

ลำดับส่วนแบ่งมรดกระหว่างคู่สมรสกับพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ลำดับส่วนแบ่งมรดกระหว่างคู่สมรสกับพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ข้อ 8. นายมิ่งกับนางขวัญ เป็นสามีภริยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส เกิดบุตรด้วยกันสองคน คือนายสดและนางสวย หลังจากคลอดนางสวยแล้ว นางขวัญ ก็ถึงแก่ความตาย นายมิ่ง ได้รับรองบุตรทั้งสองคนเป็นบุตรโดยพฤตินัยแล้ว ต่อมานายสด ได้สมรสกับนางบุญ โดยจดทะเบียนสมรส ก่อนสมรส 1 วัน นายมิ่งซื้อรถยนต์เก๋ง 1 คัน ราคา 2,000,000 บาท ให้เป็นของขวัญแก่คู่สมรส เมื่อเสร็จงานสมรสแล้ว นายมิ่ง เดินทางกลับภูมิลำเนาที่ต่างจังหวัดแต่เกิดอุบัติเหตุเสียชีวิต นายสด เศร้าสลดจนห้ามใจไม่ได้จึงฆ่าตัวตาย ปรากฏว่านายมิ่ง มีทรัพย์มรดกจำนวน 8,000,000 บาท ให้วินิจฉัยตามประเด็นต่อไปนี้ ธงคำตอบ (ก) ทรัพย์มรดกของ นายมิ่ง จำนวน 8,000,000 บาท ย่อมตกทอดไปยัง นายสดและนางสวย บุตรนอกกฎหมาย ที่บิดารับรองแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 ประกอบมาตรา 1629 (1) คนละส่วน เป็นเงินคนละ 4,000,000 บาท เฉพาะส่วนของนายสด แม้จะเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสก็ตาม แต่เป็นการได้มาโดยทางมรดก จึงเป็นสินส่วนตัวของ นายสดตามมาตรา 1471 (3)เป็นเงิน 4,000,000 บาท สำหรับรถยนต์เก๋ง 1 คันราคา 2,000,000 บาทซึ่งนายมิ่ง ได้ซื้อให้เป็นของขวัญแก่คู่สมรส แม้ให้ก่อนสมรสเพียง 1 วัน แต่นายมิ่งผู้ให้มีเจตนามอบให้แก่ คู่สมรสไว้ใช้สอยเมื่ออยู่ร่วมกัน จึงถือได้ว่าเป็น ทรัพย์สินที่คู่สมรสเป็นเจ้าของร่วมกัน จึงต้องแบ่งทรัพย์สินส่วนนี้ให้แก่ นายสดและนางบุญ คนละส่วนเท่ากัน ตามมาตรา 1625 (1), 1532คือ เป็นทรัพย์สินของนายสดเป็นเงิน 1,000,000 บาทดังนั้น ทรัพย์มรดกของนายสดจึงได้แก่สินส่วนตัว 4,000,000 บาท และสิทธิในรถยนต์อีก 1,000,000 บาทรวมเป็นมรดกทั้งสิ้น 5,000,000 บาท (ข) การที่นายมิ่งและนางขวัญ จะจดทะเบียนสมรสกันหรือไม่ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะทำให้ความเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ของนายสดและนางสวย เปลี่ยนแปลงไป เพราะต้องถือตามความเป็นจริง(คำพิพากษาฎีกาที่ 4828/2529)นางสวย จึงเป็นทายาทโดยธรรมและมีสิทธิได้รับมรดกของนายสด ตามมาตรา 1629 (3) สำหรับลำดับส่วนแบ่งระหว่าง นางสวยและนางบุญ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ย่อมเป็นไปตามมาตรา 1635 (2) ดังนั้น นางสวยและนางบุญจึงมีสิทธิรับมรดกของนายสดคนละกึ่ง คือ คนละ 2,500,000 บาท หมายเหตุ กรณีรถยนต์นั้น ผู้ตอบจะให้เหตุผลว่าเป็นสินสมรสตามคำพิพากษาฎีกาที่ 2259/2529 หรือจะให้เหตุผลว่าเป็นสินส่วนตัวของแต่ละคนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471 (3) ก็ให้ได้คะแนนเท่ากัน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรม นั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความ หมายแห่งประมวลกฎหมายนี้ มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่ง มาตรา 1635 มาตรา 1635 ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการ รับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดั่งต่อไปนี้ มาตรา 1471 สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน (1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส มาตรา 1625 ถ้าผู้ตายเป็นผู้สมรสแล้วการคิดส่วนแบ่งและการปัน ทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น ให้เป็นไปดั่งนี้ มาตรา 1532 เมื่อหย่ากันแล้วให้จัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยา แต่ในระหว่างสามีภริยา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4828/2529 การเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันต้องถือความเป็นพี่น้องกันตามความเป็นจริงส่วนบิดามารดาจะจดทะเบียนสมรสกันหรือไม่ ไม่ใช่สาระสำคัญเมื่อบิดามารดาของผู้ตายถึงแก่กรรมและผู้ตายก็ไม่มีผู้สืบสันดานพี่ร่วมบิดามารดาเดียวกันของผู้ตายซึ่งเป็นทายาทลำดับ3ตามป.พ.พ.มาตรา1629จึงเป็นผู้จัดการศพผู้ตายมีอำนาจฟ้องเรียกค่าปลงศพเพราะเหตุที่ลูกจ้างของจำเลยที่1ขับรถยนต์ชนผู้ตายถึงแก่ความตายได้ ฟ้องโจทก์ว่าโจทก์ทั้งสองเป็นพี่ชายและพี่สาวของผู้ตายร่วมบิดามารดาเดียวกันโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างของจำเลยทั้งสองคือค่าปลงศพค่ารถจักรยานยนต์ของโจทก์ที่1โดยระบุค่าเสียหายแต่ละรายการมาด้วยว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใดและขอให้จำเลยร่วมกันใช้ค่าเสียหายดังกล่าวจึงชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้อบังคับทั้งข้ออ้างและข้อหาส่วนรายละเอียดว่าใช้จ่ายอะไรไปบ้างเป็นเรื่องที่ต้องนำสืบในชั้นพิจารณาไม่จำเป็นต้องบรรยายมาในคำฟ้องฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม. โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นพี่ร่วมบิดามารดาเดียวกับนายเชาวลิต แซ่โง้ว บิดามารดาถึงแก่กรรมแล้ว จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกสิบล้อเลขทะเบียน 70-0098 ศก. นายบุญหรือเปี๊ยก หรือจะแก ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ได้ขับรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ด้วยความเร็วสูงมากล้ำเข้าไปในเส้นทางเดินรถของรถที่วิ่งสวนมา ชนรถจักรยานยนต์ยี่ห้อยามาฮ่า เลขทะเบียน2609 ศก. ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งนายเชาวลิต แซ่โง้ว เป็นผู้ขับและนางลาวัลย์ เจริญพิทยา นั่งซ้อนท้ายสวนทางมา เป็นเหตุให้รถยานยนต์หักพังใช้ประโยชน์ไม่ได้ นายเชาวลิตและนางลาวัลย์ถึงแก่ความตายโจทก์ต้องเสียค่าปลงศพเป็นเงิน 70,000 บาท ค่ารถจักรยานยนต์30,000 บาท ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายสำหรับค่าปลงศพและค่ารถจักรยานยนต์รวมทั้งค่าขาดไร้อุปการะเป็นเวลา 20 ปีรวมเป็นเงิน 700,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่ทำละเมิดจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์ทั้งสองไม่ใช่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับนายเชาวลิต แซ่โง้ว ไม่มีอำนาจฟ้อง และฟ้องขอโจทก์ทั้งสองเคลือบคลุม ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าปลงศพและค่าซ่อมแซมรถจักรยานยนต์รวมเป็นเงิน 78,113 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2526 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้โจทก์ครบถ้วน จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า สำหรับค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยที่ 1 ใช้เป็นเงิน 68,000 บาท นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ปัญหาที่ว่าโจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องเรียกค่าปลงศพหรือไม่นั้น...ไม่ปรากฏว่านายเชาวลิตมีภรรยาและบุตร จำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่านายเชาวลิตไม่ใช่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับโจทก์ทั้งสอง ส่วนบิดามารดาของโจทก์ทั้งสองและนายเชาวลิตจะจดทะเบียนสมรสกันหรือไม่ ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะทำให้ความเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาของโจทก์ทั้งสองและนายเชาวลิตเปลี่ยนแปลงไป เพราะกฎหมายมิได้กำหนดว่า การเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องให้บิดามารดาจดทะเบียนสมรสกันด้วยจึงต้องถือความเป็นพี่น้องกันตามความเป็นจริง ฉะนั้น เมื่อบิดามารดาถึงแก่กรรมและนายเชาวลิตไม่มีผู้สืบสันดาน โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทลำดับ 3ของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 จึงเป็นผู้จัดการศพของนายเชาวลิต และมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันได้แก่ค่าปลงศพ เพราะเหตุที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1ขับรถชนนายเชาวลิตถึงแก่ความตายได้... ส่วนฎีกาของจำเลยที่ 1 ว่า ฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม...ก็ปรากฏตามฟ้องของโจทก์ทั้งสองว่า โจทก์ทั้งสองเป็นพี่ชายและพี่สาวนายเชาวลิต แซ่โง้ว ร่วมบิดามารดาเดียวกัน และโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างของจำเลยทั้งสองคือค่าปลงศพ ค่ารถจักรยานยนต์ของโจทก์ที่ 1 โดยระบุค่าเสียหายแต่ละรายการมาด้วยว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใด ขอให้จำเลยร่วมรับใช้ค่าเสียหายดังกล่าว เป็นการบรรยายว่าโจทก์ฟ้องในฐานะทายาทซึ่งเป็นผู้ปลงศพนายเชาวลิตผู้ตาย และในฐานะที่โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์คันที่ได้รับความเสียหายจากผลแห่งละเมิดว่า ต้องเสียหายอย่างไรบ้างฟ้องโจทก์จึงชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างแห่งข้อหา ไม่จำต้องบรรยายในรายละเอียดและแสดงหลักฐานและแสดงหลักฐานมาในฟ้องว่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ต้องนำสืบในชั้นพิจารณาอยู่แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม..." พิพากษายืน. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2529 ของขวัญที่เป็นของใข้ในครอบครัวซึ่งญาติและเพื่อนของคู่สมรสมอบให้เนื่องในวันสมรสนั้นผู้ให้ย่อมมีเจตนาที่จะให้คู่สมรสได้ใช้สอยเมื่ออยู่ร่วมกันถ้าไม่ปรากฏว่าผู้ให้รายใดได้แสดงเจตนาไว้เป็นพิเศษว่ามอบให้แก่คู่สมรสฝ่ายใดโดยเฉพาะแล้วแม้จะเป็นของที่มอบให้ก่อนวันแต่งงาน1วันก็ตามก็ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสตกเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1474(1). ของใช้ในครอบครัวแม้จะเป็นของขวัญวันแต่งงานหรือเป็นของที่ซื้อมาหลังการสมรสแล้วก็ตามก็เป็นสินสมรส. เข็มขัดทองซึ่งเป็นของหมั้นให้แก่โจทก์นั้นเมื่อจำเลยได้ใช้ให้บุคคลภายนอกไปเอาคืนมาจากบิดาโจทก์จำเลยก็ต้องรับผิดคืนให้แก่โจทก์ด้วย. ศาลชั้นต้น พิพากษาให้จำเลยที่ 1 หย่าขาดจาก โจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่จดทะเบียนหย่า ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยทั้งสาม คืนทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ ท้ายฟ้องรายการ ที่ 2, 6, 13, 14 แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ ให้ใช้ เงิน134,300 บาท โจทก์ และ จำเลย ทั้งสามอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสาม คืนทรัพย์ รายการที่ 5 อันเป็นสินส่วนตัว ให้แก่โจทก์อีกด้วย หากคืนไม่ได้ ให้ใช้ เงิน 5,600 บาท แก่ โจทก์ และทรัพย์ รายการ ที่ 1, 3, 4, 7, 8,9, 10, 11 และ 12 เป็น สินสมรส ให้แบ่งแก่ โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 คนละครึ่ง ถ้าแบ่งกันไม่ได้ ให้ขายทอดตลาด แล้วแบ่ เงินกันคนละครึ่ง ส่วนเข็มขัดทองหนัก 20 บาท นั้น โจทก์ไม่ได้มอบให้จำเลยที่ 2 และ ที่ 3 จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องคืน ให้โจทก์ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียม ชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ โจทก์ ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า 'ประเด็นข้อแรกที่จะวินิจฉัยก็คือ ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้อง รายการ ที่ 1, 3, 4, 8, 9, 10, 12 คือตู้เย็น ซันโย พัดลมยืน และตั้งโต๊ะ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เก้าอี้หวาย 2 ตัวใหญ่หมุนได้ ราวตากผ้า และชั้นตั้งของ เซฟเล็ก เตารีดเนชั่นแนลเป็นสินเดิมของโจทก์ หรือว่าเป็นสินสมรส โจทก์ และจำเลยนำสืบรับกันว่า ทรัพย์รายการที่ 1, , 4, 9, 10, 12 คือ ตู้เย็นซันโยพัดลมยืนตั้งโต๊ะ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า ราวตากผ้า และชั้นตั้งของ เซฟเล็กเตารีดเนชั่นแนล เป็นของขวัญที่ญาติ และเพื่อนของของโจทก์ เนื่องในวันแต่งงาน และ ข้อเท็จจริงได้ความว่าเป็นของที่มอบให้ โจทก์ ก่อนวัน แต่งงาน 1 วั พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า ของเหล่านี้ เป็น ของใช้ ในครอบครัว เป็นของที่ให้เนื่องใน โอกาสแต่งงานของโจทก์ และจำเลยที่ 1 ผู้ให้ย่อมมีเจตนาที่จะ ให้คู่สมรสได้ใช้สอย เมื่ออยู่ร่วมกันไม่ปรากฏว่าผู้ให้ราย ใดได้แสดงเจตนาไว้เป็น พิเศษว่า มอบให้แก่โจทก์ โดยเฉพาะ ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรส ตกเป็น สินสมรส ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1474(1) ที่ได้ตรวจชำระ ใหม่ ส่วนทรัพย์ตามรายการ ที่ 8 คือเก้าอี้หวาย 2 ตัว ใหญ่หมุน ได้นั้น โจทก์ นำสืบว่าเป็น ของขวัญแต่งงานซึ่งได้ รับมาพร้อมกับของขวัญ อื่นๆ แต่ จำเลยนำสืบว่าเป็น ของที่ซื้อมาภายหลังแต่งงานแล้ว เห็นว่า ทรัพย์รายการ ที่ 8 นี้ ถึงแม้จะ ฟัง ว่าเป็นของขวัญวันแต่งงาน หรือฟังว่าเป็นของที่ซื้อมาหลังแต่งงานแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผลแห่งคำวินิจฉัยแตกต่างกันไป คือต้องฟังว่าเป็น สินสมรส ที่ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่า ทรัพย์ รายการที่ 1, 3, 4, 8,9, 10, 12 เป็น สินสมรส ระหว่าง โจทก์ กับจำเลยที่ 1 นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยต่อไป ก็คือ เข็มขัดทอง ทรัพย์ตามรายการที่ 14 ซึ่ง เป็นของหมั้นนั้น จำเลย ที่ 2 และ 3 ให้นายเกียงชุ้น เอาคืนมาจากบิดาโจทก์ ดังฟ้องหรือไม่ โจทก์มีตัวโจทก์ นายจง บิดาโจทก์ นางสาว สุภาวดี ปรีชาบริสุทธิกุล และ นาย เป้งเส็งแซ่ลี้ เป็นพยานเบิกความประกอบกันว่า หลังจากแต่งงานแล้ว 3 วันโจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 และ นาง เกียงชุ้น ไปที่บ้านโจทก์ โดย นายเกียงชุ้น บอกบิดาโจทก์ว่าเข็มขัดทองเป็นของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ต้องการเอาคืน แล้วจะซื้อให้ใหม่ บิดาโจทก์จึงคืนเข็มขัดทองให้ไป นาย เกียงชุ้น ก็เบิกความยอมรับว่า ได้ไปบ้านบิดาโจทก์พร้อมกับ โจทก์ และ จำเลยที่ 1 จริง แต่ปฏิเสธว่าไม่ได้พูดขอ เข็มขัดทองคืนแต่อย่างใด เพียงแต่ไปเป็นเพื่อนใน ฐานะเป็น เถ้าแก่เท่านั้น แต่ตัวจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาจำเลยที่ 1 เบิกความยอมรับว่า เข็มขัดทองเป็นของจำเลยที่ 3 ตอนแรกได้เคยพูดกับ นาย เกียงชุ้น ซึ่งเป็นเถ้าแก่ว่า เข็มขัดทองที่เป็นของหมั้นนั้นให้เอาไปจัดการหมั้น แต่เมื่อเสร็จแล้วให้ขอคืนมาแล้วแลกเป็นเงินสดให้ไป ส่วนนาย เกียงชุ้น ซึ่ง เบิกความปฏิเสธว่าไม่ได้พูดขอเข็มขัดทองคืนจากบิดาโจทก์นั้น เห็นว่า นาย เกียงชุ้น เป็นคนของฝ่ายจำเลย ใช้ แซ่ เดียวกัน กับจำเลยทั้งสาม คำของ นาย เกียงชุ้น ที่เบิกความปฏิเสธ ดังกล่าวแล้ว จึงยากที่จะรับฟังตาม พฤติการณ์แห่งคดี พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักและ เหตุผล ฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 และ ที่ 3 ได้ ใช้ ให้ นายเกียงชุ้น ไปเอาเข็มขัดทอง ซึ่ง เป็น ของหมั้น คืนมาจากบิดาโจทก์พยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในข้อนี้ไม่มีน้ำหนักหักล้าง พยานโจทก์ได้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดคืนเข็มขัดทอง ให้แก่โจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 นั้น คดีฟังไม่ได้ว่าได้ร่วมเอาเข็มขัดทองคืนมา จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิด ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 2 และ 3 ไม่ต้องคืนเข็มขัดทองแก่โจทก์นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น' พิพากษาแก้ เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 และ ที่3 ร่วมกันคืนเข็มขัดทอง ของหมั้น หนัก 20 บาท ให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ ให้ใช้ราคา 116,000 บาท นอกจากที่แก้คงให้เป็นตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ค่าฤชา ธรรมเนียม ชั้นฎีกาให้เป็นพับ มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส |