ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ผู้ทำละเมิดหลุดพ้นในมูลละเมิด

สัญญาประนีประนอมยอมความ

ผู้ทำละเมิดหลุดพ้นจากหนี้เพราะการที่ได้ใช้เงินค่าสินไหมแก่ผู้ครองทรัพย์ 

ข้อ 3. นางสาวมุกดายืมเครื่องเพชรจากนางมณีฉายเพื่อนสนิทเพื่อใส่ไปร่วมงานแสดงเครื่องเพชร นางมณีฉายมอบเครื่องเพชรชุดใหญ่ที่ประกอบด้วยสร้อยคอสร้อยข้อมือและต่างหูให้แก่นางสาวมุกดา โดยนางสาวมุกดาสัญญาว่าจะคืนให้หลังวันงาน แต่นางสาวมุกดาไม่คืนเครื่องเพชรหลังงานแสดงเครื่องเพชรผ่านพ้นไปแล้วหลายวัน เมื่อนางมณีฉายทวงคืนนางสาวมุกดาบอกนางมณีฉายว่ายังไม่คืนเพราะได้นำเครื่องเพชรทั้งหมดไปจ้างทำความสะอาดที่ร้านไดมอนด์ ต่อมาลูกจ้างของร้านไดมอนด์แอบขโมยสร้อยข้อมือเพชรดังกล่าวไป เมื่อนางสาวมุกดาขอรับเครื่องเพชรจึงทราบสาเหตุ และทางร้านติดตามหาตัวลูกจ้างไม่ได้ เจ้าของร้านไดมอนด์จึงยอมรับผิดต่อนางสาวมุกดาโดยยอมมอบสร้อยข้อมือทับทิมล้อมเพชรที่มีราคามากกว่าสร้อยข้อมือเพชรที่ถูกขโมยไปต่อมานางสาวมุกดานำเครื่องเพชรที่เหลือไปคืนให้แก่นางมณีฉายพร้อมแจ้งเรื่องที่ลูกจ้างของร้านไดมอนด์ขโมยสร้อยข้อมือเพชรไป นอกจากนี้ยังนำสร้อยข้อมือทับทิมล้อมเพชรที่ได้รับจากร้านไดมอนด์มาอวดนางมณีฉายอีกด้วย

ให้วินิจฉัยว่า นางมณีฉายจะมีสิทธิเรียกร้องต่อนางสาวมุกดาและต่อเจ้าของร้านไดมอนด์หรือไม่ เพียงใด

ธงคำตอบ

นางมณีฉายมีสิทธิเรียกร้องให้นางสาวมุกดารับผิดได้ โดยเป็นกรณีที่ลูกหนี้ต้องรับผิดในการที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยที่เกิดขึ้นในระหว่างลูกหนี้ผิดนัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 217 นางมณีฉายในฐานะเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้นางสาวมุกดาลูกหนี้ชำระค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายดังกล่าว หรืออาจเลือกใช้สิทธิช่วงทรัพย์ตามมาตรา 228 โดยเรียกให้นางสาวมุกดาส่งมอบสร้อยข้อมือทับทิมล้อมเพชรแทนสร้อยข้อมือเพชรที่พ้นวิสัยไปก็ได้

ส่วนกรณีเจ้าของร้านไดมอนด์ซึ่งต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของลูกจ้างนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเจ้าของร้านไดมอนด์ได้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนด้วยสร้อยข้อมือทับทิมล้อมเพชรให้แก่นางสาวมุกดาซึ่งเป็นผู้ครองทรัพย์ในขณะที่มีการละเมิดเกิดขึ้นโดยสุจริตแล้ว เจ้าของร้านไดมอนด์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 441 ให้หลุดพ้นจากหนี้ในมูลละเมิดเพราะการที่ได้ใช้ให้เช่นนั้น ดังนั้น นางมณีฉายจึงไม่มีสิทธิเรียกให้เจ้าของร้านไดมอนด์รับผิด

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 204 ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วและภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้วลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว

ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและลูกหนี้มิได้ ชำระหนี้ตามกำหนดไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ก่อนการชำระหนี้ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้โดยปฏิทินนับแต่วันที่ได้บอกกล่าว

มาตรา 217 "ลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายบรรดาที่เกิดแต่ความประมาทเลินเล่อในระหว่างเวลา ที่ตนผิดนัด ทั้งจะต้องรับผิดชอบในการที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุ อันเกิดขึ้น ในระหว่างเวลา ที่ผิดนัดนั้นด้วย เว้นแต่ความเสียหายนั้นถึงแม้ว่าตนจะได้ชำระหนี้ทันเวลากำหนดก็คงจะต้องเกิดมีอยู่นั่นเอง"

มาตรา 228 "ถ้าพฤติการณ์ซึ่งทำให้การชำระหนี้เป็นอันพ้นวิสัยนั้นเป็นผลให้ลูกหนี้ได้มาซึ่งของแทนก็ดีหรือได้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อทรัพย์อันจะพึงได้แก่ตนนั้นก็ดี ท่านว่าเจ้าหนี้จะ เรียกให้ส่งมอบของแทนที่ได้รับไว้หรือจะเข้าเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเสียเองก็ได้

ถ้าเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพราะการไม่ชำระหนี้และถ้าใช้สิทธินั้นดังได้ระบุไว้ในวรรคต้นไซร้ ค่าสินไหมทดแทนอันจะพึงใช้แก่เจ้าหนี้นั้นย่อมลดจำนวนลงเพียงเสมอราคาแห่งของแทน ซึ่งลูกหนี้ได้รับไว้หรือเสมอจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ลูกหนี้จะเรียกร้องได้นั้น "

มาตรา 441 "ถ้าบุคคลจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความ เสียหายอย่างใดๆ เพราะเอาสังหาริมทรัพย์ของเขาไปก็ดี หรือเพราะทำของเขาให้บุบสลายก็ดี เมื่อใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลซึ่งเป็นผู้ครองทรัพย์นั้นอยู่ในขณะที่เอาไปหรือขณะที่ทำให้บุบสลายนั้นแล้ว ท่านว่าเป็นอันหลุดพ้นไปเพราะการที่ได้ใช้ให้เช่นนั้น แม้กระทั่งบุคคลภายนอกจะเป็นเจ้าของทรัพย์หรือมีสิทธิอย่างอื่นเหนือทรัพย์นั้น เว้นแต่สิทธิของบุคคลภายนอกเช่นนั้นจะเป็นที่รู้อยู่แก่ตนหรือมิได้รู้เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ของตน"

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2538

ผลของมาตรา 441 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่บัญญัติให้ผู้ทำละเมิดเป็นอันหลุดพ้นจากหนี้ที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หากว่าได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลซึ่งเป็นผู้ครองสังหาริมทรัพย์อยู่ในขณะถูกทำละเมิดนี้เอง ย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้ครองสังหาริมทรัพย์อยู่ในขณะถูกทำละเมิดมีสิทธิรับชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดได้แม้กระทั่งผู้ครองสังหาริมทรัพย์นั้นจะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ก็ตาม เมื่อมีสิทธิที่จะรับชำระหนี้ได้ก็ย่อมมีสิทธิที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการรับชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีเช่นนี้ได้เช่นกัน ดังนั้น สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยกับ ส.ย่อมมีผลบังคับได้แม้ส. จะไม่ใช่เจ้าของรถยนต์คันที่ขับก็ตามและผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้สละแล้วนั้นระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะรับช่วงสิทธิได้

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถด้วยความประมาทชนรถคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์ได้ทำการซ่อมแซมรถคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้เป็นเงินจำนวน 70,382 บาท โจทก์จึงรับช่วงสิทธิมา โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระค่าเสียหายแต่จำเลยไม่ชำระขอให้บังคับจำเลยชำระเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย

จำเลยให้การว่า เหตุเกิดขึ้นเพราะความประมาทของนายสมเกียรติผู้ขับรถคันที่โจทก์รับประกันภัย หลังเกิดเหตุแล้วนายสมเกียรติกับจำเลยตกลงกันได้ โดยต่างฝ่ายต่างไม่เรียกร้องค่าเสียหายต่อกันและเจ้าพนักงานตำรวจลงบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีทั้งสองฝ่ายต่างได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าพนักงานสอบสวน สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของนายสมเกียรติที่มีต่อจำเลยจึงระงับไป โจทก์ไม่มีสิทธิรับช่วงสิทธิใด ๆ อีก ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "โจทก์ฎีกาว่านายสมเกียรติเป็นเพียงผู้ขับรถยนต์เท่านั้นไม่ใช่เจ้าของรถยนต์จึงไม่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ คดีนี้โจทก์ฎีกาได้แต่เฉพาะข้อกฎหมายศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238ประกอบมาตรา 247 ซึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า นายสมเกียรติเป็นผู้ขับรถยนต์คันที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยในขณะเฉี่ยวชนกันรถยนต์คันที่จำเลยขับ นายสมเกียรติจึงเป็นผู้ครอบครองและขับรถยนต์ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ในขณะเกิดเหตุ หากจำเลยรับผิดและใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายสมเกียรติ จำเลยย่อมหลุดพ้นไปเพราะการที่ได้ใช้ให้เช่นนั้น แม้บุคคลภายนอกจะเป็นเจ้าของทรัพย์ เว้นแต่สิทธิของบุคคลภายนอกเช่นนั้นจะเป็นที่รู้อยู่แก่ตนหรือมิได้รู้เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 441 และผลของมาตรา 441 ที่บัญญัติให้ผู้ทำละเมิดเป็นอันหลุดพ้นจากหนี้ที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหากว่าได้ใช้ค่าสินไหมให้แก่บุคคลซึ่งเป็นผู้ครองสังหาริมทรัพย์อยู่ในขณะถูกทำละเมิดนี้เอง ย่อมแสดงให้เห็นว่า ผู้ครองสังหาริมทรัพย์อยู่ในขณะถูกทำละเมิดมีสิทธิรับชำระค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดได้แม้กระทั่งผู้ครองสังหาริมทรัพย์นั้นจะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ก็ตามเมื่อมีสิทธิที่จะรับชำระหนี้ได้ก็ย่อมมีสิทธิที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการรับชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีเช่นนี้ได้เช่นกัน ดังนั้น สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยกับนายสมเกียรติย่อมมีผลบังคับได้แม้นายสมเกียรติจะไม่ใช่เจ้าของรถยนต์คันที่ขับก็ตาม และผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละแล้วนั้นระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 852 โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะรับช่วงสิทธิได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

หมายเหตุ

คดีละเมิดรถชนกันเสียหายอย่างคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ผู้ต้องเสียหายทางแพ่งที่แท้จริงคือเจ้าของรถคันที่โจทก์รับประกันไม่ใช่ ส.    ส่วน ส. จะเป็นลูกจ้าง ตัวแทนหรือมีฐานะเกี่ยวพันกับเจ้าของรถอย่างไรก็แล้วแต่ข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไปแต่ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะอย่างไร ส. จะมีสิทธิทำนิติกรรมใด ๆผูกพันเจ้าของรถหรือไม่ก็ยังต้องพิจารณาถึงอำนาจของ ส. ในการนี้ด้วยว่ามีอยู่หรือไม่

ปกติในกรณีเช่นนี้ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความ หากเจ้าของรถมิได้ทำเองก็จะต้องมีการมอบอำนาจหรือมีพฤติการณ์ที่เห็นได้ว่าผู้อื่นทำแทนได้ (เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2515 และ 553/2502)สัญญานั้นจึงจะมีผลผูกพันเจ้าของรถ

คดีนี้โจทก์ต่อสู้เป็นประเด็นในชั้นฎีกาด้วยว่า ส. ไม่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ข้อเท็จจริงที่ศาลฎีกาฟังยุติตามศาลอุทธรณ์มีเพียงว่าส. เป็นผู้ขับรถคันที่โจทก์รับประกันในขณะชนกับรถคันที่จำเลยขับ โดยไม่ปรากฏว่า ส. มีฐานะเกี่ยวพันอย่างไรกับเจ้าของรถและมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้มีผลผูกพันถึงเจ้าของรถหรือไม่

ศาลฎีกาให้เหตุผลในการวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวว่า ส. มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยเพราะโดยผลของมาตรา 441 แม้ ส. จะเป็นเพียงผู้ครอง (ขับ) รถคันที่โจทก์รับประกันในขณะเกิดเหตุละเมิด ก็ยังมีสิทธิรับชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดได้แม้ ส.จะไม่ใช่เจ้าของรถก็ตาม ดังนั้นส. จึงย่อมมีสิทธิที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการรับชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีเช่นนี้ได้เช่นกัน

โดยที่มาตรา 441 เป็นบทบัญญัติทำนองเดียวกับมาตรา 316 ในหมวด 5 ว่าด้วยความระงับแห่งหนี้ ส่วนที่ 1 ว่าด้วยการชำระหนี้คือเป็นการชำระหนี้แก่ผู้ครองตามปรากฏแห่งสิทธิ ซึ่งมีจุดประสงค์ที่กฎหมายต้องการผ่อนผันแก่ผู้ชำระหนี้ให้ได้รับความสะดวกไม่ต้องเสียเวลาสืบสวนเพื่อหยั่งรู้ให้แน่ชัดว่าใครเป็นผู้มีสิทธิรับชำระหนี้โดยแท้จริง (มรว.เสนีย์ปราโมช, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้เล่ม 2(ภาคจบบริบูรณ์) แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2505(จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช 2527),หน้า 1018) อันเป็นบทบัญญัติพิเศษต่างจากหลักทั่วไปของการชำระหนี้ตามมาตรา 315 ที่จะต้องทำแก่ตัวเจ้าหนี้หรือแก่บุคคลผู้มีผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ ทั้งมาตรา 441 ก็บัญญัติว่า"เมื่อใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลซึ่งเป็นผู้ครองทรัพย์นั้นอยู่ในขณะเอาไป หรือขณะที่ทำให้บุบสลายนั้นแล้ว ท่านว่าเป็นอันหลุดพ้นไปเพราะการที่ได้ใช้ให้เช่นนั้น" แสดงว่าจะต้องมีการใช้เงินค่าสินไหมทดแทนให้ตามจำนวนที่ผู้ครองทรัพย์อยู่ในขณะนั้นเรียกร้องก่อนปรากฏตัวเจ้าของ มาตรา 441 นี้จึงน่าจะไม่ใช้บังคับแก่กรณีมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่นโดยมิได้มีการชำระค่าสินไหมทดแทนกันจริง ๆ ในขณะนั้น (พจน์ปุษปาคม, คำอธิบายประมวลกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา 2530, หน้า 623) อย่างคดีที่บันทึกอยู่นี้ก็เป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยมิได้มีการชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ส. ในขณะนั้น หากแต่กลับตกลงประนีประนอมยอมความไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายต่อกัน ซึ่งในกรณีเช่นนี้ข้อพิจารณาที่แท้จริงจึงน่าจะต้องอยู่ที่บทบัญญัติลักษณะตัวแทนว่า ส. มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวหรือไม่

 ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง, gross negligence




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 59(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

การปลดหนี้ให้แก่ผู้ค้ำประกัน
การโอนเช็คด้วยการคบคิดกันฉ้อฉล
การถือเอาสิทธิแก่บุคคลภายนอกในกิจการซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตน
บันทึกเป็นหนังสือไม่เรียกร้องทรัพย์มรดก-การสละมรดก
ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้ขนส่งอื่น-การซื้อขายแบบ CIF
ลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
ภาระจำยอมโดยอายุความ
การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณี
ทำสัญญาเช่าหกปีไม่ได้จดทะเบียนเช่ามีผลบังคับได้เพียงสามปี article