ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้

อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้

ข้อ 8. ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของนายสุเทพ เด็ดขาด นายสุเทพ ยื่นคำชี้แจงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า นายสุเทพ ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของนายเฉลิม ได้นำยึดที่ดินมีโฉนด 1 แปลงของนายเฉลิม แต่นายฉลาด ยื่นคำร้องขัดทรัพย์อ้างว่าที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นของตน ขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด ศาลในคดีแพ่งพิจารณาแล้วเห็นว่าที่ดินเป็นของนายฉลาด จึงให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด คดีอยู่ในระหว่างระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นอุทธรณ์ต่อไป เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาพยานหลักฐานแล้วเห็นชอบด้วยกับเหตุผลของศาล และมีคำสั่งไม่อุทธรณ์คดีร้องขัดทรัพย์ดังกล่าว

ให้วินิจฉัยว่า การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งไม่อุทธรณ์คดีร้องขัดทรัพย์โดยไม่ได้ขอความเห็นชอบของที่ประชุมเจ้าหนี้นั้นชอบด้วยกฎหมายไหรือไม่

ธงคำตอบ

ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(3) เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ และมาตรา 25 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแพ่งทั้งปวงอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์

 คดีที่นายสุเทพ นำยึดทรัพย์สินของนายเฉลิม ลูกหนี้ตามคำพิพากษาออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้และมีนายฉลาด ร้องขัดทรัพย์ เช่นนี้ ถือว่าเป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของนายสุเทพ ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามบทบัญญัติมาตรา 22 (3) และมาตรา 25 ดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะอุทธรณ์คำสั่งศาลในคดีร้องขัดทรัพย์นั้นต่อไปหรือไม่ ย่อมเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในอันที่จะใช้ดุลพินิจเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่กองทรัพย์สินของนายสุเทพ ลูกหนี้ กรณีหาใช่เป็นการสละสิทธิหรือการเริ่มต้นฟ้องคดีใหม่ หรือถอนฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินในคดีล้มละลายที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของที่ประชุมเจ้าหนี้ก่อนตามมาตรา 145 (3) และ (4) ประกอบมาตรา 41 (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 3160/2535 และ 4230/2548)

 ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งไม่อุทธรณ์คดีร้องขัดทรัพย์โดยไม่ได้รับความเห็นชอบของที่ประชุมเจ้าหนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย

 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 

มาตรา ๒๒ เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้

(๑) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป

(๒) เก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น

(๓) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้

  มาตรา ๒๕ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแพ่งทั้งปวงอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ศาลมีอำนาจงดการพิจารณาคดีแพ่งนั้นไว้ หรือจะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้

  มาตรา ๑๔๕ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกระทำการดังต่อไปนี้ได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้แล้ว

(๑) ถอนการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย

(๒) โอนทรัพย์สินใดๆ นอกจากโดยวิธีขายทอดตลาด

(๓) สละสิทธิ

(๔) ฟ้องหรือถอนฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินในคดีล้มละลายหรือฟ้องหรือถอนฟ้องคดีล้มละลาย

(๕) ประนีประนอมยอมความหรือมอบคดีให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

 มาตรา ๔๑ ถ้าไม่ได้ตั้งกรรมการเจ้าหนี้ไว้ การกระทำใดๆ ที่พระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้ว่า ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้ก่อนนั้น ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้

 คำพิพากษาฎีกาที่ 3260/2535       

การขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 114 เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องขอต่อศาล เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไม่เพิกถอนการโอนทรัพย์สินดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อไปหรือไม่ ย่อมเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะเท่านั้น ทั้งกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกระทำการใดได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้แล้ว มีแต่เฉพาะการกระทำตามมาตรา 145(1) ถึง (5)เท่านั้น แต่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นมิใช่เป็นการสละสิทธิตามมาตรา 145(3) จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้เสียก่อน การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำวินิจฉัยไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าได้ใช้ดุลพินิจสั่งโดยไม่ชอบ จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 146 ได้  

คดีนี้สืบเนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลูกหนี้ (จำเลย)เป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 8750 พร้อมตึกแถวเลขที่ 149 และ 149/1-4 ระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านและให้กลับคืนสู่ฐานะเดิม หากไม่สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิมได้ ให้ผู้คัดค้านใช้ราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นเงิน 24,285,600 บาทและดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันยื่นคำร้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำพิพากษาให้ยกคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบแล้ว จึงมีคำวินิจฉัยไม่อุทธรณ์

เจ้าหนี้รายที่ 26 ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำวินิจฉัยไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอเพิกถอนการโอนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นการกระทำโดยไม่ได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้จึงไม่ผูกพันเจ้าหนี้รายที่ 26 และเจ้าหนี้ทั้งหลาย ทั้งทำให้เจ้าหนี้รายที่ 26 และเจ้าหนี้ทั้งหลายได้รับความเสียหายขอให้มีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อไป

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยืนตามคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ยกคำร้อง เจ้าหนี้รายที่ 26 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เจ้าหนี้รายที่ 26 ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "การขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องขอต่อศาล คดีนี้เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านต่อศาลชั้นต้นแล้ว การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลจึงเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไม่เพิกถอนการโอนทรัพย์สินดังกล่าวโดยเห็นว่าผู้คัดค้านรับโอนไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน จึงให้ยกคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อไปหรือไม่ย่อมเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะเท่านั้นฉะนั้นที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำวินิจฉัยไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ส่วนกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกระทำการใดได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้แล้ว มีแต่เฉพาะการกระทำตามมาตรา 145(1) ถึง (5) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483เท่านั้น แต่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวหาใช่เป็นการสละสิทธิตามมาตรา 145(3)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ไม่ ทั้งถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้เสียก่อนดังที่เจ้าหนี้รายที่ 26 ฎีกาแต่อย่างใด การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำวินิจฉัยไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าได้ใช้ดุลพินิจสั่งโดยไม่ชอบแต่ประการใด จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้รายที่ 26 ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้ กรณีจึงต้องยกคำร้องของเจ้าหนี้รายที่ 26 เสีย โดยไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาอื่นตามฎีกาของเจ้าหนี้รายที่ 26 ต่อไปอีก ที่ศาลล่างทั้งสองให้ยกคำร้องของเจ้าหนี้รายที่ 26 มานั้นชอบแล้ว"

พิพากษายืน

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4230/2548 

ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 (3) เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำจาจในการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย คดีที่จำเลยนำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ของจำเลยออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ และมีผู้อื่นร้องขัดทรัพย์ก็ถือว่าเป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินจึงอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในคดีร้องขัดทรัพย์ต่อไปหรือไม่ย่อมเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพญืในอันที่จะใช้ดุลพินิจเพื่อก่อให้เกิประโยชน์แก่กองทรัพย์สินของจำเลย 

การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลย เป็นกรณีตามพระราชบัญญัติล้าละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 25 กรณีหาใช่เป็นการเริ่มต้นฟ้องใหม่ หรือถอนฟ้องคดีที่จำเลยได้ยื่นฟ้องไว้แล้วตามมาตรา 145 (4) จึงไม่ต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้หรือกรรมการเจ้าหนี้

  อำนาจในการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  8707/2555

        ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 บัญญัติว่า “เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้...(3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้” การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอกันส่วนจากเงินขายทอดตลาดที่ดิน ซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้ล้มละลายมีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วย ย่อมมีผลเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 อำนาจในการต่อสู้คดีนี้ของจำเลยที่ 1 จึงตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยที่ 1 หามีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาต่อสู้คดีด้วยตนเองไม่ ที่ศาลชั้นต้นไม่ส่งสำเนาคำร้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เพื่อเข้าดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบ
 
 




การสอบเนติบัณฑิต ภาคสอง สมัยที่ 60 (วิชาวิธีพิจารณาความแพ่ง)

คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดี
การฟ้องซ้ำกับ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ขอแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การ จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน
โจทก์ขาดนัดพิจารณาโจทก์จึงไม่มีพยานมาสืบในประเด็นข้อพิพาทจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ
ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์
คำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนพิพากษาไม่ใช่การบังคับคดีตามคำพิพากษา กรณีไม่ต้องห้ามมิให้ยึดซ้ำ
องค์คณะผู้พิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
การบังคับคดีล่วงเลยเวลา 10 ปี