ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




หนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

ข้อ 2. นายอุดรและนายอิสานเป็นเจ้าของรีสอร์ตแห่งหนึ่งร่วมกัน ทั้งสองต้องการปรับปรุงซ่อมแซมรีสอร์ตที่ต้องใช้เงินจำนวน 5,000,000 บาท นายอุดรและนายอิสานจึงไปขอกู้เงินจากนายกรุงและนายชาติ โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดียวที่มีข้อสัญญาระบุวงเงินให้กู้ว่า นายกรุงให้กู้จำนวน 3,000,000 บาทนายชาติให้กู้จำนวน 2,000,000 บาท และมีข้อสัญญากำหนดไว้ด้วยว่า นายอุดรและนายอิสานรับผิดในการกู้เงินนี้อย่างลูกหนี้ร่วม ในสัญญาที่ทำขึ้นนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ ต่อมาหลังจากทำสัญญากู้ยืมเงินได้ 2 ปีนายกรุงเรียกให้นายอุดรคนเดียวชำระเงินกู้ทั้งหมด 5,000,000 บาทตามสัญญา นายอุดรปฏิเสธไม่ชำระหนี้ให้นายกรุงโดยยกข้อต่อสู้ว่า นายกรุงไม่มีสิทธิเรียกชำระหนี้ เพราะสัญญากู้ยืมเงินไม่มีกำหนดเวลาคืนเงิน เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนจึงจะเรียกชำระหนี้ได้ และนายกรุงไม่มีสิทธิเรียกให้นายอุดรคนเดียวชำระเงินกู้ทั้งหมด 5,000,000 บาท เพราะส่วนที่นายอุดรจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้นต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กับนายอิสานดังนั้นนายอุดรจึงมีหนี้ต้องชำระเพียง 2,500,000 บาทให้นายกรุงเท่านั้น

ให้วินิจฉัยว่า ข้อต่อสู้ของนายอุดรฟังขึ้นหรือไม่

ธงคำตอบ


ข้อต่อสู้ของนายอุดรที่ว่านายกรุงไม่มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้เพราะไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า ฟังไม่ขึ้นเพราะหนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกชำระหนี้ได้โดยพลันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 203 โดยไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อน (เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2518, 7399/2547)

ส่วนข้อต่อสู้ที่ว่านายกรุงไม่มีสิทธิเรียกให้นายอุดรชำระหนี้เงินกู้ทั้งหมด 5,000,000 บาท ฟังขึ้นเพราะตามสัญญากู้ยืมเงินมีการระบุวงเงินให้กู้ของนายกรุงและของนายชาติไว้คนละจำนวนแยกกัน ไม่ได้มีข้อตกลงการเป็นเจ้าหนี้ร่วม กรณีจึงเป็นเจ้าหนี้หลายคนในหนี้ที่แบ่งกันได้ซึ่งเจ้าหนี้แต่ละคนชอบที่จะได้รับแต่เพียงเท่าส่วนของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 290 (เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6251/2541) ดังนั้น นายกรุงจะเรียกชำระหนี้เกินกว่าส่วนของตนไม่ได้

สำหรับข้อที่นายอุดรต่อสู้ว่านายอุดรต้องรับผิดเพียง 2,500,000 บาทเท่านั้น เนื่องจากเป็นลูกหนี้ร่วมกับนายอิสานจึงต้องแบ่งส่วนของความรับผิดออกเป็นส่วนเท่าๆ กัน เป็นข้ออ้างในเรื่องความรับผิดในระหว่างลูกหนี้ร่วมด้วยกันเองตามมาตรา 296 แต่ความรับผิดของลูกหนี้ร่วมต่อเจ้าหนี้นั้น ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งคนใดอาจถูกเรียกให้ชำระหนี้โดยสิ้นเชิงได้ตามมาตรา 291 ดังนั้นนายอุดรจึงต้องรับผิดชำระหนี้ในส่วนที่นายกรุงให้กู้ทั้งหมดเป็นเงิน 3,000,000 บาท ข้อต่อสู้ของนายอุดรในข้อนี้จึงฟังไม่ขึ้น

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 203 "ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้นั้นมิได้กำหนดลงไว้หรือจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันและฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน
 ถ้าได้กำหนดเวลาไว้ แต่หากกรณีเป็นที่สงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนถึงเวลานั้นหาได้ไม่แต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นก็ได้"

มาตรา 290 "ถ้าการชำระหนี้เป็นการอันจะแบ่งกันชำระได้และมีบุคคลหลายคนเป็นลูกหนี้ก็ดี มีบุคคลหลายคนเป็นเจ้าหนี้ก็ดี เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ท่านว่าลูกหนี้แต่ละคนจะต้องรับผิดเพียงเป็นส่วนเท่าๆกัน และเจ้าหนี้แต่ละคนก็ชอบที่จะได้รับแต่เพียงเป็นส่วนเท่าๆกัน"

มาตรา 296 "ในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันทั้งหลายนั้น ท่านว่าต่างคน ต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ถ้าส่วนที่ลูกหนี้ร่วมกันคนใดคนหนึ่งจะพึงชำระนั้น เป็นอันจะเรียก เอาจากคนนั้นไม่ได้ไซร้ ยังขาดจำนวนอยู่เท่าไร ลูกหนี้คนอื่นๆ ซึ่งจำต้องออกส่วนด้วยนั้นก็ต้องรับใช้ แต่ถ้าลูกหนี้ร่วมกันคนใด เจ้าหนี้ได้ปลดให้หลุดพ้นจากหนี้อันร่วมกันนั้นแล้ว ส่วนที่ลูกหนี้ คนนั้นจะพึงต้องชำระหนี้ก็ตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้ไป"

มาตรา 291 "ถ้าบุคคลหลายคนจะต้องทำการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนจำต้องชำระหนี้สิ้นเชิงไซร้ แม้ถึงว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะได้รับชำระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียว(กล่าวคือลูกหนี้ร่วมกัน)ก็ดี เจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือกแต่ลูกหนี้ทั้งปวงก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิง "

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2518

กู้เงินไม่มีกำหนดเวลาชำระคืน ผู้ให้กู้เรียกให้ชำระเงินได้โดยพลัน ไม่จำต้องบอกกล่าวก่อนฟ้อง

สัญญากู้มอบที่สวนให้ทำกินต่างดอกเบี้ย ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิทำกินต่างดอกเบี้ยต่อไปตั้งแต่วันศาลพิพากษาให้จำเลยเสียดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีจนกว่าจะชำระเสร็จ ชั้นฎีกาไม่มีข้อโต้แย้งว่าโจทก์มีสิทธิทำกินต่างดอกเบี้ยต่อไปหรือไม่ จึงต้องถือตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันพิพากษา ส่วนการทำกินต่างดอกเบี้ย เมื่อพิพากษาแล้วต่อไปไม่คืนสวน เป็นคนละเรื่องกัน

ป.พ.พ.

มาตรา 224 "หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมายก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น

ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
 การพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่นนอกกว่านั้น ท่านอนุญาตให้พิสูจน์ได้ "

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7875/2549

โจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าเครื่องเคหภัณฑ์ เครื่องเฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้า รวมทั้งอะไหล่และอุปกรณ์ของสินค้าดังกล่าว การที่โจทก์จำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องเฟอร์นิเจอร์ให้แก่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการประกอบธุรกิจหรือดำเนินกิจการในวัตถุประสงค์ของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 นั้น ประกอบกิจการโรงแรม การที่จำเลยที่ 1 ซื้อสินค้าประเภทเครื่องเฟอร์นิเจอร์จากโจทก์ก็เพื่อนำไปใช้ในกิจการโรงแรมของจำเลยที่ 1 อันเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 จึงเข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ฉะนั้นการที่โจทก์ฟ้องเรียกราคาค่าสินค้าประเภทเครื่องเฟอร์นิเจอร์ที่ค้างชำระจากจำเลยที่ 1 จึงต้องใช้อายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5)

การซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้กำหนดเวลาอันพึงชำระหนี้ไว้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันและฝ่ายจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ก็ย่อมชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 ดังนั้นเมื่อโจทก์ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว สิทธิในการเรียกร้องเอาเงินค่าสินค้าจากจำเลยที่ 1 ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับมอบสินค้าจากโจทก์แต่ละคราว

 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ 5 รายการ เป็นเงิน 1,037,044.40 บาท จำเลยทั้งสี่จะต้องชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์ภายในวันที่ 27 กรกฎาคม 2542 แต่ไม่ชำระ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงิน 1,402,087.55 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากต้นเงิน 1,079,894.40 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยทั้งสี่ให้การว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยได้รับสินค้า โจทก์ส่งสินค้าตามที่กล่าวอ้างให้แก่จำเลยที่ 1 ตามใบสั่งซื้อตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2538 หากนับเวลาตั้งแต่จำเลยที่ 1 ได้รับสินค้าตามฟ้องจนถึงวันฟ้องเกินกำหนดเวลา 2 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 1,037,044.42 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2542 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ยกฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4

จำเลยที่ 1 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เห็นว่า ตามสำเนาหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 8 โจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าเครื่องเคหภัณฑ์ เครื่องเฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้ารวมทั้งอะไหล่และอุปกรณ์ของสินค้าดังกล่าว การที่โจทก์จำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องเฟอร์นิเจอร์ให้แก่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการประกอบธุรกิจหรือดำเนินกิจการในวัตถุประสงค์ของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 นั้น ประกอบกิจการโรงแรม การที่จำเลยที่ 1 ซื้อสินค้าประเภทเครื่องเฟอร์นิเจอร์จากโจทก์ก็เพื่อนำไปใช้ในกิจการโรงแรมของจำเลยที่ 1 อันเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 จึงเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (1) ฉะนั้นการที่โจทก์ฟ้องเรียกราคาค่าสินค้าประเภทเครื่องเฟอร์นิเจอร์ที่ค้างชำระจากจำเลยที่ 1 จึงต้องใช้อายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (5) ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่ากรณีเช่นนี้ต้องถืออายุความ 2 ปี นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา

มีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า อายุความ 5 ปี เริ่มนับแต่เมื่อใด เห็นว่าการซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้กำหนดเวลาอันพึงชำระหนี้ไว้ โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันและฝ่ายจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203 ดังนั้น เมื่อโจทก์ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว สิทธิในการเรียกร้องเอาเงินค่าสินค้าจากจำเลยที่ 1 ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับมอบสินค้าจากโจทก์แต่ละคราว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสินค้าประเภทเฟอร์นิเจอร์ที่จำเลยที่ 1 สั่งซื้อและค้างชำระราคาแก่โจทก์มี 4 ครั้ง เป็นเงินทั้งสิ้น 988,980 บาท เมื่อคิดส่วนลดที่โจทก์ลดให้ร้อยละ 2 และภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 7 แล้ว ที่โจทก์ฎีกาว่า การสั่งซื้อสินค้ามีเงื่อนไขการชำระราคาตามใบสั่งซื้อเอกสารหมาย จ.6 อันมีเงื่อนไขว่าการจ่ายเงินจะกระทำต่อเมื่อแผนกบัญชีได้รับใบเสร็จและใบอินวอยซ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายและผ่านการตรวจสอบแล้ว เมื่อโจทก์ได้ส่งใบกำกับภาษี/ใบส่งของและใบส่งของชั่วคราวของสินค้าที่จำเลยที่ 1 สั่งซื้อทั้งสี่ครั้ง ให้แก่จำเลยที่ 1 ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2542 จึงต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2542 นั้น เห็นว่า เงื่อนไขตามใบสั่งซื้อเอกสารหมาย จ.6 เป็นเพียงเงื่อนไขที่ว่าผู้ซื้อจะชำระเงินแก่ผู้ขายต่อเมื่อผู้ขายได้ส่งใบเสร็จรับเงินและใบส่งของใบแจ้งหรือแสดงรายการสินค้าที่ขายให้แก่ผู้ซื้อเท่านั้น หาใช่กำหนดเวลาชำระค่าสินค้าไม่ ทั้งการที่โจทก์จำหน่ายสินค้าแก่จำเลยตามใบส่งของชั่วคราวเอกสารหมาย จ.9 แผ่นที่ 2 ถึง 5 ก็มิได้เป็นการจำหน่ายตามใบสั่งซื้อเอกสารหมาย จ.6 ฎีกาของโจทก์ในส่วนนี้ไม่อาจรับฟังได้

ปัญหาที่วินิจฉัยประการสุดท้ายมีว่า จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชำระราคาค่าสินค้าแก่โจทก์เพียงใด ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า สินค้าประเภทเฟอร์นิเจอร์ที่จำเลยที่ 1 ซื้อจากโจทก์และค้างชำระราคามี 4 ครั้ง ตามใบสั่งของชั่วคราวเอกสารหมาย จ.9 แผ่นที่ 2 ถึง 5 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 988,980 บาท เมื่อคิดส่วนลดที่โจทก์ลดให้ร้อยละ 2 และภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 7 แล้วเป็นเงินทั้งสิ้น 1,037,044.40 บาท แต่ตามใบส่งของชั่วคราวเอกสารหมาย จ.9 แผ่นที่ 2 พนักงานของจำเลยที่ 1 ได้รับสินค้าวันที่ 26 มิถุนายน 2539 เมื่อพิจารณาเวลาดังกล่าววันที่ 23 กรกฎาคม 2544 ซึ่งเป็นวันฟ้องได้พ้นกำหนด 5 ปีแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าสินค้าตามใบส่งของชั่วคราวดังกล่าวได้ ส่วนค่าสินค้าที่จำเลยที่ 1 ยังค้างชำระอีก 3 ครั้ง ตามใบส่งของชั่วคราวเอกสารหมาย จ.9 แผ่นที่ 3 ถึง 5 พนักงานของจำเลยที่ 1 รับสินค้าจากโจทก์แทนจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2539 วันที่ 28 ตุลาคม 2539 และวันที่ 12 พฤศจิกายน 2539 เมื่อนับระยะเวลาดังกล่าวถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 5 ปี ฟ้องโจทก์ตามใบส่งของชั่วคราวใน 3 ครั้งหลังจึงไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามใบส่งของชั่วคราวใน 3 ครั้งหลังดังกล่าว โดยคิดหักส่วนลดให้โจทก์ลดให้ร้อยละ 2 ของราคาสินค้าและรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วเป็นเงิน 830,386.34 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดแต่ละคราว แต่โจทก์ขอดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2542 จึงให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์ขอ ฎีกาโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน”

พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 830,386.34 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2542 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3602/2546

สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้อันเกิดจากการใช้สินค้าและบริการของผู้ประกอบการค้าหรือผู้ให้บริการ มิได้กำหนดเวลาการชำระหนี้ไว้ชัดเจน ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้โดยพลันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203

สัญญาเช่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างโจทก์จำเลย ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนเพื่อให้จำเลยชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บริการโทรศัพท์ แม้ตามเงื่อนไขของสัญญาดังกล่าวระบุให้ผู้ใช้บริการนำเงินค่าใช้บริการไปชำระให้แก่ผู้ให้บริการภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ ก็เป็นเพียงเงื่อนไขของการบอกกล่าวเพื่อให้ชำระหนี้ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เท่านั้น ฉะนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าใช้บริการจึงเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยได้ใช้บริการโทรศัพท์ของโจทก์ในแต่ละครั้ง เมื่อช่วงระยะเวลาที่จำเลยใช้บริการโทรศัพท์จนถึงวันฟ้องเกินกว่า2 ปี คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ

คดีสืบเนื่องจากโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเช่าใช้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าเป็นเงิน 167,571.91 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยให้การว่า ไม่เคยทำสัญญากับโจทก์ หนี้ตามฟ้องโจทก์มิได้เรียกร้องเอาภายในกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิเรียกร้องจึงขาดอายุความ

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 167,571.91 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2544 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(7) หรือไม่ เห็นว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวนี้เป็นหนี้อันเกิดจากการใช้สินค้าและบริการของผู้ประกอบการค้าหรือผู้ให้บริการ ซึ่งหากมิได้กำหนดเวลาการชำระหนี้ไว้ชัดเจน ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้โดยพลันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 203 คดีนี้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในสัญญาเช่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างโจทก์จำเลยเอกสารหมาย จ.5 ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนเพื่อให้จำเลยชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บริการโทรศัพท์ แม้ตามเงื่อนไขของสัญญาดังกล่าวในข้อ 7 ที่ระบุให้ผู้ใช้บริการนำเงินค่าใช้บริการไปชำระให้แก่ผู้ให้บริการภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ข้อความดังกล่าวเป็นเพียงเงื่อนไขของการบอกกล่าวเพื่อให้ชำระหนี้ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เท่านั้น ฉะนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าใช้บริการจึงเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยได้ใช้บริการโทรศัพท์ของโจทก์ในแต่ละครั้ง เมื่อปรากฏตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.6 ถึง จ.9 ว่าช่วงระยะเวลาที่จำเลยใช้บริการโทรศัพท์จนถึงวันฟ้อง (วันที่ 28 มิถุนายน 2544) เกินกว่า 2 ปีคดีของโจทก์จึงขาดอายุความ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยฎีกาของจำเลยฟังขึ้น"

พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6251/2541

ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทที่โจทก์นำมาฟ้องได้ระบุวงเงินให้กู้ของโจทก์และของผู้ให้กู้อื่นแก่จำเลยที่ 1 ไว้คนละ จำนวนในวงเงินไม่เท่ากันและเป็นไปตามลำดับ โจทก์และ ผู้ให้กู้อื่นมีส่วนในหนี้นั้นแยกกัน จึงไม่เป็นเจ้าหนี้ร่วมกัน ทั้งตามสัญญาก็มิได้กำหนดว่าการฟ้องคดีโจทก์จะต้องได้รับ ความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้ให้กู้ด้วยกันเสียก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ ตามบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องเจ้าหนี้หลายคนก็มิได้ระบุว่าผู้ให้กู้คนใดคนหนึ่งจะต้องได้รับ ความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้ให้กู้คนอื่นก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้โดยไม่ต้อง ได้รับความยินยอมจากผู้ให้กู้รายอื่นก่อน ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า อัตราดอกเบี้ยสูงเกินส่วนที่โจทก์ควรจะได้รับโจทก์วิเคราะห์ขนาดของเงินลงทุนผิดพลาด ทำให้จำเลยทั้งสี่เป็นหนี้หลายร้อยล้านบาทและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษจำเลยทั้งสี่จึงไม่ต้องรับผิดเกินกว่าร้อยละ 13.5 ต่อปี นั้นตามคำให้การของจำเลยทั้งสี่ได้ให้การเกี่ยวกับดอกเบี้ยว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินตามสัญญากู้ไม่ครบวงเงินกู้ทำให้โครงการขาดทุนหมุนเวียนถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญาจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยทั้งสี่ก็อุทธรณ์ทำนองเดียวกันนี้ ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็วินิจฉัยว่าข้อที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ต้องรับผิดดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปีนั้น จำเลยทั้งสี่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงไม่รับวินิจฉัยให้ ดังนั้น ปัญหาเรื่องดอกเบี้ยซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกในอัตราร้อยละ 21 ต่อปีสูงเกินไปหรือไม่จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ อีกทั้งปัญหาเรื่องนี้มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงิน261,681,664.38 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวนับจากวันฟ้องเป็นต้นไป หากไม่ชำระให้บังคับจำนองจากที่ดินและเครื่องจักรออกขายทอดตลาดหากไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสี่ออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ

จำเลยทั้งสี่ให้การว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ร่วมเสริมกิจ จำกัด มิใช่โจทก์และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1ต่อโจทก์ โจทก์รับโอนสิทธิและหน้าที่จากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ร่วมเสริมกิจ จำกัด โดยมิได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรจึงไม่สมบูรณ์และมิได้แจ้งให้จำเลยทราบ โจทก์จึงไม่สามารถเรียกร้องจากจำเลยทั้งสี่ได้ นอกจากนั้นการให้กู้เป็นแบบการให้กู้รวมผู้ให้กู้ทุกรายจะต้องได้รับความยินยอมและเห็นชอบก่อนจึงจะฟ้องผู้กู้ได้ หนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไม่ชอบด้วยกฎหมายและจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินกู้ตามสัญญาครบวงเงินกู้ จึงไม่จำต้องรับผิดในดอกเบี้ยที่เกินกว่าร้อยละ 13.5 ต่อปี ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินตามสัญญากู้ฉบับแรกเป็นเงิน 111,694,069.86 บาท ตามสัญญากู้ฉบับที่ 2 เป็นเงิน 149,987,594.52 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ของต้นเงิน 261,681,664.38 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์หากไม่ชำระหนี้ตามสัญญากู้ฉบับแรกให้บังคับจำนองจากที่ดินโฉนดเลขที่ 3420,3421, 3424, 3448, 3869, 4358 และ 4430พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นอันดับที่ 1 และที่ 3 ในวงเงิน101,700,000 บาท และ 35,000,000 บาท ตามลำดับและบังคับจำนองจากเครื่องจักรพร้อมส่วนควบและอุปกรณ์หมายเลขทะเบียน (รหัส 32 318 201) 0048 - 0183ในวงเงิน 18,000,000 บาท และหมายเลขทะเบียน(รหัส 33 318 201) 0691 - 0766, 0768 - 0791,0793 - 0798 และ (รหัส 33 323 201) 0014 - 0070ในวงเงิน 59,000,000 บาท หรือหากไม่ชำระหนี้ตามสัญญากู้ฉบับที่สองให้บังคับจำนองจากที่ดินและเครื่องจักรดังกล่าวเป็นอันดับที่สองในวงเงิน 67,300,000 บาท และ 14,650,000 บาทตามลำดับ และบังคับจำนองจากเครื่องจักรพร้อมส่วนควบและอุปกรณ์หมายเลขทะเบียน (รหัส 34 318 201) 0633 - 0635,0637 - 0684 ในวงเงิน 38,050,000 บาท หากบังคับจำนองไม่พอชำระหนี้ ให้บังคับคดีเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสี่

จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ 248,340,306.85 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าว นับตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2538 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยทั้งสี่ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสี่ประการแรกมีว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมิได้รับความเห็นชอบจากผู้ให้กู้รายอื่นได้หรือไม่เห็นว่า ตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.37และ จ.38 ได้ระบุวงเงินให้กู้ของโจทก์และของผู้ให้กู้อื่นแก่จำเลยที่ 1 ไว้คนละจำนวนในวงเงินไม่เท่ากันและเป็นไปตามลำดับ โจทก์และผู้ให้กู้อื่นมีส่วนในหนี้นั้นแยกกัน จึงไม่เป็นเจ้าหนี้ร่วมกัน ทั้งตามสัญญาก็มิได้กำหนดว่าการฟ้องคดีโจทก์จะต้องได้รับความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้ให้กู้ด้วยกันเสียก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ ตามบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องเจ้าหนี้หลายคนก็มิได้ระบุว่าผู้ให้กู้คนใดคนหนึ่งจะต้องได้รับความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้ให้กู้คนอื่นก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ ดังนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้กู้รายอื่นก่อน

ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสี่ประการต่อไปมีว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสี่ในอัตราร้อยละ 21 ต่อปีสูงเกินไปหรือไม่ โดยจำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า อัตราดอกเบี้ยสูงเกินส่วนที่โจทก์ควรจะได้รับ โจทก์วิเคราะห์ขนาดของเงินลงทุนผิดพลาดทำให้จำเลยทั้งสี่เป็นหนี้หลายร้อยล้านบาท และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษเช่นใด จำเลยทั้งสี่จึงไม่ต้องรับผิดเกินกว่าร้อยละ 13.5 ต่อปี เห็นว่า ตามคำให้การของจำเลยทั้งสี่ได้ให้การเกี่ยวกับดอกเบี้ยว่าจำเลยที่ 1ได้รับเงินตามสัญญากู้ไม่ครบวงเงินกู้ทำให้โครงการขาดทุนหมุนเวียนถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญา จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยทั้งสี่ก็อุทธรณ์ทำนองเดียวกันนี้ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็วินิจฉัยว่าข้อที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ต้องรับผิดดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปีนั้น จำเลยทั้งสี่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงไม่รับวินิจฉัยให้ ดังนั้น ปัญหาเรื่องดอกเบี้ยซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี สูงเกินไปหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 อีกทั้งปัญหาเรื่องนี้มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

พิพากษายืน

 หนี้มีกำหนดเวลาแน่นอนจึงต้องตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิต้องบอกกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10625/2555

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตแล้วผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่ามิได้ผิดนัด คงให้การแต่เพียงว่าสัญญาบัตรเครดิตระหว่างโจทก์กับจำเลยยังคงมีผลบังคับ เนื่องจากโจทก์มิได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่การเลิกสัญญากับการผิดนัดเป็นคนละเรื่องคนละกรณีกัน กล่าวคือ หนี้ที่เกิดจากมูลสัญญา เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 หรืออาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตาม มาตรา 386 ถึง มาตรา 388 ก็ได้ แล้วแต่เจ้าหนี้จะเลือก หาได้หมายความว่าหากโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยมีสิทธิไม่ต้องชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ไม่ ดังนั้น เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้มีกำหนดเวลาแน่นอนตามวันแห่งปฏิทิน การที่จำเลยมิได้ชำระตามกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนหรือบอกกล่าวอีกตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง อันเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อนฟ้อง

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 215,372.12 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของต้นเงิน 144, 973.89 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 173,992.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 9 มีนาคม 2549 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 173,992.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ของต้นเงิน 139,963.50 บาท นับแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2549 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยเฉพาะข้อกฎหมายว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ในเรื่องนี้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาว่า จำเลยเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์หมายเลข 3763 - 145942 - 01007 ส่วนนางมาลี เป็นสมาชิกบัตรเสริมหมายเลข 3763 - 145942 - 01015 ซึ่งจำเลยยินยอมรับผิดต่อโจทก์สำหรับยอดค้างชำระอันเกิดจากการใช้บัตรเสริมดังกล่าว จำเลยและนางมาลีสมาชิกบัตรเสริมนำบัตรเครดิตและบัตรเสริมไปใช้ชำระค่าสินค้าและบริการระหว่างวันที่ 8 มีนาคม 2547 ถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2549 โจทก์ทดรองจ่ายเงินแทนจำเลยและสมาชิกบัตรเสริม แล้วเรียกเก็บเงินจากจำเลยเป็นรายเดือน แต่จำเลยไม่ได้ชำระหนี้ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวน 173,992.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ของต้นเงิน 139,963.50 บาท นับแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2549 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตแล้วผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่ามิได้ผิดนัดชำระหนี้ดังกล่าว คงให้การแต่เพียงว่าสัญญาบัตรเครดิตระหว่างโจทก์กับจำเลยยังคงมีผลบังคับอยู่ เนื่องจากโจทก์ยังมิได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 35 ทวิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเท่านั้น แต่การเลิกสัญญากับการผิดนัดเป็นคนละเรื่องคนละกรณีกัน กล่าวคือ หนี้ที่เกิดจากมูลสัญญา เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 หรืออาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 386 ถึงมาตรา 388 ก็ได้ แล้วแต่เจ้าหนี้จะเลือก หาได้หมายความว่าหากโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยมีสิทธิไม่ต้องชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ไม่ ดังนั้น เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้มีกำหนดเวลาแน่นอนตามวันแห่งปฏิทิน การที่จำเลยมิได้ชำระตามกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยจึงต้องตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนหรือบอกกล่าวอีกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสอง อันเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อนฟ้อง

พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความในชั้นฎีกา 3,000 บาท แทนโจทก์

ป.พ.พ. มาตรา 302

มาตรา 302 "ถ้าการชำระหนี้เป็นการอันจะแบ่งกันชำระมิได้และมีบุคคลหลายคนเป็นเจ้าหนี้ ถ้าบุคคลเหล่านั้นมิได้เป็นเจ้าหนี้ร่วมกันไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ได้แต่จะชำระหนี้ให้ได้ประโยชน์แก่บุคคลเหล่านั้น ทั้งหมดด้วยกันและเจ้าหนี้แต่ละคนจะเรียกชำระหนี้ได้ก็แต่เพื่อได้ ประโยชน์ด้วยกันหมดทุกคนเท่านั้น อนึ่ง เจ้าหนี้แต่ละคนจะเรียกให้ลูกหนี้วางทรัพย์ที่เป็นหนี้นั้นไว้เพื่อประโยชน์แห่งเจ้าหนี้หมดทุกคนด้วยกันก็ได้หรือถ้าทรัพย์นั้นไม่ควรแก่การจะวางไว้ ก็ให้ส่งแก่ผู้พิทักษ์ทรัพย์ซึ่งศาลจะได้ตั้งแต่งขึ้น
 นอกจากนี้ ข้อความจริงใดที่เท้าถึงเจ้าหนี้คนหนึ่งเท่านั้นหาเป็นไปเพื่อคุณหรือโทษแก่เจ้าหนี้คนอื่นๆ ด้วยไม่"




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 58(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

ห้างหุ้นส่วนจำกัดก่อนจดทะเบียน
คนเสมือนไร้ความสามารถทำพินัยกรรม
ทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ
ผู้ขนส่งจะส่งมอบของแก่ผู้รับของได้ต่อได้รับเวนคืนใบตราส่ง
สิทธิยื่นคำคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
เจ้าของรวมขายกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของตน
ผู้รับโอน-สิทธิไถ่ทรัพย์สิน
ผลที่ผู้ค้ำประกันตกลงด้วยในการผ่อนเวลา
สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้ที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนตน