

การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย กระทำความผิดด้วยความจำเป็น บันดาลโทสะ พยายามกระทำความผิด สำคัญผิดในข้อเท็จจริง ข้อ 2. นายเอก ต้องการฆ่านายโท จึงเล็งปืนจ้องจะยิงนายโท ทางด้านหลัง นายตรี และนาย จัตวา เห็นเหตุการณ์จึงเข้าช่วย นายโท มิให้ถูกยิง โดย นายตรี ใช้ปืนยิง นายเอก กระสุนถูก นายเอก บาดเจ็บ ส่วน นายจัตวา ช่วย นายโท ด้วยการผลัก นายโท ล้มลงทำให้ นายโท ศีรษะแตก หลังจากนั้น นายจัตวา เข้าไปประคอง นายโท นายโท เข้าใจผิดว่า นายจัตวา แกล้งผลักตนล้มลงจึงแสดงอาการโกรธ นายจัตวา เห็น นายโท โกรธจึงตกใจวิ่งหนี นายโท ซึ่งยังโกรธอยู่วิ่งไล่ติดตามไปทันที และใช้ไม้ตีทำร้าย นายจัตวา เป็นเหตุให้ นายจัตวา ศีรษะแตก ให้วินิจฉัยว่า นายตรี นายจัตวา และนายโท มีความรับผิดฐานใด หรือไม่ ธงคำตอบ นายตรี ใช้ปืนยิงนายเอก บาดเจ็บเพื่อช่วยนายโท มิให้ถูกนายเอก ยิง นายตรีอ้างป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ได้ และเป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุ นายตรีจึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่า นายเอก ตามมาตารา 288 ประกอบกับ มาตรา 80 นายจัตวา ผลัก นายโท ล้มลงเพื่อมิให้ถูก นายเอกยิง นายจัตวาจะอ้างป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ไม่ได้ เพราะมิได้กระทำต่อนายเอก ผู้ก่อภัย แต่ นายจัตวาอ้างว่าเป็นการกระทำโดยจำเป็นเพื่อให้ผู้อื่นพ้นภยันตราย ตามมาตรา 67(2)ได้ เมื่อเป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุ นายจัตวา จึงไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานทำร้ายร่างกาย นายโท ตามมาตรา 295 นายโท ใช้ไม้ตี นายจัตวา ศีรษะแตกในขณะที่ นายโท โกรธ โดยตีเมื่อนายจัตวาวิ่งหนีไปแล้ว จึงไม่เป็นการกระทำโดยป้องกัน แต่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 และสำคัญผิดในข้อเท็จจริง ตามมาตรา 62 เพราะเข้าใจผิดไปว่า นายจัตวา ข่มเหงตนอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมโดยการแกล้งผลักตนล้มลง ศาลจึงอาจลงโทษ นายโท น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดฐานทำร้ายร่างกาย นายจัตวา ตามมาตรา 295 เพียงใดก็ได้ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุการกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายผู้นั้นไม่มีความผิด มาตรา 288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี มาตรา 80 ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทำความผิด ผู้ใดพยายามกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษสองใน สามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้ มาตรา 67 ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแต่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้อง รับโทษ มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย หรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 72 ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุ อันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะ ลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใด ก็ได้ มาตรา 62 ข้อเท็จจริงใด ถ้ามีอยู่จริงจะทำให้การกระทำไม่เป็น ความผิด หรือทำให้ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ หรือได้รับโทษน้อยลง แม้ข้อเท็จจริงนั้นจะไม่มีอยู่จริง แต่ผู้กระทำสำคัญผิดว่ามีอยู่จริง ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิดหรือได้รับยกเว้นโทษ หรือได้รับโทษ น้อยลง แล้วแต่กรณี ถ้าความไม่รู้ข้อเท็จจริงตามความในวรรคสามแห่ง มาตรา 59 หรือความสำคัญผิดว่ามีอยู่จริงตามความในวรรคแรก ได้เกิดขึ้นด้วย ความประมาทของผู้กระทำความผิด ให้ผู้กระทำรับผิดฐานกระทำ โดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าการกระทำ นั้นผู้กระทำจะต้องรับโทษแม้กระทำโดยประมาท บุคคลจะต้องรับโทษหนักขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงใด บุคคลนั้น จะต้องได้รู้ข้อเท็จนั้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8079/2549 จำเลยและผู้เสียหายมีสาเหตุขุ่นข้องหมองใจกันจนต่างฝ่ายต่างหวาดระแวงว่าอีกฝ่ายจะมาทำร้ายตน ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่ผู้เสียหายเรียกชื่อจำเลยและชักอาวุธปืนออกมาจากเอว วิญญูชนเช่นจำเลยย่อมเข้าใจได้ว่าผู้เสียหายจะใช้อาวุธปืนนั้นยิงจำเลย ถือได้ว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงตาม ป.อ. มาตรา 68 แล้ว การที่จำเลยหยิบอาวุธมีดพร้าที่วางอยู่พื้นถนนซึ่งเป็นของบุคคลอื่นฟันทำร้ายผู้เสียหายไปเพียงครั้งเดียวแล้ววิ่งหลบหนีไป จึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันพอสมควรแก่เหตุ เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่มีความผิด
|