ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การฟ้องซ้ำกับ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

การฟ้องซ้ำ กับ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ฟ้องบุกรุกต่อสู้ครอบครอง

ข้อ 2. นายเงิน เป็นโจทก์ฟ้องนายทอง เป็นจำเลยต่อศาลว่า นายเงิน เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 1234 นายทองได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินดังกล่าว ขอให้ขับไล่และเรียกค่าเสียหาย นายทอง ให้การต่อสู้คดีว่า ได้ครอบครองที่ดินเกินกว่าสิบปีแล้ว ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของตนโดยการครอบครองปรปักษ์ ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า นายทอง ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ พิพากษาขับไล่และให้ใช้ค่าเสียหาย นายทอง ยื่นอุทธรณ์ คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ นายทอง ได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1234 เป็นกรรมสิทธิ์ของนายทอง โดยการครอบครองปรปักษ์ นายเงินคัดค้านว่า การที่นายทอง มายื่นคำร้องขอในคดีนี้เป็นฟ้องซ้ำ หรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

ให้วินิจฉัยว่า ข้อต่อสู้ของนายเงินฟังขึ้นหรือไม่

 ธงคำตอบ

กรณีที่จะเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 นั้น คดีก่อนจะต้องถึงที่สุดแล้ว เมื่อคดีที่นายเงินเป็นโจทก์ฟ้องนายทอง ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ คดียังไม่ถึงที่สุด การที่นายทองมายื่นคำร้องขอในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ (คำพิพากษาฎีกาที่ 2241/2515) ข้อต่อสู้ของนายเงินฟังไม่ขึ้น

คดีเดิม นายเงินเป็นโจทก์ฟ้องนายทองว่าบุกรุกที่ดินโฉนดเลขที่ 1234 ของนายเงิน ขอให้ขับไล่นายทองให้การว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของตนโดยการครอบครองปรปัก์ ซึ่งมีประเด็นว่า นายทอง ได้ครอบครองที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ การที่นายทองมายื่นคำร้องขอในคดีนี้ขณะที่คดีเดิมยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ว่า นายทองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 1234 โดยการครอบครองปรปักษ์ ซึ่งจะต้องพิจารณาว่า นายทอง ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว โดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่อันเป็นประเด็นเดียวกับที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยมาแล้วในคดีเดิม เมื่อประเด็นแห่งคดีเหมือนกันและเป็นคู่ความเดียวกัน คำร้องขอของนายทอง จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 (คำพิพากษาฎีกาที่ 1510/2535) ข้อต่อสู้ของนายเงินฟังขึ้น

  กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 

มาตรา 148 คดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้

(1) เมื่อเป็นกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล

(2) เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งได้กำหนดวิธีการชั่วคราวให้อยู่ภายในบังคับที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกเสียได้ตามพฤติการณ์

(3) เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้ยกฟ้องเสียโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ ในศาลเดียวกันหรือในศาลอื่น ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ

  มาตรา 144 เมื่อศาลใดมีคำพิพากษา หรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น เว้นแต่กรณีจะอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย

(1) การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตามมาตรา 143

(2) การพิจารณาใหม่แห่งคดีซึ่งได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 209 และคดีที่เอกสารได้สูญหายหรือบุบสลายตามมาตรา 53

(3) การยื่น การยอมรับ หรือไม่ยอมรับ ซึ่งอุทธรณ์หรือฎีกาตามมาตรา 229 และ 247 และการดำเนินวิธีบังคับชั่วคราวในระหว่างการยื่นอุทธรณ์ หรือฎีกาตามมาตรา 254 วรรคสุดท้าย

(4) การที่ศาลฎีกาหรือศาลอุทธรณ์ส่งคดีคืนไปยังศาลล่างที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้น เพื่อให้พิพากษาใหม่หรือพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามมาตรา 243

(5) การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 302

ทั้งนี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิในอันที่จะบังคับตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 16 และ 240 ว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยศาลอื่นแต่งตั้ง

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2515

คดีเดิมจำเลยเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ให้รื้อเรือนออกไปจากที่พิพาท โจทก์ต่อสู้ว่าซื้อที่พิพาทจากตัวแทนจำเลยศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การตั้งตัวแทนไม่มีหนังสือมอบอำนาจมาแสดง รับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทจากจำเลย โจทก์อุทธรณ์ ระหว่างอุทธรณ์โจทก์กลับมาฟ้องคดีนี้อ้างว่า ซื้อที่พิพาทจากตัวแทนจำเลย ขอให้บังคับจำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์ จำเลยต่อสู้ว่าเป็นฟ้องซ้ำ และคู่ความตกลงท้ากันให้ศาลวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148หรือไม่ ศาลชั้นต้นเห็นว่าไม่เป็นฟ้องซ้ำ ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าขณะที่โจทก์จำเลยท้ากันให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ และศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้ตามคำท้านั้น ศาลอุทธรณ์ยังมิได้พิพากษาคดีเดิม คดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ส่วนจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามมาตรา 144หรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นที่คู่ความท้ากัน เมื่อไม่เห็นสมควร ศาลฎีกาก็ไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัย (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 31/2515) 

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 2 ตัวแทนจำเลยที่ 1และได้ชำระเงินเสร็จสิ้นแล้ว จำเลยไม่ยอมโอน ขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้โจทก์

จำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่า ไม่ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ขายที่พิพาทให้โจทก์ ในที่พิพาทมีเรือนโจทก์ปลูกอยู่ จำเลยที่ 1 ฟ้องขับไล่ตามสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 139/2511 ซึ่งโจทก์ต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ขายที่พิพาทให้โจทก์ อันเป็นประเด็นซึ่งศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยแล้วว่า ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ทำการแทนจำเลยที่ 1 นั้น โจทก์ไม่มีหนังสือมอบอำนาจมาแสดง รับฟังไม่ได้แม้โจทก์อุทธรณ์ แต่ประเด็นข้อนี้โจทก์หาได้ยกขึ้นอุทธรณ์ไม่ จึงเป็นอันถึงที่สุดแล้ว โจทก์จะยกเอาประเด็นข้อนี้ขึ้นฟ้องร้องเป็นคดีนี้อีกไม่ได้ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

จำเลยที่ 2 ต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน โจทก์ฟ้องบังคับให้โอนที่ดินไม่ได้

วันนัดสืบพยานโจทก์ คู่ความตกลงท้ากันให้ศาลวินิจฉัยเพียงข้อเดียวว่า คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 139/2511 ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 หรือไม่ถ้าต้องห้าม โจทก์ยอมแพ้ หากไม่ต้องห้าม จำเลยยอมแพ้คดี แล้วโจทก์จำเลยไม่ติดใจสืบพยาน ขอให้ศาลพิพากษาตามที่ท้ากันนี้

ศาลชั้นต้นเห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่ต้องห้าม แต่โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ให้โอนที่พิพาทไม่ได้ พิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทแก่โจทก์

จำเลยที่ 1 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยที่ 1 ฎีกา

ศาลฎีกาเห็นว่า คดีนี้ที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 จัดการขายที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์ได้ซื้อไว้ และได้ครอบครองปลูกเรือนอยู่อาศัยตลอดมา กับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 139/2511 ที่จำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ให้การต่อสู้ว่าในระหว่างที่โจทก์ (จำเลยที่ 1 คดีนี้) กำลังขอให้ทางสำนักงานที่ดินออกโฉนดที่พิพาทอยู่นั้น ตัวแทนโจทก์ได้จัดการขายที่พิพาทให้จำเลย ซึ่งจำเลยได้ซื้อไว้โดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้ครอบครองโดยความสงบเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมา ทั้งได้ทำการก่อสร้างบ้านเรือนเป็นที่อยู่อาศัยขึ้น 1 หลัง ประมาณ 5 ปีแล้วนั้น มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน และในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 139/2511 ศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ว่า ที่จำเลย (โจทก์คดีนี้) อ้างว่านายปราณี ศิริธร ทำการแทนโจทก์(จำเลยที่ 1 คดีนี้) จำเลยไม่มีหนังสือมอบอำนาจมาแสดงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 เป็นการต้องห้ามมิให้นำสืบ จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ซื้อที่พิพาทมาจากโจทก์ จำเลยเข้าปลูกเรือนในที่พิพาทโดยไม่มีสิทธิ แล้วจำเลย (โจทก์คดีนี้) ได้อุทธรณ์ในคดีนั้นต่อมา ขอให้ศาลอุทธรณ์รับฟังว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินที่จำเลยได้รับซื้อมาจากโจทก์ เพราะนายปราณี ศิริธร เป็นตัวแทนของโจทก์ให้มาทำการขายที่พิพาท ซึ่งเป็นประเด็นที่จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์รวมมากับประเด็นอื่นแล้ว ดังนี้ ประเด็นข้อนี้จึงยังไม่ยุติดังที่จำเลยที่ 1 ฎีกา เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าขณะที่โจทก์จำเลยท้ากันให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ และศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยที่ 1 แพ้ตามคำท้านั้น ศาลอุทธรณ์ยังมิได้พิพากษาคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 139/2511 คดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่จึงเห็นว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ส่วนจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามมาตรา 144 หรือไม่ไม่ใช่ประเด็นที่คู่ความท้ากัน และศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่เห็นว่าไม่สมควรที่จะหยิบยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย

พิพากษายืน

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2535 

คดีก่อนผู้คัดค้านเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยว่า ผู้คัดค้านเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 274 ผู้ร้อง ได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินของผู้คัดค้าน ขอให้ขับไล่ผู้ร้องออกไป ผู้ร้องให้การว่า ผู้ร้องได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินดังกล่าวมากว่า 30 ปีแล้ว ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ในคดีนี้ผู้ร้องมายื่นคำร้องว่า ผู้ร้องครอบครองที่ดินบางส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่ 274 ด้วยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 22 ปีเศษแล้ว ผู้ร้อง จึงได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์ขอให้ศาลสั่งว่า ที่ดิน ดังกล่าวเป็นของผู้ร้อง ประเด็นของคดีทั้งสองจึงมีว่า ผู้ร้องได้ ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้วหรือไม่ เมื่อประเด็นแห่งคดีเหมือนกันและ เป็นคู่ความเดียวกัน ทั้งศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วย่อมต้องห้าม มิให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอีก ตาม ป.พ.พ. มาตรา144. 

ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า บิดาผู้ร้องซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 275ตำบลลาดหลุมแก้ว อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี จากนายเปล่งเรี่ยวแรง แต่ไม่ได้รังวัดสอบเขต บิดาผู้ร้องครอบครองที่ดินดังกล่าวรวมกับที่ดินบางส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่ 274 เนื้อที่ 3 ไร่ 3 งาน14 ตารางวา แล้วยกที่ดินทั้งหมดให้ผู้ร้อง ผู้ร้องครอบครองที่ดินทั้งสองแปลงด้วยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาเป็นเวลา 22 ปีเศษ ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 274เนื้อที่ 3 ไร่ 3 งาน 14 ตารางวา โดยการครอบครอง ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง และให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดปทุมธานีจดทะเบียนแบ่งแยกให้ผู้ร้องด้วย

ผู้คัดค้านทั้งสองคัดค้านว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 274 เป็นของผู้คัดค้านทั้งสอง ผู้เช่านาของผู้ร้องทำนารุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้คัดค้านทั้งสอง เนื้อที่ 3 ไร่ 3 งาน 14 ตารางวา ผู้คัดค้านทั้งสองได้ฟ้องขับไล่ผู้ร้องเป็นจำเลยและเรียกค่าเสียหายต่อศาลชั้นต้น ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาที่ดินพิพาทในคดีดังกล่าว ประเด็นข้อพิพาทก็เป็นอย่างเดียวกันว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองหรือไม่ การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องคดีนี้ จึงเป็นฟ้องซ้อนหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำขอให้ยกคำร้อง

ภายหลังจากสืบพยานผู้ร้องได้ 1 ปาก ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้จึงให้งดสืบพยานผู้ร้อง แล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้อง

ผู้ร้องอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

ผู้ร้องฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในโฉนดที่ดินเลขที่ 274 ของผู้คัดค้านทั้งสอง ผู้คัดค้านทั้งสองได้เป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นว่าบุกรุกที่ดินพิพาทขอให้ขับไล่และเรียกค่าเสียหาย ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวให้การต่อสู้คดีว่าผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาจนได้กรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่ผู้ร้องและให้ผู้ร้องใช้ค่าเสียหายแก่ผู้คัดค้านทั้งสอง ผู้ร้องอุทธรณ์ว่าได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองและศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายสูงเกินสมควร ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าเสียหาย ผู้ร้องยื่นฎีกาคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา

พิเคราะห์แล้ว คดีมีปัญหาว่า คำร้องของผู้ร้องเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 หรือไม่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 บัญญัติว่า เมื่อศาลใดมีคำพิพากษา หรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น ข้อเท็จจริงเรื่องนี้มีว่าคดีก่อนผู้คัดค้านเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยว่า ผู้คัดค้านเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 274 ตำบลลาดหลุมแก้ว อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ผู้ร้องได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินของผู้คัดค้าน ขอให้ขับไล่ผู้ร้องออกไป ผู้ร้องให้การว่า ผู้ร้องได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินดังกล่าวมากว่า 30 ปีแล้ว ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ในคดีนี้ผู้ร้องมายื่นคำร้องว่า ผู้ร้องครอบครองที่ดินบางส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่ 274 ตำบลลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานีของผู้คัดค้าน เนื้อที่ 3 ไร่ 3 งาน 14 ตารางวา ด้วยความสงบเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 22 ปีเศษแล้วผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์ ขอให้ศาลสั่งว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของผู้ร้อง ประเด็นของคดีทั้งสองจึงมีว่า ผู้ร้องได้ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 แล้วหรือไม่ เมื่อประเด็นแห่งคดีเหมือนกันและเป็นคู่ความเดียวกัน ทั้งศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้ว ย่อมต้องห้ามมิให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอีก ตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้วศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีชอบแล้ว ฎีกาผู้ร้องฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6574/2541

สำหรับฎีกาของผู้ร้องที่ว่า ศาลชั้นต้นได้ไต่สวนและมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายไปแล้ว กลับให้นางสาวชมนาฎเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 นั้น เห็นว่า ในการที่ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายนั้น ศาลได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ตายมีมรดกที่จะต้องแบ่งปันแก่ทายาท มีเหตุขัดแย้งในการแบ่งปันมรดกดังกล่าว และผู้ร้องเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายหากการจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น ปรากฏว่าผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกและตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่ก็ได้ หรือหากศาลไม่ถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมจะตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่เป็นผู้จัดการมรดกร่วมก็ได้แม้ในคดีนี้ผู้คัดค้านจะไม่ได้ขอให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย เมื่อปรากฏในทางพิจารณาว่า การจัดการมรดกอาจเกิดความไม่เป็นธรรมได้เพราะผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายอยู่เดิม อ้างว่าผู้ตายไม่มีมรดก และผู้คัดค้านไม่มีสิทธิรับมรดกจึงเป็นการสมควรที่ศาลจะตั้งนางสาวชมนาฎเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง เพื่อให้การจัดการมรดกได้เป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม การที่ศาลตั้งนางสาวชมนาฎเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องเป็นการพิจารณาว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียหรือไม่ นางสาวชมนาฎมีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้จัดการมรดกและเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกร่วมหรือไม่ ผู้ร้องและผู้คัดค้านมิใช่คู่ความรายเดียวกันประเด็นตามคำร้องของผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นคนละประเด็นกันจึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144




การสอบเนติบัณฑิต ภาคสอง สมัยที่ 60 (วิชาวิธีพิจารณาความแพ่ง)

คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดี
ขอแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การ จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน
โจทก์ขาดนัดพิจารณาโจทก์จึงไม่มีพยานมาสืบในประเด็นข้อพิพาทจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ
ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์
คำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนพิพากษาไม่ใช่การบังคับคดีตามคำพิพากษา กรณีไม่ต้องห้ามมิให้ยึดซ้ำ
อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้
องค์คณะผู้พิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
การบังคับคดีล่วงเลยเวลา 10 ปี