บ้านหลังหนึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นบ้านญาติของจำเลยหรือไม่ และให้อยู่เฉพาะภายในบ้านไม่ให้ออกไปข้างนอก ในคืนดังกล่าวจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 อีกครั้ง ดังนี้ การที่ผู้เสียหายที่ 2 มาพักอยู่กับผู้เสียหายที่ 1 ในช่วงเวลาเกิดเหตุ แสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายที่ 1 รับภาระเอาใจใส่ดูแลผู้เสียหายที่ 2 อยู่ในขณะเกิดเหตุ ถือได้ว่าผู้เสียหายที่ 2 อยู่ในอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 1 การที่ผู้เสียหายที่ 2 มีปัญหาทะเลาะกับผู้เสียหายที่ 1 และไปกับจำเลย ก็เพราะจำเลยพาภริยาและบุตรไปด้วย ผู้เสียหายที่ 2 มิได้ยินยอมและไม่ทราบว่าจำเลยจะพาไปกระทำชำเรา ทั้งไม่ได้ทำให้อำนาจปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 1 ที่มีต่อผู้เสียหายที่ 2 ต้องหมดสิ้นลง ผู้เสียหายที่ 2 ยังคงอยู่ในอำนาจปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 1 เมื่อจำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ไปในที่ต่าง ๆ และกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 โดยผู้เสียหายที่ 1 มิได้อนุญาต และมิได้รู้เห็นยินยอม การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการรบกวนและล่วงละเมิดต่ออำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 1 จำเลยจึงมีความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยมานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่จำเลยอ้างไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในคดีนี้

     ส่วนความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ตามฟ้องโจทก์ เป็นความผิดกรรมเดียวหรือความผิดสองกรรมนั้น เห็นว่า คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ และความผิดดังกล่าวกฎหมายกำหนดอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำไม่เกินห้าปี ศาลชั้นต้นจึงฟังข้อเท็จจริงไปตามฟ้องและพิพากษาคดีโดยไม่จำต้องสืบพยาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคแรก ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายว่า ระหว่างวันที่ 20 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 22 มกราคม 2549 จำเลยหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 โดยการนำผู้เสียหายที่ 2 ไปกักขังไว้ที่บ้านเพื่อนของจำเลย ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา และบ้านญาติของจำเลย ตำบลและอำเภอใดไม่ปรากฏชัด จังหวัดภูเก็ต และโจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีว่า จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2549 เหตุเกิดที่ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา และวันที่ 22 มกราคม 2549 เหตุเกิดที่ตำบลและอำเภอใดไม่ปรากฏชัด จังหวัดภูเก็ต แสดงว่า จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ครั้งแรกที่บ้านเพื่อนของจำเลยตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ในวันที่ 21 มกราคม 2549 และวันที่ 22 มกราคม 2549 จำเลยได้พาผู้เสียหายที่ 2 ไปที่บ้านญาติของจำเลย จังหวัดภูเก็ต แล้วกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 อีกครั้ง เห็นได้ว่า การกระทำชำเราของจำเลยในแต่ละครั้งแม้กระทำไปโดยมีเจตนากระทำชำเราเหมือนกัน แต่จำเลยได้กระทำต่อผู้เสียหายที่ 2 ต่างวันต่างเวลาและต่างสถานที่ คนละจังหวัดกัน มิได้กระทำต่อเนื่องกันแต่อย่างใด จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าเป็นความผิดสองกรรมนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยต่อไปว่า มีเหตุสมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยหรือไม่ เห็นว่า จำเลยให้การรับสารภาพโดยตลอดและไม่ติดใจสืบพยาน แสดงถึงว่ารู้สึกสำนึกในการกระทำผิดของตน และผู้เสียหายที่ 2 เบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยว่า หากจำเลยบรรเทาความเสียหายให้แก่ผู้เสียหายที่ 2 เป็นเงินจำนวน 30,000 บาท ผู้เสียหายที่ 2 ก็ไม่ติดใจเอาความผิดกับจำเลยทั้งทางแพ่งและทางอาญาอีกต่อไป และปรากฏว่าจำเลยนำเงิน 30,000 บาท มาวางศาลเพื่อชำระแก่ผู้เสียหายทั้งสองและผู้เสียหายทั้งสองรับเงินไปแล้ว เมื่อผู้เสียหายทั้งสองไม่ติดใจดำเนินคดี ประกอบกับไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เห็นควรให้โอกาสแก่จำเลยได้กลับตัวสักครั้ง โดยให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้ แต่เพื่อให้หลาบจำเห็นควรลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้คุมความประพฤติของจำเลยไว้ ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้น

     อนึ่ง ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2562 มาตรา 5 ให้ยกเลิกความในมาตรา 277 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับ

     พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์ฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร และฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 ทวิ วรรคสอง (เดิม) และมาตรา 310 วรรคแรก (เดิม) คงลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี และฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น รวมจำคุก 5 ปี 18 เดือน และปรับ 10,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี และให้คุมความประพฤติจำเลยโดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก 3 เดือน ต่อครั้ง และให้จำเลยทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ ตามที่พนักงานคุมประพฤติและจำเลยเห็นสมควรมีกำหนดเวลา 24 ชั่วโมง ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8

 พูดข่มขู่ว่าจะฆ่าผู้เสียหายหากผู้เสียหายออกไปจากบ้านมีความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขัง

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2563

การกระทำที่ถือว่าเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังนั้นเป็นการกระทำด้วยประการใด ๆ โดยไม่จำกัดวิธีการ เพียงแต่ให้สำเร็จผลเป็นการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังหรือให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ขณะผู้เสียหายอยู่กับจำเลยในบ้าน จำเลยพูดข่มขู่ว่าจะฆ่าผู้เสียหายหากผู้เสียหายออกไปจากบ้านเกิดเหตุ ผู้เสียหายรู้สึกกลัว จึงไม่ได้ออกไปไหน การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังหรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายตาม ป.อ. มาตรา 310 วรรคหนึ่ง

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 277, 279, 285, 310

จำเลยให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสาม, 279 วรรคสอง ประกอบมาตรา 285 และมาตรา 65 วรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งเป็นผู้สืบสันดานโดยใช้กำลังประทุษร้าย จำคุก 1 ปี ฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งเป็นผู้สืบสันดาน (ที่ถูก ฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งเป็นผู้สืบสันดาน จำคุก 1 ปี ฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งเป็นผู้สืบสันดาน และฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งเป็นผู้สืบสันดาน เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งเป็นผู้สืบสันดานอันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90) จำคุก 1 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 2 ปี 6 เดือน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ให้คุมความประพฤติของจำเลยไว้ โดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ และให้จำเลยไปรับการบำบัดรักษาอาการป่วยทางจิตจากแพทย์ที่โรงพยาบาล ส. หรือคลินิกอายุรกรรมโรงพยาบาล ช. โดยให้รายงานผลการรักษาต่อพนักงานคุมประพฤติ 3 เดือน ต่อครั้ง ภายในเวลาที่รอการลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ข้อหาอื่นให้ยก

โจทก์อุทธรณ์ โดยอธิบดีอัยการสำนักงานคดีศาลสูงภาค 8 ซึ่งได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสาม, มาตรา 279 วรรคสอง ประกอบมาตรา 285, 310 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งเป็นผู้สืบสันดาน จำคุก 10 ปี ฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งเป็นผู้สืบสันดานโดยใช้กำลังประทุษร้าย จำคุก 5 ปี ฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จำคุก 1 ปี รวมจำคุก 16 ปี ไม่รอการลงโทษจำคุก ไม่คุมประพฤติ และไม่ปรับ

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า เด็กหญิง อ. ผู้เสียหาย เป็นบุตรของจำเลย ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายอายุ 7 ปีเศษ พักอาศัยอยู่กับจำเลยที่บ้านเกิดเหตุ และที่บ้านของนาง ษ. ซึ่งเป็นย่าของผู้เสียหาย ซึ่งอยู่ในละแวกเดียวกัน ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยได้กระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีและเป็นผู้สืบสันดาน และกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีและเป็นผู้สืบสันดาน ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งเป็นผู้สืบสันดาน และฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งเป็นผู้สืบสันดาน จำเลยมิได้ฎีกา ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง

ปัญหาต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยมีว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังหรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 หรือไม่ ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเพียงแต่ห้ามปรามมิให้ผู้เสียหายออกจากบ้าน ผู้เสียหายมิได้ถูกล่ามหรือพันธนาการใด ๆ หรือถูกทำร้ายร่างกาย การกระทำของจำเลยจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดนั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ตามพยานหลักฐานของโจทก์ว่า จำเลยพูดข่มขู่ว่าจะฆ่าผู้เสียหายหากผู้เสียหายออกไปจากบ้านเกิดเหตุ มิใช่เพียงแต่ห้ามปรามมิให้ผู้เสียหายออกจากบ้านดังที่จำเลยฎีกา การกระทำที่ถือว่าเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังนั้นเป็นการกระทำด้วยประการใด ๆ โดยไม่จำกัดวิธีการ เพียงแต่ให้สำเร็จผลเป็นการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังหรือให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังหรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน

อนึ่ง สำหรับความผิดฐานกระทำชำเรา ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2562 มาตรา 3 ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็น (18) ของมาตรา 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา "(18) "กระทำชำเรา" หมายความว่า กระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำ โดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำล่วงล้ำอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น" มาตรา 5 ให้ยกเลิกความในมาตรา 277 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และให้ใช้ความใหม่แทน แต่ความใหม่มิได้บัญญัติให้การใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่นเป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา และมาตรา 9 ให้ยกเลิกความในมาตรา 279 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และให้ใช้ความใหม่แทน โดยวรรคสี่บัญญัติว่า "ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสาม เป็นการกระทำโดยใช้วัตถุหรืออวัยวะอื่นซึ่งมิใช่อวัยวะเพศล่วงล้ำอวัยวะเพศหรือทวารหนักของเด็กนั้น ผู้กระทำต้องระวางโทษ..." จากบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวยังคงบัญญัติว่าการกระทำโดยใช้วัตถุหรืออวัยวะอื่นซึ่งมิใช่อวัยวะเพศล่วงล้ำอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่นยังเป็นความผิดอยู่ มิได้เป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติในภายหลังบัญญัติให้การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง เพียงแต่เปลี่ยนฐานความผิดจากข่มขืนกระทำชำเราเป็นความผิดฐานอนาจารโดยการล่วงล้ำเท่านั้น ซึ่งตามสภาพทางธรรมชาติในการกระทำความผิดของจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคห้า (ที่แก้ไขใหม่) เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสาม (เดิม) การปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 279 วรรคห้า (ที่แก้ไขใหม่) จึงเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า และโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสาม (เดิม) ซึ่งใช้บังคับขณะที่จำเลยกระทำความผิด และโทษตามมาตรา 279 วรรคห้า (ที่แก้ไขใหม่) ก็มีระวางโทษจำคุกและโทษปรับเท่ากัน โดยระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต จึงต้องลงโทษจำเลยตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่อันเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราก็ตาม แต่การปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานใดนั้นเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยโดยแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และสำหรับความผิดฐานกระทำอนาจาร ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2562 มาตรา 9 ให้ยกเลิกความในมาตรา 279 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และให้ใช้ความใหม่แทน ซึ่งกฎหมายที่แก้ไขใหม่บัญญัติเพิ่มเติมความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีแยกต่างหากจากความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายเดิมที่บัญญัติเฉพาะความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไว้เพียงบทเดียว และโทษในความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีตามกฎหมายใหม่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งแตกต่างจากโทษในความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีตามกฎหมายเดิมที่ระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยใช้กำลังประทุษร้ายตามกฎหมายใหม่ได้บัญญัติไว้ในวรรคสาม มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายเดิมที่บัญญัติไว้ในวรรคสอง และมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบห้าปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น โทษจำคุกและโทษปรับตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงสูงกว่าโทษจำคุกและโทษปรับตามกฎหมายเดิม กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย และมาตรา 12 ให้ยกเลิกความในมาตรา 285 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และให้ใช้ความใหม่แทน โดยบัญญัติหลักเกณฑ์ที่ต้องรับโทษหนักขึ้นเพิ่มเติมจากกฎหมายเดิมที่บัญญัติไว้เฉพาะกรณีที่เป็นการกระทำแก่ผู้สืบสันดาน ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการหรือผู้อยู่ในความปกครอง ในความพิทักษ์หรือในความอนุบาล โดยให้รวมถึงกรณีที่เป็นการกระทำแก่บุพการี พี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา ญาติสืบสายโลหิต หรือผู้อยู่ภายใต้อำนาจด้วยประการอื่นใดไว้ด้วย แต่ยังคงระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ หนึ่งในสาม ต้องถือว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยเช่นกัน ส่วนความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ปรับบทความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 โดยไม่ได้ระบุวรรค ศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้อง

พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคสอง (เดิม) ประกอบมาตรา 285 (เดิม), 279 วรรคห้า (ที่แก้ไขใหม่) ประกอบมาตรา 285 (เดิม), 310 วรรคหนึ่ง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8

 




เกี่ยวกับคดีอาญา

ไม่มีเจตนาเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ที่เป็นประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
การกระทำของจำเลยเป็นการไตร่ตรองไว้ก่อน ตาม ป.อ. มาตรา 289 (4)
ป.อ. มาตรา 54 ในการคำนวณการเพิ่มโทษหรือลดโทษที่จะลง
รถยนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะซุกซ่อนและขนส่งบุหรี่ซิกาแรตในการกระทำความผิด
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้นั้นสภาพความเป็นลูกหนี้เจ้าหนี้เกิดขึ้นทันที
ความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนให้ปฏิบัติหรือละเว้นตามมาตรา 157
การกระทำความผิดระหว่างผู้บุพการีต่อผู้สืบสันดานหรือผู้สืบสันดานต่อผู้บุพการี
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบากว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้น
พาไปเพื่อการอนาจาร -บุคคลอายุกว่าสิบห้าปี
ความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน
จำเลยฉ้อโกงหลอกลวงเอาทรัพย์ขณะที่ผู้เสียหายป่วยทางจิต
รอการกำหนดโทษ | รอการลงโทษ | พรบ.ล้างมลทิน
เบิกความอันเป็นเท็จในศาล
จำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาใดไม่แน่ชัด
ป้องกันพอสมควรแก่เหตุ-ป้องกันเกินกว่าเหตุ
บันดาลโทสะเพราะเหตุยั่วยุให้โมโห
หมิ่นประมาท | เข้าใจโดยสุจริต
ความผิดฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้
เป็นอันตรายแก่จิตใจ - ใช้ยาสลบใส่กาแฟ
บันดาลโทสะต้องถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง
หมิ่นประมาท | หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์โฆษณา
วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องห้ามฎีกา
ผู้เสียหายด่าจำเลย(บิดา)หยาบคายกรณีจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ
เจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นในราชอาณาจักร
การริบทรัพย์สิน | ใช้ในการกระทำความผิด
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
คำว่า-วิชาชีพ-ในคดีอาญา
หลบหนีไปจากความควบคุมตามอำนาจของพนักงานสอบสวน
สเปรย์พริกไทยไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร | รับส่งเด็กนักเรียน
ลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะ
กระทำอนาจารต่อศิษย์นอกเวลาเรียน
ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ยังคงเป็นป่าตาม พ.ร.บ. ป่าไม้
เป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์และใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต
ลงลายมือชื่อรับรองคนต่างด้าว 7 คน
ความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นตาม ป.อาญา มาตรา 188
ผู้สนับสนุนให้จำเลยกระทำความผิด
ทวงหนี้ลักษณะข่มขู่ว่าไม่จ่ายจะเดือดร้อนจำคุก 3 ปี
การทำนากุ้งไม่ใช่การประกอบอาชีพกสิกรรม
ลักทรัพย์นายจ้าง, ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
การจับกุมมิชอบกับการฟ้องคดีอาญา
คำขอในส่วนแพ่งเนื่องความผิดอาญา
แม้ผู้ตายยิงจำเลยก่อนอ้างเหตุป้องกันตัวไม่ได้
ทำร้ายร่างกายกับการป้องกันตัว
พรากเด็กต่ำ15 ปี ไปเพื่อการอนาจารจำคุก 5 ปี
ซื้อเสียงเลือกตั้งไม่รอลงอาญา
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดอันพึงริบ
การเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล
การพรากเด็กไม่ว่าเด็กจะออกจากบ้านเองก็ย่อมเป็นความผิดทั้งสิ้น
ผู้ปกครองอนุญาตให้ไปดูโทรทัศน์ที่บ้านของจำเลยเท่านั้น
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมและฐานฉ้อโกง
พิพากษาจำคุกจำเลยศาลฎีกายกฟ้องเพราะคำฟ้องไม่ได้ลงชื่อ
หมิ่นประมาทกับดูหมิ่นซึ่งหน้า-ความผิดอาญามีโทษหนักเบาแตกต่างกัน
พรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย
พยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจำคุกตลอดชีวิต
บันดาลโทสะหรือพยายามฆ่า
ความผิดอันยอมความได้ | คดีหมิ่นประมาท | ร้องทุกข์ภายในสามเดือน
พกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
การสมรสในต่างประเทศระหว่างหญิงไทยกับหญิงไทย
การกระทำชำเราที่ไม่ต้องรับโทษ
การสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายอิสลามจำเลยไม่ต้องรับโทษ
กระทำโดยประมาทไม่อาจอ้างเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่มีอำนาจสอบสวนไม่มีอำนาจฟ้อง
ให้กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราถูกจำคุก 48 เดือน
ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ก่อนคดีถึงที่สุดคดีอาญาระงับ
บุตรติดมารดาไม่อยู่ในความปกครองของบิดาเลี้ยง
การชวนเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีเข้าไปในห้องนอนไม่ผิดพรากผู้เยาว์
กระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีจำคุก 50 ปี
จำเลยไม่มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี
การนับอายุความคดีความผิดอันยอมความได้
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากในฟ้อง
ปลัดกระทรวงไม่มีอำนาจสั่งย้ายโจทก์ไปดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัด
จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่
การสนทนาผ่านเมสเซนเจอร์ไม่เป็นการกล่าวไขข่าวให้แพร่หลาย
ภยันตรายจากการประทุษร้ายที่จะใช้อ้างเพื่อการป้องกันสิทธิ
ฟ้องข้อหาค้ามนุษย์ บังคับใช้แรงงาน
กระทำชำเราเด็กและพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปีจำคุก 48 ปี
"อนาจาร" มีความหมายว่า การกระทำที่ไม่สมควรทางเพศ
พาเด็กหญิงจากที่เปิดเผยเข้าไปในจุดลับตาผู้คน
จำเลยเป็นบุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจให้กู้ยืมเงินโดยไม่ได้รับอนุญาต
ขายทองเงินผ่อนอำพรางการให้กู้ยืมเงินดอกเบี้ย318%ต่อปี
ศาลฎีกาพิพากษาให้รอการกำหนดโทษจำเลยรอการชำระเงิน
มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแต่จำเลยหลบหนีขาดอายุความอย่างไร
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร,เต็มใจไปด้วย
ขู่เข็ญให้จ่ายเงิน มิฉะนั้นเปิดเผยความลับวีดีโอ-ความสัมพันธ์ทางเพศ รีดเอาทรัพย์
ความผิดตามมาตรา 149 บทเฉพาะและมาตรา 157 บททั่วไป
ลักทรัพย์นายจ้าง ปลอมเอกสารสิทธิ การกระทำกรรมเดียว
ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจเหนือศาลทหาร
พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครอง
งดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือเล็งเห็นผลว่าอาจถึงแก่ความตายเป็นพยายามฆ่า
การกระทำโดยพลาด
ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
รอการลงโทษ,ให้การรับสารภาพ
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
คำร้องทุกข์ | อำนาจพนักงานสอบสวน
ขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ-มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด
ความผิดฐานบุกรุกเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร