ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์

ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

 ข้อ 5. โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์ประมาทเลินเล่อโดยถอยรถขึ้นมาบนถนนอย่างกะทันหัน เป็นเหตุให้เฉี่ยวชนกับรถคันที่บุตรโจทก์ขับ ทำให้รถโจทก์เสียหาย ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นค่าซ่อมรถยนต์จำนวน 120,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยให้การว่า บุตรโจทก์ขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่อ ทำให้รถเสียหลักตกไหล่ทางแล้วพุ่งเข้าชนรถจำเลยซึ่งตกหล่มอยู่ จำเลยจึงไม่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายสูงกว่าความเป็นจริง และฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่ได้บรรยายฟ้องว่าบุตรโจทก์กระทำการในฐานะเป็นอะไรกับโจทก์ และบุตรโจทก์ยังเป็นผู้เยาว์หรือบรรลุนิติภาวะแล้ว ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเหตุที่รถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลย แต่เห็นว่าค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมานั้นสูงเกินไป และฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ว่า

(ก) พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าเหตุละเมิดเกิดเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลย

(ข) ฟ้องโจทก์เคลือบคุม เพราะโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าบุตรโจทก์ขับรถมาด้วยความเร็วปกติและใช้ความระมัดระวังเต็มที่พอที่จะให้จำเลยทราบสภาพแห่งข้อหาและแก้ข้อกล่าวหาได้อย่างเพียงพอ

ให้วินิจฉัยว่า จำเลยจะอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวได้หรือไม่

ธงคำตอบ

(ก) โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 120,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเพียง 50,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย และโจทก์มิได้อุทธรณ์ ถือว่าโจทก์พอใจตามคำพิพากษา เมื่อจำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวว่าไม่ต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ต้องถือว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์มีเท่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินคือ 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเท่านั้น และดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ก็จะนำมาคำนวณรวมเป็นทุนทรัพย์ไม่ได้ จึงต้องถือว่าคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท (คำพิพากษาฎีกาที่ 5894/2541) ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าเหตุละเมิดเกิดเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง (คำพิพากษาฎีกาที่ 89/2540, 8984/2541) อุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ไม่ได้

(ข) ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่จำเลยให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะมิได้บรรยายฟ้องให้ชัดเจนว่าบุตรโจทก์กระทำการในฐานะเป็นอะไรกับโจทก์ และบุตรโจทก์ยังเป็นผู้เยาว์หรือบรรลุนิติภาวะแล้ว ซึ่งแตกต่างกับที่จำเลยอุทธรณ์ว่าฟัองโจทก์เคลือบคลุม เพราะโจทก์ไม่ได้บรรยายฟัองว่าบุตรโจทก์ขับรถมาด้วยความเร็วปกติและใช้ความระมัดระวังอย่างเต็มที่ อุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง (คำพิพากษาฎีกาที่ 2864/2546) จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ไม่ได้

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 

มาตรา 224 ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทำความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคำรับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอำนาจ แล้วแต่กรณี

บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิได้ให้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัวและคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เว้นแต่ในคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

การขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้น พร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น เมื่อศาลได้รับคำร้องเช่นว่านั้น ให้ศาลส่งคำร้องพร้อมด้วยสำนวนความไปยังผู้พิพากษาดังกล่าวเพื่อพิจารณารับรอง 

มาตรา 225 ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์ คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5894/2541 

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224กำหนดว่าในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 105,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเพียงห้าหมื่นบาทพร้อมดอกเบี้ย และโจทก์มิได้อุทธรณ์ถือว่าโจทก์พอใจตามคำพิพากษา เมื่อจำเลยอุทธรณ์แต่ฝ่ายเดียวว่าไม่ต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ต้องถือว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์มีเท่ากับที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระคือห้าหมื่นบาทพร้อมดอกเบี้ยเท่านั้นและดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จก็จะนำมาคำนวณรวมเป็นทุนทรัพย์ไม่ได้ จึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท จำเลยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงไม่ได้ 

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์กระบะเฉี่ยวชนกับรถยนต์หมายเลขทะเบียน 6 ท-3844 กรุงเทพมหานครและแล่นขึ้นไปชนโจทก์ซึ่งเดินอยู่บนทางเท้าได้รับบาดเจ็บสาหัสขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 105,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 50,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง(วันที่ 20 มิถุนายน 2539) จนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกอุทธรณ์จำเลย

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นสั่งรับมีเพียงข้อเดียวว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์เท่าใดและต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 บัญญัติว่า ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 105,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเพียงห้าหมื่นบาทพร้อมดอกเบี้ยและโจทก์มิได้อุทธรณ์ถือว่าโจทก์พอใจตามคำพิพากษา เมื่อจำเลยอุทธรณ์แต่ฝ่ายเดียวว่าไม่ต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ก็ต้องถือว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์มีเท่ากับที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระคือห้าหมื่นบาทพร้อมดอกเบี้ยเท่านั้นและดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จก็จะนำมาคำนวณรวมเป็นทุนทรัพย์ไม่ได้ จึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท เมื่อจำเลยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงเป็นการชอบแล้วฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน 




การสอบเนติบัณฑิต ภาคสอง สมัยที่ 60 (วิชาวิธีพิจารณาความแพ่ง)

คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดี
การฟ้องซ้ำกับ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ขอแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การ จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน
โจทก์ขาดนัดพิจารณาโจทก์จึงไม่มีพยานมาสืบในประเด็นข้อพิพาทจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ
คำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนพิพากษาไม่ใช่การบังคับคดีตามคำพิพากษา กรณีไม่ต้องห้ามมิให้ยึดซ้ำ
อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้
องค์คณะผู้พิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
การบังคับคดีล่วงเลยเวลา 10 ปี