ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ผู้รับโอน-สิทธิไถ่ทรัพย์สิน

ผู้รับโอน-สิทธิไถ่ทรัพย์สินสัญญาขายฝาก

ข้อ 4. นายจันทร์ทำสัญญาขายที่ดินแปลงหนึ่งให้แก่นายอังคาร กำหนดโอนกรรมสิทธิ์ภายใน 2 ปี ต่อมาอีก 1 เดือนนายจันทร์นำที่ดินแปลงดังกล่าวไปจดทะเบียนขายฝากไว้กับนายพุธ กำหนดไถ่คืนภายใน 2 ปีเมื่อถึงกำหนดโอนที่ดินให้แก่นายอังคาร นายจันทร์ผิดสัญญาไม่สามารถโอนที่ดินให้ได้และเมื่อใกล้ครบกำหนดไถ่ที่ดินคืน นายจันทร์ขอเลื่อนกำหนดไถ่ไปอีก 6 เดือน นายพุธยินยอมโดยบันทึกข้อความไว้ในสัญญาขายฝากและลงชื่อไว้ ในวันครบกำหนดไถ่ที่เลื่อนไปนายจันทร์ไม่สามารถไถ่ที่ดินคืนได้ นายอังคารทราบจึงไปขอใช้สิทธิไถ่ต่อนายพุธ นายพุธไม่ยอมให้ไถ่อ้างว่านายอังคารไม่ใช่ผู้มีสิทธิไถ่ ทั้งเลยกำหนดไถ่มาแล้วเพราะการเลื่อนกำหนดเวลาไถ่ที่ทำไว้กับนายจันทร์เป็นโมฆะ

ให้วินิจฉัยว่า นายอังคารมีสิทธิไถ่ที่ดินจากนายพุธหรือไม่

ธงคำตอบ

สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายจันทร์และนายอังคารมีข้อตกลงโอนกรรมสิทธิ์ภายใน 2 ปีจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย (เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2520) เมื่อนายจันทร์ผิดสัญญา นายอังคารจึงอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิไถ่ทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497 (2) และมีสิทธิไถ่ที่ดินคืนจากนายพุธได้(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390-3391/2538, 294/2492) การที่นายจันทร์ขอเลื่อนกำหนดเวลาไถ่และนายพุธยินยอมโดยบันทึกข้อความไว้ในสัญญาขายฝากและลงชื่อไว้ เป็นการขยายกำหนดเวลาไถ่ที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ ตามมาตรา 496 วรรคสอง จึงใช้บังคับกันได้ไม่เป็นโมฆะ นายอังคารจึงมีสิทธิไถ่ที่ดินคืนจากนายพุธได้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 497 "สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินนั้นจะพึงใช้ได้แต่บุคคลเหล่านี้คือ
(1) ผู้ขายเดิมหรือทายาทของผู้ขายเดิม หรือ
(2) ผู้รับโอนสิทธินั้นหรือ
(3) บุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้โดยเฉพาะว่าให้เป็นผู้ไถ่ได้ "

 มาตรา 496 "การกำหนดเวลาไถ่นั้นอาจทำสัญญาขยายกำหนดเวลาไถ่ได้แต่กำหนดเวลาไถ่รวมกันทั้งหมด ถ้าเกินกำหนดเวลาตามมาตรา 494 ให้ลดลงมาเป็นกำหนดเวลาตามมาตรา 494

การขยายกำหนดเวลาไถ่ตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ ถ้าเป็นทรัพย์สินซึ่งการซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ห้ามมิให้ยกการขยายเวลาขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว เว้นแต่จะได้นำหนังสือหรือหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวไปจดทะเบียนหรือจดแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ "

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2520

โจทก์ฟ้องว่า ในการซื้อขายที่พิพาท ได้ตกลงกันว่าจำเลยจะต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ด้วย โดยจำเลยจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์หลังจากที่จำเลยแบ่งแยกที่พิพาทออกจากโฉนดแล้ว ดังนี้ การซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยมิใช่เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แต่เป็นเพียงสัญญาจะซื้อขาย

การที่โจทก์และจำเลยตกลงจะซื้อจะขายที่พิพาทกันแล้วโจทก์เข้าครอบครองที่พิพาทนั้น เป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของจำเลยตามสัญญาจะซื้อขาย อันเป็นการยึดถือที่พิพาทแทนจำเลย มิใช่เป็นการ ยึดถือในฐานะเป็นเจ้าของ ทั้งไม่ปรากฏว่าต่อมาโจทก์เปลี่ยนแปลงลักษณะ แห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังจำเลยว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่พิพาทแทนจำเลยต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ดังนั้น แม้จะฟังว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 10 ปี โจทก์ ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดที่ 19966 เนื้อที่ 169 ตารางวา และที่ดินโฉนดที่ 9204 เนื้อที่ 71 ตารางวา ที่ดินทั้ง 2 แปลงนี้เป็นสินบริคณห์ของจำเลยทั้งสองและอยู่ติดกัน เมื่อต้น พ.ศ. 2501 จำเลยขายที่ดิน 2 แปลงนี้ให้โจทก์และมอบให้โจทก์ครอบครอง โจทก์เข้าครอบครองโดยปลูกสร้างอาคารอยู่อาศัยและมีรั้วเป็นเขตตลอดมา ต่อมาจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดที่ 19966 ให้โจทก์ แต่ยังไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดที่ 9204 ให้เพราะจะต้องแบ่งแยกให้ที่ดินมีระดับเสมอกับที่ดินโฉนดที่ 19966 ทางทิศตะวันตกเสียก่อน ที่ดินที่จะแบ่งแยกมีเนื้อที่ประมาณ 41 ตารางวา โจทก์ชำระค่าที่ดินแล้ว แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่ได้แบ่งแยก โจทก์ครอบครองที่ดินเนื้อที่ประมาณ 41 ตารางวา ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของที่ดินโฉนดที่ 19966 ปรากฏตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้องโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ พ.ศ. 2501 ติดต่อกันเกิน 10 ปีแล้ว โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง เมื่อ พ.ศ. 2512 จำเลยที่ 2 โดยความยินยอมของจำเลยที่ 1 มอบให้นายพิชัย รัตตกุล ฟ้องบิดาโจทก์หาว่าบุกรุกที่ดิน ปรากฏตามคดีหมายเลขดำที่ 5190/2512 ของศาลชั้นต้น อันเป็นการรบกวนสิทธิครอบครองของโจทก์ ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินโฉนดที่ 9204 เฉพาะเนื้อที่ 41 ตารางวาตามแผนที่ท้ายฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครอง ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้อง ให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ 9204 ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพระนครรังวัดแบ่งแยกที่พิพาทเนื้อที่ 41 ตารางวาออกจากโฉนดดังกล่าว แล้วออกโฉนดสำหรับที่พิพาทลงชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์โดยให้จำเลยเสียค่าธรรมเนียม ถ้าจำเลยไม่จัดการให้ถือคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย

จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยไม่เคยขายที่ดินโฉนดที่ 19966 และโฉนดที่ 9204 ให้โจทก์ ไม่เคยมอบที่ดินให้โจทก์ครอบครองและไม่เคยรับเงินค่าที่ดินจากโจทก์ โจทก์ไม่เคยครอบครองที่ดินโฉนดที่ 9204 เนื้อที่ 41 ตารางวาตามแผนที่ท้ายฟ้อง จำเลยครอบครองที่ดินโฉนดที่ 9204 ในฐานะเป็นเจ้าของตลอดมา ฯลฯ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ เป็นว่าโจทก์ได้ครอบครองปรปักษ์ที่พิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดที่ 9204 จนได้กรรมสิทธิ์แล้ว ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง ให้จำเลยจัดการแบ่งแยกที่พิพาทตามแผนที่พิพาทออกจากโฉนดที่ 9204 แล้วโอนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ถ้าจำเลยไม่จัดการให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย คำขอของโจทก์นอกจากนี้ให้ยก

จำเลยทั้งสองฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จากคำบรรยายฟ้องของโจทก์ปรากฏว่าในการซื้อขายที่พิพาท ตกลงกันว่าจำเลยที่ 2 จะต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้โจทก์ด้วย โดยจำเลยที่ 2 จะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้โจทก์หลังจากที่จำเลยที่ 2 แบ่งแยกที่พิพาทออกจากโฉนดที่ 9204 แล้ว การซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงมิใช่เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แต่เป็นเพียงสัญญาจะซื้อขาย การที่โจทก์และจำเลยที่ 2 ตกลงจะซื้อจะขายที่พิพาทกัน แล้วโจทก์เข้าครอบครองที่พิพาทนั้น เป็นการครอบครองที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 2 ตามสัญญาจะซื้อขายอันเป็นการยึดถือที่พิพาทแทนจำเลยที่ 2 มิใช่เป็นการยึดถือในฐานะเป็นเจ้าของ ทั้งไม่ปรากฏว่าต่อมาโจทก์เปลี่ยนแปลงลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่พิพาทแทนจำเลยที่ 2 ต่อไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ดังนั้น แม้จะฟังว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 10 ปี โจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 จึงไม่จำต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ตกลงขายที่พิพาทให้โจทก์หรือไม่ โจทก์ชำระราคาที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 แล้วหรือไม่ และโจทก์ครอบครองที่พิพาทมาเกิน 10 ปีหรือไม่

พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390 - 3391/2538

สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทเกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากสัญญาจะซื้อขายซึ่งมีการวางมัดจำหรือชำระราคาบางส่วนแล้วต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองซึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แม้ไม่มีเอกสารมาแสดง เมื่อมีปัญหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระเงินตามสัญญาซื้อขายครบถ้วนแล้วหรือไม่โจทก์จึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้ มิใช่เป็นการสืบพยานเพื่อหักล้างเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94อีกทั้งสัญญาดังกล่าวเป็นเอกสารที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2กับบริษัทบ.ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาเดิมในการจองซื้อขอให้โอนให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2ฉะนั้น ผู้ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะยกข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นอ้างได้ก็เฉพาะกรณีที่ต่อสู้กับบริษัทบ.เท่านั้น โจทก์ฝ่ายหนึ่งกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 อีกฝ่ายหนึ่งทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินซึ่งกันและกัน แต่ที่ดินและบ้านของจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้นจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้นำไปขายฝากไว้กับจำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิไถ่ทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497(2) จำเลยที่ 3 ต้องรับการไถ่เมื่อโจทก์มีเงินจำนวนที่เป็นสินไถ่ แต่จำเลยที่ 3 ไม่ยอมรับโจทก์ได้นำเงินไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ก่อนพ้นกำหนดไถ่จำเลยที่ 3 จึงปฏิเสธไม่ยอมรับการไถ่ถอนการขายฝากไม่ได้

คดีทั้งสองสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันโดยเรียกนางสาวศิริอร หวังปรีชาชาญ ว่าโจทก์เรียกนายประมวลหรือกิตติพัฒน์ รื่นพรต นางสาวเอมอรหรือนางเอมอรว่องรัตนพิทักษ์ และนายเพชร กลั่นหอม ว่าจำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 3ตามลำดับ

สำนวนแรกโจทก์ฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 33888-90 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกาจังหวัดปทุมธานี พร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินบ้านเลขที่ 600/1361ให้แก่โจทก์ พร้อมทำการโอนกรรมสิทธิ์ในการเช่าโทรศัพท์หมายเลข5239145 และสิทธิในมิเตอร์น้ำประปา ไฟฟ้า สำหรับบ้านดังกล่าวกับชำระค่าเสียหายจำนวน 1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงิน 1,000,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ หากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาให้จำเลยที่ 3 รับเงินที่โจทก์วางศาลเพื่อชำระหนี้ไถ่ถอนการขายฝากแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 และให้จำเลยที่ 3 ไปดำเนินการจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝาก หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาไถ่ถอนการขายฝาก หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระเงินจำนวน7,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงิน7,000,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะชำระเงินให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น

จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การและฟ้องแย้ง ขอให้ยกฟ้องบังคับให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 2,600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าโจทก์จะได้ชำระให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วเสร็จ

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2

จำเลยที่ 3 ให้การขอให้ยกฟ้อง

สำนวนหลัง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฟ้อง ขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 2,600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ

โจทก์ให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 33888-90 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกาจังหวัดปทุมธานี พร้อมสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 600/1361 ให้แก่โจทก์และให้จำเลยที่ 3 จดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านดังกล่าว หากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน กับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ทำการโอนสิทธิการเช่าเครื่องโทรศัพท์หมายเลข 5239145 สิทธิในมิเตอร์น้ำประปา ไฟฟ้า สำหรับบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ และให้จำเลยที่ 1และที่ 2 มีสิทธิรับเงินจากสำนักงาน วางทรัพย์ไปจำนวน 600,000 บาทจำเลยที่ 3 มีสิทธิรับไป 2,480,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยกและให้ยกฟ้องคดีสำนวนหลัง

จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ทั้งสองสำนวน

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยทั้งสามฎีกาทั้งสองสำนวน

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ตามที่คู่ความนำสืบรับกันว่า เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2533 โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพร้อมบ้านเลขที่ 600/1361 ตำบลคูคตอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จากจำเลยที่ 1 และที่ 2 พร้อมเฟอร์นิเจอร์ รวมราคา 6,000,000 บาท และโต๊ะอาหารแกะสลัก1 ชุด ราคา 50,000 บาท ตามสัญญาจะซื้อขาย เอกสารหมาย จ.8และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อขาย ที่ดินและบ้านเลขที่229/13 ซอยเฉลิมสุข เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร จากโจทก์ราคา2,400,000 บาท ตามสัญญาจะซื้อขาย เอกสารหมาย จ.9 ที่ดินและบ้านเลขที่ 600/1361 จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำไปขายฝากไว้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2532 กำหนดระยะเวลา 1 ปี จำนวนเงิน 2,480,000 บาท ส่วนที่ดินพร้อมบ้านเลขที่ 229/13 เป็นขอบริษัทบ้านทิพย์รัตน์ จำกัด สัญญาจะซื้อขายทั้งสองฉบับดังกล่าวกำหนดวันจดทะเบียนและชำระราคาที่เหลือในวันเดียวกันคือวันที่ 30 สิงหาคม 2533 ต่อมาวันที่ 10 สิงหาคม 2533บริษัทบ้านทิพย์รัตน์ จำกัด จดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมบ้านเลขที่229/13 ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามเอกสารหมาย จ.11 และ จ.12ครั้นวันที่ 30 สิงหาคม 2533 โจทก์กับพวกไปพบผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 พร้อมกับจำเลยที่ 3 ที่สำนักงานที่ดินจังหวัดปทุมธานี สาขาธัญบุรี แต่ไม่อาจตกลงกันได้ โดยฝ่ายจำเลยจะให้โจทก์ชำระเงิน 5,080,000 บาท ส่วนโจทก์อ้างว่า ฝ่ายจำเลยที่ 1และที่ 2 ยังค้างชำระเงินค่าที่ดินพร้อมบ้านเลขที่ 229/13 อยู่1,900,000 บาท จึงต้องหักเงินดังกล่าวออกจากจำนวนเงินที่โจทก์จะต้องชำระให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทั้งสองฝ่ายได้ทำบันทึกให้แก่เจ้าพนักงานที่ดินไว้คนละ 1 ฉบับ ตามเอกสารหมาย จ.24 และ ล.2ต่อมาวันที่ 31 สิงหาคม 2533 โจทก์นำเงินไปวางที่ สำนักงานวางทรัพย์ศาลจังหวัดธัญบุรี ตามเอกสารหมาย จ.18 ถึง จ.21

ปัญหาต้องวินิจฉัยในลำดับแรกตามฎีกาของจำเลยทั้งสามที่เป็นข้อกฎหมายว่าโจทก์มีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบหักล้างเอกสารหมาย จ.11ซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมบ้านเลขที่ 229/13 หรือไม่ เห็นว่าสัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.11 เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากสัญญาจะซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งตามสัญญาจะซื้อขายมีการวางมัดจำหรือชำระราคาบางส่วนไว้แล้ว เข้ากรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง ซึ่งอาจฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แม้ไม่มีเอกสารแสดงเมื่อมีปัญหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระเงินตามสัญญาซื้อขายครบถ้วนแล้วหรือไม่โจทก์จึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้ มิใช่เป็นการสืบพยานเพื่อหักล้างเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 และเอกสาร จ.11เป็นเอกสารที่ทำขึ้นระหว่างบริษัทบ้านทิพย์รัตน์ จำกัด กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะยกข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นอ้างก็เฉพาะกรณีที่ใช้ต่อสู้กับบริษัทบ้านทิพย์รัตน์ จำกัดเท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่ายังไม่ได้รับชำระราคาตามสัญญาจะซื้อขาย เอกสารหมาย จ.9เพราะจะนำไปหักกลบลบหนี้กับจำนวนเงินที่โจทก์จะต้องชำระให้จำเลยตามสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมาย จ.8 นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยฎีกาของจำเลยทั้งสามฟังไม่ขึ้น

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาข้อต่อไปคือ โจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาซึ่งมีข้อที่ต้องพิจารณาในเบื้องต้นว่า โจทก์ได้รับชำระเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องชำระตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมบ้านเลขที่ 229/13 หรือยัง โจทก์มีตัวโจทก์กับนายคมกฤชเบิกความว่าเนื่องจากบริษัทบ้านทิพย์รัตน์ จำกัด เร่งให้โจทก์รับโอนที่ดินและบ้านดังกล่าว แต่เนื่องจากโจทก์ได้ขายให้จำเลยที่ 1และที่ 2 ไปแล้ว จึงให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับโอนจากบริษัทบ้านทิพย์รัตน์ จำกัด โดยไม่ต้องผ่านโจทก์ และนัดจดทะเบียนโอนในวันที่ 10 สิงหาคม 2533 แต่เนื่องจากโจทก์ได้ชำระค่าที่ดินและบ้านครบถ้วนแล้ว ตามเอกสารหมาย จ.2 การโอนตรงไปยังจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นเพียงเพื่อให้จำเลยที่ 1 และที่ 2เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ ส่วนการชำระเงินคงเป็นไปตามสัญญาแต่เนื่องจากว่าโจทก์ต้องชำระค่าที่ดินและบ้านเลขที่ 600/1361จึงตกลงว่าจะหักเงินดังกล่าวออกจากเงินที่โจทก์จะต้องชำระให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งจะถึงกำหนดชำระในอีก 20 วันต่อมาส่วนจำเลยนำสืบว่าโจทก์เร่ง ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับโอนโดยจะลดราคาให้ 100,000 บาท จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงได้ไปขอยืมเงินจากนายชนะจำนวน 1,800,000 บาท ให้ผลประโยชน์ตอบแทน200,000 บาท โดยออกเช็คลงวันที่ล่วงหน้าให้แก่นายชนะจำนวน2,000,000 บาท ตามเอกสารหมาย ล.5 ข้อเท็จจริงจะเป็นดังที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดนำสืบจะได้พิจารณาต่อไป ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ฎีกาว่าข้อตำหนิของศาลอุทธรณ์เรื่องที่จำเลยที่ 1 เบิกความแตกต่างกับนายชนะในเรื่องจำนวนเงินที่ยืมมาชำระให้โจทก์ และเมื่อเช็คถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน นายชนะก็มิได้ดำเนินคดีอาญากับจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นเรื่องผิดปกติแต่อย่างใดนั้น ศาลฎีกาเห็นว่านอกจากข้อแตกต่างดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วเมื่อพิเคราะห์ถึงเหตุผลที่ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.8 และ จ.9 ในวันเดียวกัน กำหนดวันถึงกำหนดชำระเงินที่เหลือในวันจดทะเบียนโอนไว้ในวันเดียวกันแสดงว่าคู่กรณีมีเจตนาจะให้สัญญาทั้งสองฉบับมีความเกี่ยวเนื่องกันดังจะเห็นได้ว่าเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมาย จ.9ก็นำไปหักจากเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมาย จ.8โดยบันทึกไว้ในเอกสารหมาย จ.8 ว่า โจทก์ชำระเป็นเช็คให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเงิน 550,000 บาท ซึ่งตรงกับผลต่างของเงินมัดจำตามสัญญาทั้งสองฉบับ กับค่าโต๊ะอาหารแกะสลักทางนำสืบของโจทก์จึงน่าเชื่อว่าเงินจำนวน 1,900,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องชำระให้โจทก์นั้นมีการตกลงให้หักกับเงินที่โจทก์จะต้องชำระให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในตอนที่โจทก์จะรับโอนที่ดินและบ้านจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 และอีกประการหนึ่งสัญญาจะซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.9 เป็นสัญญาที่มีเงื่อนเวลาซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ประโยชน์จากเงื่อนเวลานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 191 และ 192 หากโจทก์เร่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปฏิบัติก่อนกำหนด จำเลยที่ 1 และที่ 2ย่อมมีสิทธิปฏิเสธได้ อีกทั้งระยะเวลาเหลืออีกเพียง 20 วันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็จะได้รับชำระเงินตามสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมาย จ.8 แล้ว เหตุใดจึงยอมเสียผลประโยชน์จากการไปยืมเงินนายชนะถึง 200,000 บาท ทั้ง ๆ ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ลดราคาให้เพียง 100,000 บาท เท่านั้นเป็นการผิดวิสัยที่จำเลยที่ 1และที่ 2 จะยอมเสียประโยชน์ 100,000 บาท โดยที่มีสิทธิได้ประโยชน์จากเงื่อนเวลาดังที่กล่าวมาแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังไม่ได้ชำระราคาให้โจทก์ในการรับโอนที่ดินและบ้านเลขที่ 229/13 เนื่องจากมีการตกลงว่าจะนำมาหักจากจำนวนเงินที่โจทก์จะชำระให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในวันที่ 30 สิงหาคม 2533

เมื่อฟังว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังมิได้ชำระเงินให้โจทก์1,900,000 บาท โจทก์จึงมีสิทธินำมาหักกลบลบหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1และที่ 2 จะมีหนังสือตามเอกสารหมาย ล.1 แจ้งให้โจทก์ปฏิบัติและโจทก์จะได้รับหนังสือนั้นแล้ว โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามคงปฏิบัติเฉพาะในข้อที่จะต้องแยกจำนวนเงินไปชำระให้จำเลยที่ 3ผู้รับซื้อฝากเท่านั้น และเมื่อถึงวันนัดโจทก์กับพวกก็ไปยังสำนักงานที่ดินเพื่อรับโอนที่ดินและบ้านตามสัญญา แต่ที่ตกลงกันไม่ได้ เพราะฝ่ายจำเลยไม่ยอมรับว่ายังค้างชำระเงินโจทก์อยู่1,900,000 บาท ที่โจทก์ขอหักกลบลบหนี้กันนั้น แม้ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีสิทธิจะกระทำแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2ได้ แต่เมื่อไม่ยอมให้โจทก์หักกลบลบหนี้ ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีสิทธิจะทำได้ ก็ถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ผิดสัญญา ส่วนกรณีที่มีบันทึกตามเอกสารหมาย จ.24 และ ล.2 ไม่ว่าฝ่ายใดจะนำยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ดินก่อนก็ไม่มีผลทำให้คำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงไปฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในประเด็นนี้ฟังไม่ขึ้น

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาอีกข้อหนึ่งคือโจทก์มีสิทธิไถ่ถอนการขายฝากจากจำเลยที่ 3 หรือไม่ ข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบรับกันคือ ที่ดินพร้อมบ้านเลขที่ 600/1361 จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำไปขายฝากไว้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2532 กำหนดเวลาไถ่ถอน 1 ปี จำนวนเงินที่เป็นสินไถ่ คือ 2,480,000 บาท และโจทก์ได้นำแคชเชียร์เช็คสำหรับเงินจำนวนดังกล่าวไปที่สำนักงานที่ดินในวันที่ 30 สิงหาคม 2533 ด้วย โดยจำเลยที่ 3 ทราบว่าฝ่ายโจทก์มีเงินจำนวนนั้น ต่อมาวันที่ 30 สิงหาคม 2533 โจทก์ได้นำแคชเชียร์เช็คฉบับดังกล่าวไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ ศาลจังหวัดธัญบุรีระบุว่าเพื่อชำระให้แก่จำเลยที่ 3 เป็นค่าไถ่ถอนการขายฝากและเหตุที่จำเลยที่ 3 ไม่ยอมรับชำระเงินในวันที่ 30 สิงหาคม 2533เพราะโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงกันไม่ได้ เห็นว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497 กำหนดบุคคลที่จะใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก และใน (2) กำหนดให้ผู้รับโอนสิทธินั้นมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้นได้ด้วย เมื่อฟังว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ต้องรับการไถ่ แม้ว่าจะมิใช่คู่สัญญาขายฝากก็ตาม เมื่อโจทก์มีเงินจำนวนที่เป็นสินไถ่ในวันที่ 30 สิงหาคม 2533 แต่จำเลยที่ 3ไม่ยอมรับ โจทก์จึงนำเงินไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ในวันที่31 สิงหาคม 2533 ซึ่งเป็นเวลาก่อนพ้นกำหนดไถ่ทรัพย์สิน ตามสัญญาขายฝาก จำเลยที่ 3 จึงปฏิเสธไม่ยอมรับการไถ่ถอนการขายฝากไม่ได้ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสามในข้อนี้ฟังไม่ขึ้นอีกเช่นกัน"

พิพากษายืน

หมายเหตุ

1. คดีนี้ โจทก์สืบพยานบุคคลแก้ไขสัญญาซื้อขาย (เอกสารหมายจ.11) ที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยนำสืบแก้ไขจากที่ระบุว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ชำระราคา ครบถ้วนแล้ว ศาลฎีกาให้สืบพยานบุคคลได้โดยให้เหตุผลว่า สัญญาซื้อขายดังกล่าวสืบเนื่องมาจากสัญญาจะซื้อขาย เอกสารหมาย จ.7 ซึ่งไม่ต้องห้ามนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารเพราะสัญญาจะซื้อขายนอกจากทำเป็นหนังสือแล้วยังมีการวางมัดจำกันด้วย จึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง ซึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ แม้ไม่มีเอกสารมาแสดง อีกทั้งโจทก์มิได้เป็นคู่สัญญาตามสัญญาซื้อขายกับจำเลย โจทก์จึงนำสืบเปลี่ยนแปลงได้จำเลยจึงยกข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 ขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้

2. สัญญาจะซื้อขายที่มีการวางมัดจำหรือชำระราคาบางส่วนเดิมถือว่าเป็นกรณีที่กฎหมายมิได้บังคับว่าการนำสืบต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จึงนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารได้(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2486,2482 ฎ.391) แต่ต่อมาถือว่าคู่สัญญาประสงค์ที่จะผูกพันกันโดยหนังสือสัญญา การวางมัดจำเป็นเพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้น ไม่ถือเป็นการทำสัญญาด้วยการวางมัดจำจึงต้องห้ามสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2492 ประชุมใหญ่ 2492 ฎ.900) หลังจากนั้นก็มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่กลับไปวินิจฉัยตามแนว (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2486อีกดังเช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/25002500 ฎ.1795 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/25092509 ฎ.1911 กระทั่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่อีกครั้ง โดยกลับไปวินิจฉัยตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1545/2492 และศาลฎีกาต่อมาวินิจฉัย โดยใช้แนวนี้มาจนถึงปัจจุบัน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2515 ประชุมใหญ่2515, ฎ.2137,คำพิพากษาศาลฎีกาที่1384/25232523ฎ.878,คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9088/25262526 ฎ.2371, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/25282528 ฎ.1419, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9575/25282528ฎ.2589,คำพิพากษาศาลฎีกาที่581/25302530ฎ.465)

คดีนี้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อขายมีการวางมัดจำหรือชำระราคาบางส่วนไว้แล้ว จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แม้ไม่มีเอกสารมาแสดงจึงไม่ตรงกับหลักกฎหมายตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2515ประชุมใหญ่ดังกล่าวข้างต้น ด้วยความเคารพต่อคำวินิจฉัยของศาลฎีกาผู้บันทึกเห็นด้วยกับหลักกฎหมายตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2515ที่วินิจฉัยว่าสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะคู่สัญญาเจตนาทำสัญญากันเป็นหนังสือไม่ได้เจตนาทำสัญญาด้วยการวางมัดจำ เรื่องการวางมัดจำเป็นเพียงสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น จะถือว่าศาลฎีกากลับไปใช้หลักเดิมตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2486 อีกหรืออย่างไร คงต้องรอดูคำพิพากษาศาลฎีกาต่อ ๆ ไป

3. ส่วนสัญญาซื้อขายที่ระบุว่าชำระราคาครบถ้วนแล้ว จะสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้ว่าสืบไม่ได้ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 160/25182518 ฎ.99 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/25242524 ฎ.1351, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1700/25272527ฎ.1040)

4. คดีนี้ศาลฎีกาให้เหตุผลประการหนึ่งว่า สัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.11 สืบเนื่องมาจากสัญญาจะซื้อขายตามเอกสารหมายจ.9 เมื่อสัญญาจะซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.9 สามารถสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงพยานเอกสารได้แล้ว โจทก์ก็สามารถนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.11 ได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ผู้บันทึกเห็นว่าสัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.11 สืบเนื่องมาจากสัญญาจะซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.9 ไม่มีข้อโต้เถียง แต่การพิจารณาว่าสัญญาฉบับใดต้องห้ามสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 หรือไม่ น่าจะต้องพิจารณาแยกกัน การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินสามารถทำสัญญาซื้อขายจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ แม้จะไม่ได้ทำสัญญาจะซื้อกันมาก่อน และแม้จะมีการทำสัญญาจะซื้อขายมาแล้ว ก็ยังต้องมีการทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีกชั้นหนึ่ง

ดังนั้นหากจะพิจารณาว่าสืบพยานบุคคลแก้ไขเอกสารได้หรือไม่ก็ต้องพิจารณาเฉพาะเอกสารที่จะสืบแก้ไขว่าต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 หรือไม่ ไม่น่าจะถือว่าแม้ตัวเอกสารที่จะสืบแก้ไขต้องห้ามตาม มาตรา 94 แต่ถ้าเป็นเอกสารที่สืบเนื่องจากเอกสารอื่นที่ไม่ต้องห้ามก็ทำให้เอกสารที่เดิมต้องห้ามสืบแก้ไข กลายเป็นสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ด้วยความเคารพผู้บันทึกจึงยังไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลฎีกาในส่วนนี้และเห็นว่าทั้งสัญญาจะซื้อขายและสัญญาซื้อขายในคดีนี้ต้องห้ามมิให้นำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95

5. ศาลฎีกาวินิจฉัยอีกตอนหนึ่งว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะยกข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ เพราะโจทก์ก็ไม่ได้เป็นคู่สัญญาซื้อขาย

หลักห้ามสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารนี้ มีเหตุผลว่าเมื่อสมัครใจทำสัญญาใดเป็นหนังสือแล้ว ก็ต้องพิจารณาตามข้อความในหนังสือนั่นเอง (พระยาจิดาภิรมย์ภักดี, คำอธิบายกฎหมายลักษณะพิจารณาคำพยานหลักฐาน, พิมพ์ครั้งที่ 2,2464 หน้า 112-113) กิจการที่ทำเป็นหนังสือนั้นผู้ทำได้แสดงเจตนาออกไว้แจ้งชัดแน่นอนและเด็ดขาดพร้อมด้วยมีความประสงค์ที่จะขจัดข้อสงสัยใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายหน้าเมื่อเป็นการตกลงปลงใจของผู้ทำเช่นนี้ จึงตกอยู่ในข้อห้ามไม่ให้นำพยานบุคคลมาสืบให้ความเป็นอย่างอื่น (ศาสตราจารย์แอลดูปลาตร์,คำบรรยายกฎหมายลักษณะพยานและจิตตวิทยา,2477,หน้า 181) ถือว่าเป็นข้อห้ามเด็ดขาด (โสภณรัตนนากร, คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน พิมพ์ครั้งที่ 1,2536 หน้า 199,เข็มชัยชุติวงศ์, กฎหมายลักษณะพยาน พิมพ์ครั้งที่ 4,2536,หน้า 198, พรเพชรวิชิตชลชัย, คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน,พิมพ์ครั้งที่ 1,2536, หน้า 222) คู่ความจะตกลงเป็นอย่างอื่นไม่ได้มาตรา 94 ห้ามคู่ความมิได้บัญญัติห้ามเฉพาะผู้ที่เป็นคู่สัญญาเท่านั้นลองพิจารณาว่าหากในคดีหนึ่งมีคู่ความมากกว่า 2 ฝ่ายบางฝ่ายที่เป็นคู่สัญญาต้องห้ามมิให้สืบเปลี่ยนแปลง บางฝ่ายที่มิได้เป็นคู่สัญญากลับนำสืบเปลี่ยนแปลงและแก้ไขเจตนาความประสงค์ของคู่สัญญาได้ ทั้งที่กฎหมายถือเป็นยุติว่า คู่สัญญามีเจตนาตามข้อความในเอกสารนั้นเช่นนี้แล้วข้อเท็จจริงตามเอกสารจะฟังยุติได้อย่างไรคงเป็นเรื่องยุ่งยากแก่ศาลมากด้วยความเคารพต่อศาลฎีกา ผู้บันทึกยังไม่เห็นด้วยและเห็นว่า ถ้าเป็นเอกสารที่ต้องห้ามนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้ว ทุกฝ่ายที่เป็นคู่ความในคดีนั้นก็ถูกห้ามไปด้วยเว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นให้สืบได้ ในคดีนี้โจทก์ก็ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95 เช่นเดียวกับจำเลย

6. คดีนี้ผู้บันทึกเห็นว่า โจทก์เถียงว่าวันทำสัญญาซื้อขายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ชำระเงินแต่ได้มีการตกลงให้หักกลบลบหนี้ระหว่างโจทก์ จำเลย เนื้อแท้ของข้อเถียงโจทก์ก็คือ ถือว่าจำเลยชำระแล้วในวันทำสัญญาซื้อขายด้วยการหักกลบลบหนี้นั่นเอง

ข้อตกลงในส่วนหักกลบลบหนี้นั้น น่าจะถือได้ว่าเป็นการนำสืบถึงวิธีการชำระหนี้ซึ่งเป็นข้อตกลงอีกส่วนหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายได้ อันถือเป็นข้อยกเว้นของการนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเอกสารได้ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/25052505 ฎ.861,คำพิพากษาศาลฎีกาที่2241/25342534ฎ. เล่ม 4หน้า 125) และการนำสืบว่าโจทก์จำเลยเป็นหนี้ต่อกันอย่างไรได้มีการหักหนี้กันแล้วอย่างไร ศาลฎีกาก็ถือเป็นข้อยกเว้นให้สืบได้(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 190/25102510 ฎ.1158)

นอกจากนี้ ผู้บันทึกยังเห็นว่าคดีนี้ข้อโต้เถียงของโจทก์ก็เพื่อบังคับตามสัญญาจะซื้อขาย โจทก์มิได้ประสงค์จะนำสืบโต้เถียงเพื่อบังคับตามสัญญาซื้อขายแต่อย่างใด ดังนั้นจึงถือว่าเข้าข้อยกเว้นที่จะสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขพยานเอกสารได้เช่นกัน(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1669/25112511 ฎ.1912, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/25222522 ฎ.43,คำพิพากษาศาลฎีกาที่3303/25322532ฎ.1423)

คดีนี้เป็นไปได้ว่าศาลฎีกาเห็นว่าไม่เข้าข้อยกเว้นที่ศาลฎีกาเคยอนุญาตให้สืบได้จึงให้เหตุผลในทางที่ว่าเป็นสัญญาสืบเนื่องจากสัญญาที่สืบแก้ไขได้และโจทก์ไม่ใช่คู่สัญญา

ด้วยความเคารพต่อศาลฎีกา ผู้บันทึกเห็นด้วยในผลที่ยอมให้โจทก์นำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาซื้อขายได้ แต่น่าจะเป็นเพราะเป็นข้อตกลงอีกส่วนหนึ่งต่างหาก และนำสืบเพื่อบังคับตามสัญญาจะซื้อขายเท่านั้น ไม่ใช่เพราะเป็นสัญญาที่สืบเนื่องมาจากสัญญาจะซื้อขายหรือเพราะโจทก์ไม่ใช่คู่สัญญา

สมชาย รัตนชื่อสกุล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2492

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะขายที่นาขณะที่ฟ้องคดีนาไม่ได้อยู่ในกรรมสิทธิ์ของจำเลย โดยได้ตกไปเป็นของผู้รับซื้อฝากเสียแล้ว เมื่อจำเลยยังมิได้ไถ่ถอนกลับคืนมาก็ไม่มีทางที่จะบังคับให้จำเลย ทำการโอนขายให้โจทก์ได้ เพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ศาลพิพากษาบังคับได้

คดีผิดสัญญาจะซื้อขายที่นาอาจมีทางที่โจทก์จะเรียกร้องได้ในทางอื่น เช่น ใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายหรือใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยทำการไถ่ถอนการขายฝากจากผู้รับซื้อฝากแทนที่จำเลย ดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233,234 แต่โจทก์หาได้ดำเนินการดังกล่าวไม่ โจทก์ฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงขอให้ศาลบังคับจำเลยโอนขายที่นาให้โจทก์แต่ประการเดียว เมื่อศาลบังคับให้โดยตรงเช่นนั้นไม่ได้ ต้องยกฟ้อง

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองเป็นสามีภริยากัน ได้ทำสัญญาจะขายที่นามีโฉนดให้แก่โจทก์เป็นเงิน 3,600 บาทจำเลยได้รับเงินล่วงหน้า 600 บาท แล้วสัญญาว่าจะไปโอนกรรมสิทธิ์ใน พ.ศ. 2488 ในขณะทำสัญญา โฉนดที่รายนี้ จำเลยนำไปขายฝากนายวิเชียรที่กรุงเทพฯ ครบกำหนดสัญญาแล้ว โจทก์ไปขอชำระเงินที่ค้างแก่จำเลย และขอให้จำเลยไปทำสัญญาซื้อขายจำเลยขอผัดและไม่ยอมขายตามที่ตกลง จึงขอให้บังคับจำเลยรับเงิน 3,000 บาทและสั่งลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ต่อไป จำเลยทั้งสองให้การว่าจำเลยทั้งสองเคยทำสัญญาขายที่นาให้โจทก์และรับเงินไว้ตามฟ้อง ต่อมาจำเลยทวงถามขอรับเงินจากโจทก์ โดยบอกว่าที่นาจะขาดกรรมสิทธิ์ตกเป็นของนายวิเชียรผู้รับซื้อฝาก โจทก์ไม่ให้เงินแก่จำเลย จำเลยจึงไม่ขายนาให้โจทก์ที่นารายนี้จำเลยขายฝากไว้กับนายวิเชียรเมื่อ พ.ศ. 2476 ต่อมาเมื่อเวลาพ้น 10 ปีแล้ว ได้ขาดเป็นกรรมสิทธิ์ของนายวิเชียรสัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องใช้ไม่ได้ เพราะมีข้อความจะโอนขายในพ.ศ. 2488 แต่ใน พ.ศ. 2488 ที่นาได้ขาดเป็นกรรมสิทธิ์ของนายวิเชียรแล้ว โจทก์ไม่มีอำนาจบังคับได้ตามสัญญาที่นารายนี้นางลำใยจำเลยผู้เดียวได้ซื้อกรรมสิทธิ์ไว้จากนายวิเชียรเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2488 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เมื่อซื้อแล้วได้ขายฝากนางเช้าไว้ตลอดมาจนบัดนี้

ก่อนสืบพยานโจทก์ส่งสัญญาจะซื้อขายที่ดินตามที่โจทก์กล่าวฟ้องต่อศาล จำเลยดูแล้วรับว่า ได้ทำสัญญาขายที่ดินตามสัญญาจริงจำเลยส่งโฉนดต่อศาล โจทก์แถลงรับว่า ได้มีการแก้ทะเบียนหลังโฉนดตามรายละเอียดในโฉนดที่จำเลยนำส่งต่อศาลจริง โจทก์ จำเลยไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นได้เรียกนางเช้ามาสอบถาม โจทก์ จำเลยและนางเช้ารับว่าสัญญาขายฝากระหว่างนางลำใยจำเลย กับนางเช้าไม่มีกำหนดไถ่ถอน นางเช้าได้ส่งหนังสือสัญญาขายฝากต่อศาลศาลชั้นต้นเห็นว่า สัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลย ย่อมชอบด้วยกฎหมาย และบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาได้ พิพากษาให้จำเลยไถ่ถอนการขายฝากจากนางเช้า มาทำการโอนขายให้แก่โจทก์ตามสัญญาถ้าจำเลยไม่ยอมไถ่ และโอนขายตามคำพิพากษา ก็ให้โจทก์นำเงินที่จะต้องชำระในการซื้อขายไถ่ถอนการขายฝากจากนางเช้า โดยให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการบังคับจำเลยโอนที่ดินรายนี้ให้แก่โจทก์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สภาพแห่งหนี้ในคดีนี้ ไม่เปิดช่องให้ศาลพิพากษาบังคับได้เช่นนั้น เพราะเวลานี้นาไม่ได้อยู่ในกรรมสิทธิ์ของจำเลย ได้ตกไปเป็นของนางเช้าผู้รับซื้อฝากแล้ว

เมื่อจำเลยยังมิได้ไถ่ถอนคืนมา ก็ไม่มีทางบังคับให้จำเลยทำการโอนขายให้โจทก์ได้ เพราะนางเช้าอาจมีข้อโต้แย้งสิทธิไถ่ถอนของจำเลยอยู่ก็ได้ เมื่อนางเช้าไม่ได้เข้ามาในคดี ศาลจะบังคับเกี่ยวถึงสิทธิของนางเช้าซึ่งเป็นคนนอกคดีด้วยไม่ได้ และเห็นว่า การทำผิดสัญญาจะซื้อขายที่นาในคดีนี้ อาจมีทางที่โจทก์จะเรียกร้องได้ในทางอื่น เช่น ใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย หรือใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยทำการไถ่ถอนการขายฝากจากนางเช้าแทนที่จำเลยดังบัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233, 234 แต่โจทก์หาได้ดำเนินการดังกล่าวไม่ โจทก์ฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงขอให้ศาลบังคับจำเลยโอนขายที่นาให้โจทก์แต่ประการเดียวเมื่อศาลบังคับให้โดยตรงเช่นนั้นไม่ได้ ศาลต้องยกฟ้อง

พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง

 




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 58(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

ห้างหุ้นส่วนจำกัดก่อนจดทะเบียน
คนเสมือนไร้ความสามารถทำพินัยกรรม
ทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ
ผู้ขนส่งจะส่งมอบของแก่ผู้รับของได้ต่อได้รับเวนคืนใบตราส่ง
สิทธิยื่นคำคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
เจ้าของรวมขายกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของตน
หนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้
ผลที่ผู้ค้ำประกันตกลงด้วยในการผ่อนเวลา
สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้ที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนตน