ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

บังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้

สัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีข้อความว่า หากบังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ก็ให้โจทก์บังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นได้ด้วย แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์จำนองเท่านั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามได้อีก และไม่อาจนำหนี้ที่เหลือมาฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2553

    ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมกำหนดไว้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ หนี้เบิกเงินเกินบัญชีและหนี้เงินกู้รวม 36,130,856.01 บาทพร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 2 ตกลงร่วมรับผิดในหนี้ 27,265,664.86 บาท โจทก์ตกลงลดยอดหนี้ให้จำเลยทั้งสามเหลือจำนวน 19,152,000 บาท โดยให้ผ่อนชำระเป็นงวดรายเดือน หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งยอมให้โจทก์บังคับคดีในยอดหนี้เต็มจำนวนและยึดทรัพย์จำนองตามฟ้องได้ทันที โดยไม่มีข้อความว่า หากบังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ก็ให้โจทก์บังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นได้ด้วย แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์จำนองเท่านั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามได้อีก และไม่อาจนำหนี้ที่เหลือมาฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีล้มละลายได้

          โจทก์ฟ้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสามเด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย

          จำเลยทั้งสามขอให้ยกฟ้อง

            ศาลล้มละลายกลางพิพากษาว่า มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสามเด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 และให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยหักจากกองทรัพย์สินของจำเลยทั้งสาม เฉพาะค่าทนายความให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดตามที่เห็นสมควร

 จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

  ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ปัญหาข้อแรกโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เห็นว่า แม้ตามคำฟ้องในคดีแพ่งโจทก์จะฟ้องขอให้ชำระหนี้และบังคับจำนอง หากยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดไม่พอชำระหนี้ยอมให้ยึดทรัพย์สินอื่นออกขายทอดตลาดได้ก็ตามแต่เมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความกลับระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 6 ว่า หากจำเลยทั้งสามผิดนัดชำระหนี้ข้อ 2 และข้อ 3 งวดใดงวดหนึ่งให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมด ยอมให้โจทก์บังคับคดีตามข้อ 1 และให้ยึดทรัพย์จำนองตามฟ้องได้ทันที และระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 7 ว่า โจทก์และจำเลยทั้งสามยินยอมตามข้อ 1 ถึงข้อ 6 ทุกประการ โดยไม่ติดใจเรียกร้องเงินอื่นใดอีก โดยไม่ปรากฏข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความว่า หากบังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองตามฟ้องออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้โจทก์ก็ให้บังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นได้ด้วย ดังนี้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยทั้งสามประสงค์จะบังคับคดีแก่ทรัพย์จำนองตามฟ้อง (สามแปลง) เท่านั้น ดังนั้น เมื่อโจทก์บังคับเอาแก่ทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ หนี้ของจำเลยทั้งสามตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามได้อีก โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามข้อนี้ฟังขึ้น เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้ว ปัญหาที่ว่า จำเลยทั้งสามมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ ไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป

   พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ

มาตรา 368 สัญญานั้นท่านให้ตีความไปตามความประสงค์ในทาง สุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย

มาตรา 733 ถ้าเอาทรัพย์จำนองหลุด และราคาทรัพย์สินนั้นมี ประมาณต่ำกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่ก็ดี หรือถ้าเอาทรัพย์สิน ซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวน เงินที่ค้างชำระกันอยู่นั้นก็ดีเงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดลูกหนี้ไม่ต้อง รับผิดในเงินนั้น

มาตรา 850 อันว่าประนีประนอมยอมความนั้น คือสัญญาซึ่งผู้ เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่ หรือ จะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน

มาตรา 271 ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคำพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทั้งหมด หรือบางส่วนคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำ พิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยอาศัยและตาม คำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น

พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9

มาตรา 9 เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ
 (1) ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
 (2) ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียว หรือหลายคน เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็น นิติบุคคลเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจำนวน ไม่น้อยกว่าสองล้านบาท และ
 (3) หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึง กำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม

คำพิพากษาฎีกาที่ 3139 / 2559 

ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2549 แต่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์สองครั้ง ครั้งที่สองศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 ครบกำหนด โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ยื่นอุทธรณ์ คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นที่สุดในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งเป็นวันที่ระยะเวลาที่โจทย์มีสิทธิอุทธรณ์ได้สิ้นสุดลง ตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 271 โจทก์จึงมีสิทธิ์บังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2559 ซึ่งขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2556 และยื่นคำร้องเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2556 นั้น ยังเหลือระยะเวลาในการบังคับคดีอีก 3 ปีเศษ เพียงพอต่อการที่จะขายทอดตลาดทรัพย์จำนองให้เสร็จสิ้นได้แล้ว มิใช่เป็นกรณีที่ระยะเวลาในการบังคับคดีใกล้จะสิ้นสุดลงตามที่โจทก์อ้างในคำร้องแต่อย่างใด เช่นนี้โจทก์จึงต้องดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามลำดับในคำพิพากษา กล่าวคือต้องบังคับทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดก่อน เมื่อได้เงินไม่พอชำระหนี้ จึงจะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 ต่อไปได้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้โจทก์ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 ไว้เพื่อรอการขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง




ประนีประนอมยอมความ

การออกใบแทนโฉนดที่ดินโดยมิชอบ, การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดิน, หน้าที่และอำนาจของผู้จัดการมรดก
บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
หากบุตรพักอาศัยอยู่กับใครคนนั้นเป็นผู้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าคำพิพากษาตามยอมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ขัดต่อกฎหมาย
หนี้สินอันเกิดจากมูลละเมิดระงับสิ้นไป
สัญญามีข้อสงสัยต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ฝ่ายซึ่งจะต้องเป็นผู้เสียหายในมูลหนี้
ขอให้ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าค่าศึกษาเล่าเรียน
สิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของผู้เยาว์
พิพากษาตามสัญญายอมความอาจเกินคำขอได้
ตกลงยอมความกันในขอบเขตแห่งประเด็นในคดี