ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การจับในที่รโหฐานและการค้นโดยเจ้าของเชื้อเชิญ

การจับในที่รโหฐานและการค้นโดยเจ้าของที่รโหฐานเชื้อเชิญไม่ต้องมีหมายค้น

ข้อ 6. พันตำรวจเอกธรรม ร้อยตำรวจเอกชอบ นายดำ นายแดง และนางสาวเหลือง ได้รับเชิญจากนายเขียวเจ้าของบ้านให้ไปร่วมงานเลี้ยงในเวลากลางวันที่บ้านของนายเขียวซึ่งอยู่ติดกับบ้านของนายแดง ขณะอยู่ในบ้านของนายเขียว พันตำรวจเอกธรรมจำได้ว่านายดำเป็นคนร้ายที่ศาลได้ออกหมายจับไว้ ส่วนนางสาวเหลืองจำได้ว่านายแดงเป็นคนร้ายที่ได้ข่มขืนกระทำชำเราตนเมื่อสัปดาห์ก่อน นางสาวเหลือง จึงชี้ให้ร้อยตำรวจเอกชอบ จับนายแดง โดยแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ไว้แล้ว พันตำรวจเอกธรรม ร้อยตำรวจเอกชอบ จึงเข้าจับกุมนายดำ และนายแดง โดยได้ปฏิบัติตามชั้นตอนการจับกุม แล้วนำตัวนายดำและนายแดงไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับ

ให้วินิจฉัยว่า การจับนายดำและนายแดงชอบหรือไม่

ธงคำตอบ 

การที่พันตำรวจเอกธรรมจับนายดำนั้นเป็นการจับตามหมายจับ แม้เป็นการจับในที่รโหฐานก็ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 81 ที่บัญญัติว่า ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทำตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน เพราะการเข้าไปอันถือเสมือนเป็นการค้นในที่รโหฐานนั้นเป็นการเข้าไปโดยชอบ เนื่องจากนายเขียวเจ้าของผู้ครอบครองที่รโหฐานเชื้อเชิญให้เข้าไปพันตำรวจเอกธรรมไม่ต้องขอหมายค้นของศาลเพื่อเข้าไปค้นบ้านที่ตนอยู่ในบ้านโดยชอบแล้ว การจับนายดำเป็นการชอบ

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 (3) ประกอบมาตรา 66 (2) เจ้าพนักงานตำรวจจะจับนายแดงโดยไม่มีหมายจับได้ต่อเมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่านายแดงน่าจะได้กระทำผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่านายแดงจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุร้ายประการอื่นและมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับนายแดงได้ กรณีนี้ไม่ปรากฏว่านายแดงมีท่าทีจะหลบหนี ประกอบกับนายแดงมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ร้อยตำรวจเอกชอบจะจับนายแดงโดยไม่มีหมายจับของศาลไม่ได้ การจับนายแดงเป็นการไม่ชอบ 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 

มาตรา 81 " ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทำตาม บทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน" 

มาตรา 78 " พนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่
(1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำ ความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 80
(2) เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติ การณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด
(3) เมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับบุคคลนั้นตาม มาตรา 66(2) แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้
(4) เป็นการจับผู้ต้องหาหรือ จำเลยที่หนีหรือจะหลบหนีในระหว่างถูกปล่อยชั่วคราวตาม มาตรา 117" 

มาตรา 66 "เหตุที่จะออกหมายจับได้มี ดังต่อไปนี้
(1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญา ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ
(2) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น
ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี"

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

จับกุมโดยไม่มีหมายจับและหมายค้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2914/2537 

โรงค้าไม้ที่ใช้เป็นที่พักอาศัยยาม ที่โรงค้าไม้หยุดดำเนินกิจการ ภายในบริเวณโรงค้าไม้ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าหรือด้านหลังย่อมไม่ใช่สาธารณสถาน แต่เป็นที่รโหฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 2(13)แม้โจทก์ร่วมจะมีอำนาจจับกุมจำเลยเพราะเป็นกรณีที่มีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่าจำเลยได้กระทำความผิดและแจ้งด้วยว่าได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 78(4) แต่การจับกุมตามกรณีดังกล่าว ก็ต้องมิใช่เป็นการจับกุมในที่รโหฐานเพราะตามมาตรา 81 บัญญัติว่า จะมีหมายจับหรือไม่ก็ตามห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทำตามบัญญัติว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน ซึ่งพฤติการณ์ของโจทก์ร่วมที่กระทำไปก็หาต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าวไม่ การที่โจทก์ร่วมกับพวกเข้าทำการจับกุมจำเลยในที่รโหฐาน จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบทั้งปราศจากอำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ แม้จำเลยจะต่อสู้ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายโจทก์ร่วมจริง การกระทำของจำเลยก็เป็นการป้องกันชอบด้วยกฎหมาย 

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่โดยจำเลยมีและใช้แป๊ปน้ำ 1 ท่อน เป็นอาวุธขู่เข็ญและใช้กำลังประทุษร้ายเป็นเหตุให้ร้อยตำรวจตรีศุภมิตรกับพลตำรวจกิตติได้รับอันตรายแก่กาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138, 140, 296

จำเลยให้การปฏิเสธ

ระหว่างพิจารณาร้อยตำรวจโทศุภมิตร ศิลปสมบูรณ์ และพลตำรวจกิตติ ทองส่งเสริม ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต และให้เรียกร้อยตำรวจโทศุภมิตรศิลปสมบูรณ์ ว่า โจทก์ร่วมที่ 1 เรียกพลตำรวจกิตติ ทองส่งเสริมว่าโจทก์ร่วมที่ 2

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง

โจทก์ร่วมทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138 วรรคสอง และมาตรา 296 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้มาตรา 296 ซึ่งเป็นบทหนักลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 6 เดือน และปรับ2,000 บาท จำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เมื่อคำนึงถึงสภาพความผิดแล้ว ให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ถ้าไม่ชำระค่าปรับจัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก 4 เดือน มีกำหนด 1 ปี และกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ระหว่างรายงานตัวตามที่พนักงานคุมประพฤติและจำเลยเห็นสมควร มีกำหนด 40 ชั่วโมง

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่าในวันเวลาเกิดเหตุนายพรเทพ ท้วมสมบูรณ์ ได้พาโจทก์ร่วมทั้งสองไปจับกุมจำเลยซึ่งนายพรเทพแจ้งความไว้ว่าขับรถยนต์ชนรถจักรยานยนต์ของผู้แจ้งได้รับความเสียหายที่บริเวณโรงค้าไม้ชื่อเจริญวัฒนาค้าไม้ โจทก์ร่วมทั้งสองได้ร่วมกันจับกุมจำเลยโดยไม่มีหมายจับและหมายค้น จำเลยขัดขืนการจับกุมจนโจทก์ร่วมที่ 1ต้องสั่งให้โจทก์ร่วมที่ 2 ติดต่อเรียกเจ้าพนักงานตำรวจมาช่วยอีกสองคนจึงจับกุมจำเลยได้โรงค้าไม้ที่เกิดเหตุเป็นของนายสัมพันธ์บิดาจำเลย ซึ่งนอกจากจะขายไม้แล้วยังขายวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ด้วยคดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ข้อนี้โจทก์จำเลยต่างนำสืบโต้เถียงข้อเท็จจริงกันว่าในวันเกิดเหตุโรงค้าไม้หยุดทำการค้าหรือไม่เห็นว่า พยานโจทก์ขัดแย้งกับเหตุผลมีน้ำหนักน้อย จึงเชื่อว่าในวันเกิดเหตุโรงค้าไม้หยุดดำเนินกิจการตามที่จำเลยนำสืบจริงและเมื่อปรากฏว่าโรงค้าไม้ดังกล่าวมีรั้วรอบขอบชิดและนอกจากจะใช้เป็นสถานประกอบการค้าแล้วยังใช้เป็นที่พักอาศัยด้วย ดังนั้น ในยามที่โรงค้าไม้หยุดกิจการ ภายในบริเวณโรงค้าไม้ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าหรือด้านหลังย่อมไม่ใช่สาธารณสถานอันเป็นสถานที่ใด ๆ ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ แต่กลับเป็นที่รโหฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(13) แม้โจทก์ร่วมทั้งสองจะมีอำนาจจับกุมจำเลยในกรณีที่มีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่าจำเลยได้กระทำความผิดและแจ้งด้วยว่าได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 78(4) ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวก็ต้องมิใช่เป็นการจับกุมในที่รโหฐาน เพราะตามมาตรา 81 บัญญัติว่า "จะมีหมายจับหรือไม่ก็ตามห้ามมิให้จับ (1) ในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทำตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้ อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน ฯลฯ" ซึ่งพฤติการณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสองที่กระทำไปก็หาต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าวไม่การที่โจทก์ร่วมทั้งสองกับพวกเข้าทำการจับกุมจำเลยในที่รโหฐานจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบทั้งปราศจากอำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมายถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ แม้จำเลยจะต่อสู้ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายโจทก์ร่วมจริง การกระทำของจำเลยก็เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามา ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยฎีกาของจำเลยฟังขึ้น"

พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์

หมายเหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของข้อจำกัดในการจับซึ่งเป็นการจำกัดโดยสถานที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 81(1) เนื่องจากที่รโหฐานควรเป็นที่ที่ทุกคนอยู่ได้อย่างสงบและปลอดจากการรบกวนจากภายนอก รวมตลอดถึงการปลอดจากการรบกวนจากอำนาจรัฐตามสมควร ดังนั้น ในกรณีนี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงมีบทบัญญัติพิเศษเพื่อคุ้มครองบุคคลที่อยู่ในสถานที่ดังกล่าว โดยการจับภายใต้การจำกัดนี้ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเสียก่อน คือ ต้องมีทั้งหมายจับและหมายค้นหรือเข้าข้อยกเว้นของการออกหมายจับหรือหมายค้น ทั้งนี้เพื่อให้ความคุ้มครองต่อสิทธิของผู้ที่อยู่ในที่รโหฐาน ทั้งนี้มีตัวอย่างเช่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2518 จำเลยทำร้ายร่างกาย ด.ด. ไปแจ้งความต่อผู้ใหญ่บ้านขอให้จับ แต่วันนั้นจับไม่ได้เพราะมืด รุ่งเช้าผู้ใหญ่บ้านพา ด. ไปแจ้งความต่อผู้บังคับกองผู้บังคับกองให้ตำรวจไปกับผู้ใหญ่บ้านเพื่อจับ แต่ไม่พบจึงพากันกลับผู้บังคับกองได้สั่งว่าถ้าพบให้จับจำเลยมาดำเนินคดี ตอนเย็นวันนั้นเองผู้ใหญ่บ้านกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านพากันไปจับจำเลยโดยคนทั้งสองไม่มีหมายจับ พบจำเลยอยู่ใต้ถุนบ้าน ท. ผู้ใหญ่บ้านแจ้งแก่จำเลยว่า ตำรวจต้องการตัวเรื่องทำร้ายร่างกาย ด. จำเลยไม่ยอมให้จับและต่อสู้ขัดขวาง การเข้าไปจับจำเลยถึงใต้ถุนบ้าน ท.อันเป็นที่รโหฐานเช่นนี้ เป็นกรณีซึ่งอยู่ในบังคับของมาตรา 81(1)ประกอบกับมาตรา 92 ด้วย เมื่อกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 92 การเข้าไปจับนั้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายที่จำเลยขัดขวางการจับกุมจึงไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่

แต่มีข้อน่าสังเกตว่า หากข้อเท็จจริงในคดีนี้เข้าข้อยกเว้นการค้นโดยไม่มีหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 92 ด้วย จะเป็นการจับโดยชอบ

จุมพลภิญโญสินวัฒน์




การสอบเนติบัณฑิต ภาคสอง สมัยที่ 60(วิชาวิธีพิจารณาความอาญา)

อำนาจจัดการแทน "ผู้เสียหาย" ของ ผู้บุพการี
สิทธิของผู้เสียหายที่จะเรียกร้องทางแพ่ง
การสอบสวนผู้ต้องหาที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปี ให้รัฐจัดหาทนายความให้
การพิจารณาและสืบพยานในศาลจะต้องทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย
ห้ามคู่ความนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในพยานเอกสาร
อุทธรณ์ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
วันตรวจพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การร่างพินัยกรรม
การสืบพยานล่วงหน้าในคดีอาญา