ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง

การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง

ข้อ 8. นายเที่ยงลูกจ้างเป็นโจทก์ฟ้องบริษัทดำขาว จำกัด นายจ้างเป็นจำเลยต่อศาลแรงงานว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิดเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหาย 100,000 บาทจำเลยให้การว่า จำเลยได้มีคำสั่งย้ายโจทก์ซึ่งเป็นหัวหน้างานพัสดุให้ไปดำรงตำแหน่งพนักงานพัสดุโดยให้ไปนั่งทำงานที่โกดัง 4 แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างได้ ในวันนัดพิจารณา โจทก์แถลงรับว่าข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยให้การ แต่โจทก์เห็นว่าคำสั่งย้ายของจำเลยเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่ต้องปฏิบัติตาม

ให้วินิจฉัยว่า คำสั่งย้ายของจำเลยดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และการเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่

ธงคำตอบ

 คำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างย้ายโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจากตำแหน่งหัวหน้างานพัสดุไปเป็นพนักงานพัสดุเป็นการลดตำแหน่งของลูกจ้าง เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ให้ความยินยอม ย่อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง ไม่ชอบด้วยมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 คำสั่งย้ายของจำเลยจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 7238-7239/2544)

เมื่อคำสั่งย้ายของจำเลยเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ก็ไม่จำต้องปฏิบัติตาม จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างมิได้ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวย่อมเป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด ถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 2729/2529)

พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

มาตรา 20 "เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามมิให้นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า"

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522

มาตรา 49 "การพิจารณาคดีในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้าง ที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ให้ศาลแรงงานกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้แทนโดยให้ศาลคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการ เลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ประกอบการพิจารณา"

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238 - 7239/2544

 จำเลยประกอบกิจการขายเครื่องประดับเพชรพลอย โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นลูกจ้างมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขายมีอำนาจบังคับบัญชาและให้คำแนะนำแก่พนักงานขายซึ่งมีจำนวนประมาณ 150 คน จำเลยมีคำสั่งยกเลิกตำแหน่งผู้จัดการและผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขายและมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสองไปทำหน้าที่ในการขายและช่วยเหลือการขายของพนักงาน การที่จำเลยมีคำสั่งยกเลิกตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขาย ซึ่งโจทก์ทั้งสองทำงานในตำแหน่งดังกล่าวและมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสองไปทำงานในหน้าที่พนักงานขายทั้งให้ลดเงินเดือนโจทก์ทั้งสอง เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นโทษแก่โจทก์ทั้งสอง เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่ได้ให้ความยินยอม จำเลยย่อมไม่มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าวได้ตามลำพังเนื่องจากมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง คำสั่งของจำเลยที่ให้ยกเลิกตำแหน่งของโจทก์ทั้งสองและให้ไปทำงานในหน้าที่พนักงานขายจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามนัย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ทั้งสอง แม้โจทก์ทั้งสองไม่ยินยอมปฏิบัติตาม คำสั่งดังกล่าวก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนต่อคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของจำเลยในกรณีร้ายแรง หรือโจทก์ทั้งสองละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเพราะเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คดีทั้งสองสำนวนนี้ศาลแรงงานกลางรวมพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันโดยเรียกโจทก์ตามลำดับสำนวนว่าโจทก์ที่ ๑ และที่ ๒ และเรียกจำเลยทุกสำนวนว่า จำเลย

โจทก์ทั้งสองสำนวนฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสองคนละ ๑๒๗,๕๐๐ บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า คนละ ๕๒,๓๙๒ บาท และค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณีแก่โจทก์ที่ ๑ จำนวน ๓๒,๐๗๐ บาท และ แก่โจทก์ที่ ๒ จำนวน ๒๖,๒๔๐ บาท

จำเลยทั้งสองสำนวนให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ทั้งสองคนละ ๑๒๗,๕๐๐ บาท และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าคนละ ๔๒,๔๘๐ บาท คำขอนอกจากนี้ให้ยก

จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังยุติตามคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางว่า จำเลยประกอบกิจการขายเครื่องประดับเพชรพลอยให้แก่ชาวต่างประเทศ โจทก์ที่ ๑ และที่ ๒ เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๐ และวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ตามลำดับ ครั้งสุดท้ายโจทก์ทั้งสองมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขาย มีอำนาจบังคับบัญชาและให้คำแนะนำแก่พนักงานขายซึ่งมีจำนวนประมาณ ๑๕๐ คน และได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายคนละเดือนละ ๔๒,๕๐๐ บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน ต่อมาวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๒ จำเลยมีคำสั่งยกเลิกตำแหน่งผู้จัดการและผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขายตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๒ เป็นต้นไปและมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสองไป ทำหน้าที่ในการขายและช่วยเหลือการขายของพนักงาน และในวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๒ จำเลยมีคำสั่งโอนย้ายโจทก์ทั้งสองไปเป็นพนักงานขายและลดเงินเดือนลงคนละ ๗,๐๐๐ บาท นับตั้งแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๒ เป็นต้นไป ต่อมาวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๒ จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองอ้างว่า โจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย ของจำเลยและละทิ้งหน้าที่การงานตั้งแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๒ โดยให้มีผลเป็นการเลิกจ้างในวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๒ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า โจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของจำเลยในกรณีร้ายแรงหรือไม่ หรือโจทก์ทั้งสองละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ เห็นว่า การที่จำเลยมีคำสั่งยกเลิกตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขาย ซึ่งโจทก์ทั้งสองทำงานในตำแหน่งดังกล่าวและมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสองไปทำงานในหน้าที่พนักงานขายทั้งให้ลดเงินเดือนละ ๗,๐๐๐ บาท นั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นโทษแก่โจทก์ทั้งสอง กล่าวคือเป็นการลดตำแหน่งของโจทก์ทั้งสองจากตำแหน่งที่มีอำนาจบังคับบัญชาให้คำแนะนำแก่พนักงานขายคนอื่นมาเป็นเพียงพนักงานขายทั่ว ๆ ไป อีกทั้งลดเงินเดือนซึ่งเป็นรายได้ประจำที่มีจำนวนแน่นอนลงอีกด้วย เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่ได้ให้ความยินยอม จำเลยย่อมไม่มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าวได้ตามลำพังเพียงฝ่ายเดียว เนื่องจากมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง คำสั่งของจำเลยที่ให้ยกเลิกตำแหน่งของโจทก์ทั้งสองและให้ไปทำงานในหน้าที่พนักงานขายจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามนัยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๒๐ ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ทั้งสอง ฉะนั้นแม้โจทก์ทั้งสอง ไม่ยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวของจำเลยก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนต่อคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและ เป็นธรรมของจำเลยในกรณีร้ายแรง หรือโจทก์ทั้งสองละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรแต่อย่างใด คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางชอบแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน . 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2729/2529

ศาลแรงงานกลางฟังว่าโจทก์ไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาของจำเลยที่กล่าวหาว่าโจทก์เอาเสื้อผ้าเด็กไปจากร้านจำเลย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด แม้จำเลยจะอ้างว่าเลิกจ้างไปตามผลการสอบสวนของคณะอนุกรรมการ ก็ปรากฏตามคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางว่าไม่เชื่อว่าการสอบสวนของคณะอนุกรรมการจะถูกต้องเพราะไม่ได้บันทึกปากคำพยานไว้ เมื่อการสอบสวนส่อไปในทางไม่ถูกต้องจำเลยจะอ้างเอาเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างโดยถือว่าไม่เป็นการกลั่นแกล้งหาได้ไม่ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควร ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำโดยโจทก์ไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าเสียหาย ค่าชดเชยและเงินสะสมที่ขาดพร้อมดอกเบี้ย

จำเลยให้การว่า สินค้าของจำเลยขาดหายไปเป็นเงิน 328,000 บาท จำเลยได้ตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ผลการตรวจสอบพบว่าพนักงานของจำเลยรวมทั้งโจทก์ด้วยมีพฤติการณ์ในทางที่นำทรัพย์สินของจำเลยไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่ชำระเงิน อันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้เพราะโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง จำเลยไม่ต้องจ่ายเงินตามฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง

ศาลแรงงานกลางพิพากษา ให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย ค่าเสียหายเงินสมทบพร้อมดอกเบี้ย

จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยปัญหาเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมว่าเมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยไม่ประจักษ์พยานรู้เห็นว่า โจทก์ได้เอาเสื้อผ้าเด็กไปจากร้านจำเลยหรือมีส่วนรู้เห็นในกรณีที่สินค้าในร้านของจำเลยขาดหายไป เท่ากับศาลแรงงานกลางฟังว่าโจทก์ไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาของจำเลย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดที่จำเลยอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างไปตามผลการสอบสวนของคณะอนุกรรมการของจำเลย มิได้กลั่นแกล้งโจทก์นั้น ก็ปรากฏตามคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางว่าไม่เชื่อว่าการสอบสวนของคณะอนุกรรมการจะถูกต้องข้ออ้างที่ไม่ได้บันทึกปากคำพยานไว้เพราะกลัวพยานจะหนักใจ เป็นข้ออ้างที่ขาดเหตุผลเห็นได้ว่าการสอบสวนส่อไปทางไม่ถูกต้อง จำเลยจะอ้างเอาเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างโดยไม่ถือว่าเป็นการกลั่นแกล้งไม่ได้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้กระทำความผิดจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควร ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ส่วนเงินสมทบนั้นในกรณีที่พนักงานถูกให้ออกหรือเลิกจ้าง ตามระเบียบของจำเลยจะไม่จ่ายให้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับ

พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยไม่ต้องจ่ายเงินสมทบพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง

 




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 60(วิชากฎหมายอาญา ฯ)

ความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม
ลักทรัพย์โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองทรัพย์
กระทำความผิดนอกราชอาณาจักร
การคำนวณรายได้และรายจ่ายของนิติบุคคล และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
อำนาจพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
การกระทำโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริง
อำนาจรับคดีไว้พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ความผิดฐานฆ่าโดยเจตนาโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
การขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์