ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ผู้จัดการมรดก, คดีอาวุธปืนกับการรู้เห็นเป็นใจของผู้จัดการมรดก, ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิร้องขอคืนอาวุธปืนของกลาง

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

 ผู้จัดการมรดก, คดีอาวุธปืนกับการรู้เห็นเป็นใจของผู้จัดการมรดก, ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิร้องขอคืนอาวุธปืนของกลาง

*ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิร้องขอคืนอาวุธปืนของกลาง เนื่องจากมีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย โดยอนุญาตให้จำเลยใช้อาวุธปืนโดยไม่เข้มงวด พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8.*

*อาวุธปืนของกลางเป็นทรัพย์มรดกของนายวิรัตน์ ซึ่งผู้ร้องได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกและมีหน้าที่รวบรวมและจัดการแบ่งให้แก่ทายาท อย่างไรก็ตาม การแบ่งทรัพย์สินยังไม่เสร็จสิ้น อาวุธปืนจึงยังคงอยู่ในความครอบครองของผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดก โดยการที่ผู้ร้องอนุญาตให้จำเลยนำอาวุธปืนไปใช้อย่างต่อเนื่อง เช่น การซ้อมยิงปืนในค่ายทหาร โดยไม่มีการควบคุมหรือกำหนดเงื่อนไข ถือเป็นการแสดงถึงการรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย

ทั้งนี้ จำเลยถูกจับกุมพร้อมของกลางและรับสารภาพในความผิดฐานมีอาวุธปืนที่ไม่ได้รับอนุญาต พาอาวุธปืนไปในที่สาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร และยิงปืนโดยใช่เหตุ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาให้ริบอาวุธปืนของกลางและลงโทษจำเลยตามความผิดดังกล่าว ผู้ร้องยื่นฎีกาขอสิทธิในอาวุธปืนของกลาง แต่ศาลฎีกาเห็นว่า ผู้ร้องไม่ได้ดำเนินการเพื่อโอนกรรมสิทธิ์อาวุธปืนให้เป็นของจำเลยหรือทายาท และไม่มีหลักฐานยืนยันว่าผู้ร้องเข้มงวดในการควบคุมการใช้อาวุธปืน ศาลจึงเห็นชอบกับคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ที่ยกคำร้องขอคืนอาวุธปืน และพิพากษายืนตามคำตัดสินดังกล่าว.*

 คำถามที่ 1:

ผู้ร้องมีสิทธิร้องขอคืนอาวุธปืนของกลางในฐานะผู้จัดการมรดกหรือไม่?

คำตอบ:

ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกมีสิทธิครอบครองอาวุธปืนของกลางแทนทายาททุกคนของนายวิรัตน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคแรก และมาตรา 1600 แต่การที่ผู้ร้องไม่มีการดำเนินการขอใบอนุญาตใหม่หรือแบ่งทรัพย์สินมรดกอย่างเสร็จสิ้น และการที่ผู้ร้องไม่ได้ควบคุมการนำอาวุธปืนของกลางไปใช้อย่างเข้มงวด ทำให้ศาลฎีกาเห็นว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนอาวุธปืนของกลางได้.

คำถามที่ 2:

เหตุใดศาลฎีกาจึงวินิจฉัยว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย?

คำตอบ:

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย เนื่องจากผู้ร้องไม่ได้ควบคุมการนำอาวุธปืนของกลางไปใช้อย่างเคร่งครัด จำเลยสามารถหยิบอาวุธปืนได้โดยไม่ต้องแจ้งผู้ร้อง และผู้ร้องอนุญาตโดยปริยายให้จำเลยนำอาวุธปืนไปใช้โดยไม่คำนึงถึงกิจกรรมที่จะนำไปใช้ การที่ผู้ร้องปล่อยให้จำเลยนำอาวุธปืนไปใช้ซ้อมยิงปืนเป็นประจำ และไม่มีการควบคุมอย่างเหมาะสมแสดงให้เห็นถึงความประมาทที่นำไปสู่การใช้ปืนของกลางในเหตุการณ์ผิดกฎหมาย ดังนั้น ศาลฎีกาจึงพิพากษาว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอคืนอาวุธปืนของกลาง.

 

คำถามที่ 1: ผู้ร้องมีสิทธิร้องขอคืนอาวุธปืนของกลางในฐานะผู้จัดการมรดกหรือไม่? คำตอบ: ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกมีสิทธิครอบครองอาวุธปืนของกลางแทนทายาททุกคนของนายวิรัตน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคแรก และมาตรา 1600 แต่การที่ผู้ร้องไม่มีการดำเนินการขอใบอนุญาตใหม่หรือแบ่งทรัพย์สินมรดกอย่างเสร็จสิ้น และการที่ผู้ร้องไม่ได้ควบคุมการนำอาวุธปืนของกลางไปใช้อย่างเข้มงวด ทำให้ศาลฎีกาเห็นว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนอาวุธปืนของกลางได้. คำถามที่ 2: เหตุใดศาลฎีกาจึงวินิจฉัยว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย? คำตอบ: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย เนื่องจากผู้ร้องไม่ได้ควบคุมการนำอาวุธปืนของกลางไปใช้อย่างเคร่งครัด จำเลยสามารถหยิบอาวุธปืนได้โดยไม่ต้องแจ้งผู้ร้อง และผู้ร้องอนุญาตโดยปริยายให้จำเลยนำอาวุธปืนไปใช้โดยไม่คำนึงถึงกิจกรรมที่จะนำไปใช้ การที่ผู้ร้องปล่อยให้จำเลยนำอาวุธปืนไปใช้ซ้อมยิงปืนเป็นประจำ และไม่มีการควบคุมอย่างเหมาะสมแสดงให้เห็นถึงความประมาทที่นำไปสู่การใช้ปืนของกลางในเหตุการณ์ผิดกฎหมาย ดังนั้น ศาลฎีกาจึงพิพากษาว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอคืนอาวุธปืนของกลาง.

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5425/2564

ก่อนเกิดเหตุ จำเลยไปหาผู้ร้องและหยิบอาวุธปืนของกลางออกมาเพื่อใช้ซ้อมยิงปืนในค่ายทหารซึ่งเป็นกิจกรรมที่จำเลยกระทำอยู่เป็นประจำ ภายหลังจากนั้นจำเลยพาอาวุธปืนของกลางติดตัวมาใช้ก่อเหตุ อันแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมิได้เข้มงวดกวดขันในการอนุญาตให้จำเลยนำอาวุธปืนของกลางไปใช้อย่างแท้จริง และการที่จำเลยสามารถหยิบอาวุธปืนของกลางไปใช้ได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าววัตถุประสงค์ให้ผู้ร้องทราบก่อน ย่อมแสดงว่าผู้ร้องอนุญาตโดยปริยายให้จำเลยนำอาวุธปืนของกลางไปใช้ได้ตลอดเวลาโดยไม่คำนึงถึงว่าจำเลยจะนำไปใช้ในกิจกรรมใด ถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนอาวุธปืนของกลาง

 

คำพิพากษาศาลฎีกา 5425/2564, การครอบครองอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต, กฎหมายอาวุธปืน พ.ศ. 2490, การจัดการมรดกและสิทธิในทรัพย์สิน, ความรับผิดชอบของผู้จัดการมรดก, สิทธิการขอคืนของกลางในคดีอาญา, การวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีมรดก, คดีอาวุธปืนกับการรู้เห็นเป็นใจ, บทบาทของผู้จัดการมรดกในคดีมรดก, การริบทรัพย์สินในคดีอาญา,

 

 

คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคสาม, 72 ทวิ วรรคสอง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371, 376 ริบอาวุธปืนกับกระสุนปืนที่เหลือจากการทดลองยิง ลูกกระสุนปืน (ตะกั่ว) และปลอกกระสุนปืนของกลาง

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้คืนอาวุธปืนของกลางแก่ผู้ร้อง

โจทก์ยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า มีคำสั่งให้ยกคำร้อง

ผู้ร้องอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน

ผู้ร้องฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติโดยที่ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้เถียงกันในชั้นนี้ว่า จำเลยกับผู้ร้องต่างเป็นบุตรของนายวิรัตน์ เดิมนายวิรัตน์ เป็นเจ้าของอาวุธปืนพกรีวอลเวอร์ ขนาด .38 เครื่องหมายทะเบียน นศ.8/7854 ต่อมานายวิรัตน์ ได้ถึงแก่กรรม ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนายวิรัตน์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2561 เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้พร้อมยึดอาวุธปืนดังกล่าวเป็นของกลาง โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นขอให้ลงโทษในความผิดฐานมีอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควร และฐานยิงปืนโดยใช่เหตุ จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยและให้ริบอาวุธปืนของกลาง คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องประการแรกว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของอาวุธปืนของกลางแท้จริงหรือไม่ เห็นว่า อาวุธปืนของกลางเป็นกรรมสิทธิ์ของนายวิรัตน์ มาแต่เดิม ครั้นนายวิรัตน์ ถึงแก่กรรม อาวุธปืนของกลางย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของนายวิรัตน์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคแรก และมาตรา 1600 แม้จะปรากฏว่าผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของนายวิรัตน์ มีหน้าที่รวบรวมทรัพย์มรดกของนายวิรัตน์ เพื่อแบ่งให้แก่ทายาททุกคนที่มีสิทธิได้รับมรดกก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่านับแต่ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนายวิรัตน์ แล้วผู้ร้องได้ดำเนินการขอนายทะเบียนท้องที่ให้ออกใบอนุญาตใหม่เพื่อโอนอาวุธปืนของกลางให้แก่จำเลย หรือทายาททุกคนยินยอมให้อาวุธปืนของกลางตกเป็นของจำเลย ทั้งจำเลยก็มิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ให้มีและใช้อาวุธปืน ประกอบกับได้ความตามที่ผู้ร้องเบิกความว่า ก่อนเกิดเหตุ อาวุธปืนของกลางถูกเก็บรักษาไว้ที่บ้านของผู้ร้อง ซึ่งสอดคล้องกับที่จำเลยและผู้ร้องให้การไว้ในชั้นสอบสวน อันแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องยังมิได้ส่งมอบการครอบครองอาวุธปืนของกลางให้แก่จำเลยอย่างเด็ดขาด ดังนั้น ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า อาวุธปืนของกลางยังคงเป็นทรัพย์มรดกของนายวิรัตน์ ที่ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกยังจัดการแบ่งให้แก่ทายาททั้งหลายของนายวิรัตน์ ไม่แล้วเสร็จ และผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองอาวุธปืนของกลางในฐานะผู้จัดการมรดกของนายวิรัตน์ อันเป็นการครอบครองแทนทายาททุกคนของนายวิรัตน์ ซึ่งรวมถึงผู้ร้องด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่ใช่เจ้าของอาวุธปืนของกลางและไม่มีสิทธิร้องขอคืนของกลางนั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของผู้ร้องข้อนี้ฟังขึ้น

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องประการสุดท้ายว่า ผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยหรือไม่ เห็นว่า ผู้ร้องเพียงแต่อ้างตนเองเป็นพยานเบิกความลอย ๆ ว่า ผู้ร้องได้รับแจ้งจากจำเลยว่าจำเลยเข้าไปหยิบอาวุธปืนของกลางจากภายในห้องนอนของนางสาว น.นพวรรณ์ น้องสาวผู้ร้องซึ่งอาศัยอยู่บ้านเดียวกันกับผู้ร้อง และเบิกความตอบโจทก์ถามค้านว่า ผู้ร้องให้นางสาว น.นพวรรณ์ เก็บรักษาอาวุธปืนของกลางไว้ภายหลังจากที่จำเลยมีอาการผิดปกติทางจิตแล้ว แต่ผู้ร้องกลับให้การในชั้นสอบสวนว่า ก่อนเกิดเหตุ ผู้ร้องอยู่ที่บ้านจังหวัดนครศรีธรรมราชและได้มอบอาวุธปืนของกลางให้จำเลยเก็บรักษาไว้ ผู้ร้องมาทราบภายหลังเกิดเหตุว่า จำเลยไปหาเพื่อนที่จังหวัดพังงาและนำอาวุธปืนของกลางไปด้วย โดยปกติแล้วจำเลยนำอาวุธปืนของกลางไปใช้ซ้อมยิงที่ค่ายทหารในจังหวัดนครศรีธรรมราช จะเห็นว่าผู้ร้องให้การต่อพนักงานสอบสวนหลังเกิดเหตุประมาณ 1 เดือน ซึ่งเป็นระยะเวลาไม่นาน น่าเชื่อว่าผู้ร้องไม่มีเวลาคิดเสริมแต่งเหตุการณ์ให้ผิดไปจากความเป็นจริง แต่เป็นการให้การต่อพนักงานสอบสวนไปตามความสมัครใจด้วยความสัตย์จริง สอดคล้องกับที่จำเลยให้การในชั้นสอบสวนว่า ก่อนเกิดเหตุ จำเลยไปหาผู้ร้องและหยิบอาวุธปืนของกลางออกมาเพื่อใช้ซ้อมยิงปืนในค่ายทหารซึ่งเป็นกิจกรรมที่จำเลยกระทำอยู่เป็นประจำ ภายหลังจากนั้นจำเลยพาอาวุธปืนของกลางติดตัวมาใช้ก่อเหตุ อันแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมิได้เข้มงวดกวดขันในการอนุญาตให้จำเลยนำอาวุธปืนของกลางไปใช้อย่างแท้จริง และการที่จำเลยสามารถหยิบอาวุธปืนของกลางไปใช้ได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าววัตถุประสงค์ให้ผู้ร้องทราบก่อน ย่อมแสดงว่าผู้ร้องอนุญาตโดยปริยายให้จำเลยนำอาวุธปืนของกลางไปใช้ได้ตลอดเวลาโดยไม่คำนึงถึงว่าจำเลยจะนำไปใช้ในกิจกรรมใด ถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนอาวุธปืนของกลาง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งให้ยกคำร้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นชอบด้วยผล ฎีกาของผู้ร้องข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน




อาวุธปืน

อาวุธปืนมีทะเบียนจึงไม่ใช่ทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิด
เครื่องกระสุนปืนใช้ผิดกระบอก
พาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต