ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดี

คำฟ้องที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดี

ข้อ 1. นายเอกเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของนายโท ในคดีแพ่งของศาลจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพิพากษาให้นายโท ชำระหนี้จำนวน 800,000 บาท แก่นายเอก ต่อมานายเอก และนายโท ได้ทำบันทึกข้อตกลงกันว่าให้นายโท ชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวแก่นายเอก จำนวน 500,000 บาท ส่วนที่เหลือนายเอก ไม่ติดใจดำเนินการบังคับคดีแก่นายโท อีกต่อไป บันทึกข้อตกลงดังกล่าวทำขึ้น ณ ภูมิลำเนาของนายเอก ที่จังหวัดเชียงใหม่ นายโท ได้ชำระเงินตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้แก่นายเอก ครบถ้วนแล้ว แต่นายเอก ได้ดำเนินการบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 1122 ของนายโท ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดลำปาง นายโท จึงยื่นฟ้องนายเอก เป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่โดยกล่าวมาในคำฟ้องว่านายเอก ผิดสัญญาเป็นเหตุให้นายโท ได้รับความเสียหาย และมีคำขอบังคับ ขอให้เพิกถอนการยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 1122 ของนายโท หากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย

ให้วินิจฉัยว่า ศาลจังหวัดเชียงใหม่ จะรับคำฟ้องไว้พิจารณาได้หรือไม่

 ธงคำตอบ

คำฟ้องของนายโท กล่าวอ้างว่า นายเอก ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของนายโท ในคดีของศาลจังหวัดเชียงใหม่ดำเนินการบังคับคดีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากนายโท กับนายเอกตกลงกันว่า ให้นายโท ชำระหนี้ตามคำพิพากษาเพียง 500,000 บาท นอกนั้นไม่ติดใจดำเนินการบังคับคดีแก่นายโท นายโท ชำระหนี้ตามข้อตกลงครบถ้วนแล้ว นายเอก ไม่มีสิทธิดำเนินการบังคับคดีแก่นายโท ขอให้เพิกถอนการบังคับคดีเสีย แม้นายโท จะกล่าวมาในคำฟ้องว่า นายเอกผิดสัญญาเป็นเหตุให้นายโท เสียหายอันเป็นข้อโต้แย้งสิทธิของนายโท มาด้วยก็ตาม แต่นายโท มิได้มีคำขอบังคับให้นายเอก ชดใช้ค่าเสียหายจากการที่นายเอก ผิดสัญญา โดยเพียงแต่ขอให้เพิกถอนการบังคับคดีในคดีเดิมเท่านั้น คำฟ้องของนายโท จึงเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ซึ่งคำฟ้องหรือคำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปโดยครบถ้วนและถูกต้องตามบทกฎหมายดังกล่าว กรณีเช่นว่านี้ นายโท ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลในคดีเดิม มิใช่ฟ้องเป็นคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7 (2) และ มาตรา 302 (คำพิพากษาฎีกาที่ 8612/2549) ศาลจังหวัดเชียงใหม่ชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 7 บทบัญญัติในมาตรา 4 มาตรา 4 ทวิ มาตรา 4 ตรี มาตรา 4 จัตวา มาตรา 4 เบญจ มาตรา 4 ฉ มาตรา 5 และมาตรา 6 ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติดังต่อไปนี้

(1) คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอภายหลังเกี่ยวเนื่องกับคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลใด ให้เสนอต่อศาลนั้น

(2) คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลซึ่งคำฟ้องหรือคำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้องนั้น ให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา 302

(3) คำร้องตามมาตรา 101 ถ้าได้เสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลใดแล้วให้เสนอต่อศาลนั้น ในกรณีที่ยังไม่ได้เสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลใด ถ้าพยานหลักฐานซึ่งจะเรียกมาสืบหรือบุคคลหรือทรัพย์หรือสถานที่ที่จะต้องตรวจอยู่ในเขตศาลใด ให้เสนอต่อศาลนั้น

(4) คำร้องที่เสนอให้ศาลถอนคืนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือการอนุญาตที่ศาลได้ให้ไว้ก็ดี คำร้องที่เสนอให้ศาลถอดถอนบุคคลใดจากฐานะที่ศาลได้แต่งตั้งไว้ก็ดี คำร้องที่เสนอให้ศาลมีคำสั่งใดที่เกี่ยวกับการถอนคืนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือการอนุญาตหรือที่เกี่ยวกับการแต่งตั้งเช่นว่านั้นก็ดี คำร้องขอหรือคำร้องอื่นใดที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งไปแล้วก็ดี ให้เสนอต่อศาลในคดีที่ได้มีคำสั่งการอนุญาต การแต่งตั้ง หรือคำพิพากษานั้น

มาตรา 302 ศาลมีอำนาจออกหมายบังคับคดีหรือหมายจับลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งได้เสนอต่อศาลตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้ คือ ศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น

ถ้าศาลอุทธรณ์ได้ส่งคดีไปยังศาลชั้นต้นแห่งอื่นที่มิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่อุทธรณ์นั้นเพื่อการพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามมาตรา 243 (2) และ (3) ให้ศาลที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่นั้นเป็นศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดี เว้นแต่ศาลอุทธรณ์จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

ในกรณีที่ศาลได้ออกหมายบังคับคดีส่งไปให้อีกศาลหนึ่งบังคับคดีแทนให้ส่งทรัพย์ที่ยึดได้หรือเงินที่ได้จากการขายทรัพย์นั้น แล้วแต่กรณี ไปยังศาลที่ออกหมายเพื่อดำเนินการไปตามกฎหมาย

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8612/2549

คำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ดำเนินการบังคับคดีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากโจทก์จำเลยตกลงกันว่าให้โจทก์ชำระหนี้ตามคำพิพากษาเพียง 360,000 บาท นอกนั้นไม่ติดใจดำเนินการบังคับคดีกับโจทก์ โจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิบังคับคดีกับโจทก์ ขอให้เพิกถอนการบังคับคดีเสีย แม้โจทก์จะกล่าวมาในคำฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายอันเป็นข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์มาด้วย แต่โจทก์มิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการที่จำเลยผิดสัญญา คำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลในคดีเดิม มิใช่ฟ้องเป็นคดีใหม่

ตามคำร้องของโจทก์ที่ยื่นในคดีเดิมเป็นเรื่องที่อ้างว่าการดำเนินการบังคับคดีในคดีเดิมไม่ชอบด้วยกฎหมายและขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการยึดทรัพย์ เป็นคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลซึ่งคำฟ้องหรือคำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปโดยครบถ้วนและถูกต้องและได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นในคดีเดิมซึ่งเป็นศาลที่ได้พิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 302 ซึ่งศาลชั้นต้นชอบที่จะนัดพร้อมเพื่อสอบถามคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเสียก่อนที่จะได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องโดยมิได้นัดพร้อมหรือนัดไต่สวน โจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นที่สุดแล้ว แต่โจทก์ก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีต่อศาลชั้นต้นในกรณีดังกล่าวอีกได้เพราะเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีตามมาตรา 148 (1)

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมของโจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ 1408/2540 ของศาลชั้นต้น ต่อมาโจทก์และจำเลยทำบันทึกข้อตกลงกันว่าให้โจทก์ชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวแก่จำเลยจำนวน 360,000 บาท ส่วนที่เหลือจำเลยไม่ติดใจดำเนินการบังคับคดีกับโจทก์อีกต่อไป โจทก์ได้ชำระเงินตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว ต่อมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 จำเลยได้ดำเนินการบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 11594 ของโจทก์ การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้เพิกถอนการยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 11594 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ของโจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย

ศาลชั้นต้นตรวจพิจารณาคำฟ้องแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์เพียงขอบังคับให้ถอนการยึดทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ต้องยื่นคำร้องและว่ากล่าวกันในคดีเดิมที่มีการยึดทรัพย์ โจทก์ไม่อาจฟ้องเป็นคดีใหม่ได้ จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง คืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์ทั้งหมด

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืนค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงได้ความว่า เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2547 โจทก์ยื่นคำร้องในคดีหมายเลขแดงที่ 1408/2540 ของศาลชั้นต้นว่า โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 3 และเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษากับจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์และเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวได้ทำบันทึกข้อตกลงกันว่าให้โจทก์ชำระหนี้ตามคำพิพากษาจำนวน 360,000 บาท นอกจากนั้นจะไม่ดำเนินคดีหรือบังคับคดีกับโจทก์ต่อไป โจทก์ชำระเงินครบถ้วนตามข้อตกลงแล้ว แต่จำเลยกลับดำเนินการบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 11594 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ของโจทก์ การดำเนินการบังคับดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ไต่สวนและมีคำสั่งให้เพิกถอนการยึดทรัพย์ดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าตรวจสำนวนแล้วยังไม่ปรากฏหลักฐานว่าโจทก์ทำการยึดทรัพย์จำเลยที่ 3 ตามที่อ้าง ประกอบกับข้ออ้างของจำเลยที่ 3 ที่ว่ามีข้อตกลงกับโจทก์นั้นเป็นข้อตกลงนอกสำนวนว่ากล่าวกันเองต่างหาก ในชั้นนี้เห็นควรให้ยกคำร้อง วันที่ 4 มีนาคม 2547 โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ต่อศาลชั้นต้น มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7 (2) บัญญัติว่า "คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลซึ่งคำฟ้องหรือคำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้องนั้น ให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดี ตามมาตรา 302" และมาตรา 302 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีหรือหมายจับลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใดๆ อันเกี่ยวด้วยกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งได้เสนอต่อศาลตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้ คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น" ปรากฏว่า ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ 1408/2540 ของศาลชั้นต้นดำเนินการบังคับคดีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากโจทก์จำเลยตกลงกันว่าให้โจทก์ชำระหนี้ตามคำพิพากษาเพียง 360,000 บาท นอกนั้นไม่ติดใจดำเนินการบังคับคดีกับโจทก์ โจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยตามข้อตกลงครบถ้วนแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิดำเนินการบังคับคดีกับโจทก์ ขอให้เพิกถอนการบังคับคดีเสียแม้โจทก์จะกล่าวมาในคำฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายอันเป็นข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์มาด้วยก็ตาม แต่โจทก์มิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการที่จำเลยผิดสัญญาโดยเพียงแต่ขอให้เพิกถอนการบังคับในคดีเดิมเท่านั้น คำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ซึ่งคำฟ้องหรือคำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้องตามบทกฎหมายดังกล่าว กรณีเช่นว่านี้ โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลในคดีเดิม มิใช่ฟ้องเป็นคดีใหม่ ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า โจทก์เคยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการบังคับคดีโดยอ้างเหตุเดียวกันกับที่บรรยายคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นในคดีเดิมแล้ว แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องโดยวินิจฉัยว่าเป็นข้อตกลงนอกสำนวนต้องไปว่ากล่าวกันต่างหาก โจทก์จึงเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นเป็นคดีใหม่นั้น เห็นว่า ตามคำร้องของโจทก์ฉบับลงวันที่ 20 มกราคม 2547 ที่ยื่นในคดีหมายเลขแดงที่ 1408/2540 ของศาลชั้นต้นเป็นเรื่องที่อ้างว่าการดำเนินการบังคับคดีในคดีเดิมไม่ชอบด้วยกฎหมายและขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการยึดทรัพย์ เป็นคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลซึ่งคำฟ้องหรือคำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปโดยครบถ้วนและถูกต้องและได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นในคดีเดิมซึ่งเป็นศาลที่ได้พิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีตามมาตรา 302 ซึ่งศาลชั้นต้นชอบที่จะนัดพร้อมเพื่อสอบถามคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเสียก่อนที่จะได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องโดยมิได้นัดพร้อมหรือนัดไต่สวนโจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นที่สุดแล้ว แต่อย่างไรก็ตามโจทก์ก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีต่อศาลชั้นต้นในกรณีดังกล่าวอีกได้ เพราะเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 (1) ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์ และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืนมานั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.




การสอบเนติบัณฑิต ภาคสอง สมัยที่ 60 (วิชาวิธีพิจารณาความแพ่ง)

การฟ้องซ้ำกับ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ขอแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การ จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน
โจทก์ขาดนัดพิจารณาโจทก์จึงไม่มีพยานมาสืบในประเด็นข้อพิพาทจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ
ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์
คำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนพิพากษาไม่ใช่การบังคับคดีตามคำพิพากษา กรณีไม่ต้องห้ามมิให้ยึดซ้ำ
อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้
องค์คณะผู้พิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
การบังคับคดีล่วงเลยเวลา 10 ปี