ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ห้างหุ้นส่วนจำกัดก่อนจดทะเบียน

ห้างหุ้นส่วนจำกัดก่อนจดทะเบียน

ข้อ 7. นายมุ่ง นายมิ่งและนายมั่น ร่วมกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดขึ้น โดยให้นายมุ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดแต่เพียงผู้เดียวและนายมิ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ก่อนจดทะเบียนห้าง นายมุ่งได้ทำสัญญาซื้อรถยนต์กระบะเพื่อนำมาใช้ในกิจการของห้าง จากบริษัทเจริญยนต์ จำกัด 1 คัน โดยได้รับมอบรถยนต์มาใช้แล้วแต่ยังไม่ได้ชำระราคา ต่อมาได้มีการจดทะเบียนตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวและดำเนินกิจการจนมีผลกำไรอันจักต้องแบ่งให้แก่หุ้นส่วนทุกคนตามสัญญา นายมิ่งได้รับส่วนแบ่งกำไรส่วนของตนตามสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนมาแล้ว แต่ไม่ยอมแบ่งให้แก่หุ้นส่วนคนอื่น นายมุ่งและนายมั่นต่างได้ทวงถามแล้ว แต่นายมิ่งก็ไม่แบ่งให้ ทั้งไม่ยอมชำระราคารถยนต์ให้แก่บริษัทเจริญยนต์ จำกัดอีกด้วย นายมั่นไม่พอใจนายมิ่งมากและประสงค์จะถอนหุ้นโดยเรียกเงินที่ลงเป็นค่าหุ้นคืนจากนายมิ่ง แต่นายมิ่งก็ไม่ยอมคืนให้

 ให้วินิจฉัยว่า

(ก) บริษัทเจริญยนต์ จำกัด จะฟ้องนายมุ่งและนายมิ่งให้ร่วมกันชำระราคารถยนต์ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดได้หรือไม่

(ข) นายมั่นจะฟ้องนายมิ่งขอให้แบ่งส่วนกำไรให้ตามสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนและขอให้คืนเงินค่าหุ้นที่ได้ลงไปให้แก่ตนด้วยได้หรือไม่

ธงคำตอบ

(ก) บริษัทเจริญยนต์ จำกัด มีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องนายมุ่งและนายมิ่งให้ร่วมกันชำระหนี้ดังกล่าวได้ทั้งนี้เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1079 ห้างหุ้นส่วนจำกัดถ้ายังมิได้จดทะเบียนอยู่ตราบใดให้ถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดย่อมต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน นายมุ่งได้ทำสัญญาซื้อรถยนต์กระบะกับบริษัทเจริญยนต์ จำกัด ก่อนที่ห้างจะได้จดทะเบียน ดังนั้นต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หุ้นส่วนทุกคนจึงต้องร่วมกันรับผิดชำระราคารถยนต์กระบะให้แก่บริษัทเจริญยนต์ จำกัด แม้นายมุ่งจะเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดก็ตาม ก็ไม่อาจอ้างเพื่อให้พ้นความรับผิดได้ตามนัยแห่งบทกฎหมายข้างต้น ทั้งนายมุ่งยังมีความรับผิดในฐานะที่เป็นคู่สัญญากับบริษัทเจริญยนต์จำกัด อีกด้วย ส่วนนายมิ่งผู้เป็นหุ้นส่วนอีกคนก็ต้องรับผิดเช่นกัน เพราะรถยนต์กระบะคันดังกล่าวซื้อเพื่อนำมาใช้ในกิจการของห้างหุ้นส่วน จึงถือได้ว่าเป็นหนี้ของห้างหุ้นส่วนที่หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในการชำระราคาให้แก่ผู้ขาย (เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2519, 992/2521)


(ข) นายมั่นมีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องนายมิ่งขอให้แบ่งส่วนกำไรให้ตามสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนได้ทั้งนี้ เพราะเป็นการฟ้องอ้างว่าหุ้นส่วนด้วยกันปฏิบัติผิดสัญญาโดยไม่ยอมแบ่งกำไรให้ตามสัญญา แม้ห้างหุ้นส่วนจำกัดยังไม่เลิกกันก็ไม่ขัดขวางการที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งจะฟ้องหุ้นส่วนคนอื่นว่าปฏิบัติผิดสัญญา ทั้งไม่มีกฎหมายบทใดบังคับว่า เมื่อยังมิได้เลิกหุ้นส่วนกันแล้ว ผู้เป็นหุ้นส่วนฝ่ายหนึ่งจะฟ้องร้องอีกฝ่ายหนึ่งหาว่าผิดสัญญาไม่ได้(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2497) ส่วนการที่นายมั่นฟ้องนายมิ่งขอให้คืนเงินค่าหุ้นที่ตนได้ลงไปนั้นนายมั่นไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องได้ ทั้งนี้เพราะถ้าห้างหุ้นส่วนจำกัดยังไม่เลิก ผู้เป็นหุ้นส่วนจะฟ้องขอคืนเงินค่าหุ้นโดยไม่ได้ฟ้องขอเลิกห้าง และขอให้ชำระบัญชีด้วยไม่ได้ ซึ่งห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น เมื่อเลิกห้างจะต้องมีการชำระบัญชีตามมาตรา 1061 เมื่อนายมั่นไม่ได้ฟ้องขอเลิกห้างและขอให้ชำระบัญชีก่อน แต่มาฟ้องขอคืนเงินค่าหุ้น นายมั่นจึงยังไม่มีอำนาจฟ้อง (เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2514, 1767/2529)

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1079 " อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น ถ้ายังมิได้จดทะเบียนอยู่ ตราบใด ท่านให้ถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด ย่อมต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วน โดยไม่มีจำกัด จำนวนจนกว่าจะได้จดทะเบียน "

มาตรา 1061 เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้วก็ให้จัดการชำระบัญชี เว้นแต่จะได้ตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็น หุ้นส่วนด้วยกันหรือว่าห้างหุ้นส่วนนั้นศาลได้พิพากษาให้ล้มละลาย

ถ้าการเลิกห้างหุ้นส่วนนั้นได้เป็นไปโดยที่เจ้าหนี้เฉพาะตัวของผู้ เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้ให้คำบอกกล่าวก็ดี หรือโดยที่ผู้เป็นหุ้นส่วน คนใดคนหนึ่งล้มละลายก็ดี ท่านว่าจะงดการชำระบัญชีเสียได้ต่อเมื่อ เจ้าหนี้คนนั้นหรือเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ยินยอมด้วย

การชำระบัญชีนั้น ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดด้วยกันจัดทำ หรือให้ บุคคลอื่นซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ตั้งแต่งขึ้นนั้นเป็นผู้จัดทำ

การตั้งแต่งผู้ชำระบัญชี ให้วินิจฉัยชี้ขาดโดยคะแนนเสียงข้างมาก ของผู้เป็นหุ้นส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2519

จำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ตั้งโรงงานแก้วขึ้นเพื่อผลิตขวดยาและเครื่องแก้วออกจำหน่ายหากำไรในระหว่างที่โรงงานแห่งนี้ยังมิได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 ได้ซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในกิจการของโรงงานแล้วไม่ชำระราคาจำเลยที่ 3 ที่ 4 ต้องรับผิดหนี้ค่าซื้อสินค้านั้นร่วมกับจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1079 และต่อมาเมื่อโรงงานนั้นได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ก็ต้องร่วมรับผิดในหนี้รายนี้ด้วย

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2521

จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ในนามของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 โจทก์ส่งไปให้ตั้งแต่ห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการตั้งห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ได้เกิดขึ้นก่อนที่จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1079 ต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญอยู่จนกว่าจะได้จดทะเบียน ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วน ดังนั้นจำเลยที่ 2 ผู้เป็นหุ้นส่วนจึงต้องรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 อันมีอยู่ต่อโจทก์ก่อนที่ได้จดทะเบียน

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยซื้อกล่องกระดาษไปจากโจทก์รวมราคา 41,215.80บาทแล้วไม่ชำระเงิน จึงขอให้จำเลยชำระ

จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยไม่ได้ซื้อกล่องกระดาษตามฟ้องไปจากโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ส่งกล่องกระดาษให้กับร้าน ย. ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ย. จำเลยที่ 1 พิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ขณะโจทก์ส่งสินค้าให้จำเลย จำเลยที่ 2 เริ่มใช้ชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 แล้ว แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ถือได้ว่าก่อนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะห้างหุ้นส่วนสามัญ จำเลยที่ 2 ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 เริ่มสภาพห้างหุ้นส่วนจำกัดภายหลังที่โจทก์ส่งสินค้าไปยังจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินแก่โจทก์ตามฟ้องนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยที่ 2 ฎีกา

ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ได้สั่งซื้อกล่องกระดาษจากโจทก์ในนามของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1โจทก์ส่งกล่องกระดาษไปให้ตั้งแต่ห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล การตั้งห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 เกิดขึ้นก่อนที่จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล วินิจฉัยว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1078 จะบังคับว่าต้องจดทะเบียน แต่มาตรา 1079 ก็บัญญัติไว้ว่าถ้ายังมิได้จดทะเบียนอยู่ตราบใด ให้ถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดย่อมต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดจำนวนจนกว่าจะได้จดทะเบียน ฉะนั้น จำเลยที่ 2 ผู้เป็นหุ้นส่วนจึงต้องรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 อันมีอยู่ก่อนที่ได้จดทะเบียน

พิพากษายืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2497

การฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะหุ้นส่วนฝ่ายหนึ่งผิดสัญญากันการฟ้องขอเลิกหุ้นส่วน เพื่อให้มีการชำระบัญชีนั้นเป็นคนละเรื่องกัน และไม่มีกฎหมายบทใดบังคับว่าเมื่อยังมิได้เลิกหุ้นส่วนกันแล้ว ผู้เป็นหุ้นส่วนฝ่ายหนึ่ง จะฟ้องร้องอีกฝ่ายหนึ่งหาว่าผิดสัญญาไม่ได้

โจทก์ฟ้องขอแบ่งเงินค่าช่วยเหลือการก่อสร้างจากจำเลยครึ่งหนึ่งตามสัญญาดังกล่าวนี้ เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องเพิ่มทุนและใครลงทุนไปเท่าใด เมื่อจำเลยรับเงินแล้วก็ต้องแบ่งให้โจทก์ตามสัญญา

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยได้เป็นหุ้นส่วนเช่าที่ดินของผู้อื่นเพื่อปลูกสร้างตึกแถวให้เช่า โดยกำหนดข้อตกลงไว้ต่อกันปรากฏตามหนังสือสัญญาท้ายฟ้อง บัดนี้จำเลยประพฤติผิดสัญญาดังกล่าวคือ เป็นผู้เก็บเงินค่าช่วยเหลือในการก่อสร้างเสียแต่ผู้เดียว ยอมให้ผู้มีชื่อเข้าอยู่ในตึกแถวห้องเลขที่ 75, 85, 87, 356/1 โดยไม่ได้รับความตกลงจากโจทก์และไม่ได้ทำหนังสือสัญญาเช่าทั้งค่าเช่าก็ไม่ปรากฏ ตึกทั้ง 4 ห้องโจทก์ควรได้รับเป็นส่วนของโจทก์เป็นเงิน45,000 บาท จำเลยมิได้แบ่งให้ส่วนตึกเลขที่ 79 และ 81 นั้น เป็นส่วนของโจทก์ 19,500 บาท แต่จำเลยจ่ายให้เพียง 12,500 บาท โจทก์จึงเสียหายไปทั้งสิ้นรวม 52,000 บาท ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์และมีคำขออย่างอื่น ๆ อีก

จำเลยปฏิเสธว่า ไม่ได้กระทำผิดสัญญา โจทก์ไม่ออกเงินค่าก่อสร้างตามสัญญา ส่วนตึกหมายเลข 79, 81 นั้น เงินช่วยค่าก่อสร้าง 25,000 บาทไม่ใช่ 39,000 บาทโจทก์ได้รับไปแล้วครึ่งหนึ่งคือ 12,500 บาท จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด อนึ่งเวลานี้ตึกที่ก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จเมื่อเสร็จแล้วจึงจะได้คิดบัญชีแบ่งผลกำไรกัน โจทก์ฟ้องจำเลยในเวลานี้ยังไม่ได้ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นเห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องได้ เกี่ยวกับห้องเช่า ฟังว่าจำเลยได้จัดทำไปโดยพลการ เพื่อประโยชน์ของจำเลยฝ่ายเดียว สำหรับห้อง 4 ห้องนั้นจำเลยเรียกเงินไว้รวม 50,000 บาท โจทก์ควรได้ครึ่งหนึ่งคือ 25,000 บาท ส่วนห้องที่ 79 และ 81 นั้น โจทก์ว่าได้รับเงินไปจากผู้เช่าแล้ว จึงไม่ควรได้รับซ้ำอีก พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 25,000 บาทแก่โจทก์

จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นบังคับให้จำเลยแบ่งให้โจทก์นั้น บังคับเกินไปหนึ่งหมื่นบาท คงให้จำเลยแบ่งให้เพียงหนึ่งหมื่นห้าพันบาท

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาพิจารณาฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่าหุ้นส่วนรายนี้ยังไม่เลิกจากกัน โจทก์จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยนั้น เห็นว่าการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะหุ้นส่วนฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาเช่นที่โจทก์ ฟ้องคดีนี้กับการฟ้องขอเลิกหุ้นส่วน เพื่อให้มีการชำระบัญชีนั้น เป็นคนละเรื่องกัน และไม่มีกฎหมายบทใดบังคับว่าเมื่อยังมิได้เลิกหุ้นส่วนกันแล้ว ผู้เป็นหุ้นส่วนฝ่ายหนึ่งจะฟ้องร้องอีกฝ่ายหนึ่งหาว่าผิดสัญญาไม่ได้ ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงตกไป ส่วนอีกข้อหนึ่งที่อ้างว่า จำเลยเอาเงินไปลงทุนก่อสร้างแทนโจทก์ และทุนที่ต้องลงนั้นได้เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการแก้ไขอาคารที่สร้างหลายแห่งนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์ว่าเรื่องเพิ่มหุ้นและเรื่องใครลงทุนไปเท่าใดนั้นเป็นกรณีต่างหากไม่เกี่ยวกับคดีนี้เรื่องนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้รับเงินค่าช่วยเหลือการก่อสร้างซึ่งตามสัญญาจะต้องแบ่งให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง เมื่อจำเลยได้รับเงินแล้ว และไม่มีเหตุผลอย่างใดที่จะไม่แบ่งให้แก่โจทก์ตามสัญญานั้น จำเลยก็ต้องแบ่งให้แก่โจทก์

พิพากษายืน ให้ยกฎีกาของจำเลย

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2514

โจทก์จะฟ้องขอคืนเงินที่ลงหุ้นไป โดยมิได้ขอให้มีการเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชี หาได้ไม่

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเข้าหุ้นกันจับจองที่ดินเพื่อทำเหมืองแร่ที่ตำบลแม่หวาด อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา โจทก์ออกเงินเข้าหุ้นเป็นเงิน 74,000 บาท โจทก์ที่ 2 ออกเงิน 10,000 บาท นอกจากนี้โจทก์ที่ 1ยังได้ออกเงินค่าค้ำประกันเช็คธนาคารไทยพัฒนาไป 4,000 บาท ค่ารังวัดที่ดิน 2 งวด เป็นเงิน 4,700 บาท รวมเป็นเงิน 82,700 บาท ส่วนโจทก์ที่ 2 ออกเงินค่าค้ำประกันเช็คธนาคารไทยพัฒนาไป 2,000 บาท ค่ารังวัดที่ดินอีก 1,600 บาท รวมจ่ายไป 13,600 บาท ทั้งนี้ เพื่อจะตั้งห้างหุ้นส่วนไทยวินำเพื่อขอจับจองที่ดิน แต่ห้างหุ้นส่วนไม่ได้ตั้งขึ้น เมื่อจำเลยทั้งสองจับจองที่ดินได้แล้ว จำเลยที่ 2 ยึดถือเอาเป็นประโยชน์ของตนแต่ผู้เดียวไม่ยอมให้โจทก์เข้าเกี่ยวข้อง โจทก์ทั้งสองไม่ประสงค์จะเกี่ยวข้องในที่ดินรายนี้ต่อไป ขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้จำเลยทั้งสองคืนเงินให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 82,700 บาท คืนให้โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 13,600 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้อง จนกว่าจำเลยทั้งสองจะคืนเงินให้โจทก์

จำเลยทั้งสองให้การว่า ได้ทำหนังสือสัญญาเข้าหุ้นเพื่อจับจองที่ดินในการทำเหมืองแร่จริง แต่ยังไม่ได้ลงเงินเต็มค่าหุ้นตามสัญญาเป็นแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนต่างร่วมกันออกเงินเมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เพื่อให้ได้ที่ดินในการทำเหมืองแร่และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไม่มีเงินของโจทก์หรือหุ้นส่วนคนใดตกค้างอยู่ที่จำเลย ต่อมาหุ้นส่วนดังกล่าวจัดทำสัญญาเข้าหุ้นกันใหม่ และยื่นคำร้องขอจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ต้องใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้น จึงขอให้หุ้นส่วนนำเงินมาลงหุ้น โจทก์ทั้งสองปฏิเสธ ผลสุดท้ายที่ประชุมผู้เป็นหุ้นส่วนลงมติให้เลิกห้างหุ้นส่วนเสีย โจทก์ไม่มีสิทธิจะเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์

วันชี้สองสถานโจทก์จำเลยแถลงรับกันว่า ได้ทำสัญญาหุ้นส่วนกันเพื่อจะทำเหมืองแร่จริง โจทก์ว่าได้ลงเงินค่าหุ้นไปตามจำนวนที่ระบุในฟ้องในวันทำสัญญา ส่วนเงินที่ทดรองลงตามจำนวนและวันที่ระบุในเอกสารหมาย ก. แผ่นที่ 2 และหมาย ข. จำเลยโต้เถียงว่าโจทก์มิได้ลงเงินตามจำนวน และวันเวลาที่โจทก์อ้าง เพียงแต่ต้องจ่ายเงินเท่าไร หุ้นส่วนแต่ละคนก็ใช้จ่ายไปแต่ละคน ฝ่ายจำเลยก็ได้ออกเงินทดรองไปด้วย โจทก์แถลงต่อไปว่าห้างหุ้นส่วนยังไม่ได้เลิกกัน แต่จำเลยว่าได้ประชุมเลิกกันแล้ว โจทก์จำเลยรับกันว่า ถ้าเลิกกิจการรายนี้ต้องชำระบัญชี

ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องสืบพยานแล้วพิพากษาว่าโจทก์จะฟ้องขอแบ่งทุนที่ลงหุ้นโดยไม่ฟ้องขอให้ศาลเลิกห้างหุ้นส่วนไม่ได้ พิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา ใจความสำคัญว่าโจทก์มอบเงินให้จำเลยไปเพื่อจะตั้งห้างหุ้นส่วนไทยวินำเพื่อขอสัมปทานที่ดินทำเหมืองแร่ เมื่อห้างหุ้นส่วนไทยวินำยังไม่ได้ตั้งขึ้น ก็ไม่จำเป็นต้องชำระบัญชี โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินที่มอบแก่จำเลยคืนได้

ศาลฎีกาเห็นว่า คำบรรยายฟ้องของโจทก์และเอกสารหมาย ก.ท้ายฟ้อง ประกอบกับคำแถลงรับของโจทก์จำเลย แสดงให้เห็นโดยชัดเจนแล้วว่า หุ้นส่วนระหว่างโจทก์จำเลยได้ตั้งขึ้นและได้ดำเนินการไปตามวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนไปบางส่วน โดยมีการวิ่งเต้นจนได้รับสัมปทานที่ดินมาเพื่อทำเหมืองแร่แล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้ตั้งชื่อห้างหุ้นส่วนเพื่อดำเนินการในขั้นต่อไปเท่านั้น เมื่อโจทก์จำเลยเกิดการขัดแย้งกันจนไม่อาจดำรงการเป็นหุ้นส่วนต่อไปได้ โจทก์ก็ชอบที่จะต้องจัดการขอให้มีการเลิกหุ้นส่วนเพื่อชำระบัญชีดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055ถึง 1063 เมื่อการชำระบัญชีไม่ถูกต้องอย่างใด โจทก์จึงจะมีสิทธิฟ้องคดีได้โจทก์จะมาฟ้องขอคืนเงินที่ลงหุ้นไป โดยยังไม่มีการชำระบัญชีหาได้ไม่ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2529

โจทก์จำเลยทำสัญญากันว่า จำเลยได้มอบที่ดินให้แก่โจทก์รับไปจัดการแบ่งเป็นแปลงแล้วนำออกจำหน่าย เมื่อจำหน่าย หมดแล้วให้หักค่าที่ดินและค่าใช้จ่ายของโจทก์ที่ได้จัดการ ดังกล่าว เหลือเท่าใดให้แบ่งเป็น 3 ส่วน มอบให้โจทก์ 2 ส่วน ให้จำเลย 1 ส่วน ดังนี้ เป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1012 การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าบุกเบิกจัดสรรที่ดินจากจำเลย จึงเป็นการเรียกร้องเงินค่าที่ได้ลงหุ้นไป เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาแล้วจึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 1061 คือต้องจัดการชำระบัญชี เสียก่อน โจทก์จะมาฟ้องขอคืนเงินที่ได้ลงหุ้นไปโดยยังไม่มี การชำระบัญชีหาได้ไม่ โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 104,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า "ปัญหาแรกตามฎีกาของจำเลยมีว่าตามสัญญาเอกสารหมาย จ.1 โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยหรือไม่ศาลฎีกาพิเคราะห์สัญญาเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งเป็นปัญหาพิพาทกันในคดีนี้มีข้อความในสาระสำคัญว่า จำเลยได้มอบที่ดินให้แก่โจทก์รับไปจัดการแบ่งเป็นแปลงแล้วนำออกจำหน่าย เมื่อจำหน่ายหมดแล้วให้หักค่าที่ดินและค่าใช้จ่ายของโจทก์ที่ได้จัดการดังกล่าวเหลือเท่าใดให้จัดสรรแบ่งเป็น 3 ส่วน มอบให้โจทก์ 2 ส่วนให้จำเลย 1 ส่วน เห็นว่า ตามสัญญาข้างต้นเป็นเรื่องโจทก์จำเลยตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกันคือการนำที่ดินไปจัดสรรแบ่งขายและมีความประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้นคือ เมื่อหักค่าที่ดินและค่าลงทุนใช้จ่ายแล้วแบ่งให้โจทก์สองในสามส่วน ให้จำเลยหนึ่งในสามส่วน สัญญานี้จึงเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1012 การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าบุกเบิกจัดสรรที่ดินจากจำเลยจึงเป็นการเรียกร้องเงินค่าที่ได้ลงหุ้นไป เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีการบอกเลิกสัญญากันระหว่างโจทก์จำเลยแล้วจึงต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 1061 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือต้องจัดการชำระบัญชีเสียก่อน โจทก์จะมาฟ้องขอคืนเงินที่ได้ลงหุ้นไปโดยยังไม่มีการชำระบัญชีหาได้ไม่ โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้นและไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของจำเลยต่อไป"

พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีตามสิทธิของโจทก์ใหม่ ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลแทนจำเลยโดยกำหนดค่าทนายความให้ 6,000 บาท

 




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 58(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

คนเสมือนไร้ความสามารถทำพินัยกรรม
ทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ
ผู้ขนส่งจะส่งมอบของแก่ผู้รับของได้ต่อได้รับเวนคืนใบตราส่ง
สิทธิยื่นคำคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
เจ้าของรวมขายกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของตน
หนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้
ผู้รับโอน-สิทธิไถ่ทรัพย์สิน
ผลที่ผู้ค้ำประกันตกลงด้วยในการผ่อนเวลา
สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้ที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนตน