

พาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต พาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี และปรับ 4,000 บาท ฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และโดยไม่มีเหตุสมควร จำคุก 6 เดือน และปรับ 2,000 บาท ฐานนำเครื่องมือสำหรับล่าสัตว์เข้าไปในเขตอุทยาน ปรับ 500 บาท รวมจำคุก 1 ปี 6 เดือน และปรับ 6,500 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ คงจำคุก 9 เดือน และปรับ 3,250 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ริบของกลาง ส่วนที่โจทก์ขอให้บวกโทษของจำเลย เนื่องจากศาลรอการลงโทษจำคุกในคดีนี้ให้แก่จำเลย จึงให้ยก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2563 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 18 ฐานเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติโดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 25 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ต่อมาระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้มี พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 แต่ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 มาตรา 20 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ โดย พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 47 ให้ระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท โทษตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดที่มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุก จึงเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดที่มีโทษจำคุกด้วย อย่างไรก็ตามในส่วนของโทษปรับที่ศาลจะนำมาลงโทษจำเลยนั้น พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 25 มีระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยไม่ว่าจะในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 4, 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 4, 5, 6, 8, 16, 18, 25, 27, 29 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 58, 91, 371 ริบอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนและไฟส่องสัตว์ของกลางและนำโทษของจำเลยที่ศาลรอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1455/2561 ของศาลชั้นต้นมาบวกรวมกับโทษของจำเลยในคดีนี้ จำเลยให้การรับสารภาพและรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้บวกโทษ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 16 (15) (เดิม), 27 (เดิม) ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี และปรับ 4,000 บาท ฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และโดยไม่มีเหตุสมควร เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 6 เดือน และปรับ 2,000 บาท ฐานนำเครื่องมือสำหรับล่าสัตว์เข้าไปในเขตอุทยาน ปรับ 500 บาท รวมจำคุก 1 ปี 6 เดือน และปรับ 6,500 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 9 เดือน และปรับ 3,250 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ริบของกลาง ส่วนที่โจทก์ขอให้บวกโทษของจำเลยตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1455/2561 ของศาลชั้นต้น เนื่องจากศาลรอการลงโทษจำคุกในคดีนี้ให้แก่จำเลย จึงให้ยก โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีสิ่งแวดล้อมพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 18 (เดิม), 25 (เดิม) อีกกระทงหนึ่ง การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานนำเครื่องมือสำหรับล่าสัตว์เข้าไปในเขตอุทยาน ให้ลงโทษฐานเข้าไปภายในเขตอุทยานแห่งชาติโดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ปรับ 1,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงปรับ 500 บาท เมื่อรวมกับโทษฐานอื่นตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว เป็นจำคุก 9 เดือน และปรับ 3,500 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีสิ่งแวดล้อมวินิจฉัยว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาลงโทษปรับจำเลยคลาดเคลื่อนหรือไม่ โจทก์ฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาให้ลงโทษจำเลยฐานเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติโดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ปรับ 1,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงปรับ 500 บาท เมื่อรวมกับโทษฐานอื่นตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว เป็นจำคุก 9 เดือน ปรับ 3,500 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ดังกล่าว ไม่ถูกต้อง เพราะศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 9 เดือน และปรับ 3,250 บาท เมื่อรวมกับโทษปรับตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ที่ลดโทษให้จำเลยแล้วจำนวน 500 บาท ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงควรพิพากษาให้จำคุก 9 เดือน และปรับ 3,750 บาท จึงขอให้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 นั้น เห็นว่า โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 18 ฐานเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติโดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 25 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ต่อมาระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้มีพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 มาตรา 3 ยกเลิกพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 แต่พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 มาตรา 20 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ โดยพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 47 ให้ระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท โทษตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดที่มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุก จึงเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดที่มีโทษจำคุกด้วย อย่างไรก็ตามในส่วนของโทษปรับที่ศาลจะนำมาลงโทษจำเลยนั้น พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 25 มีระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยไม่ว่าจะในทางใดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องตาม ข้อ 2.3 โดยบรรยายว่าจำเลยมีไว้และพาอาวุธปืนซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับล่าสัตว์และจับสัตว์เข้าไปในป่าตีนเขาภูเวียงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้วินิจฉัยแล้วว่า การกระทำความผิดฐานนำเครื่องมือสำหรับล่าสัตว์เข้าไปในอุทยานแห่งชาติและฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทและให้ลงโทษฐานเข้าไปภายในเขตอุทยานแห่งชาติโดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยให้ลงโทษปรับ 1,000 บาท ซึ่งเป็นการกำหนดโทษปรับเสียใหม่ในความผิดฐานเดียวกันทำให้โทษปรับฐานนำเครื่องมือสำหรับล่าสัตว์เข้าไปในเขตอุทยาน จำนวน 500 บาท จึงถูกเกลื่อนกลืนไปกับฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 9 เดือน และปรับ 3,500 บาท นั้น จึงชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษาแก้เป็นว่า ฐานเข้าไปภายในเขตอุทยานแห่งชาติโดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 มาตรา 20, 47 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 |
![]() ![]() ![]() |