ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

สาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย                      

     ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ฎีกาในข้อที่ว่า จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 หรือไม่ เห็นว่า เหตุผลของศาลอุทธรณ์ได้กล่าวโดยละเอียดชัดเจนโดยมีสำเนาพยานเอกสารไม่ว่าสำเนารายงานการจดทะเบียนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุที่จำเลยที่ 1 ขับระบุชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัด... ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นเพียงหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด ข้อเท็จจริงจึงไม่พอฟังว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ฎีกาของโจทก์ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ เห็นว่า ฎีกาของโจทก์เป็นฎีกาในข้อที่เป็นสาระแก่คดีอันไม่ควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกา

  มาตรา 249 ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่น ฎีกานั้นคู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา และต้องเป็นข้อที่ ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งจะต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วยการวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่เป็นสาระแก่คดีข้อใดไม่ควรได้รับการ วินิจฉัยจากศาลฎีกา ให้กระทำโดยความเห็นชอบของรองประธาน ศาลฎีกาซึ่งประธานศาลฎีกามอบหมาย แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงอำนาจ ของประธานศาลฎีกาตาม มาตรา 140 วรรคสอง

ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ หรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าว ในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวน พิจารณาชั้นฎีกา คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้าง ซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5765/2552

     ฎีกาของโจทก์ทั้งสองที่โต้แย้งเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 8 มาไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ได้ จึงเป็นฎีกาในข้อที่เป็นสาระแก่คดีอันไม่ควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

     คำฟ้องของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ครอบครองใช้ประโยชน์รถยนต์บรรทุกน้ำมันคันเกิดเหตุที่จำเลยที่ 1 ขับในกิจการของจำเลยที่ 2 มิได้ฟ้องขอให้รับผิดในฐานะเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ประเภทหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดที่สอดเข้าไปจัดการงานของห้างดังกล่าว ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในข้อนี้ จึงเป็นฎีกานอกฟ้องนอกประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

     โจทก์ทั้งสองฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวน 1,110,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง
          จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง

          ระหว่างพิจารณา โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอให้เรียกบริษัทสินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) เข้ามาเป็นจำเลยร่วม ศาลชั้นต้นอนุญาต ก่อนสืบพยาน โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยร่วม ศาลชั้นต้นอนุญาตและให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยร่วมออกจากสารบบความ

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 562,431 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (วันที่ 9 พฤศจิกายน 2542) จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง กับให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ทั้งสองชนะคดี ยกฟ้องโจทก์ทั้งสองสำหรับจำเลยที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับ
          โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

          โจทก์ทั้งสองฎีกา

  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในข้อที่ว่า จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 หรือไม่ เห็นว่า เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ได้กล่าวโดยละเอียดชัดเจนซึ่งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบแล้ว โดยเฉพาะที่ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ทั้งสองนำมาสืบเจือสมกับข้อนำสืบของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 มีสำเนาพยานเอกสารไม่ว่าสำเนารายงานการจดทะเบียนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุที่จำเลยที่ 1 ขับระบุชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัดทับปุดเจริญโชค ทั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้กับจำเลยร่วมและเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลในช่วงเวลาเกิดเหตุ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นเพียงหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนดังกล่าว พยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสอง ข้อเท็จจริงจึงไม่พอฟังว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ฎีกาของโจทก์ทั้งสองที่โต้แย้งเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 8 มาอีกนั้นไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ได้ ศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของรองประธานศาลฎีกาซึ่งประธานศาลฎีกามอบหมาย เห็นว่า ฎีกาของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวเป็นฎีกาในข้อที่เป็นสาระแก่คดีอันไม่ควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

   ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในข้อที่ว่า เมื่อจำเลยที่ 2 ได้สอดเข้าไปจัดกิจการห้างหุ้นส่วนดังกล่าว โดยรับว่าเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 และเข้าร่วมเจรจาค่าเสียหายกับโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับห้างหุ้นส่วนดังกล่าวในฐานะส่วนตัวต่อโจทก์ทั้งสองด้วยนั้น เห็นว่า คดีนี้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ครอบครองใช้ประโยชน์รถยนต์บรรทุกน้ำมันคันเกิดเหตุที่จำเลยที่ 1 ขับในกิจการของจำเลยที่ 2 มิได้ฟ้องขอให้รับผิดในฐานะเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนดังกล่าว ประเภทหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดที่สอดเข้าไปจัดการงานของห้างดังกล่าว ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในข้อนี้ จึงเป็นฎีกานอกฟ้องนอกประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน

 พิพากษายกฎีกาของโจทก์ทั้งสอง คืนค่าธรรมเนียมทั้งหมดในชั้นฎีกาแก่โจทก์ทั้งสอง  ค่าฤชาธรรมเนียมอื่นนอกจากนี้ให้เป็นพับ.

 
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ได้แก้ไขใหม่

มาตรา 249  ให้ศาลฎีกาพิจารณาอนุญาตให้ฎีกาตามมาตรา 247 ได้ เมื่อเห็นว่าปัญหาตามฎีกานั้นเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัยปัญหาสำคัญตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงกรณีดังต่อไปนี้

 (1) ปัญหาที่เกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะ หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน

 (2) เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อกฎหมายที่สำคัญขัดกันหรือขัดกับแนวบรรทัดฐานของคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลฎีกา

 (3) คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อกฎหมายที่สำคัญซึ่งยังไม่มีแนวคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลฎีกามาก่อน

 (4) เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ขัดกับคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดของศาลอื่น

 (5) เพื่อเป็นการพัฒนาการตีความกฎหมาย

 (6) ปัญหาสำคัญอื่นตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา

ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาตามวรรคสอง (6) เมื่อได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

ในกรณีที่ศาลฎีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ฎีกา ให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น     




อุทธรณ์ฎีกา

ผู้ตายมีส่วนประมาทในอุบัติเหตุ, การประมาทร่วมในคดีแพ่ง, ขาดนัดยื่นคำให้การ, การอุทธรณ์
จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาว่าไม่ได้มีการไตร่ตรองเพื่อเจตนาฆ่า, โทษประหารชีวิตศาลลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต
ฟ้องของโจทก์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์, ฟ้องไม่สมบูรณ์, ข้อกำหนดลายมือชื่อในคำฟ้อง,
สิทธิในทางแพ่งเรียกค่าสินไหมทดแทน, ผู้ตายไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย, การอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การยื่นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง มาตรา 218, ความผิดหลายกรรม มาตรา 91,
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องที่ 2 ถอนทนายความแล้ว
เป็นฎีกาที่ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษา | ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การอุทธรณ์หรือฎีกาต้องเป็นไปตามลำดับชั้นของศาล
ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องจำเลยที่ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาได้เพราะข้อเท็จจริงเกี่ยวพันเป็นอันเดียวกัน
ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
แก้ไขเล็กน้อยห้ามโจทก์ฎีกา
ทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์
มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนไม่ชอบ
ห้ามโจทก์อุทธรณ์ความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
การดำเนินการะบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์และฎีกา
ห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลา
การขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอมซึ่งต้องกระทำโดยศาลสูง
ฟ้องรวมกันใช้สิทธิเฉพาะตัวต้องแยกทุนทรัพย์