ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




อายุความค่าจ้างว่าความ, อายุความสะดุดลง, ดอกเบี้ยผิดนัด, สัญญาจ้างทำของ,

อายุความค่าจ้างว่าความ,  การชำระหนี้และการหยุดอายุความ,  ดอกเบี้ยผิดนัดในสัญญาจ้าง,  คดีฟ้องร้องค่าว่าความ,  การนับอายุความตามกฎหมายแพ่ง,  สัญญาจ้างทำของ มาตรา 587,  มาตรา 193/34 (16) อายุความทนายความ,  การผิดนัดชำระหนี้ มาตรา 204,  ตัวอย่างคดีเกี่ยวกับสัญญาว่าความ,

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

อายุความค่าจ้างว่าความ, อายุความสะดุดลง, ดอกเบี้ยผิดนัด, สัญญาจ้างทำของ,

"สัญญาจ้างว่าความ: อายุความสะดุดลงสำหรับจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 1 ขาดอายุความ ค่าจ้างงวดที่ 2 และ 3 ผิดนัดหลังทวงถาม โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัด"

*สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 ที่เน้นผลสำเร็จของงาน การชำระหนี้งวดที่ 1 ซึ่งถึงกำหนดแล้วส่งผลให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับใหม่ตาม มาตรา 193/14 (1) และ 193/15 วรรคสอง โจทก์ยื่นฟ้องในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปีสำหรับจำเลยที่ 2 คดีจึงไม่ขาดอายุความ แต่สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งอายุความเริ่มนับตั้งแต่วันทำสัญญา คดีขาดอายุความแล้ว

ค่าจ้างงวดที่ 2 และ 3 ถึงกำหนดชำระเมื่อโจทก์ดำเนินงานสำเร็จ แต่เนื่องจากยังไม่มีกำหนดชำระตามปฏิทิน จำเลยทั้งสองจะเป็นผู้ผิดนัดเมื่อครบกำหนดชำระหลังได้รับหนังสือทวงถาม 7 วัน โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดสำหรับงวดที่ 2 และ 3 ตาม มาตรา 204 วรรคหนึ่ง

*เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2560 จำเลยทั้งสองทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความในคดีเกี่ยวกับที่ดิน ตกลงค่าจ้างรวม 3,000,000 บาท แบ่งชำระ 3 งวด โดยโจทก์ดำเนินคดีให้ 3 คดี และสืบพยานเสร็จสิ้นในคดีหนึ่งเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2561 ต่อมาคู่ความตกลงกันได้ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 โดยสองคดีมีคำพิพากษาตามยอม และอีกคดีหนึ่งถอนฟ้อง

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัย

1.เรื่องอายุความ

จำเลยที่ 2 ชำระเงินให้โจทก์ 9 ครั้ง รวม 369,951 บาท ครั้งสุดท้ายเมื่อ 7 พฤษภาคม 2561 ซึ่งถือเป็นการชำระหนี้งวดแรก อายุความจึงเริ่มนับใหม่และไม่ขาดอายุ แต่สำหรับจำเลยที่ 1 อายุความนับตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2560 และขาดอายุความเมื่อฟ้อง

2.ค่าจ้างตามผลการทำงาน

สัญญาจ้างถือเอาผลสำเร็จเป็นสำคัญ ศาลกำหนดให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าจ้างครึ่งหนึ่งในแต่ละงวด รวม 1,130,049 บาท ส่วนจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดในงวดแรกเพราะคดีขาดอายุความ

3.ดอกเบี้ยผิดนัด

โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดสำหรับค่าจ้างแต่ละงวด โดยงวดแรกนับตั้งแต่ 19 พฤศจิกายน 2561 และงวดที่ 2 และ 3 นับจากวันที่ 3 ธันวาคม 2561

คำพิพากษา

ศาลฎีกาแก้คำพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 1,113,049 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนด และจำเลยที่ 1 รับผิดร่วมในส่วนต้นเงิน 1,000,000 บาท โดยดอกเบี้ยต้องเป็นไปตามกฎหมายและปรับตามอัตราของกระทรวงการคลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2567

สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 ถือเอาผลสำเร็จแห่งการงานที่จ้างเป็นสำคัญ และการจ่ายสินจ้างถือเอาความสำเร็จของผลงานหรือตามที่ตกลงกันไว้ เมื่อสัญญาจ้างดังกล่าวกำหนดชำระค่าจ้าง 3 งวด แต่มีเฉพาะงวดที่ 1 เท่านั้น ที่ถึงกำหนดชำระ ต้องถือว่าเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระให้แก่โจทก์ทั้ง 9 ครั้ง เป็นการชำระหนี้ในงวดที่ 1 ซึ่งถึงกำหนดชำระแล้ว ตามมาตรา 328 วรรคสอง อันมีผลทำให้อายุความในหนี้ค่าจ่างว่าความงวดที่ 1 สะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14 (1) และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันชำระหนี้ครั้งสุดท้ายตามมาตรา 193/15 วรรคสอง คำฟ้องโจทก์เป็นการฟ้องเรียกเอาค่าการงานมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (16) เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ

*อย่างไรก็ตาม จำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วมในสัญญาจ้างว่าความ มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ถือว่า จำเลยที่ 1 ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้วเช่นกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) และข้อความจริงใด เมื่อเป็นเรื่องท้าวถึงตัวลูกหนี้ร่วมกันคนใดย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษเฉพาะแต่ตัวลูกหนี้คนนั้นเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 295 การที่จำเลยที่ 2 เพียงคนเดียวชำระหนี้แก่โจทก์ อายุความจึงสะดุดหยุดลงเฉพาะแก่จำเลยที่ 2 หามีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมไม่ หนี้ค่าจ้างว่าความงวดที่ 1 ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงต้องเริ่มนับแต่วันทำสัญญาจ้างซึ่งเป็นเวลาขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12 เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เป็นระยะเวลาเกินกว่า 2 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์ตามสัญญาจ้างว่าความในงวดที่ 1 ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความ

*สำหรับค่าจ้างว่าความงวดที่ 2 กำหนดชำระเมื่อสืบพยานทั้งสองฝ่ายแล้วเสร็จ และงวดที่ 3 กำหนดชำระหนี้ก่อนนัดฟังคำพิพากษา 15 วัน มิใช่หนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อโจทก์ว่าความให้แก่จำเลยทั้งสองแล้วเสร็จโดยตกลงกับคู่กรณีได้ ถือว่าหนี้ค่าจ้างว่าความงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ถึงกำหนดชำระในวันดังกล่าว ตราบใดที่โจทก์ยังไม่เตือนให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ จำเลยทั้งสองจึงยังไม่ได้ชื่อว่าผิดนัด เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยทั้งสองมีกำหนดเวลาให้นำเงินมาชำระหนี้ภายใน 7 วัน และจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือทวงถามแล้ว แต่เมื่อครบกำหนด 7 วัน จำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ถือว่าจำเลยทั้งสองตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้วตามมาตรา 204 วรรคหนึ่ง โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดสำหรับค่าจ้างว่าความในงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ได้ในวันถัดจากวันครบกำหนดชำระหนี้ดังกล่าว

 

"สัญญาจ้างว่าความ: อายุความสะดุดลงสำหรับจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 1 ขาดอายุความ ค่าจ้างงวดที่ 2 และ 3 ผิดนัดหลังทวงถาม โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัด"

 

**โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 2,880,263.94 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 2,630,049 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ

จำเลยที่ 2 ให้การและฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องและบังคับโจทก์ชำระเงิน 729,951 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่จำเลยที่ 2

โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 2,880,263.94 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 2,630,049 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ ให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนฟ้องแย้งให้เป็นพับ

จำเลยทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 330,049 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2561 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ดอกเบี้ยผิดนัดนับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปนั้น ถ้ากระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนอัตราโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเมื่อใด ก็ให้ปรับเปลี่ยนไปตามนั้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกาให้ใน 2 ประเด็น

*ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2560 จำเลยทั้งสองทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความดำเนินคดีเรื่องที่ดินที่จำเลยทั้งสองมีข้อพิพาทกับทายาทอื่น โดยตกลงค่าจ้างเป็นค่าว่าความ ค่าวิชาชีพทนายความ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีรวมเป็นเงิน 3,000,000 บาท แบ่งชำระเป็น 3 งวด สัญญาข้อ 2.1 ระบุว่า งวดที่ 1 ชำระ 1,000,000 บาท เมื่อตกลงทำสัญญาจ้างว่าความให้ดำเนินคดี ข้อ 2.2 ระบุว่า งวดที่ 2 ชำระ 1,000,000 บาท เมื่อสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วเสร็จ และข้อ 2.3 ระบุว่า งวดสุดท้ายชำระ 1,000,000 บาท ก่อนนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น 15 วัน โจทก์ดำเนินการฟ้องร้องและดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลจังหวัดชุมพรให้แก่จำเลยทั้งสองรวม 3 คดี คือ คดีแพ่งหมายเลขดำที่ 278/2560 คดีแพ่งหมายเลขดำที่ 422/2560 และคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 423/2560 โดยในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 422/2560 โจทก์และจำเลยได้ทำการสืบพยานกันเสร็จสิ้นในวันที่ 11 พฤษภาคม 2561 และศาลได้นัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 15 มิถุนายน 2561 ส่วนคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 278/2560 และคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 423/2560 อยู่ระหว่างนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย ต่อมาวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 คู่ความในคดีทั้งสามสามารถตกลงกันได้ โดยคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 278/2560 และคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 423/2560 คู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลมีคำพิพากษาตามยอม ส่วนคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 422/2560 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ศาลมีคำสั่งอนุญาตและให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ

*ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อแรกมีว่า ฟ้องโจทก์ตามสัญญาจ้างว่าความ ข้อ 2.1 ขาดอายุความหรือไม่ เห็นว่า โจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงว่าจ้างกันในราคา 3,000,000 บาท แบ่งชำระเป็น 3 งวด สัญญาข้อ 2.1 ระบุว่า งวดที่ 1 ชำระ 1,000,000 บาท เมื่อตกลงทำสัญญาจ้างว่าความให้ดำเนินคดี ข้อ 2.2 ระบุว่า งวดที่ 2 ชำระ 1,000,000 บาท เมื่อสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วเสร็จ และข้อ 2.3 ระบุว่า งวดสุดท้ายชำระ 1,000,000 บาท ก่อนนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น 15 วัน ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 2 ชำระเงินให้โจทก์มาแล้ว 9 ครั้ง รวมเป็นเงิน 369,951 บาท โดยชำระครั้งสุดท้ายในวันที่ 7 พฤษภาคม 2561 การชำระเงินแต่ละครั้งจำเลยที่ 2 มิได้ระบุว่าชำระหนี้ในงวดใด เมื่อปรากฏว่า ณ วันที่ 7 พฤษภาคม 2561 มีเฉพาะหนี้งวดที่ 1 ตามสัญญาข้อ 2.1 เท่านั้นที่ถึงกำหนดชำระ ส่วนหนี้งวดที่ 2 และงวดที่ 3 ยังไม่ถึงกำหนดชำระเนื่องจากทั้งสามคดียังสืบพยานโจทก์จำเลยไม่แล้วเสร็จและยังไม่มีคดีใดนัดฟังคำพิพากษา จึงต้องถือว่าเงินที่จำเลยที่ 2 ชำระให้แก่โจทก์ทั้ง 9 ครั้ง เป็นการชำระหนี้ในงวดที่ 1 ซึ่งถึงกำหนดชำระแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328 วรรคสอง มีผลทำให้อายุความในหนี้ค่าจ้างว่าความงวดที่ 1 สะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14 (1) และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2561 ตามมาตรา 193/15 วรรคสอง คำฟ้องโจทก์เป็นกรณีทนายความฟ้องเรียกเอาค่าการงานที่ทำให้ มีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (16) เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 ยังไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย ฟ้องโจทก์ตามสัญญาจ้างว่าความข้อ 2.1 ในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงยังไม่ขาดอายุความ อย่างไรก็ตามจำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วม มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้วเช่นกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 (1) และข้อความจริงใดเมื่อเป็นเรื่องท้าวถึงตัวลูกหนี้ร่วมกันคนใดย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษเฉพาะแต่ลูกหนี้คนนั้นเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 295 การที่จำเลยที่ 2 เพียงคนเดียวชำระหนี้ให้แก่โจทก์ อายุความจึงสะดุดหยุดลงเฉพาะแก่จำเลยที่ 2 หามีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมไม่ หนี้ค่าว่าความงวดที่ 1 ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2560 ซึ่งเป็นเวลาขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12 เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นระยะเวลาเกินกว่า 2 ปี ฟ้องโจทก์ตามสัญญาจ้างว่าความข้อ 2.1 ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความ ฎีกาของโจทก์ประเด็นนี้ฟังขึ้นบางส่วน

*ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อที่สองมีว่า โจทก์ควรได้รับค่าจ้างว่าความเท่าใด เห็นว่า สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 จึงถือเอาผลสำเร็จแห่งการงานที่จ้างเป็นสำคัญ และการจ่ายสินจ้างต้องถือเอาความสำเร็จของผลงานหรือตามที่ตกลงกันไว้ ดังนั้น คู่สัญญาอาจจะตกลงเงื่อนไข เงื่อนเวลา หรือขั้นตอนในการชำระหนี้กันอย่างไรก็ได้ การที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงเงื่อนไขการชำระเงินค่าจ้างว่าความกันไว้โดยแบ่งชำระเป็น 3 งวด งวดที่ 1 จำนวน 1,000,000 บาท เมื่อตกลงทำสัญญาจ้างว่าความให้ดำเนินคดี งวดที่ 2 จำนวน 1,000,000 บาท เมื่อสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วเสร็จ และงวดสุดท้ายจำนวน 1,000,000 บาท ก่อนนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น 15 วัน ย่อมสามารถกระทำได้ และข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นการกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยแต่อย่างใด เมื่อโจทก์ทำการงานโดยดำเนินคดีให้แก่จำเลยทั้งสองที่ศาลจังหวัดชุมพรรวม 3 คดี จนต่อมาวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 จำเลยทั้งสองสามารถตกลงกับคู่กรณีในคดีทั้งสามได้ โดยคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 278/2560 และคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 423/2560 คู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลมีคำพิพากษาตามยอม ส่วนคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 422/2560 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ศาลมีคำสั่งอนุญาตและให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ทำการงานสำเร็จตามที่ตกลงว่าจ้างกันแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไป อย่างไรก็ดี เมื่อคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 278/2560 และคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 423/2560 สำเร็จไปเพราะมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลมีคำพิพากษาตามยอม ส่วนคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 422/2560 สำเร็จไปโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาอัตราค่าจ้างให้ตามสมควรแก่ผลแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไป เมื่อพิเคราะห์ถึงการงานที่โจทก์ทำ โดยในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 422/2560 โจทก์และจำเลยได้ทำการสืบพยานกันเสร็จสิ้นแล้ว อยู่ระหว่างนัดฟังคำพิพากษา ส่วนคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 278/2560 และคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 423/2560 อยู่ระหว่างนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย ยังมิได้มีการสืบพยานแต่อย่างใด ดังนี้ จึงเห็นควรกำหนดค่าจ้างว่าความให้โจทก์ตามสัญญาข้อ 2.1 ถึงข้อ 2.3 ในแต่ละงวดจำนวนครึ่งหนึ่ง กล่าวคือ งวดที่ 1 จำนวน 500,000 บาท งวดที่ 2 จำนวน 500,000 บาท และงวดที่ 3 จำนวน 500,000 บาท เมื่อนำเงินที่จำเลยที่ 2 ชำระให้แก่โจทก์มาแล้ว 369,951 ซึ่งเป็นการชำระหนี้ในงวดที่ 1 ตามที่ได้วินิจฉัยไว้แล้วมาหักออกจากค่าจ้างว่าความงวดที่ 1 คงเหลือค่าจ้างว่าความในงวดที่ 1 จำนวน 130,049 บาท รวมเป็นเงินค่าจ้างว่าความทั้งสามงวดที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสิ้น 1,130,049 บาท ส่วนจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดในค่าจ้างว่าความงวดที่ 1 เนื่องจากคดีขาดอายุความ จึงคงเหลือค่าว่าความในงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสิ้น 1,000,000 บาท และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่จำเลยทั้งสองผิดนัดเป็นต้นไป โดยค่าจ้างว่าความงวดที่ 1 มีกำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทินในวันทำสัญญาคือวันที่ 11 กันยายน 2560 เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้ชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนตามกำหนด จึงตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดได้ตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง นับแต่วันที่ 12 กันยายน 2560 เป็นต้นไป อย่างไรก็ดี เมื่อคำฟ้องโจทก์มีคำขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 จึงกำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยสำหรับค่าจ้างว่าความงวดที่ 1 ได้นับแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 ตามที่โจทก์ขอ สำหรับค่าจ้างว่าความงวดที่ 2 และงวดที่ 3 นั้น มิใช่หนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อคดีที่โจทก์ว่าความให้แก่จำเลยทั้งสองในศาลจังหวัดชุมพรทั้งสามคดี จำเลยทั้งสองสามารถตกลงกับคู่กรณีได้ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 จึงถือว่าหนี้ค่าจ้างว่าความงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ถึงกำหนดชำระในวันที่ดังกล่าว แต่ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้เตือนให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ จำเลยทั้งสองก็ยังไม่ได้ชื่อว่าผิดนัด ต่อมาเมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยทั้งสองโดยกำหนดเวลาให้นำเงินมาชำระหนี้ภายใน 7 วัน จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือทวงถามเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 ครบกำหนด 7 วัน ในวันที่ 3 ธันวาคม 2561 จำเลยที่ 1 มิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ดังนี้ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้วตามมาตรา 204 วรรคหนึ่ง และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดสำหรับค่าจ้างว่าความในงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ได้นับแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2561 เป็นต้นไป ส่วนจำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือทวงถามเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2561 ครบกำหนด 7 วัน ในวันที่ 2 ธันวาคม 2561 จำเลยที่ 2 มิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามหนังสือทวงถามดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้วตามมาตรา 204 วรรคหนึ่ง และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดได้นับแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2561 เป็นต้นไป ฎีกาของโจทก์ประเด็นนี้ฟังขึ้นบางส่วน

*อนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้อัตราดอกเบี้ยผิดนัดนับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไป โดยมิได้กำหนดว่ากรณีที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ก็ให้ใช้ดอกเบี้ยที่ปรับเปลี่ยนนั้นและต้องบวกเพิ่มอีกร้อยละ 2 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ประกอบมาตรา 7 ที่แก้ไขใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 เป็นการไม่ชอบ ปัญหาเรื่องการคิดดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)

*พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 1,113,049 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 และของต้นเงิน 1,000,000 บาท นับแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2561 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 ต้นเงินจำนวนดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ชำระให้แก่โจทก์จำนวน 1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2561 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และดอกเบี้ยของต้นเงินทุกจำนวนให้ชำระในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ถ้ากระทรวงการคลังกำหนดปรับเปลี่ยนอัตราโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเมื่อใด ก็ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยที่ปรับเปลี่ยนไปนั้นบวกด้วยอัตราร้อยละ 2 ต่อปี แต่ทั้งนี้ไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ

•  อายุความค่าจ้างว่าความ

•  การชำระหนี้และการหยุดอายุความ

•  ดอกเบี้ยผิดนัดในสัญญาจ้าง

•  คดีฟ้องร้องค่าว่าความ

•  การนับอายุความตามกฎหมายแพ่ง

•  สัญญาจ้างทำของ มาตรา 587

•  มาตรา 193/34 (16) อายุความทนายความ

•  การผิดนัดชำระหนี้ มาตรา 204

•  ตัวอย่างคดีเกี่ยวกับสัญญาว่าความ

สรุปย่อฎีกา

โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 2,880,263.94 บาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี จากต้นเงิน 2,630,049 บาท โดยจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ ส่วนจำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งให้ยกฟ้องและเรียกเงิน 729,951 บาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี

คำพิพากษาศาลชั้นต้น

ให้จำเลยทั้งสองชำระเงิน 2,880,263.94 บาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% และให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์

แก้ให้จำเลยทั้งสองชำระเงิน 330,049 บาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ตั้งแต่ 22 พฤษภาคม 2561 ถึง 10 เมษายน 2564 และ 5% ตั้งแต่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไป โดยปรับเปลี่ยนตามอัตราดอกเบี้ยกระทรวงการคลัง แต่ไม่เกิน 7.5%

คำวินิจฉัยศาลฎีกา

1.อายุความค่าจ้างว่าความข้อ 2.1

โจทก์เรียกร้องเงินงวดที่ 1 ได้ เนื่องจากมีการชำระเงิน อายุความสดุดหยุดลงในวันที่ 7 พฤษภาคม 2561 และฟ้องไม่เกิน 2 ปี แต่สำหรับจำเลยที่ 1 คดีขาดอายุความเพราะไม่ได้ชำระหนี้

2.ค่าจ้างตามผลการทำงาน

ศาลกำหนดค่าจ้างตามความสำเร็จของคดีเป็นครึ่งหนึ่งในแต่ละงวด รวมเป็น 1,500,000 บาท โดยหักเงินที่ชำระแล้ว 369,951 บาท

3.ดอกเบี้ยผิดนัด

กำหนดดอกเบี้ย 7.5% สำหรับค่าจ้างงวดที่ 1 ตั้งแต่ 19 พฤศจิกายน 2561 และงวดที่ 2 และ 3 ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2561 พร้อมปรับดอกเบี้ย 5% ตั้งแต่ 11 เมษายน 2564 หากมีการเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย

พิพากษาศาลฎีกา

แก้ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 1,113,049 บาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ตั้งแต่ 19 พฤศจิกายน 2561 และ 5% ตั้งแต่ 11 เมษายน 2564 โดยจำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดเฉพาะเงิน 1,000,000 บาท และดอกเบี้ยในส่วนที่กำหนด พร้อมให้ปรับตามอัตราดอกเบี้ยกระทรวงการคลังแต่ไม่เกิน 7.5%

***หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1)

เนื้อหา:

การชำระหนี้โดยลูกหนี้ มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลง

อธิบาย:

เมื่อมีการชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน แม้ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าชำระหนี้งวดใด การกระทำดังกล่าวถือเป็นการแสดงให้เห็นว่าลูกหนี้ยอมรับหนี้ ส่งผลให้อายุความที่นับอยู่หยุดลงทันที

2. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/15 วรรคสอง

เนื้อหา:

เมื่ออายุความสะดุดหยุดลง จะเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ทำให้เกิดการสะดุด

อธิบาย:

ตัวอย่างในคดีนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ชำระเงินครั้งสุดท้ายในวันที่ 7 พฤษภาคม 2561 ทำให้อายุความเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันนั้น

3. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (16)

เนื้อหา:

อายุความสำหรับการฟ้องร้องค่าว่าความหรือค่าบริการทางวิชาชีพของทนายความมีระยะเวลา 2 ปี

อธิบาย:

การฟ้องร้องเรียกค่าว่าความของโจทก์ในคดีนี้ต้องดำเนินการภายใน 2 ปีนับจากวันที่เกิดสิทธิ หากเกินระยะเวลาดังกล่าว คดีจะขาดอายุความ

4. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสอง

เนื้อหา:

หนี้ที่กำหนดวันชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน ลูกหนี้จะเป็นผู้ผิดนัดทันทีที่ถึงกำหนดโดยไม่ต้องมีการทวงถาม

อธิบาย:

ตัวอย่างเช่น ค่าจ้างงวดที่ 1 ของโจทก์มีกำหนดชำระในวันที่ 11 กันยายน 2560 หากจำเลยไม่ชำระเงินในวันดังกล่าว ถือเป็นการผิดนัดโดยไม่ต้องมีการแจ้งเตือน

5. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

เนื้อหา:

กรณีผิดนัดชำระหนี้ ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราที่กฎหมายกำหนด

อธิบาย:

ในคดีนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยผิดนัดตามอัตราที่กำหนด

6. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328 วรรคสอง

เนื้อหา:

การชำระหนี้โดยลูกหนี้โดยไม่ได้ระบุชัดเจนว่าชำระหนี้งวดใด ต้องถือว่าชำระหนี้ที่ถึงกำหนดก่อน

อธิบาย:

ในคดีนี้ เงินที่จำเลยที่ 2 ชำระในแต่ละครั้งโดยไม่ได้ระบุว่าชำระหนี้งวดใด ศาลจึงพิจารณาว่าเป็นการชำระหนี้งวดแรกที่ถึงกำหนดก่อน

7. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587

เนื้อหา:

สัญญาจ้างทำของ ถือเอาผลสำเร็จของงานที่ตกลงกันเป็นสำคัญ

อธิบาย:

ในคดีนี้ สัญญาจ้างว่าความของโจทก์กำหนดให้แบ่งจ่ายค่าจ้างตามความสำเร็จของแต่ละขั้นตอนในคดี การชำระค่าจ้างจึงต้องพิจารณาตามผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจริง

8. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 (1)

เนื้อหา:

ข้อความจริงใดที่กล่าวถึงลูกหนี้ร่วมคนหนึ่ง ย่อมมีผลเฉพาะแต่กับลูกหนี้คนนั้น

อธิบาย:

ในคดีนี้ แม้จำเลยที่ 2 ชำระเงินบางส่วน ซึ่งมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลง แต่ผลดังกล่าวจะส่งผลเฉพาะจำเลยที่ 2 เท่านั้น ไม่ส่งผลต่อจำเลยที่ 1

การเชื่อมโยงกฎหมายกับคดี

การอธิบายหลักกฎหมายข้างต้นช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจว่าการพิจารณาคดีนี้พิจารณาตามกรอบกฎหมายอย่างไร ทั้งในเรื่องการชำระหนี้ การนับอายุความ การเรียกค่าจ้างตามผลการทำงาน และการคิดดอกเบี้ยผิดนัด

**อายุความสะดุดหยุดลง (Interruption of Limitation Period)

ความหมายของอายุความสะดุดหยุดลง

อายุความสะดุดหยุดลง หมายถึง การที่อายุความหยุดดำเนินไปชั่วคราวจากเหตุการณ์บางประการ ซึ่งทำให้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิได้รับการคุ้มครองจากการสูญเสียสิทธิในทางกฎหมายชั่วคราวตามบทบัญญัติของกฎหมาย เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลง อายุความจะเริ่มนับใหม่ตั้งแต่ต้นตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

หลักการทางกฎหมายเกี่ยวกับอายุความสะดุดหยุดลง

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทยกำหนดหลักเกี่ยวกับอายุความสะดุดหยุดลงไว้ในมาตรา 193/14 – 193/16 โดยกำหนดเงื่อนไขและเหตุการณ์ที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงไว้ ดังนี้:

1.การใช้สิทธิเรียกร้องทางกฎหมาย

oหากเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิยื่นฟ้องคดีต่อศาลเพื่อเรียกร้องสิทธิของตนเอง หรือดำเนินการตามกฎหมายใด ๆ ที่มีลักษณะเป็นการบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ อายุความจะสะดุดหยุดลงในวันที่ยื่นฟ้อง

2.การยอมรับหนี้ของลูกหนี้

oในกรณีที่ลูกหนี้แสดงออกถึงการยอมรับหนี้ เช่น การชำระหนี้บางส่วน การจ่ายดอกเบี้ย การมอบหลักประกัน หรือการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ อายุความจะสะดุดหยุดลงในวันที่ลูกหนี้ดำเนินการดังกล่าว

3.การตกลงประนีประนอม

oหากมีการตกลงระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับหนี้สิน เช่น การยอมลดหนี้บางส่วนหรือการปรับเงื่อนไขในการชำระหนี้ ถือว่าอายุความสะดุดหยุดลงเช่นเดียวกัน

ผลของอายุความสะดุดหยุดลง

เมื่อเกิดเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง จะส่งผลให้อายุความ:

•หยุดนับในวันที่เกิดเหตุที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

•เริ่มนับระยะเวลาใหม่เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลง

ตัวอย่างเช่น หากอายุความกำหนดไว้ 5 ปี และมีการฟ้องร้องในปีที่ 3 อายุความจะเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ฟ้องคดี

ตัวอย่างคดีที่เกี่ยวข้องกับอายุความสะดุดหยุดลง

1.กรณีที่เจ้าหนี้ยื่นฟ้องลูกหนี้ในปีที่ 2 หลังเกิดสิทธิเรียกร้อง อายุความจะหยุดนับในวันที่ฟ้องคดี และเมื่อคดีสิ้นสุดโดยยังไม่ได้ชำระหนี้ อายุความจะเริ่มนับใหม่ตั้งแต่ต้น

2.ลูกหนี้ได้ชำระดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ในปีที่ 4 หลังจากเกิดหนี้ อายุความจะสะดุดหยุดลงและเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ชำระดอกเบี้ย

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

•ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14

กำหนดว่าอายุความจะสะดุดหยุดลงเมื่อมีการฟ้องคดี การยอมรับหนี้ หรือการตกลงประนีประนอม

•ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 68

ระบุเงื่อนไขเกี่ยวกับการนับอายุความใหม่หลังจากคดีที่เกี่ยวข้องสิ้นสุดลง

บทสรุป

อายุความสะดุดหยุดลงเป็นกลไกที่กฎหมายออกแบบเพื่อป้องกันความเสียหายแก่เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิในกรณีที่มีเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่สามารถบังคับสิทธิได้ทันเวลา เจ้าหนี้ควรติดตามสถานะของคดีหรือการดำเนินการต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าสิทธิของตนได้รับการคุ้มครองอย่างเหมาะสม.




อายุความฟ้องร้องคดี

อายุความมูลละเมิด, ฟ้องทายาทผู้ทำละเมิดที่ตายแล้ว, มรดกและความรับผิดของทายาท, การขุดดินและความเสียหายทางสาธารณะ,
คดีเช่าซื้อรถตู้, ยักยอกรถตู้, ฟ้องร้องเกินกำหนด 3 เดือน, คดีขาดอายุความ,
สิทธิในการฟ้องคดีมรดก, อายุความมรดก, การครอบครองที่ดินโดยมิได้จดทะเบียนสมรส
เรื่องอายุความ 2 ปี มาตรา 193/34 (11), การนับอายุความในกรณีค่ารักษาพยาบาล
อายุความ 5 ปี หนี้ตามสัญญา, หนี้ที่ต้องชำระเป็นงวดๆ อายุความ, ฟ้องคดีขาดอายุความ หนี้เงินกู้
การชำระหนี้ซึ่งขาดอายุความแล้วจะเรียกคืนไม่ได้
หนังสือรับสภาพหนี้ทำให้อายุความมูลหนี้เดิมสะดุดหยุดลง
อายุความฟ้องเรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงชู้
สิทธิฟ้องเรียกเงินคืนผิดสัญญาจะซื้อขาย
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง
ฟ้องผิดตัวอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลง-อำนาจฟ้อง
อายุความรับผิดในฐานะตัวแทนไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ
อายุความตามสัญญาให้บริการทางการแพทย์อันเป็นเอกเทศสัญญา
อายุความคดีความผิดฐานฉ้อโกง ร้องทุกข์เกิน 3 เดือน
วันวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง
อายุความสะดุดหยุดลงย่อมเป็นคุณเฉพาะแก่ฝ่ายโจทก์
รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ผู้ค้ำประกันยกข้อต่อสู้เรื่องขาดอายุความ
ฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้อย่างเจ้าหนี้สามัญ
ไม่ได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ
ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในหนี้ที่ห้างได้ก่อให้เกิดขึ้น
กำหนดหนึ่งเดือนในการเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ไม่ใช่อายุความ