ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณี

การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ, นิติกรรมอำพราง

ข้อ 2. นายเอกซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดแปลงหนึ่งขอกู้เงินจากนายโทจำนวน 500,000 บาท นายโทยังไม่มีเงินในขณะนั้นจึงให้นายเอกจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวให้นายโทเพื่อนายโทจะได้นำโฉนดที่ดินนั้นไปแสดงกับเพื่อนและยืมเงินจากเพื่อนมาให้นายเอกกู้ต่อไป นายเอกจดทะเบียนโอนขายที่ดินดังกล่าวให้นายโทโดยนายโทมิได้ชำระราคาที่ดินให้นายเอกในวันนั้น เพียงแต่นัดให้นายเอกไปรับเงินที่ขอกู้ที่บ้านนายโท หลังจากนั้นอีก 3 วัน เมื่อถึงวันนัดนายโทให้นายเอกทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินตามโฉนดที่ดินนั้นให้นายโทยึดถือไว้อีกฉบับหนึ่ง โดยมีข้อตกลงให้ไถ่ที่ดินคืนภายใน 3 ปี และกำหนดให้นายเอกชำระดอกเบี้ยให้นายโทเดือนละ 10,000 บาท แล้วนายโทมอบเงินที่ยืมจากเพื่อนให้นายเอกรับไปจำนวน 490,000 บาท โดยหักไว้เป็นดอกเบี้ย 10,000 บาท หลังจากนั้นนายเอกชำระดอกเบี้ยให้นายโททุกเดือน ๆ ละ 10,000 บาท เมื่อทำสัญญาขายฝากได้ 2 ปี นายเอกนำเงิน 500,000 บาท ไปขอไถ่ที่ดินคืนจากนายโท แต่นายโทไม่ยอมให้นายเอกไถ่ที่ดินคืนอ้างว่านายเอกได้ขายที่ดินนั้นให้นายโทโดยเด็ดขาดแล้วมิได้ขายฝากที่ดินนั้น นายเอกต้องการฟ้องบังคับให้นายโทคืนที่ดินดังกล่าวให้นายเอก


ให้วินิจฉัยว่า นายเอกจะฟ้องบังคับให้นายโทคืนที่ดินให้นายเอกได้หรือไม่


ธงคำตอบ

 การที่นายเอกจดทะเบียนโอนขายที่ดินมีโฉนดให้แก่นายโทโดยนายโทมิได้ชำระราคาที่ดินที่ซื้อให้แก่นายเอกแต่อย่างใด เพียงแต่นัดให้นายเอกไปรับเงินที่บ้านนายโทหลังจากนั้นอีก 3 วัน และในวันนัดนั้นนายโทให้นายเอกทำสัญญาขายฝากที่ดินนั้นให้อีกฉบับหนึ่ง โดยทำหนังสือสัญญากันเองมีข้อตกลงให้นายเอกไถ่ที่ดินคืนภายใน 3 ปี และให้นายเอกชำระดอกเบี้ยให้นายโทเดือนละ 10,000 บาท แล้วนายโทจ่ายเงินที่นายเอกขอกู้ให้นายเอกเป็นจำนวน 490,000 บาท โดยหักเงิน10,000 บาท ไว้เป็นดอกเบี้ยนั้น แสดงให้เห็นว่านายเอกและนายโทมิได้ตั้งใจจะผูกพันกันตามสัญญาซื้อขาย ถือได้ว่านายเอกและนายโททำสัญญาซื้อขายเพื่ออำพรางสัญญาขายฝาก สัญญาซื้อขายจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมา ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ส่วนสัญญาขายฝากที่ถูกอำพรางไว้โดยสัญญาซื้อขายนั้นต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 155 วรรคสอง เมื่อนายเอกและนายโทมีเจตนาทำสัญญาขายฝากที่ดินกัน แต่การขายฝากไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย สัญญาขายฝากที่ดินจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 152 บังคับตามสัญญาขายฝากนั้นไม่ได้เช่นเดียวกัน คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกันมาตั้งแต่แรก กรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ตามมาตรา 172 วรรคสอง และมาตรา 406 วรรคหนึ่ง ที่ดินที่นายโทได้รับมาเป็นลาภมิควรได้แก่นายโท

นายเอกจึงฟ้องบังคับให้นายโทคืนที่ดินนั้นให้นายเอกได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 165/2527) 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 155 "การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะแต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้
ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรม อื่นให้นำบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพราง มาใช้บังคับ"

มาตรา 152 "การใดมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ การนั้นเป็นโมฆะ"

มาตรา 172 "โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้
ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับ"

มาตรา 406 "บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดเพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งกระทำเพื่อชำระหนี้ก็ดีหรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเสียเปรียบไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นจำต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา อนึ่งการรับสภาพหนี้สินว่ามีอยู่หรือหาไม่นั้น ท่านก็ให้ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อชำระหนี้ด้วย
บทบัญญัติอันนี้ท่านให้ใช้บังคับตลอดถึงกรณีที่ได้ทรัพย์มาเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้นหรือเป็นเหตุที่ได้ สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้วนั้นด้วย"

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 165/2527

โจทก์ต้องการกู้เงินจำเลย จำเลยไม่มีเงิน จึงตกลงจดทะเบียนซื้อขายที่พิพาทมี น.ส.3ก. เพื่อจำเลยจะได้นำน.ส.3ก. ไปยืมเงินเพื่อนมาให้โจทก์กู้ หลังจากนั้นอีก4 วันโจทก์มารับเงินจากจำเลย แล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาขายฝากที่พิพาทกันเอง ดังนี้ ถือได้ว่าการทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทเพื่ออำพรางสัญญาขายฝาก สัญญาซื้อขายจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมขายฝากที่ถูกอำพรางไว้ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 115 กรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้โจทก์ต้องคืนเงินให้จำเลย และจำเลยต้องคืนที่ดินให้โจทก์

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เอาที่ดินตาม น.ส.3 ก. ของโจทก์ทำสัญญาขายฝากไว้แก่จำเลยเพื่อยืมเงินจากจำเลย 30,000 บาท แต่เนื่องจากจำเลยอ่านหนังสือไม่ออกจึงไม่ทราบว่าสัญญาที่ทำเป็นสัญญาซื้อขายมิใช่สัญญาขายฝาก ในวันเดียวกันที่ทำสัญญาดังกล่าว จำเลยได้ทำสัญญากับโจทก์ว่าการทำสัญญาซื้อขายข้างต้นนั้นเป็นการขายฝากที่ดินมีกำหนด 2 ปี สัญญาซื้อขายที่ดินจึงเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝาก ต่อมาโจทก์ขอไถ่ถอนที่ดินจากจำเลย จำเลยไม่ยอมให้ไถ่ถอนขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรับเงินจากโจทก์และโอนที่พิพาทคืนโจทก์

จำเลยให้การว่า ความจริงโจทก์ประสงค์ขายที่พิพาทให้จำเลย สัญญาซื้อขายไม่ใช่นิติกรรมอำพราง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยรับเงินจากโจทก์และจดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนโจทก์

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์จำเลยมิได้ตั้งใจผูกพันตามสัญญาซื้อขายเป็นเรื่องที่จำเลยต้องการให้โอนใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ น.ส.3 ก. ในที่พิพาทเพื่อจะได้นำ น.ส.3 ก. ดังกล่าวไปยืมเงินจากเพื่อนมาให้โจทก์กู้ยืมเพื่อต้องการดอกเบี้ยเท่านั้น จึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทเพื่ออำพรางสัญญาขายฝาก สัญญาซื้อขายจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออก จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมขายฝากที่ถูกอำพรางไว้โดยสัญญาซื้อขายนั้นต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมอันที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 วรรคสอง เมื่อการขายฝากไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 115 บังคับตามนิติกรรมที่ทำกันไว้ไม่ได้ คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม กรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ โจทก์ต้องคืนเงินให้จำเลยจำเลยต้องคืนที่พิพาทให้โจทก์

พิพากษายืน

นิติกรรมขายที่ดินเพื่ออำพรางนิติกรรมให้

เจ้าของที่ดินมีเจตนายกที่ดินให้แก่หลานแต่จดทะเบียนนิติกรรมเป็นการขาย ดังนี้ถือได้ว่าการจดทะเบียนนิติกรรมขายที่ดินเพื่ออำพรางนิติกรรมให้ ทำให้นิติกรรมการขายที่ดินเป็นการแสดงเจตนาด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี นิติกรรมดังกล่าวย่อมเป็นโมฆะ การที่เจ้าของที่ดินจดทะเบียนนิติกรรมขายมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน คือที่ดินเช่นเดียวกับนิติกรรมให้ต่างกันเพียงว่ามีค่าตอบแทนแก่กันหรือไม่เท่านั้น ย่อมถือได้ว่าการจดทะเบียนขายดังกล่าวเป็นการทำหนังสือและจดทะเบียนสำหรับการให้ที่ถูกอำพรางด้วยโดยอนุโลม นิติกรรมการให้ที่ดิน จึงไม่เป็นโมฆะและมีผลบังคับได้ -คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6342/2552 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8727/2561

โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 มีเจตนาเช่าที่ดินพิพาทกันตามสัญญาเช่าที่ดินฉบับที่ระบุค่าเช่าเดือนละ 1,800,000 บาท มิได้มีเจตนาที่จะผูกพันกันตามหนังสือสัญญาเช่าที่ดินฉบับที่ระบุค่าเช่าเดือนละ 120,000 บาท ที่ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานที่ดิน ซึ่งทำขึ้นโดยมีเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 เพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง จึงต้องผูกพันกันตามหนังสือสัญญาเช่าฉบับค่าเช่าเดือนละ 1,800,000 บาท ซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง แต่เมื่อโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญาเช่า ระบุค่าเช่าต่ำกว่าความเป็นจริงและนำไปจดทะเบียนเพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการเช่าและภาษีอากร ถือว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจโดยไม่สุจริตด้วยกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ โจทก์ทั้งสองไม่อาจยกเอาความไม่สุจริตดังกล่าวขึ้นมาเรียกร้องค่าเช่าที่ดินและขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินพิพาท โดยอาศัยหนังสือสัญญาเช่าที่ดิน ที่ระบุค่าเช่าที่ดินเดือนละ 1,800,000 บาท ซึ่งเป็นนิติกรรมที่ได้อำพรางไว้ได้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 (เดิม)




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 59(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

ผู้ทำละเมิดหลุดพ้นในมูลละเมิด
การปลดหนี้ให้แก่ผู้ค้ำประกัน
การโอนเช็คด้วยการคบคิดกันฉ้อฉล
การถือเอาสิทธิแก่บุคคลภายนอกในกิจการซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตน
บันทึกเป็นหนังสือไม่เรียกร้องทรัพย์มรดก-การสละมรดก
ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้ขนส่งอื่น-การซื้อขายแบบ CIF
ลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
ภาระจำยอมโดยอายุความ
ทำสัญญาเช่าหกปีไม่ได้จดทะเบียนเช่ามีผลบังคับได้เพียงสามปี