

สิทธิไถ่ถอนการขายฝาก สิทธิไถ่ถอนการขายฝาก สิทธินำทรัพย์ที่ขายฝากไปทำสัญญาจะซื้อจะขาย ข้อ 4 นายเอก จดทะเบียนขายฝากที่ดินของตนให้แก่ นายโทเป็นเงิน 500,000 บาท เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543 มีกำหนดเวลาไถ่ 2 ปี หลังจากทำสัญญาขายฝากได้ 1 ปี นายเอก ได้ทำหนังสือสัญญาขายที่ดินแปลงเดียวกันให้ นายตรี โดยนายตรี ได้วางมัดจำไว้จำนวนหนึ่ง ส่วนราคาที่เหลือจะชำระในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ วันที่ 30 กรกฎาคม 2545 ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 นายเอกได้ทำสัญญากันเองกับนายโทว่า นายเอกไม่ประสงค์จะไถ่และขอสละสิทธิ์ไถ่ที่ดินแปลงดังกล่าว ครั้นถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2545 นายเอกไม่ไปโอนที่ดินให้ นายตรีตามสัญญา นายตรีจึงนำเงินเท่ากับจำนวนสินไถ่ไปขอใช้สิทธิไถ่ที่ดินคืนจาก นายโทในวันนั้นเอง นายโทไม่ยอมให้ไถ่ อ้างว่า นายเอกขายฝากที่ดินให้ นายโทแล้ว จึงไม่มีสิทธินำที่ดินไปทำสัญญาขายให้แก่ นายตรีอีก ทั้งนายตรีไม่ใช่ผู้มีสิทธิไถ่ตามกฎหมาย และแม้จะมีสิทธิไถ่ นายเอกก็ได้สละสิทธิไถ่แล้ว ที่ดินจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนายโทโดยเด็ดขาด คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2492 สัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งได้วางมัดจำกันแล้ว และมีข้อตกลงกันว่าเงินจำนวนที่ยังค้างอยู่อีกนั้น ผู้ซื้อจะนำไปชำระให้ผู้ขายต่อหน้าเจ้าพนักงานหอทะเบียนที่ดินพร้อมทั้งทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกัน แต่ในระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายยังมิได้ทำการโอนกรรมสิทธิ์กันนี้ ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อ เข้าทำประโยชน์ในที่ดินแปลงนี้ได้ตามลำพังทันที ดังนี้ เป็นสัญญาจะซื้อขาย เพราะยังจะต้องชำระเงินที่ค้างและทำการโอนทะเบียนกันต่อไป ผู้ร้องขัดทรัพย์อ้างว่าที่นาที่ยึดไว้ ผู้ร้องได้ซื้อไว้จากจำเลย แต่เมื่อปรากฏว่าเป็นสัญญาจะซื้อขาย และการครอบครองของผู้ร้องในระหว่างรอการชำระเงินที่ค้างและการโอน เช่นนี้ ต้องถือว่าอยู่ในฐานะครอบครองแทนจำเลย ที่ยังเป็นของจำเลยอยู่ โจทก์มีสิทธิยึดไปชำระหนี้ได้ คดีนี้โจทก์นำยึดที่นามือเปล่าว่า เป็นของจำเลยผู้แพ้คดีผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ว่าที่นาแปลงนี้ผู้ร้องได้ซื้อไว้จากจำเลยดังปรากฎตามสัญญาท้ายคำร้องขอให้ศาลสั่งถอนการยึด โจทก์ จำเลยโต้เถียงกันว่าสัญญาระหว่างผู้รับกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายผู้ร้องไม่มีสิทธิเหนือทรัพย์รายนี้ ศาลชั้นต้นเห็นว่า สัญญานั้นมีความหมายเพียงให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อเข้าทำประโยชน์ในที่เท่านั้นหาใช่จำเลยผู้ขายการครอบครองไม่จึงสั่งให้ยกคำร้องศาลอุทธรณ์เห็นว่าตามสัญญาผู้ซื้อได้สิทธิครอบครองอย่างเป็นเจ้าของแล้วพิพากษากลับให้ถอนการยึด โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่า สัญญามีข้อความว่า "ข้อ 1. ขายยอมตกลงขายที่ดิน... เป็นราคา 3,000 บาท "ข้อ 2. ในระหว่างซื้อขายกันนี้ ผู้ซื้อได้วางเงินประจำให้ไว้แก่ผู้ขายเป็นจำนวนเงิน 500 บาท "ข้อ 4. ส่วนเงินจำนวนที่ยังค้างอีก 2,500 บาท ผู้ซื้อจะนำไปชำระให้ผู้ขายต่อหน้าเจ้าพนักงานหอทะเบียนที่ดินจังหวัดสมุทรปราการ พร้อมทั้งทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกัน" "ข้อ 5. ในระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายยังมิได้ทำประโยชน์กรรมสิทธิ์กันนี้ ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อเข้าทำประโยชน์ในที่แปลงนี้ได้ตามลำพังทันที" ในวันทำสัญญากัน จำเลยยอมให้ผู้ร้องเข้าทำประโยชน์ในที่รายนี้ตามสัญญาข้อ 5 ศาลฎีกาเห็นว่า การเข้าทำประโยชน์รายนี้ หาใช่ครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของสิทธิขาดไม่สัญญาระหว่างจำเลยกับผู้ร้องเป็นสัญญาจะซื้อขายเพราะยังจะต้องชำระเงินที่ค้างและทำการโอนทะเบียนกันต่อไป การครอบครองของผู้ร้องในระหว่างรอการชำระเงินที่ค้างและการโอนเช่นนี้ ต้องถือว่าอยู่ในฐานะครอบครองแทนจำเลยผู้ร้องจะถือที่เป็นสิทธิแก่ตน โดยการเข้าทำประโยชน์ยังไม่ได้ พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น มาตรา 454 การที่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งให้คำมั่นไว้ก่อนว่าจะซื้อหรือขายนั้นจะมีผลเป็นการซื้อขายต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้บอกกล่าวความจำนงว่าจะทำการซื้อขายนั้นให้สำเร็จตลอดไปและคำบอกกล่าวเช่นนั้นได้ไปถึงบุคคลผู้ให้คำมั่นแล้ว ถ้าในคำมั่นมิได้กำหนดเวลาไว้เพื่อการบอกกล่าวเช่นนั้นไซร้ ท่านว่าบุคคลผู้ให้คำมั่นจะกำหนดเวลาพอสมควรและบอกกล่าวไปยังคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งให้ตอบมาเป็นแน่นอนภายในเวลากำหนดนั้นก็ได้ว่าจะทำการซื้อขายให้สำเร็จตลอดไปหรือไม่ ถ้าและไม่ตอบเป็นแน่นอนภายในกำหนดเวลานั้นไซร้ คำมั่นซึ่งได้ให้ไว้ก่อนนั้นก็เป็นอันไร้ผล มาตรา 1367 บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน ท่านว่าบุคคลนั้นได้ซึ่งสิทธิครอบครอง มาตรา 1382 บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบ ครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกัน เป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ วิ.แพ่ง -มาตรา 288 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง มาตรา 55 ถ้าบุคคลใด กล่าวอ้างว่าจำเลย หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ ก่อนที่ได้เอาทรัพย์สินเช่นว่านี้ออก ขายทอดตลาด หรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น บุคคลนั้นอาจยื่นคำร้องขอต่อ ศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้ปล่อยทรัพย์สินเช่นว่านั้น ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้กล่าวอ้างนั้นนำส่งสำเนาคำร้องขอแก่โจทก์หรือเจ้าหนี้ตาม คำพิพากษา และจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงาน บังคับคดีโดยลำดับ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคำร้องขอเช่นว่านี้ ให้งดการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่พิพาทนั้นไว้ในระหว่าง รอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลดั่งที่บัญญัติไว้ต่อไปนี้ เมื่อได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลแล้ว ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสิน คดีนั้นเหมือนอย่างคดีธรรมดา เว้นแต่ คำสั่งของศาลตามวรรคสอง (1) และ (2) ให้เป็นที่สุด มาตรา 289 ถ้าบุคคลใดชอบที่จะบังคับการชำระหนี้เอาจาก ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ หรือชอบที่จะได้เงินที่ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินเหล่านั้นได้โดยอาศัย อำนาจแห่งการจำนองที่อาจบังคับได้ก็ดี หรืออาศัยอำนาจแห่ง บุริมสิทธิก็ดี บุคคลนั้นอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี ให้เอาเงินที่ได้มานั้นชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในกรณีที่อาจบังคับเอาทรัพย์สิน ซึ่งจำนองหลุด ผู้รับจำนองจะมีคำขอดั่งกล่าวข้างต้นให้เอาทรัพย์สิน ซึ่งจำนองนั้นหลุดก็ได้ ในกรณีจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ อันได้ไปจดทะเบียนไว้นั้น ให้ยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออก ขายทอดตลาด ส่วนในกรณีอื่น ๆ ให้ยื่นคำร้องขอเสียก่อนส่งคำบอก กล่าวตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 319 ถ้าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เอาทรัพย์ที่จำนองหลุด การยึดทรัพย์ที่ จำนองนั้นเป็นอันเพิกถอนไปในตัว ในกรณีอื่น ๆ ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาต ตามคำร้องขอเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะได้รับแต่เงินที่เหลือ ถ้าหากมี ภายหลังที่หักชำระค่าธรรมเนียมการบังคับจำนองและ ชำระหนี้ผู้รับจำนองหรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1881/2540 ผู้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินไม่จำต้องเป็นเจ้าของที่ดินในขณะทำสัญญาก็ได้เพราะสาระสำคัญที่เป็นวัตถุประสงค์ของการซื้อขายก็คือให้ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์โดยชำระราคาตามที่ตกลงหากผู้ขายสามารถจัดการให้ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์โดยชำระราคาตามที่ตกลงกันไว้สัญญาจะซื้อขายนั้นก็ใช้ได้แล้วฉะนั้นการที่จำเลยไปที่สำนักงานที่ดินในวันนัดพร้อมกับส. ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและได้แสดงเจตนาว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาแต่โจทก์เกี่ยงให้จำเลยรับโอนกรรมสิทธิ์จากส.ก่อนแล้วจัดการโอนให้แก่โจทก์จึงไม่อาจตกลงกันได้กรณีเช่นนี้แม้ว่าจำเลยจะไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในวันนับโอนก็จะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินมัดจำ 130,000 บาทและให้ค่าเสียหายตามสัญญา 200,000 บาท แก่โจทก์ จำเลยให้การว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำได้ ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินตามโฉนดพิพาทจากนางแสงเอ้ย จันทร์ดวงโอดต่อมาวันที่ 5 ตุลาคม 2536 ขณะที่จำเลยยังไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมาเป็นของตน จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินตามโฉนดพิพาทดังกล่าวกับโจทก์ ได้รับชำระมัดจำจากโจทก์จำนวนหนึ่งแล้ว ตกลงนัดไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กับชำระราคาส่วนที่เหลือในวันที่ 5 เมษายน2537 ถึงกำหนดนัดไม่ได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และชำระราคาส่วนที่เหลือตามสัญญา มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า เมื่อถึงวันโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญาคือวันที่ 5 เมษายน 2537 จำเลยจะต้องมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามสัญญาก่อนหรือไม่ การที่จำเลยไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญาจะซื้อขายจะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ เห็นว่า ผู้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของที่ดินอยู่ในขณะทำสัญญาทำได้ เพราะสาระสำคัญที่เป็นวัตถุประสงค์ของการซื้อขายก็คือให้ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ไปโดยชำระราคาตามที่ตกลง หากผู้ขายสามารถจัดการให้ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์โดยชำระราคาตามที่ตกลงกันไว้ สัญญาจะซื้อขายนั้นก็ใช้ได้แล้ว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความยุติว่า ในวันนัดจำเลยไปที่สำนักงานที่ดินพร้อมกับนางแสงเอ้ยผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและได้แสดงเจตนาว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาแต่โจทก์เกี่ยงให้จำเลยรับโอนกรรมสิทธิ์จากนางแสงเอ้ยก่อนแล้วจัดการโอนให้แก่โจทก์ จึงไม่อาจตกลงกันได้ในวันนัดโอน เช่นนี้แม้ว่าจำเลยจะไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในวันนัดโอนก็จะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาชอบแล้วฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"
มาตรา 453 อันว่าซื้อขายนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ซื้อและผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย มาตรา 456 การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาสองหมื่นบาท หรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย (แก้ไข*ฉบับที่ 14*พ.ศ.2548 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2543 จำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดินไว้แก่ ภ. บิดาโจทก์ ระหว่างที่ยังอยู่ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนตามสัญญาขายฝาก จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวกับโจทก์ ต่อมา จำเลยทำสัญญากับ ภ. ว่าไม่ประสงค์จะไถ่ถอนและขอสละสิทธิไถ่ถอน ดังนี้ ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ ภ. ถือได้ว่า เป็นการขายขาดที่ดินให้แก่ ภ. โดยทำสัญญากันเอง จึงไม่เกิดผลเป็นสัญญาซื้อขายที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยยังมีสิทธิไถ่ถอนการขายฝากได้ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนตามสัญญาขายฝากอยู่และภายในกำหนดระยะการขายฝาก จำเลยย่อมมีสิทธินำที่ดินไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ได้ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497 ได้กำหนดให้ผู้รับโอนสิทธิมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้นได้ด้วย เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิมีสิทธิไถ่ที่ดินได้ โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2532 จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 44167 ตำบลลาดยาว (บางเขนฝั่งใต้) อำเภอบางเขน (บางซื่อ)กรุงเทพมหานคร จำนวนเนื้อที่ 53 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 60/1บนที่ดินดังกล่าวของจำเลยให้แก่โจทก์ในราคา 630,000 บาท โจทก์ชำระมัดจำในวันทำสัญญา 200,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 430,000 บาท จะชำระเมื่อจำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2535 หากจำเลยผิดสัญญายอมให้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาพร้อมค่าเสียหายอีกจำนวน 200,000 บาท ต่อมาจำเลยผิดสัญญาไม่ไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 60/1บนที่ดินโฉนดเลขที่ 44167 ตำบลลาดยาว (บางเขนฝั่งใต้) อำเภอบางเขน(บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 53 ตารางวา ให้แก่โจทก์ โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าภาษีอากรและค่าธรรมเนียมการโอนกับชำระค่าเสียหายเป็นเงินอีกจำนวน200,000 บาท ตามสัญญา หากจำเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแก่โจทก์ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยโดยให้จำเลยรับเงินค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ส่วนที่เหลือจำนวน 430,000 บาทจากโจทก์ หากจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้ไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 497,500 บาทกับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 400,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การว่า จำเลยขายฝากที่ดินและบ้านตามฟ้องไว้แก่นายภัทรพร ธีรพงศ์ธาดา บิดาโจทก์ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2532 จำเลยไม่เคยตกลงขายที่ดินตามฟ้องให้แก่โจทก์ ไม่เคยรับมัดจำจำนวน 200,000 บาทจากโจทก์ในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายโจทก์ก็ทราบดีว่า ทรัพย์พิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายเป็นกรรมสิทธิ์ของนายภัทรพร จำเลยมิใช่เจ้าของทรัพย์สินจึงไม่มีอำนาจทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ แต่เนื่องจากจำเลยถูกนายภัทรพรฉ้อฉลจนหลงเชื่อจึงได้มีหลักฐานขึ้นและให้มีสัญญาจะซื้อจะขายลงวันที่ 12สิงหาคม 2532 ระหว่างโจทก์กับจำเลย คำขอท้ายฟ้องไม่ชัดแจ้งว่าเป็นเงินค่าอะไร ศาลไม่สามารถออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำขอของโจทก์ได้จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 44167ตำบลลาดยาว (บางเขนฝั่งใต้) อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 53 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 60/1 แก่โจทก์ โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าภาษีอากรและค่าธรรมเนียมการโอน หากจำเลยเพิกเฉยไม่ยอมไปจดทะเบียนให้โจทก์ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยและให้จำเลยรับเงินค่าที่ดินและบ้านที่เหลือจำนวน 430,000 บาทไปจากโจทก์ หากจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้แก่โจทก์ได้ไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้จำเลยชดใช้เงินแก่โจทก์จำนวน 497,500 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 400,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ โดยจำเลยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ที่จำเลยฎีกาประการต่อมาว่า โจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยมิใช่เจ้าของทรัพย์สินพิพาทเพราะขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์พิพาทจำเลยขายฝากทรัพย์พิพาทแก่บิดาโจทก์ไปแล้วนั้น เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 491 บัญญัติว่า "ขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคือได้" ดังนั้น สัญญาขายฝากจึงเป็นสัญญาซึ่งผู้ซื้อรับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากไปจากผู้ขายฝากโดยมีเงื่อนไขบังคับหลังว่า เมื่อผู้ขายฝากมาไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากคืนภายในกำหนดระยะเวลาขายฝากแล้ว กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ขายฝากก็จะเปลี่ยนมือกลับมาเป็นของผู้ขายฝากตามเดิม ดังนั้น การที่จำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดินไว้แก่นายภัทรพรบิดาโจทก์ ตามเอกสารหมาย จ.11 เมื่อวันที่ 2กุมภาพันธ์ 2532 มีกำหนดไถ่ถอน 3 ปี ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 2 กุมภาพันธ์2535 แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2533 ซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนตามสัญญาขายฝาก จำเลยได้ทำสัญญาต่างตอบแทนกันเองระหว่างจำเลยกับนายภัทรพร ตามเอกสารหมาย ล.3 ว่าจำเลยไม่ประสงค์จะไถ่ถอนและขอสละสิทธิในการไถ่ถอนทรัพย์พิพาท อันถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นการขายขาดทรัพย์พิพาทให้แก่นายภัทรพรผู้รับซื้อฝากโดยทำสัญญากันเอง สัญญาขายขาดฉบับหลังนี้จึงไม่เกิดผลเป็นสัญญาซื้อขายที่ชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น จำเลยผู้ขายฝากจึงยังมีสิทธิไถ่ถอนการขายฝากรายนี้ได้ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนตามสัญญาขายฝากอยู่ ดังนั้น ภายในกำหนดระยะการขายฝากจำเลยย่อมมีสิทธินำทรัพย์พิพาทไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ได้ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497 ก็ยังได้กำหนดบุคคลที่จะใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากไว้และใน (2) กำหนดให้ผู้รับโอนสิทธินั้นมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้นได้ด้วย เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.1 โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว มีสิทธิไถ่ทรัพย์พิพาทได้ด้วยสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินตามเอกสารหมาย จ.1 จึงมีผลสมบูรณ์และบังคับได้ตามกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น" พิพากษายืน ( สุวัตร์ สุขเกษม - ชวลิต ธรรมฤาชุ - วีระศักดิ์ รุ่งรัตน์ ) ----มาตรา 491 อันว่าขายฝากนั้นคือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อโดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ ---มาตรา 497 สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินนั้นจะพึงใช้ได้แต่บุคคลเหล่านี้คือ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390 - 3391/2538 สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทเกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากสัญญาจะซื้อขายซึ่งมีการวางมัดจำหรือชำระราคาบางส่วนแล้วต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองซึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แม้ไม่มีเอกสารมาแสดง เมื่อมีปัญหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระเงินตามสัญญาซื้อขายครบถ้วนแล้วหรือไม่โจทก์จึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้ มิใช่เป็นการสืบพยานเพื่อหักล้างเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94อีกทั้งสัญญาดังกล่าวเป็นเอกสารที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2กับบริษัทบ.ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาเดิมในการจองซื้อขอให้โอนให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2ฉะนั้น ผู้ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะยกข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นอ้างได้ก็เฉพาะกรณีที่ต่อสู้กับบริษัทบ.เท่านั้น โจทก์ฝ่ายหนึ่งกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 อีกฝ่ายหนึ่งทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินซึ่งกันและกัน แต่ที่ดินและบ้านของจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้นจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้นำไปขายฝากไว้กับจำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิไถ่ทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497(2) จำเลยที่ 3 ต้องรับการไถ่เมื่อโจทก์มีเงินจำนวนที่เป็นสินไถ่ แต่จำเลยที่ 3 ไม่ยอมรับโจทก์ได้นำเงินไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ก่อนพ้นกำหนดไถ่จำเลยที่ 3 จึงปฏิเสธไม่ยอมรับการไถ่ถอนการขายฝากไม่ได้ คดีทั้งสองสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันโดยเรียกนางสาวศิริอร หวังปรีชาชาญ ว่าโจทก์เรียกนายประมวลหรือกิตติพัฒน์ รื่นพรต นางสาวเอมอรหรือนางเอมอรว่องรัตนพิทักษ์ และนายเพชร กลั่นหอม ว่าจำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 3ตามลำดับ สำนวนแรกโจทก์ฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 33888-90 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกาจังหวัดปทุมธานี พร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินบ้านเลขที่ 600/1361ให้แก่โจทก์ พร้อมทำการโอนกรรมสิทธิ์ในการเช่าโทรศัพท์หมายเลข5239145 และสิทธิในมิเตอร์น้ำประปา ไฟฟ้า สำหรับบ้านดังกล่าวกับชำระค่าเสียหายจำนวน 1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงิน 1,000,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ หากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาให้จำเลยที่ 3 รับเงินที่โจทก์วางศาลเพื่อชำระหนี้ไถ่ถอนการขายฝากแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 และให้จำเลยที่ 3 ไปดำเนินการจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝาก หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาไถ่ถอนการขายฝาก หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระเงินจำนวน7,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงิน7,000,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะชำระเงินให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การและฟ้องแย้ง ขอให้ยกฟ้องบังคับให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 2,600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าโจทก์จะได้ชำระให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วเสร็จ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 3 ให้การขอให้ยกฟ้อง สำนวนหลัง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฟ้อง ขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 2,600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ โจทก์ให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 33888-90 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกาจังหวัดปทุมธานี พร้อมสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 600/1361 ให้แก่โจทก์และให้จำเลยที่ 3 จดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านดังกล่าว หากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน กับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ทำการโอนสิทธิการเช่าเครื่องโทรศัพท์หมายเลข 5239145 สิทธิในมิเตอร์น้ำประปา ไฟฟ้า สำหรับบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ และให้จำเลยที่ 1และที่ 2 มีสิทธิรับเงินจากสำนักงาน วางทรัพย์ไปจำนวน 600,000 บาทจำเลยที่ 3 มีสิทธิรับไป 2,480,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยกและให้ยกฟ้องคดีสำนวนหลัง จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ทั้งสองสำนวน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยทั้งสามฎีกาทั้งสองสำนวน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ตามที่คู่ความนำสืบรับกันว่า เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2533 โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพร้อมบ้านเลขที่ 600/1361 ตำบลคูคตอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จากจำเลยที่ 1 และที่ 2 พร้อมเฟอร์นิเจอร์ รวมราคา 6,000,000 บาท และโต๊ะอาหารแกะสลัก1 ชุด ราคา 50,000 บาท ตามสัญญาจะซื้อขาย เอกสารหมาย จ.8และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อขาย ที่ดินและบ้านเลขที่229/13 ซอยเฉลิมสุข เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร จากโจทก์ราคา2,400,000 บาท ตามสัญญาจะซื้อขาย เอกสารหมาย จ.9 ที่ดินและบ้านเลขที่ 600/1361 จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำไปขายฝากไว้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2532 กำหนดระยะเวลา 1 ปี จำนวนเงิน 2,480,000 บาท ส่วนที่ดินพร้อมบ้านเลขที่ 229/13 เป็นขอบริษัทบ้านทิพย์รัตน์ จำกัด สัญญาจะซื้อขายทั้งสองฉบับดังกล่าวกำหนดวันจดทะเบียนและชำระราคาที่เหลือในวันเดียวกันคือวันที่ 30 สิงหาคม 2533 ต่อมาวันที่ 10 สิงหาคม 2533บริษัทบ้านทิพย์รัตน์ จำกัด จดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมบ้านเลขที่229/13 ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามเอกสารหมาย จ.11 และ จ.12ครั้นวันที่ 30 สิงหาคม 2533 โจทก์กับพวกไปพบผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 พร้อมกับจำเลยที่ 3 ที่สำนักงานที่ดินจังหวัดปทุมธานี สาขาธัญบุรี แต่ไม่อาจตกลงกันได้ โดยฝ่ายจำเลยจะให้โจทก์ชำระเงิน 5,080,000 บาท ส่วนโจทก์อ้างว่า ฝ่ายจำเลยที่ 1และที่ 2 ยังค้างชำระเงินค่าที่ดินพร้อมบ้านเลขที่ 229/13 อยู่1,900,000 บาท จึงต้องหักเงินดังกล่าวออกจากจำนวนเงินที่โจทก์จะต้องชำระให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทั้งสองฝ่ายได้ทำบันทึกให้แก่เจ้าพนักงานที่ดินไว้คนละ 1 ฉบับ ตามเอกสารหมาย จ.24 และ ล.2ต่อมาวันที่ 31 สิงหาคม 2533 โจทก์นำเงินไปวางที่ สำนักงานวางทรัพย์ศาลจังหวัดธัญบุรี ตามเอกสารหมาย จ.18 ถึง จ.21 ปัญหาต้องวินิจฉัยในลำดับแรกตามฎีกาของจำเลยทั้งสามที่เป็นข้อกฎหมายว่าโจทก์มีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบหักล้างเอกสารหมาย จ.11ซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมบ้านเลขที่ 229/13 หรือไม่ เห็นว่าสัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.11 เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากสัญญาจะซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งตามสัญญาจะซื้อขายมีการวางมัดจำหรือชำระราคาบางส่วนไว้แล้ว เข้ากรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง ซึ่งอาจฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แม้ไม่มีเอกสารแสดงเมื่อมีปัญหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระเงินตามสัญญาซื้อขายครบถ้วนแล้วหรือไม่โจทก์จึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้ มิใช่เป็นการสืบพยานเพื่อหักล้างเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 และเอกสาร จ.11เป็นเอกสารที่ทำขึ้นระหว่างบริษัทบ้านทิพย์รัตน์ จำกัด กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะยกข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นอ้างก็เฉพาะกรณีที่ใช้ต่อสู้กับบริษัทบ้านทิพย์รัตน์ จำกัดเท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่ายังไม่ได้รับชำระราคาตามสัญญาจะซื้อขาย เอกสารหมาย จ.9เพราะจะนำไปหักกลบลบหนี้กับจำนวนเงินที่โจทก์จะต้องชำระให้จำเลยตามสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมาย จ.8 นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยฎีกาของจำเลยทั้งสามฟังไม่ขึ้น ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาข้อต่อไปคือ โจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาซึ่งมีข้อที่ต้องพิจารณาในเบื้องต้นว่า โจทก์ได้รับชำระเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องชำระตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมบ้านเลขที่ 229/13 หรือยัง โจทก์มีตัวโจทก์กับนายคมกฤชเบิกความว่าเนื่องจากบริษัทบ้านทิพย์รัตน์ จำกัด เร่งให้โจทก์รับโอนที่ดินและบ้านดังกล่าว แต่เนื่องจากโจทก์ได้ขายให้จำเลยที่ 1และที่ 2 ไปแล้ว จึงให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับโอนจากบริษัทบ้านทิพย์รัตน์ จำกัด โดยไม่ต้องผ่านโจทก์ และนัดจดทะเบียนโอนในวันที่ 10 สิงหาคม 2533 แต่เนื่องจากโจทก์ได้ชำระค่าที่ดินและบ้านครบถ้วนแล้ว ตามเอกสารหมาย จ.2 การโอนตรงไปยังจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นเพียงเพื่อให้จำเลยที่ 1 และที่ 2เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ ส่วนการชำระเงินคงเป็นไปตามสัญญาแต่เนื่องจากว่าโจทก์ต้องชำระค่าที่ดินและบ้านเลขที่ 600/1361จึงตกลงว่าจะหักเงินดังกล่าวออกจากเงินที่โจทก์จะต้องชำระให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งจะถึงกำหนดชำระในอีก 20 วันต่อมาส่วนจำเลยนำสืบว่าโจทก์เร่ง ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับโอนโดยจะลดราคาให้ 100,000 บาท จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงได้ไปขอยืมเงินจากนายชนะจำนวน 1,800,000 บาท ให้ผลประโยชน์ตอบแทน200,000 บาท โดยออกเช็คลงวันที่ล่วงหน้าให้แก่นายชนะจำนวน2,000,000 บาท ตามเอกสารหมาย ล.5 ข้อเท็จจริงจะเป็นดังที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดนำสืบจะได้พิจารณาต่อไป ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ฎีกาว่าข้อตำหนิของศาลอุทธรณ์เรื่องที่จำเลยที่ 1 เบิกความแตกต่างกับนายชนะในเรื่องจำนวนเงินที่ยืมมาชำระให้โจทก์ และเมื่อเช็คถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน นายชนะก็มิได้ดำเนินคดีอาญากับจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นเรื่องผิดปกติแต่อย่างใดนั้น ศาลฎีกาเห็นว่านอกจากข้อแตกต่างดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วเมื่อพิเคราะห์ถึงเหตุผลที่ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.8 และ จ.9 ในวันเดียวกัน กำหนดวันถึงกำหนดชำระเงินที่เหลือในวันจดทะเบียนโอนไว้ในวันเดียวกันแสดงว่าคู่กรณีมีเจตนาจะให้สัญญาทั้งสองฉบับมีความเกี่ยวเนื่องกันดังจะเห็นได้ว่าเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมาย จ.9ก็นำไปหักจากเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมาย จ.8โดยบันทึกไว้ในเอกสารหมาย จ.8 ว่า โจทก์ชำระเป็นเช็คให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเงิน 550,000 บาท ซึ่งตรงกับผลต่างของเงินมัดจำตามสัญญาทั้งสองฉบับ กับค่าโต๊ะอาหารแกะสลักทางนำสืบของโจทก์จึงน่าเชื่อว่าเงินจำนวน 1,900,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องชำระให้โจทก์นั้นมีการตกลงให้หักกับเงินที่โจทก์จะต้องชำระให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในตอนที่โจทก์จะรับโอนที่ดินและบ้านจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 และอีกประการหนึ่งสัญญาจะซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.9 เป็นสัญญาที่มีเงื่อนเวลาซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ประโยชน์จากเงื่อนเวลานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 191 และ 192 หากโจทก์เร่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปฏิบัติก่อนกำหนด จำเลยที่ 1 และที่ 2ย่อมมีสิทธิปฏิเสธได้ อีกทั้งระยะเวลาเหลืออีกเพียง 20 วันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็จะได้รับชำระเงินตามสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมาย จ.8 แล้ว เหตุใดจึงยอมเสียผลประโยชน์จากการไปยืมเงินนายชนะถึง 200,000 บาท ทั้ง ๆ ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ลดราคาให้เพียง 100,000 บาท เท่านั้นเป็นการผิดวิสัยที่จำเลยที่ 1และที่ 2 จะยอมเสียประโยชน์ 100,000 บาท โดยที่มีสิทธิได้ประโยชน์จากเงื่อนเวลาดังที่กล่าวมาแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังไม่ได้ชำระราคาให้โจทก์ในการรับโอนที่ดินและบ้านเลขที่ 229/13 เนื่องจากมีการตกลงว่าจะนำมาหักจากจำนวนเงินที่โจทก์จะชำระให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในวันที่ 30 สิงหาคม 2533 เมื่อฟังว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังมิได้ชำระเงินให้โจทก์1,900,000 บาท โจทก์จึงมีสิทธินำมาหักกลบลบหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1และที่ 2 จะมีหนังสือตามเอกสารหมาย ล.1 แจ้งให้โจทก์ปฏิบัติและโจทก์จะได้รับหนังสือนั้นแล้ว โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามคงปฏิบัติเฉพาะในข้อที่จะต้องแยกจำนวนเงินไปชำระให้จำเลยที่ 3ผู้รับซื้อฝากเท่านั้น และเมื่อถึงวันนัดโจทก์กับพวกก็ไปยังสำนักงานที่ดินเพื่อรับโอนที่ดินและบ้านตามสัญญา แต่ที่ตกลงกันไม่ได้ เพราะฝ่ายจำเลยไม่ยอมรับว่ายังค้างชำระเงินโจทก์อยู่1,900,000 บาท ที่โจทก์ขอหักกลบลบหนี้กันนั้น แม้ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีสิทธิจะกระทำแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2ได้ แต่เมื่อไม่ยอมให้โจทก์หักกลบลบหนี้ ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีสิทธิจะทำได้ ก็ถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ผิดสัญญา ส่วนกรณีที่มีบันทึกตามเอกสารหมาย จ.24 และ ล.2 ไม่ว่าฝ่ายใดจะนำยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ดินก่อนก็ไม่มีผลทำให้คำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงไปฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในประเด็นนี้ฟังไม่ขึ้น ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาอีกข้อหนึ่งคือโจทก์มีสิทธิไถ่ถอนการขายฝากจากจำเลยที่ 3 หรือไม่ ข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบรับกันคือ ที่ดินพร้อมบ้านเลขที่ 600/1361 จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำไปขายฝากไว้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2532 กำหนดเวลาไถ่ถอน 1 ปี จำนวนเงินที่เป็นสินไถ่ คือ 2,480,000 บาท และโจทก์ได้นำแคชเชียร์เช็คสำหรับเงินจำนวนดังกล่าวไปที่สำนักงานที่ดินในวันที่ 30 สิงหาคม 2533 ด้วย โดยจำเลยที่ 3 ทราบว่าฝ่ายโจทก์มีเงินจำนวนนั้น ต่อมาวันที่ 30 สิงหาคม 2533 โจทก์ได้นำแคชเชียร์เช็คฉบับดังกล่าวไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ ศาลจังหวัดธัญบุรีระบุว่าเพื่อชำระให้แก่จำเลยที่ 3 เป็นค่าไถ่ถอนการขายฝากและเหตุที่จำเลยที่ 3 ไม่ยอมรับชำระเงินในวันที่ 30 สิงหาคม 2533เพราะโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงกันไม่ได้ เห็นว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497 กำหนดบุคคลที่จะใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก และใน (2) กำหนดให้ผู้รับโอนสิทธินั้นมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้นได้ด้วย เมื่อฟังว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ต้องรับการไถ่ แม้ว่าจะมิใช่คู่สัญญาขายฝากก็ตาม เมื่อโจทก์มีเงินจำนวนที่เป็นสินไถ่ในวันที่ 30 สิงหาคม 2533 แต่จำเลยที่ 3ไม่ยอมรับ โจทก์จึงนำเงินไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ในวันที่31 สิงหาคม 2533 ซึ่งเป็นเวลาก่อนพ้นกำหนดไถ่ทรัพย์สิน ตามสัญญาขายฝาก จำเลยที่ 3 จึงปฏิเสธไม่ยอมรับการไถ่ถอนการขายฝากไม่ได้ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสามในข้อนี้ฟังไม่ขึ้นอีกเช่นกัน" พิพากษายืน หมายเหตุ 1. คดีนี้ โจทก์สืบพยานบุคคลแก้ไขสัญญาซื้อขาย (เอกสารหมายจ.11) ที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยนำสืบแก้ไขจากที่ระบุว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ชำระราคา ครบถ้วนแล้ว ศาลฎีกาให้สืบพยานบุคคลได้โดยให้เหตุผลว่า สัญญาซื้อขายดังกล่าวสืบเนื่องมาจากสัญญาจะซื้อขาย เอกสารหมาย จ.7 ซึ่งไม่ต้องห้ามนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารเพราะสัญญาจะซื้อขายนอกจากทำเป็นหนังสือแล้วยังมีการวางมัดจำกันด้วย จึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง ซึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ แม้ไม่มีเอกสารมาแสดง อีกทั้งโจทก์มิได้เป็นคู่สัญญาตามสัญญาซื้อขายกับจำเลย โจทก์จึงนำสืบเปลี่ยนแปลงได้จำเลยจึงยกข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 ขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ 2. สัญญาจะซื้อขายที่มีการวางมัดจำหรือชำระราคาบางส่วนเดิมถือว่าเป็นกรณีที่กฎหมายมิได้บังคับว่าการนำสืบต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จึงนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารได้(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2486,2482 ฎ.391) แต่ต่อมาถือว่าคู่สัญญาประสงค์ที่จะผูกพันกันโดยหนังสือสัญญา การวางมัดจำเป็นเพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้น ไม่ถือเป็นการทำสัญญาด้วยการวางมัดจำจึงต้องห้ามสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2492 ประชุมใหญ่ 2492 ฎ.900) หลังจากนั้นก็มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่กลับไปวินิจฉัยตามแนว (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2486อีกดังเช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/25002500 ฎ.1795 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/25092509 ฎ.1911 กระทั่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่อีกครั้ง โดยกลับไปวินิจฉัยตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1545/2492 และศาลฎีกาต่อมาวินิจฉัย โดยใช้แนวนี้มาจนถึงปัจจุบัน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2515 ประชุมใหญ่2515, ฎ.2137,คำพิพากษาศาลฎีกาที่1384/25232523ฎ.878,คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9088/25262526 ฎ.2371, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/25282528 ฎ.1419, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9575/25282528ฎ.2589,คำพิพากษาศาลฎีกาที่581/25302530ฎ.465) คดีนี้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อขายมีการวางมัดจำหรือชำระราคาบางส่วนไว้แล้ว จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แม้ไม่มีเอกสารมาแสดงจึงไม่ตรงกับหลักกฎหมายตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2515ประชุมใหญ่ดังกล่าวข้างต้น ด้วยความเคารพต่อคำวินิจฉัยของศาลฎีกาผู้บันทึกเห็นด้วยกับหลักกฎหมายตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2515ที่วินิจฉัยว่าสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะคู่สัญญาเจตนาทำสัญญากันเป็นหนังสือไม่ได้เจตนาทำสัญญาด้วยการวางมัดจำ เรื่องการวางมัดจำเป็นเพียงสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น จะถือว่าศาลฎีกากลับไปใช้หลักเดิมตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2486 อีกหรืออย่างไร คงต้องรอดูคำพิพากษาศาลฎีกาต่อ ๆ ไป 3. ส่วนสัญญาซื้อขายที่ระบุว่าชำระราคาครบถ้วนแล้ว จะสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้ว่าสืบไม่ได้ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 160/25182518 ฎ.99 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/25242524 ฎ.1351, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1700/25272527ฎ.1040) 4. คดีนี้ศาลฎีกาให้เหตุผลประการหนึ่งว่า สัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.11 สืบเนื่องมาจากสัญญาจะซื้อขายตามเอกสารหมายจ.9 เมื่อสัญญาจะซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.9 สามารถสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงพยานเอกสารได้แล้ว โจทก์ก็สามารถนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.11 ได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ผู้บันทึกเห็นว่าสัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.11 สืบเนื่องมาจากสัญญาจะซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.9 ไม่มีข้อโต้เถียง แต่การพิจารณาว่าสัญญาฉบับใดต้องห้ามสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 หรือไม่ น่าจะต้องพิจารณาแยกกัน การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินสามารถทำสัญญาซื้อขายจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ แม้จะไม่ได้ทำสัญญาจะซื้อกันมาก่อน และแม้จะมีการทำสัญญาจะซื้อขายมาแล้ว ก็ยังต้องมีการทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีกชั้นหนึ่ง ดังนั้นหากจะพิจารณาว่าสืบพยานบุคคลแก้ไขเอกสารได้หรือไม่ก็ต้องพิจารณาเฉพาะเอกสารที่จะสืบแก้ไขว่าต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 หรือไม่ ไม่น่าจะถือว่าแม้ตัวเอกสารที่จะสืบแก้ไขต้องห้ามตาม มาตรา 94 แต่ถ้าเป็นเอกสารที่สืบเนื่องจากเอกสารอื่นที่ไม่ต้องห้ามก็ทำให้เอกสารที่เดิมต้องห้ามสืบแก้ไข กลายเป็นสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ด้วยความเคารพผู้บันทึกจึงยังไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลฎีกาในส่วนนี้และเห็นว่าทั้งสัญญาจะซื้อขายและสัญญาซื้อขายในคดีนี้ต้องห้ามมิให้นำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95 5. ศาลฎีกาวินิจฉัยอีกตอนหนึ่งว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะยกข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ เพราะโจทก์ก็ไม่ได้เป็นคู่สัญญาซื้อขาย หลักห้ามสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารนี้ มีเหตุผลว่าเมื่อสมัครใจทำสัญญาใดเป็นหนังสือแล้้ว ก็ต้องพิจารณาตามข้อความในหนังสือนั่นเอง (พระยาจิดาภิรมย์ภักดี, คำอธิบายกฎหมายลักษณะพิจารณาคำพยานหลักฐาน, พิมพ์ครั้งที่ 2,2464 หน้า 112-113) กิจการที่ทำเป็นหนังสือนั้นผู้ทำได้แสดงเจตนาออกไว้แจ้งชัดแน่นอนและเด็ดขาดพร้อมด้วยมีความประสงค์ที่จะขจัดข้อสงสัยใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายหน้าเมื่อเป็นการตกลงปลงใจของผู้ทำเช่นนี้ จึงตกอยู่ในข้อห้ามไม่ให้นำพยานบุคคลมาสืบให้ความเป็นอย่างอื่น (ศาสตราจารย์แอลดูปลาตร์,คำบรรยายกฎหมายลักษณะพยานและจิตตวิทยา,2477,หน้า 181) ถือว่าเป็นข้อห้ามเด็ดขาด (โสภณรัตนนากร, คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน พิมพ์ครั้งที่ 1,2536 หน้า 199,เข็มชัยชุติวงศ์, กฎหมายลักษณะพยาน พิมพ์ครั้งที่ 4,2536,หน้า 198, พรเพชรวิชิตชลชัย, คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน,พิมพ์ครั้งที่ 1,2536, หน้า 222) คู่ความจะตกลงเป็นอย่างอื่นไม่ได้มาตรา 94 ห้ามคู่ความมิได้บัญญัติห้ามเฉพาะผู้ที่เป็นคู่สัญญาเท่านั้นลองพิจารณาว่าหากในคดีหนึ่งมีคู่ความมากกว่า 2 ฝ่ายบางฝ่ายที่เป็นคู่สัญญาต้องห้ามมิให้สืบเปลี่ยนแปลง บางฝ่ายที่มิได้เป็นคู่สัญญากลับนำสืบเปลี่ยนแปลงและแก้ไขเจตนาความประสงค์ของคู่สัญญาได้ ทั้งที่กฎหมายถือเป็นยุติว่า คู่สัญญามีเจตนาตามข้อความในเอกสารนั้นเช่นนี้แล้วข้อเท็จจริงตามเอกสารจะฟังยุติได้อย่างไรคงเป็นเรื่องยุ่งยากแก่ศาลมากด้วยความเคารพต่อศาลฎีกา ผู้บันทึกยังไม่เห็นด้วยและเห็นว่า ถ้าเป็นเอกสารที่ต้องห้ามนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้ว ทุกฝ่ายที่เป็นคู่ความในคดีนั้นก็ถูกห้ามไปด้วยเว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นให้สืบได้ ในคดีนี้โจทก์ก็ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95 เช่นเดียวกับจำเลย 6. คดีนี้ผู้บันทึกเห็นว่า โจทก์เถียงว่าวันทำสัญญาซื้อขายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ชำระเงินแต่ได้มีการตกลงให้หักกลบลบหนี้ระหว่างโจทก์ จำเลย เนื้อแท้ของข้อเถียงโจทก์ก็คือ ถือว่าจำเลยชำระแล้วในวันทำสัญญาซื้อขายด้วยการหักกลบลบหนี้นั่นเอง ข้อตกลงในส่วนหักกลบลบหนี้นั้น น่าจะถือได้ว่าเป็นการนำสืบถึงวิธีการชำระหนี้ซึ่งเป็นข้อตกลงอีกส่วนหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายได้ อันถือเป็นข้อยกเว้นของการนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเอกสารได้ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/25052505 ฎ.861,คำพิพากษาศาลฎีกาที่2241/25342534ฎ. เล่ม 4หน้า 125) และการนำสืบว่าโจทก์จำเลยเป็นหนี้ต่อกันอย่างไรได้มีการหักหนี้กันแล้วอย่างไร ศาลฎีกาก็ถือเป็นข้อยกเว้นให้สืบได้(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 190/25102510 ฎ.1158) นอกจากนี้ ผู้บันทึกยังเห็นว่าคดีนี้ข้อโต้เถียงของโจทก์ก็เพื่อบังคับตามสัญญาจะซื้อขาย โจทก์มิได้ประสงค์จะนำสืบโต้เถียงเพื่อบังคับตามสัญญาซื้อขายแต่อย่างใด ดังนั้นจึงถือว่าเข้าข้อยกเว้นที่จะสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขพยานเอกสารได้เช่นกัน(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1669/25112511 ฎ.1912, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/25222522 ฎ.43,คำพิพากษาศาลฎีกาที่3303/25322532ฎ.1423) คดีนี้เป็นไปได้ว่าศาลฎีกาเห็นว่าไม่เข้าข้อยกเว้นที่ศาลฎีกาเคยอนุญาตให้สืบได้จึงให้เหตุผลในทางที่ว่าเป็นสัญญาสืบเนื่องจากสัญญาที่สืบแก้ไขได้และโจทก์ไม่ใช่คู่สัญญา ด้วยความเคารพต่อศาลฎีกา ผู้บันทึกเห็นด้วยในผลที่ยอมให้โจทก์นำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาซื้อขายได้ แต่น่าจะเป็นเพราะเป็นข้อตกลงอีกส่วนหนึ่งต่างหาก และนำสืบเพื่อบังคับตามสัญญาจะซื้อขายเท่านั้น ไม่ใช่เพราะเป็นสัญญาที่สืบเนื่องมาจากสัญญาจะซื้อขายหรือเพราะโจทก์ไม่ใช่คู่สัญญา สมชาย รัตนชื่อสกุล ---มาตรา 331 ถ้าเจ้าหนี้บอกปัดไม่ยอมรับชำระหนี้ก็ดี หรือไม่สามารถจะรับชำระหนี้ได้ก็ดี หากบุคคลผู้ชำระหนี้วางทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ไว้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้แล้วก็ย่อมจะเป็นอันหลุดพ้นจากหนี้ได้ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่บุคคลผู้ชำระหนี้ไม่ สามารถจะหยั่งรู้ถึงสิทธิหรือไม่รู้ตัว เจ้าหนี้ได้แน่นอนโดยมิใช่เป็นความผิดของตน ---มาตรา 456 การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาสองหมื่นบาท หรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย ---มาตรา 497 สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินนั้นจะพึงใช้ได้แต่บุคคลเหล่านี้คือ วิ.แพ่ง----------มาตรา 94 เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดั่งต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี แต่ว่าบทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บัญญัติไว้ ใน อนุมาตรา (2) แห่ง มาตรา 93 และมิให้ถือว่าเป็นการตัดสิทธิคู่ความ ในอันที่จะกล่าวอ้างและนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอม หรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้น ไม่สมบูรณ์หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2543 ป.พ.พ. มาตรา 491 จำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดินไว้แก่ ภ. บิดาโจทก์ ระหว่างที่ยังอยู่ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนตามสัญญาขายฝาก จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวกับโจทก์ ต่อมา จำเลยทำสัญญากับ ภ. ว่าไม่ประสงค์จะไถ่ถอนและขอสละสิทธิไถ่ถอน ดังนี้ ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ ภ. ถือได้ว่า เป็นการขายขาดที่ดินให้แก่ ภ. โดยทำสัญญากันเอง จึงไม่เกิดผลเป็นสัญญาซื้อขายที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยยังมีสิทธิไถ่ถอนการขายฝากได้ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนตามสัญญาขายฝากอยู่และภายในกำหนดระยะการขายฝาก จำเลยย่อมมีสิทธินำที่ดินไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ได้ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497 ได้กำหนดให้ผู้รับโอนสิทธิมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้นได้ด้วย เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิมีสิทธิไถ่ที่ดินได้ โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2532 จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 44167 ตำบลลาดยาว (บางเขนฝั่งใต้) อำเภอบางเขน (บางซื่อ)กรุงเทพมหานคร จำนวนเนื้อที่ 53 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 60/1บนที่ดินดังกล่าวของจำเลยให้แก่โจทก์ในราคา 630,000 บาท โจทก์ชำระมัดจำในวันทำสัญญา 200,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 430,000 บาท จะชำระเมื่อจำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2535 หากจำเลยผิดสัญญายอมให้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาพร้อมค่าเสียหายอีกจำนวน 200,000 บาท ต่อมาจำเลยผิดสัญญาไม่ไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 60/1บนที่ดินโฉนดเลขที่ 44167 ตำบลลาดยาว (บางเขนฝั่งใต้) อำเภอบางเขน(บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 53 ตารางวา ให้แก่โจทก์ โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าภาษีอากรและค่าธรรมเนียมการโอนกับชำระค่าเสียหายเป็นเงินอีกจำนวน200,000 บาท ตามสัญญา หากจำเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแก่โจทก์ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยโดยให้จำเลยรับเงินค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ส่วนที่เหลือจำนวน 430,000 บาทจากโจทก์ หากจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้ไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 497,500 บาทกับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 400,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การว่า จำเลยขายฝากที่ดินและบ้านตามฟ้องไว้แก่นายภัทรพร ธีรพงศ์ธาดา บิดาโจทก์ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2532 จำเลยไม่เคยตกลงขายที่ดินตามฟ้องให้แก่โจทก์ ไม่เคยรับมัดจำจำนวน 200,000 บาทจากโจทก์ในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายโจทก์ก็ทราบดีว่า ทรัพย์พิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายเป็นกรรมสิทธิ์ของนายภัทรพร จำเลยมิใช่เจ้าของทรัพย์สินจึงไม่มีอำนาจทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ แต่เนื่องจากจำเลยถูกนายภัทรพรฉ้อฉลจนหลงเชื่อจึงได้มีหลักฐานขึ้นและให้มีสัญญาจะซื้อจะขายลงวันที่ 12สิงหาคม 2532 ระหว่างโจทก์กับจำเลย คำขอท้ายฟ้องไม่ชัดแจ้งว่าเป็นเงินค่าอะไร ศาลไม่สามารถออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำขอของโจทก์ได้จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 44167ตำบลลาดยาว (บางเขนฝั่งใต้) อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 53 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 60/1 แก่โจทก์ โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าภาษีอากรและค่าธรรมเนียมการโอน หากจำเลยเพิกเฉยไม่ยอมไปจดทะเบียนให้โจทก์ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยและให้จำเลยรับเงินค่าที่ดินและบ้านที่เหลือจำนวน 430,000 บาทไปจากโจทก์ หากจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้แก่โจทก์ได้ไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้จำเลยชดใช้เงินแก่โจทก์จำนวน 497,500 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 400,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ โดยจำเลยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ที่จำเลยฎีกาประการต่อมาว่า โจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยมิใช่เจ้าของทรัพย์สินพิพาทเพราะขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์พิพาทจำเลยขายฝากทรัพย์พิพาทแก่บิดาโจทก์ไปแล้วนั้น เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 491 บัญญัติว่า "ขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคือได้" ดังนั้น สัญญาขายฝากจึงเป็นสัญญาซึ่งผู้ซื้อรับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากไปจากผู้ขายฝากโดยมีเงื่อนไขบังคับหลังว่า เมื่อผู้ขายฝากมาไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากคืนภายในกำหนดระยะเวลาขายฝากแล้ว กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ขายฝากก็จะเปลี่ยนมือกลับมาเป็นของผู้ขายฝากตามเดิม ดังนั้น การที่จำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดินไว้แก่นายภัทรพรบิดาโจทก์ ตามเอกสารหมาย จ.11 เมื่อวันที่ 2กุมภาพันธ์ 2532 มีกำหนดไถ่ถอน 3 ปี ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 2 กุมภาพันธ์2535 แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2533 ซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนตามสัญญาขายฝาก จำเลยได้ทำสัญญาต่างตอบแทนกันเองระหว่างจำเลยกับนายภัทรพร ตามเอกสารหมาย ล.3 ว่าจำเลยไม่ประสงค์จะไถ่ถอนและขอสละสิทธิในการไถ่ถอนทรัพย์พิพาท อันถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นการขายขาดทรัพย์พิพาทให้แก่นายภัทรพรผู้รับซื้อฝากโดยทำสัญญากันเอง สัญญาขายขาดฉบับหลังนี้จึงไม่เกิดผลเป็นสัญญาซื้อขายที่ชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น จำเลยผู้ขายฝากจึงยังมีสิทธิไถ่ถอนการขายฝากรายนี้ได้ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนตามสัญญาขายฝากอยู่ ดังนั้น ภายในกำหนดระยะการขายฝากจำเลยย่อมมีสิทธินำทรัพย์พิพาทไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ได้ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497 ก็ยังได้กำหนดบุคคลที่จะใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากไว้และใน (2) กำหนดให้ผู้รับโอนสิทธินั้นมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้นได้ด้วย เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.1 โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว มีสิทธิไถ่ทรัพย์พิพาทได้ด้วยสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินตามเอกสารหมาย จ.1 จึงมีผลสมบูรณ์และบังคับได้ตามกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น" พิพากษายืน ---มาตรา 491 อันว่าขายฝากนั้นคือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อโดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ ---มาตรา 497 สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินนั้นจะพึงใช้ได้แต่บุคคลเหล่านี้คือ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2495 ทำสัญญาขายฝากที่ดินกันโดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ต่อมาได้ตกลงกันขายที่ดินแปลงนั้นแก่ผู้รับซื้อฝาก โดยทำสัญญากันเองดังนี้สัญญาขายขาดฉะบับหลังนี้ไม่เกิดผลเป็นสัญญาซื้อขายที่ชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น ผู้ขายฝากยังมีสิทธิไถ่ถอนการขายฝากรายนี้ ได้ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนตามสัญญาขายฝากอยู่ และผู้ที่รับโอนสิทธิจากผู้ขายฝาก ก็ย่อมมีสิทธิไถ่ถอนการขายฝากรายนี้ได้เช่นเดียวกัน คู่ความอ้างเอกสารในสำนวนของศาลเป็นพยาน ไม่ต้องเรียกเอกสารมาจากที่อื่น เมื่อปรากฎว่าผู้อ้างยังไม่ได้เสียค่าอ้าง ศาลก็ชอบที่จะเรียกให้ผู้อ้างชำระค่าธรรมเนียมการอ้างเอกสารนั้นเสียก่อนที่จะพิพากษาคดี ต่อผู้อ้างขัดขืนไม่ชำระตามคำสั่ง ศาลจึงควรไม่รับฟังเป็นพยาน ในคดีที่มีผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่ 3 สู้คดีกับโจทก์จำเลยนั้น แม้ในศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้ผู้ร้องสอดโจทก์แพ้คดีจำเลย โจทก์ไม่อุทธรณ์คงอุทธรณ์เฉพาะผู้ร้องสอดเท่านั้น ก็ตาม ก็ต้องถือว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับเฉพาะที่เกี่ยวถึงสิทธิของผู้ร้องสอดด้วย ยังหายุติไม่ โจทก์ฟ้องว่า ได้ขายฝากที่ดินของโจทก์ไว้แก่จำเลย กำหนดไถ่ถอนภายใน ๑ ปี โจทก์ขอไถ่จากจำเลย เพื่อจะโอนให้แก่ผู้ซื้อ จำเลยบิดพริ้ว จึงขอให้ศาลบังคับ จำเลยต่อสู้คดี และฟ้องแย้งว่า โจทก์ขายฝากที่ดินพิพาทแก่จำเลยจริง แต่ต่อมาภายหลังได้ทำสัญญาขายขาดแก่จำเลยแล้ว โดยเพิ่มเงินอีกที่ โจทก์ทำสัยญาขายที่พิพาทแก่พี่สาวโจทก์นั้น เป็ฯการสมยอมกันจึงขอให้ศาลบังคับโจทก์โอนที่ พิพาทแก่จำเลย หรือใช้เบี้ยปรับ ผู้ร้องสอด ร้องเข้ามาว่า โจทก์ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้แก่ผู้ร้อง จึงขอให้ศาลบังคับโจทก์ตามสัญญา ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว เห็นว่าการที่โจทก์ทำสัญญาขายขาดที่พิพาทแก่จำเลยในภายหลังนั้น เท่ากับเป็นการสละสิทธิการไถ่ถอนตามสัญญาขายฝากเดิมแล้ว จึงพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ และยกคำร้องผู้ซึ่งเป็นโจทก์ร่วม ให้โจทก์โอนที่พิพาทให้จำเลย ผู้ร้องสอดฝ่ายเดียว อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ผู้ร้องสอดมีสิทธิดีกว่าจำเลย จึงพิพากษาแก้ให้ระงับการบังคับให้โจทก์โอนที่พิพาทให้จำเลย จำเลยฝ่ายเดียวฎีกา ศาลฎีกา เห็นว่า ในเรื่องเอกสารที่ผู้ร้องสอดอ้าง อันศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ยังไม่ได้เสียค่าอ้าง ไม่รับฟังนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า เอกสารที่กล่าวนี้อยู่ในสำนวนควาามของศาลชั้นต้นแล้ว ไม่ต้องเรียกมาจากที่อื่น เมื่อปรากฎว่าผู้อ้างยังไม่ได้เสียค่าอ้าง ศาลก็ชอบที่จะเรียกให้ผู้อ้างชำระค่าธรรมเนียมการอ้างเอกสารนั้นเสียก่อนที่จะพิพากษาคดี ต่อผู้อ้างขัดขืนไม่ชำระตามคำสั้ง จึงไม่ควรรับฟังเป็นพยาน และในคดีดนี้ต่อมาได้มีการชำระ ซึ่งศาลได้รับไว้แล้ว เช่นนี้ ศาลจึงรับฟังเอกสารนั้นเป็นพยานได้ ข้อที่จำเลยฎีกาว่า คดีนี้โจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่เฉพาะผู้ร้องสอด คดีเฉพาะตัวโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โอนที่ดินแก่จำเลยจึงเป็นอันยุตินั้น ข้อนี้เมื่อปรากฎว่า ผู้ร้องสอดผู้มีส่วนได้เสียในการนี้ยังอุทธรณ์คดีอยู่ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับเฉพาะที่เกี่ยวถึงสิทธิของผู้ร้องสอดด้วย ดังกล่าวแล้ว จึงหาได้ยุติไม่ สัญญาขายฝากระหว่างโจทก์จำเลยนั้นได้ทำและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนการที่โจทก์ตกลงขายที่นี้แก่จำเลยในตอนหลังนี้ เพียงแต่เป็นการทำสัญญากันเอง ให้เกิดผลเป็นสัญญาซื้อขายที่ชอบด้วยกฎหมาย จะมีผลอย่างมากก็เพียงเป็นสัญญาจะซื้อขายเท่านั้น เมื่อสิทธิการไถ่ถอนการขายฝากยังคงมีอยู่ การที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมให้ผู้ร้องสอดใช้สิทธิการไถ่ถอนที่ดินรายนี้จากจำเลย และยอมโอนกรรมสิทธิที่ดินให้ผู้ร้อง จึงไม่เป็นการขัดต่อกฎหมาย หากวินิจฉัยถึงสิทธิตามที่จำเลยรับซื้อฝากไว้ ผู้ร้องสอดผู้รับโอนสิทธิจากโจทก์ก็มีสิทธิไถ่ถอนการขายฝากที่ดินจากจำเลย และถ้าจะวินิจฉัยระหว่างผู้ร้องสอดกับจำเลย ถึงการที่ได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ในเรื่องที่โจทก์จะขายที่พิพาทให้ สิทธิของ ของผู้ร้องซึ่งเป็นคู่สัยญษมาก่อนก็ย่อมมาก่อน ผู้ร้องสอดจึงมีสิทธิที่จะบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาได้ก่อนจำเลย ทั้งระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์ก็ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และมีคำพิพากษาของศาลให้บังคับคดีตามนั้นอยู่แล้ว ผู้ร้องสอดจึงมีสิทธิจะขอให้ศาลบังคับคดีไปตามนั้นได้ก่อนจำเลยจะขอให้บังคับโจทก์โอนกรรมสิทธิที่พิพาทแก่จำเลย ฯลฯ จึงพิพากษาแก้ศาลอุทธรณ์ ให้จำเลยรับไถ่ถอนการขายฝากที่พิพาทจากผู้ร้องสอด ฯลฯ ( นิติธรรมประกรณ์ - ธรรมบัณฑิต - นนทปัญญา ) ---มาตรา 151 การใดเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมาย ถ้ามิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นไม่เป็นโมฆะ ป.วิ.พ. มาตรา 27 ---มาตรา 27 ในกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม หรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ในเรื่องการเขียน และการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่น ๆ หรือในการพิจารณา คดี การพิจารณาพยานหลักฐาน หรือการบังคับคดี เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เสียหายเนื่องจากการที่มิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้นยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอน การพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไข หรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควร ข้อค้านเรื่องผิดระเบียบนั้น คู่ความฝ่ายที่เสียหายอาจยกขึ้นกล่าว ได้ไม่ว่าในเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวัน นับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็น มูลแห่งข้ออ้างนั้น แต่ทั้งนี้คู่ความฝ่ายนั้นต้องมิได้ดำเนินการอันใด ขึ้นใหม่ หลังจากที่ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้ว หรือต้องมิได้ให้ สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้น ๆ ถ้าศาลสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบใดๆ อันมิใช่ เรื่องที่คู่ความละเลยไม่ดำเนินการพิจารณาเรื่องนั้นภายในระยะเวลา ซึ่งกฎหมายหรือศาลกำหนดไว้เพียงเท่านี้ไม่เป็นการตัดสิทธิคู่ความ ฝ่ายนั้น ในอันที่จะดำเนินกระบวนพิจารณานั้น ๆ ใหม่ให้ถูกต้อง ตามที่กฎหมายบังคับ ---มาตรา 145 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่า ด้วยการอุทธรณ์ฎีกาและการพิจารณาใหม่ คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ ให้ถือว่าผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมี คำสั่งนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งจนถึงวันที่คำพิพากษาหรือ คำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี ถึงแม้ศาลจะได้กล่าวไว้โดยทั่วไปว่าให้ใช้คำพิพากษาบังคับแก่ บุคคลภายนอก ซึ่งมิได้เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาล ด้วยก็ดี คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นย่อมไม่ผูกพันบุคคลภายนอก เว้นแต่ที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 142(1) มาตรา 245 และ มาตรา 274 และในข้อต่อไปนี้ ---มาตรา 149 ค่าฤชาธรรมเนียม ได้แก่ ค่าธรรมเนียมศาล ค่าสืบพยานหลักฐานนอกศาล ค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักของพยาน ผู้เชี่ยวชาญ ล่าม และเจ้าพนักงานศาล ค่าทนายความ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ตลอดจนค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้ชำระ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ว่าด้วยการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ค่าธรรมเนียมศาลที่เป็นค่าขึ้นศาล ให้คู่ความผู้ยื่นคำฟ้องเป็นผู้ชำระเมื่อยื่นคำฟ้อง ค่าธรรมเนียมศาลนั้น ให้ชำระหรือนำมาวางศาลเป็นเงินสดหรือเช็คซึ่งธนาคารรับรอง โดยเจ้าพนักงานศาลออกใบรับให้ หรือตามวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา คำฟ้อง คำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องฎีกา คำร้องสอด คำให้การ หรือคำร้องคำขออื่นซึ่งได้ยื่นต่อศาลพร้อมคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลตามมาตรา 156 ตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนคำร้องดังกล่าว ไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมศาลและเงินวางศาลมาชำระ เว้นแต่ศาลจะได้ยกคำร้องนั้นเสีย คำพิพากษาฎีกาเพิ่มเติม ไถ่ถอนการขายฝาก การให้สัตยาบันแก่การขายฝาก พิพากษายืน. |
![]() ![]() ![]() ![]() |