ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การออกใบแทนโฉนดที่ดินโดยมิชอบ, การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดิน, หน้าที่และอำนาจของผู้จัดการมรดก

 ท นาย อาสา ฟรี

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

 ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

 การออกใบแทนโฉนดที่ดินโดยมิชอบ, การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดิน, หน้าที่และอำนาจของผู้จัดการมรดก

โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันมีที่มาจากบันทึกข้อตกลงแบ่งมรดก(ระหว่างจำเลยที่ 1 กับทายาท) ให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้แก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกรู้ว่าโฉนดที่ดินพิพาทอยู่กับโจทก์ แต่กลับมอบอำนาจให้คนอื่นไปยื่นคำขอออกใบแทนโฉนดที่ดินและภายหลังจากจำเลยที่ 1 ได้รับใบแทนโฉนดที่ดินจำเลยที่ 1 จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2  เป็นเวลาหลังจากได้รับใบแทนโฉนดที่ดินเพียง 18 วัน การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่เอาที่ดินมรดกมาเป็นประโยชน์ของตนเพียงผู้เดียวนั้นไม่เป็นไปเพื่อการจัดการทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท จำเลยที่ 1 กระทำผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกและนอกขอบอำนาจของผู้จัดการมรดกซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิจดทะเบียนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 โดยใช้โฉนดใบแทนไปดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ทั้งที่โฉนดที่ดินไม่ได้สูญหาย ใบแทนโฉนดที่ดินซึ่งจำเลยที่ 1 นำไปจดทะเบียนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นการออกโฉนดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลให้โฉนดที่ดินฉบับที่โจทก์ถือไว้ถูกยกเลิกไป และใบแทนโฉนดที่ดินไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามกฎหมายที่คู่กรณีจะนำไปใช้จดทะเบียนสิทธิได้ การจดทะเบียนซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมใช้สิทธิฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2567

คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ มีที่มาจากบันทึกข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ทำกับทายาทของ ก. เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ก. ให้แก่ทายาท โดยตกลงให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 8235 (เลขที่ 96870) ให้แก่โจทก์ จึงเป็นสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก อันมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคสอง โจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันตามข้อตกลงในสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าว จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกมีหน้าที่จัดการมรดกโดยทั่วไปและแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนภายใต้ขอบอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719, 1723, 1724 วรรคหนึ่ง และ 1745 การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกรู้ว่าโฉนดที่ดินพิพาทอยู่กับโจทก์ แต่กลับมอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปยื่นคำขอออกใบแทนโฉนดที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับใบแทนโฉนดที่ดินพิพาทวันที่ 22 มีนาคม 2561 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันที่ 10 เมษายน 2561 เป็นเวลาหลังจากได้รับใบแทนโฉนดที่ดินพิพาทเพียง 18 วัน แสดงให้เห็นถึงความต้องการของจำเลยที่ 1 ที่จะเอาที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกมาเป็นประโยชน์ของตนเพียงผู้เดียว ย่อมไม่เป็นไปเพื่อการจัดการทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอันเป็นการกระทำผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกและนอกขอบอำนาจของผู้จัดการมรดก จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้ผู้มีชื่อไปขอใบแทนทั้งที่โฉนดที่ดินไม่ได้สูญหาย ใบแทนโฉนดที่ดินซึ่งจำเลยที่ 1 นำไปจดทะเบียนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จึงออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลให้โฉนดที่ดินถูกยกเลิกไป และถือไม่ได้ว่าใบแทนโฉนดที่ดินเป็นหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่คู่กรณีจะนำไปใช้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. ได้ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 63 วรรคแรกและวรรคสอง, 72 การจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336

โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 96870 ลงวันที่ 10 เมษายน 2561 ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับผิดชอบชำระค่าฤชาธรรมเนียมในการโอน หากจำเลยที่ 1 ไม่ไปจดทะเบียนโอนดังกล่าวให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา

จำเลยที่ 1 ให้การขอให้ยกฟ้อง

จำเลยที่ 2 ให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

โจทก์อุทธรณ์

ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความ

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ถึงแก่ความตาย นางพันทิพา ทายาทของโจทก์ ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลฎีกาอนุญาต

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงในชั้นฎีการับฟังเป็นยุติได้ว่า ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 8235 เดิมมีชื่อนางกุ่ม เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ เมื่อนางกุ่มถึงแก่ความตายจึงตกทอดเป็นมรดกแก่นายกิมเจ็ง จำเลยที่ 1 เป็นภริยาและเป็นผู้จัดการมรดกของนายกิมเจ็ง จำเลยที่ 1 กับนายกิมเจ็ง ไม่มีบุตรด้วยกัน โจทก์เป็นบุตรของนางกิมเซ็ก ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนายกิมเจ็ง โจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 462/2541 หมายเลขแดงที่ 1515/2541 ของศาลชั้นต้น ต่อมาวันที่ 21 ตุลาคม 2541 ในคดีดังกล่าวโจทก์และจำเลยที่ 1 คดีนี้ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายกิมเจ็งมีการทำบันทึกข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกนายกิมเจ็งให้แก่ทายาทและทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลมีคำพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว จำเลยที่ 1 คดีนี้มอบโฉนดที่ดินเลขที่ 8235 (ที่ดินพิพาท) ซึ่งภายหลังมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นโฉนดเลขที่ 96870 ให้แก่โจทก์ไว้ด้วย แต่โจทก์ยังมิได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นของตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความและบันทึกข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดก วันที่ 26 ธันวาคม 2560 จำเลยที่ 1 แจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่า โฉนดที่ดินพิพาทสูญหาย วันที่ 5 มกราคม 2561 จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปยื่นคำขอออกใบแทนโฉนดที่ดินพิพาท วันที่ 22 มีนาคม 2561 จำเลยที่ 1 ได้รับใบแทนโฉนดที่ดินพิพาท วันที่ 10 เมษายน 2561 จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ตามหนังสือสัญญาซื้อขายระบุราคาซื้อขายเป็นเงิน 5,130,000 บาท โดยที่ดินพิพาทมีราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธินิติกรรมเป็นเงิน 10,519,850 บาท

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์เรียกที่ดินพิพาทคืนจากผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้หรือไม่ เห็นว่า คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 462/2541 หมายเลขแดงที่ 1515/2541 ของศาลชั้นต้น มีที่มาจากบันทึกข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายกิมเจ็งทำกับทายาทของนายกิมเจ็งแบ่งปันทรัพย์มรดกของนายกิมเจ็งให้แก่ทายาท โดยตกลงให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 8235 (เลขที่ 96870) ให้แก่โจทก์ จึงเป็นสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก อันมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสอง โจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันตามข้อตกลงในสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าว ทั้งจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นตัวแทนตามกฎหมายเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก มีหน้าที่จัดการมรดกโดยทั่วไปและแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนภายใต้ขอบอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719, 1723, 1724 วรรคหนึ่ง และ 1745 การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกรู้ว่าโฉนดที่ดินพิพาทอยู่กับโจทก์ แต่กลับมอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปยื่นคำขอออกใบแทนโฉนดที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับใบแทนโฉนดที่ดินพิพาทวันที่ 22 มีนาคม 2561 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันที่ 10 เมษายน 2561 เป็นเวลาหลังจากได้รับใบแทนโฉนดที่ดินพิพาทเพียง 18 วัน แสดงให้เห็นถึงความต้องการของจำเลยที่ 1 ที่จะเอาที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกมาเป็นประโยชน์ของตนเพียงผู้เดียว ย่อมไม่เป็นไปเพื่อการจัดการทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอันเป็นการกระทำผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกและนอกขอบอำนาจของผู้จัดการมรดก จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 นอกจากนี้การจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยใช้ใบแทนโฉนดที่ดินเลขที่ 96870 ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้ผู้มีชื่อไปขอใบแทนทั้งที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ส่งมอบโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ไว้ไม่ได้สูญหาย อันจะเป็นเหตุให้เจ้าของมาขอรับใบแทนโฉนดที่ดินได้ ใบแทนโฉนดที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำไปจดทะเบียนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จึงออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลให้โฉนดที่ดินเลขที่ 96870 ถูกยกเลิกไป และถือไม่ได้ว่าใบแทนโฉนดที่ดินเลขที่ 96870 เป็นหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่คู่กรณีจะนำไปใช้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 63 วรรคแรกและวรรคสอง, 72 การจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยเหตุผลดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 กรณีมิใช่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องโดยเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินพิพาทโดยมีค่าตอบแทนและกระทำการโดยสุจริตหรือไม่ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความแล้วก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ โดยขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เพื่อให้ที่ดินพิพาทกลับคืนมาเป็นของโจทก์โดยบริบูรณ์ ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของจำเลยที่ 1 หรือมีผลบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษา ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทแล้ว ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 วรรคแปด บัญญัติว่า ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนหรือแก้ไขอย่างใดแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น จึงไม่จำต้องบังคับให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการโอนขายดังกล่าว ศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ เพื่อให้ผลเป็นไปตามคำพิพากษา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น

พิพากษากลับ ให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 96870 และเพิกถอนใบแทนโฉนดที่ดินเลขที่ 96870 เลขที่ดิน 289 ลงวันที่ 10 เมษายน 2561 ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

•  การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดิน

•  สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์มรดก

•  หน้าที่และอำนาจของผู้จัดการมรดก

•  การออกใบแทนโฉนดที่ดินโดยมิชอบ

•  การแบ่งปันทรัพย์มรดกตามกฎหมายไทย

•  ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการโอนที่ดินมรดก

•  การบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

•  ข้อพิพาทเรื่องทรัพย์มรดกในศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2567 (ย่อ)

ข้อเท็จจริงและประเด็นที่ต้องวินิจฉัย

โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เพื่อเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทและเรียกคืนที่ดินดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกที่ตกทอดและแบ่งปันตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีมรดกก่อนหน้า แต่จำเลยที่ 1 ผู้จัดการมรดก กลับนำที่ดินพิพาทไปโอนขายให้จำเลยที่ 2 โดยมิชอบ ทั้งที่รู้ว่าโฉนดที่ดินอยู่กับโจทก์ การกระทำดังกล่าวผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกและนอกขอบอำนาจตามกฎหมาย

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

1.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 - เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมมีสิทธิฟ้องเรียกคืนทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิ

2.มาตรา 1750 - ข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด

3.มาตรา 1719, 1723, 1745 - หน้าที่ผู้จัดการมรดกต้องจัดการทรัพย์มรดกและแบ่งปันให้แก่ทายาท

4.มาตรา 63, 72 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน - ใบแทนโฉนดต้องออกโดยชอบและใช้จดทะเบียนได้

คำวินิจฉัยของศาลฎีกา

ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า การแบ่งปันทรัพย์มรดกตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม มีผลผูกพัน จำเลยที่ 1 มีหน้าที่โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่กลับแจ้งความว่าโฉนดสูญหายและขอใบแทน เพื่อนำไปโอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 การกระทำดังกล่าวขัดต่อหน้าที่ผู้จัดการมรดก ใบแทนโฉนดที่ออกโดยมิชอบไม่มีผลทางกฎหมาย การจดทะเบียนโอนที่ดินจึงเป็นโมฆะ โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมมีสิทธิฟ้องเรียกคืนที่ดินจากจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษา

ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินและใบแทนโฉนดที่ดินดังกล่าว โดยให้ที่ดินพิพาทกลับคืนเป็นของโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ คำขออื่นให้ยก

การอธิบายหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2567

1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336

หลักการ: เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มีสิทธิที่จะติดตามทรัพย์ของตนและฟ้องเรียกคืนทรัพย์จากบุคคลที่ยึดถือไว้โดยไม่มีสิทธิ

การนำไปใช้: กรณีนี้ โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์มรดก มีสิทธิฟ้องเรียกคืนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าวอย่างถูกต้อง

2. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719

หลักการ: ผู้จัดการมรดกต้องปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการมรดกอย่างรอบคอบเพื่อประโยชน์ของกองมรดก

การนำไปใช้: จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดก ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่โดยการโอนขายที่ดินพิพาทเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ซึ่งถือเป็นการกระทำผิดหน้าที่ตามมาตรานี้

3. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1723

หลักการ: ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนตามกฎหมายหรือพินัยกรรม

การนำไปใช้: จำเลยที่ 1 ไม่ได้ดำเนินการแบ่งปันทรัพย์ให้ทายาทตามที่ตกลงไว้ในข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดก และแทนที่จะโอนที่ดินให้โจทก์ กลับนำไปขายโดยไม่ชอบ

4. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1724 วรรคหนึ่ง

หลักการ: การแบ่งปันทรัพย์มรดกต้องกระทำตามวิธีการที่ตกลงกันไว้หรือวิธีการที่ศาลกำหนด

การนำไปใช้: สัญญาประนีประนอมยอมความและข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์ที่ศาลรับรองมีผลผูกพัน จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว

5. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1745

หลักการ: ผู้จัดการมรดกต้องจัดการทรัพย์มรดกโดยไม่ให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดก

การนำไปใช้: การที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทโดยไม่ชอบ ทำให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดก ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

6. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสอง

หลักการ: การแบ่งปันทรัพย์มรดกต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด

การนำไปใช้: ข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกในกรณีนี้ถือเป็นหลักฐานที่สมบูรณ์ โจทก์และจำเลยที่ 1 จึงมีพันธะต้องปฏิบัติตาม

7. ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 63 วรรคแรก

หลักการ: โฉนดที่ดินหรือเอกสารที่เจ้าหน้าที่ที่ดินออกให้ถือเป็นหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดิน

การนำไปใช้: ใบแทนโฉนดที่ดินที่จำเลยที่ 1 ออกโดยไม่ชอบ ไม่ถือว่าเป็นหลักฐานที่ถูกต้องตามกฎหมาย

8. ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 63 วรรคสอง

หลักการ: ใบแทนโฉนดสามารถออกได้ในกรณีที่โฉนดเดิมสูญหายหรือถูกทำลาย

การนำไปใช้: ในกรณีนี้ โฉนดที่ดินพิพาทไม่ได้สูญหายจริง การออกใบแทนจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

9. ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 72

หลักการ: การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินต้องใช้เอกสารที่ถูกต้องตามกฎหมาย

การนำไปใช้: การใช้ใบแทนโฉนดที่ออกโดยไม่ชอบในการโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ทำให้การจดทะเบียนดังกล่าวเป็นโมฆะ

สรุป

การนำหลักกฎหมายข้างต้นมาใช้ในคำพิพากษานี้แสดงให้เห็นว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 ขัดต่อหน้าที่ผู้จัดการมรดกและเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมมีสิทธิฟ้องเรียกคืนที่ดินพิพาทได้ตามกฎหมาย.


บทความ: หน้าที่ของผู้จัดการมรดกมีอะไรบ้าง

ผู้จัดการมรดก มีบทบาทสำคัญในการจัดการและแบ่งปันทรัพย์มรดกตามกฎหมาย ซึ่งหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้นถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมต่อทายาททุกคน และเพื่อป้องกันความเสียหายต่อกองมรดก

หน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย

1.จัดการทรัพย์มรดกโดยรอบคอบ (ตามมาตรา 1719)

ผู้จัดการมรดกต้องดำเนินการจัดการทรัพย์สินในกองมรดกด้วยความรอบคอบ เช่น เก็บรักษาทรัพย์สิน ตรวจสอบหนี้สิน และชำระหนี้ของเจ้ามรดก

2.แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท (ตามมาตรา 1723)

หลังจากจัดการทรัพย์สินในกองมรดกเรียบร้อยแล้ว ผู้จัดการมรดกต้องดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรม หรือหากไม่มีพินัยกรรม ให้แบ่งปันตามกฎหมาย

3.ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล

หากศาลมีคำพิพากษาเกี่ยวกับการแบ่งปันทรัพย์มรดก ผู้จัดการมรดกต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวโดยเคร่งครัด

4.ไม่กระทำการใดที่ทำให้กองมรดกเสียหาย (ตามมาตรา 1745)

การกระทำที่มีผลทำให้กองมรดกเสียหายหรือเกิดความไม่เป็นธรรมแก่ทายาทถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

5.จัดทำบัญชีทรัพย์มรดก (ตามมาตรา 1724 วรรคหนึ่ง)

ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีทรัพย์สินในกองมรดกอย่างโปร่งใส เพื่อให้ทายาทตรวจสอบได้


ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้องกับผู้จัดการมรดกกระทำผิดหน้าที่

1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2567

ข้อเท็จจริง: ผู้จัดการมรดกแจ้งว่าโฉนดที่ดินสูญหายและขอใบแทนเพื่อนำไปขายให้บุคคลอื่น ทั้งที่ทรัพย์สินดังกล่าวต้องแบ่งปันให้ทายาท

คำพิพากษา: การกระทำดังกล่าวถือเป็นการผิดหน้าที่และนอกขอบอำนาจ การโอนที่ดินจึงไม่มีผลทางกฎหมาย

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593/2536

ข้อเท็จจริง: ผู้จัดการมรดกขายทรัพย์สินบางส่วนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน

คำพิพากษา: การกระทำดังกล่าวถือว่าผิดหน้าที่และทำให้ทายาทเสียสิทธิในทรัพย์สิน

3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2547

ข้อเท็จจริง: ผู้จัดการมรดกไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทตามพินัยกรรม และใช้ทรัพย์สินในกองมรดกเพื่อประโยชน์ส่วนตัว

คำพิพากษา: ศาลสั่งให้เพิกถอนการกระทำดังกล่าวและคืนทรัพย์สินแก่กองมรดก

4. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5800/2550

ข้อเท็จจริง: ผู้จัดการมรดกใช้ที่ดินในกองมรดกเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันหนี้สินของตนเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาท

คำพิพากษา: ศาลวินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวเกินขอบอำนาจและเป็นโมฆะ

5. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2546

ข้อเท็จจริง: ผู้จัดการมรดกแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทบางคนในลักษณะไม่เท่าเทียม

คำพิพากษา: การแบ่งปันดังกล่าวไม่เป็นธรรม ศาลสั่งให้จัดการแบ่งปันใหม่ตามกฎหมาย

สรุป

ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาความยุติธรรมต่อทายาททุกคน ตัวอย่างคำพิพากษาข้างต้นแสดงให้เห็นว่าการกระทำผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกสามารถนำไปสู่การเพิกถอนการกระทำและอาจเกิดความเสียหายต่อกองมรดกและทายาทได้.


จำเลยที่ 1 รู้ดีว่าโฉนดที่ดินพิพาทอยู่กับโจทก์ แต่กลับมอบอำนาจให้คนอื่นไปยื่นคำขอออกใบแทนแล้วจำเลยที่ 1 จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2  จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิจดทะเบียนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 โดยใช้โฉนดใบแทนไปดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ การออกใบแทนเป็นการออกโฉนดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลให้โฉนดที่ดินฉบับที่โจทก์ถือไว้ถูกยกเลิกไป และใบแทนโฉนดที่ดินไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามกฎหมายที่คู่กรณีจะนำไปใช้จดทะเบียนสิทธิได้ การจดทะเบียนซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมใช้สิทธิฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยที่ 2 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336




ประนีประนอมยอมความ

บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
หากบุตรพักอาศัยอยู่กับใครคนนั้นเป็นผู้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าคำพิพากษาตามยอมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ขัดต่อกฎหมาย
หนี้สินอันเกิดจากมูลละเมิดระงับสิ้นไป
สัญญามีข้อสงสัยต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ฝ่ายซึ่งจะต้องเป็นผู้เสียหายในมูลหนี้
ขอให้ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าค่าศึกษาเล่าเรียน
สิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของผู้เยาว์
ขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้
พิพากษาตามสัญญายอมความอาจเกินคำขอได้
ตกลงยอมความกันในขอบเขตแห่งประเด็นในคดี