ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การบังคับคดีล่วงเลยเวลา 10 ปี

การบังคับคดีล่วงเลยเวลา 10 ปี จึงหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271

ข้อ 7. ศาลแพ่งพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2534 ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์เป็นงวด ๆ เริ่มงวดแรกวันที่ 31 ตุลาคม 2534 หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดทั้งหมด ยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที จำเลยทราบคำบังคับแล้ว แต่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่งวดแรก และวันที่ 28 ธันวาคม 2537 จำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนต่อมาวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2539 โจทก์ได้ขอให้ศาลแพ่งออกหมายบังคับคดี และได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินจำเลยเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2546 จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งว่า โจทก์บังคับคดีเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา ขอให้ถอนการยึดทรัพย์ของจำเลย โจทก์คัดค้านว่าโจทก์ร้องขอให้บังคับคดีเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธู 2539 เป็นการบังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว และจำเลยชำระหนี้ให้โจก์เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 ทำให้เริ่มนับระยะเวลาบังคับคดีของโจทก์ใหม่ ขอให้ยกคำร้อง

ให้วินิฉัยว่า ศาลแพ่งจะสั่งถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยได้หรือไม่

 ธงคำตอบ

 จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตั้งแต่งวดแรก ระยะเวลาการบังคับคดีของโจทก์จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2534 ข้อคัดค้านของโจทก์ที่เกี่ยวกับการชำระหนี้ของจำเลยให้โจทก์เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 นั้น ไม่มีผลทำให้การเริ่มนับระยะเวลาการบังคับคดีของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป เมื่อโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2546 จึงเป็นการบังคับคดีล่วงเลยเวลา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 โจทก์จึงหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลย(คำพิพากษาฎีกาที่ 5829/254 ข้อคัดค้านของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ข้อคัดค้านของโจทก์ที่ว่า โจทก์ขอให้ศาลแพ่งออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2539 เป็นการบังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาแล้วนั้น แต่เนื่องจากหลังจากโจทก์ร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีแล้ว โจทก์กลับมิได้ดำเนินการใด ๆในทางบังคับคดีแก่จำเลยอีก โจทก์เพิ่งมานำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ของจำเลยเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2546 จึงเป็นการบังคับคดีที่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2534 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 แล้ว โจทก์จึงหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลย (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 5476/2536) ข้อคัดค้านของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
ศาลแพ่งจึงสั่งถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยได้

 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 271 ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคำพิพากษา)มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา หรือคำสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยอาศัยและตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5829/2548

ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์เป็นงวด ๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนด เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 31 ตุลาคม 2534 หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด ยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่งวดแรก ระยะเวลาการบังคับคดีของโจทก์จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2534 การที่จำเลยทั้งสองนำเงินมาชำระบางส่วนให้แก่โจทก์วันที่ 25 ธันวาคม 2537 ไม่มีผลทำให้การเริ่มนับระยะเวลาการบังคับคดีของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป เมือ่โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 วันที่ 21 ตุลาคม 2546 จึงล่วงเลยเวลา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 โจทก์ย่อมหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2

คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์และจำเลยทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยมีข้อตกลงว่า จำเลยทั้งสองยอมชำระหนี้แก่โจทก์ 19,181.87 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี ของต้นเงิน 13,967.72 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จโดยผ่อนชำระทุกวันสิ้นสุดของเดือน เดือนละไม่น้อยกว่า 700 บาท ภายใน 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ เริ่มชำระงวดแรกเดือนตุลาคม 2534 หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดทั้งหมด ยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมวันที่ 17 กันยายน 2534 คดีถึงที่สุดแล้ว หลังจากนั้นวันที่ 17 สิงหาคม 2535 โจทก์ยื่นคำขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์ของจำเลยทั้งสองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ โดยอ้างว่าจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดี

ต่อมาวันที่ 25 พฤศจิกายน 2546 โจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2546 แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ดำเนินการให้อ้างว่าโจทก์ไม่ขอให้บังคับคดีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งไม่ถูกต้องเนื่องจากจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้บางส่วนให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547 โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้บังคับคดีได้ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2537 เป็นต้นไป การที่โจทก์ขอให้บังคับคดีเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2546 จึงไม่เกิน 10 ปี ขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีและให้ดำเนินการยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ต่อไป

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง

โจกท์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์หมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 หรือไม่ เห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องดำเนินการบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์เป็นงวด ๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนด เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 31 ตุลาคม 2534 หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด ยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่งวดแรก ระยะเวลาการบังคับของโจทก์จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2534 การที่จำเลยทั้งสองนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์วันที่ 25 ธันวาคม 2537 ไม่มีผลทำให้การเริ่มนับระยะเวลาการบังคับคดีของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป เมื่อโจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 วันที่ 21 ตุลาคม 2546 จึงล่วงเลยเวลา 10 ปี ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าว โจทก์ย่อมหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

อนึ่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องฉบับลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2546 ของโจทก์โดยมิได้สั่งค่าฤชาธรรมเนียมและศาลอุทธรณ์ภาค 6 มิได้พิพากษาแก้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ประกอบมาตรา 141 (5) ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง"

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5476/2536

คำว่า ร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271หาได้มีความหมายแต่เพียงว่ายื่นคำขอต่อศาลเพื่อออกหมายบังคับคดีเท่านั้นไม่ แต่มีความหมายรวมไปถึงหน้าที่อื่น ๆที่ผู้ขอให้บังคับคดีจึงพึงต้องกระทำเพื่อต้องกระทำเพื่อให้การบังคับคดีดำเนินไปได้อีกด้วย โจทก์ร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2521 แล้วมิได้ดำเนินการใด ๆ ใน ทางบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 อีกเลย คงแถลงต่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีให้ยึดแต่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เท่านั้น โจทก์เพิ่มจะมาร้องขอ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ ของจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2533 และนำเจ้าพนักงาน บังคับคดีไปยึดเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2533 ซึ่งพ้นสิบปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดี แก่ทรัพย์ของจำเลยที่ 2

คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินให้โจทก์จำนวน 479,143.80 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในต้นเงิน 350,000 บาท นับแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2520 จนกว่าจะชำระเสร็จโดยจำเลยทั้งสองต้องชำระให้เสร็จภายในวันที่ 15 มกราคม 2521 หากผิดนัดยอมให้บังคับคดียึดที่ดินจำนองโฉนดเลขที่ 2592 พร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดชำระหนี้ ถ้าไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสองชำระจนครบแต่จำเลยทั้งสองไม่ชำระ โจทก์ได้ขอให้บังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองและนำยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ต่อมาได้นำยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2

จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องว่า เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2533เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 92102 พร้อมบ้านของจำเลยที่ 2 ซึ่งพ้นกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันที่โจทก์ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2521 หรือวันที่ศาลออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2521โจทก์จึงหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ขอให้ถอนการยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 โดยให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขาย

โจทก์ยื่นคำคัดค้านว่า โจทก์ร้องขอให้บังคับคดีเมื่อวันที่ 31มกราคม 2521 และแจ้งเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีพร้อมแถลงยึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 2กุมภาพันธ์ 2525 อันเป็นการร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว เมื่อโจทก์นำยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1ออกขายทอดตลาดแต่ไม่พอชำระหนี้ โจทก์จึงมีอำนาจยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้ ขอให้ยกคำร้อง

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ร้องขอออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ภายในกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา แต่นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 เมื่อพ้นสินปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ให้ถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 โดยให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขาย

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาในชั้นฎีกาว่า โจทก์ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาแก่จำเลยที่ 2 ภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 หรือไม่ ทางพิจารณาข้อเท็จจริงฟังยุติว่า ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2520 โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2521 ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2521 โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2525 แต่เพิ่งร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2533 และนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2533 เห็นว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 บัญญัติว่า"ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคำพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ภายในสิบปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยอาศัยและตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น" คำว่า ร้องขอให้บังคับคดีดังกล่าวหาได้มีความหมายแต่เพียงว่ายื่นคำขอต่อ ศาลเพื่อออกหมายบังคับคดีเท่านั้นไม่ แต่มีความหมายรวมไปถึงหน้าที่อื่น ๆ ที่ผู้ขอให้บังคับคดีจะพึงต้องกระทำเพื่อให้การบังคับคดีดำเนินไปได้อีกด้วย เช่นแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นต้น และถ้ามีลูกหนี้หลายคน ถ้าผู้ขอให้บังคับคดีต้องการบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาคนใดบ้างก็ต้องระบุให้ปรากฏอีกด้วยคดีนี้สำหรับจำเลยที่ 2 โจทก์เพียงแต่ร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2521 เท่านั้นแล้วมิได้ดำเนินการใด ๆ ในทางบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 อีกเลยคงแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1เท่านั้น และตามหนังสือของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ ยธ 0319(123) 21844 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2530 ก็ฟังได้ว่าโจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 ถูกศาลจังหวัดมีนบุรีพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายมาก่อนวันที่ดังกล่าว ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา แต่โจทก์ก็ไม่นำพา โจทก์เพิ่งจะมาร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม2533 และนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2533ซึ่งพ้นสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ศาลอุทธรณ์พิพากษาชอบแล้ว"

พิพากษายืน

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3126 / 2559

 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยจำเลยขาดนัด เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2547 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ วันครบกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนในการขอบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาคือวันที่ 28 มิถุนายน 2557 




การสอบเนติบัณฑิต ภาคสอง สมัยที่ 60 (วิชาวิธีพิจารณาความแพ่ง)

การฟ้องซ้ำกับ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดี
ขอแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การ จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน
โจทก์ขาดนัดพิจารณาโจทก์จึงไม่มีพยานมาสืบในประเด็นข้อพิพาทจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ
ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์
คำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนพิพากษาไม่ใช่การบังคับคดีตามคำพิพากษา กรณีไม่ต้องห้ามมิให้ยึดซ้ำ
อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้
องค์คณะผู้พิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม