ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การโอนสิทธิเรียกร้องคืออะไร?

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

การโอนสิทธิเรียกร้องคืออะไร?

สิทธิเรียกร้อง คือ สิทธิของเจ้าหนี้รายหนึ่งที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่ตนได้ ตามมาตรา 194 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ เมื่อมีหนี้เกิดขึ้นเมื่อใด ย่อมมีสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้จะโอนได้ตั้งแต่นั้น สิทธิเรียกร้องทุกประเภทโดยหลักแล้วย่อมโอนกันได้ แม้สิทธิเรียกร้องซึ่งมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา การโอนสิทธิเรียกร้อง คือ การที่เจ้าหนี้ตกลงยินยอมโอนสิทธิที่เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง มีผลให้บุคคลผู้รับโอนเข้ามาเป็นเจ้าหนี้คนใหม่แทนเจ้าหนี้เดิมมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้เช่นเจ้าหนี้เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3328/2554
 
  จำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับค่าจ้างจากจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์และบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยที่ 3 แล้วแต่เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไปรับเงินค่าจ้างงวดแรกจากจำเลยที่ 3 แล้วนำไปชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ได้รับชำระหนี้ไว้และไม่ดำเนินการใด ๆ เช่น แจ้งให้จำเลยที่ 3 ระงับการจ่ายเงินสำหรับงวดต่อ ๆ ไป ย่อมทำให้จำเลยที่ 3 เข้าใจว่าสามารถจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ได้โดยตรง การกระทำของโจทก์นับว่าเป็นการให้สัตยาบันแก่การชำระหนี้งวดแรก ทั้งยังเป็นการยอมให้จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนโจทก์ในการขอรับชำระหนี้ในงวดต่อ ๆ ไปด้วย เมื่อจำเลยที่ 3 ชำระหนี้ตามสัญญาจ้างให้แก่จำเลยที่ 1 ไปจนครบถ้วนแล้ว หนี้ของจำเลยที่ 3 จึงระงับสิ้นไป โจทก์ไม่อาจเรียกให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้อีกได้ เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 1 เอง

มาตรา 306  การโอนหนี้อันจะพึงต้องชำระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงนั้นถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ท่านว่าไม่สมบูรณ์ อนึ่งการโอนหนี้นั้นท่านว่าจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้

หรือลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้น คำบอกกล่าวหรือความยินยอมเช่นว่านี้ท่านว่าต้องทำเป็นหนังสือ

ถ้าลูกหนี้ทำให้พอแก่ใจผู้โอนด้วยการใช้เงิน หรือด้วยประการอื่นเสียแต่ก่อนได้รับบอกกล่าว หรือก่อนได้ตกลงให้โอนไซร้ ลูกหนี้นั้นก็เป็นอันหลุดพ้นจากหนี้

มาตรา 315  อันการชำระหนี้นั้น ต้องทำให้แก่ตัวเจ้าหนี้หรือแก่บุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ การชำระหนี้ให้แก่บุคคลผู้ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้นั้น ถ้าเจ้าหนี้ให้สัตยาบันก็นับว่าสมบูรณ์

มาตรา 821  บุคคลผู้ใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดีรู้แล้วยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าบุคคลอีก

คนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน
 
          โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงิน 6,170,000.30 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 16 ต่อปีของต้นเงิน 5,067,680 บาท นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์

 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
          จำเลยที่ 3 ให้การและแก้ไขคำให้การว่า ขอให้ยกฟ้อง

          ระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความ
          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 6,170,000 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ของต้นเงิน 5,067,680 บาทนับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 15 ตุลาคม 2542) ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ โดยให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในต้นเงิน 5,067,680 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2542 เป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จกับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท

          จำเลยที่ 3 อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

 จำเลยที่ 3 ฎีกา

  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง และจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 3 ได้รับหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าว เช่นนี้จำเลยที่ 3 ไม่ใช่คู่สัญญากับโจทก์ตามคำร้องเพื่อเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในประเทศ แต่อย่างใด เพราะคู่สัญญาคือจำเลยที่ 1 แต่ฝ่ายเดียว จำเลยที่ 1 เท่านั้นเป็นฝ่ายมีหน้าที่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตได้ จำเลยที่ 3 คงรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาจ้าง และ จ. 18 ที่จำเลยที่ 1 โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์เท่านั้น แต่ก็ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ชำระหนี้ตามสัญญาจ้างดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 แทนที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องโดยชอบแล้ว จึงมีปัญหาให้ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์ยังคงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ได้อีกหรือไม่ เห็นว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 315 บัญญัติว่า “อันการชำระหนี้นั้นต้องทำให้แก่ตัวเจ้าหนี้หรือแก่บุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ การชำระหนี้ทำให้แก่บุคคลผู้ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้นั้นถ้าเจ้าหนี้ให้สัตยาบันก็นับว่าสมบูรณ์” จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 3 จะต้องชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ไม่ใช่ชำระให้แก่จำเลยที่ 1 แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปขอรับเงินค่าจ้างงวดแรก จำนวน 1,260,000 บาท ซึ่งมีการจ่ายเป็นเช็ค (จำนวนเงินตามเช็คคือ 1,248,224.30 บาท) แล้วจำเลยที่ 1 นำเช็คดังกล่าวไปเข้าบัญชีที่ธนาคารโจทก์และชำระหนี้ให้แก่โจทก์การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว เป็นการไม่ปฏิบัติตามหนังสือโอนสิทธิเรียกร้อง ข้อ 2 ที่ระบุว่า เมื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะได้รับเงินงวดหนึ่งงวดใดหรือทั้งหมด จำเลยที่ 1 จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบทันที เพื่อโจทก์จะได้เรียกเก็บเงินจากจำเลยที่ 3 ตามสิทธิเรียกร้องซึ่งได้ตกลงโอน แต่กรณีจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาดังกล่าวโดยไปขอรับเงินค่างวดเอง แทนที่จะแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินด้วยตนเองตามสัญญาดังกล่าว โจทก์กลับไม่ดำเนินการใด ๆ เช่นแจ้งจำเลยที่ 3 ขอให้ระงับการจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 โดยตรงสำหรับเงินค่างวดต่อ ๆ ไป ย่อมทำให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 เข้าใจได้ว่าสามารถที่จะจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ได้โดยตรง การกระทำของโจทก์ดังกล่าวนับว่าเป็นการให้สัตยาบันแก่การชำระหนี้งวดแรก ทั้งยังเป็นการยอมให้จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของโจทก์ในการขอรับชำระหนี้ในงวดต่อ ๆ ไปด้วย เมื่อจำเลยที่ 3 ชำระหนี้ตามสัญญาจ้างให้แก่จำเลยที่ 1 ไปครบถ้วนทั้งสองสัญญาแล้ว หนี้ของจำเลยที่ 3 จึงระงับสิ้นไป โจทก์ไม่อาจเรียกเอาจากจำเลยที่ 3 ได้อีกต่อไป เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 1 เอง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ชำระต้นเงิน 5,067,680 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2542 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 3 ฟังขึ้น เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์แล้ว ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้ออื่นอีกต่อไป

        พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 ทั้งสามศาลให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

การโอนสิทธิเรียกร้องคือการที่เจ้าหนี้ตกลงยินยอมโอนสิทธิที่เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง มีผลให้บุคคลผู้รับโอนเข้ามาเป็นเจ้าหนี้คนใหม่แทนเจ้าหนี้เดิม และมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้เช่นเจ้าหนี้เดิม   

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2551

ศาลชั้นต้นได้สอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความเมื่อเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้แล้ว ได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหานั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีและให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวงไว้ชัดเจนแล้ว แม้จะได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็ไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงและไม่ชอบด้วยกฎหมาย

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเช่าและค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง

ระหว่างพิจารณา จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

ศาลชั้นต้นสอบคู่ความแล้ว มีคำสั่งให้งดชี้สองสถาน แล้ววินิจฉัยไปในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับเดียวกันว่า โจทก์โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) แล้ว จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ให้ยกฟ้องโจทก์

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เห็นว่า หลังจากที่โจทก์ทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินจากโจทก์ตามฟ้องแล้ว ต่อมาโจทก์ได้ทำหนังสือตามเอกสารท้ายคำให้การจำเลยหมายเลข 2 ซึ่งระบุว่าเป็นหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องโดยระบุให้เรียกคู่สัญญาในหนังสือดังกล่าวระหว่างโจทก์กับธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาถนนสวรรค์วิถี นครสวรรค์ ว่า "ผู้โอน" และ "ผู้รับโอน" ตามลำดับ เนื้อหาภายในหนังสือดังกล่าวระบุว่าผู้โอนซึ่งเป็นผู้ให้เช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ขอโอนสิทธิการรับค่าเช่าจากจำเลยตามสัญญาเช่าในแต่ละเดือนให้แก่ผู้รับโอนเป็นผู้รับเงินจำนวนดังกล่าว โดยผู้โอนขอรับรองว่า ผู้รับโอนมีสิทธิสมบูรณ์เสมือนผู้โอนทุกประการ ทั้งมีการแจ้งการโอนเป็นหนังสือให้แก่จำเลยและจำเลยได้ตอบรับเป็นหนังสือ ตามเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข 2 แผ่นที่ 2, 3 และเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข 3 ตามลำดับ หนังสือโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวลงวันที่ 29 มิถุนายน 2538 โอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าที่ดินตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2537 ซึ่งก็คือสัญญาเช่าที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนั่นเอง จึงถือว่าโจทก์และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้ปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 บัญญัติไว้แล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการรับเงินค่าเช่าจึงตกเป็นของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่นั้นหาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มอบอำนาจให้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับเงินค่าเช่าแทนโจทก์ดังที่โจทก์ฎีกาไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าเช่าแก่โจทก์

ส่วนที่โจทก์ฎีกาต่อไปว่า ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องไปในรายงานกระบวนพิจารณาไม่ใช่เป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี เพราะไม่ได้ทำในรูปของคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นได้สอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความเมื่อเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้แล้ว จึงได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหานั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 แล้ว ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีและให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวงไว้ชัดเจนแล้ว แม้จะได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็ไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงและไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้องโจทก์นั้นชอบแล้ว"

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ  




แปลงหนี้ใหม่เปลี่ยนตัวลูกหนี้

ฟ้องล้มละลายผู้จัดการมรดก หนังสือรับสภาพหนี้
มิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้แทนต่อเจ้าหนี้
หนังสือรับสภาพหนี้ผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้น