ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




อายุความตามสัญญาให้บริการทางการแพทย์อันเป็นเอกเทศสัญญา

อายุความตามสัญญาให้บริการทางการแพทย์อันเป็นเอกเทศสัญญา

การที่จำเลยที่ 1 โฆษณาผ่านทางโปรแกรมยูทูปและเว็บไซต์ของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าผู้เข้ารับการผ่าตัดดึงหน้าจะไร้รอยแผลเป็น ไม่เจ็บ หน้าจะเด็กลงนั้น มีลักษณะเป็นการเสนอให้บริการทางการแพทย์ ซึ่งเมื่อโจทก์หลงเชื่อการโฆษณาและตกลงเข้าร่วมโครงการที่โฆษณากับจำเลยที่ 1

สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีลักษณะเป็นสัญญาให้บริการทางการแพทย์ อันเป็นเอกเทศสัญญาซึ่งเป็นเรื่องที่มิได้มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี โจทก์อ้างว่า โจทก์รู้ว่าการทำศัลยกรรมของจำเลยที่ 4 ที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ไม่ดีตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2560 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 17 เมษายน 2562 ซึ่งยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผลฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ที่ได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ด้วยหรือไม่ ซึ่งในส่วนของจำเลยที่ 2 โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ใช้บัญชีทางการค้าและงานบริการของจำเลยที่ 1 โดยใช้บัญชีที่ชื่อว่า “โครงการ ฟ. โดยนายบทมากร ” มีผู้รับประโยชน์เป็นจำเลยที่ 1 และยังยอมรับว่าเป็นผู้ดูแลและสั่งให้พนักงานในโครงการของจำเลยที่ 1 อัดคลิปเผยแพร่ในเว็บไซต์ของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ยังเป็นผู้ฟ้องเรียกเงินค้างชำระจากผู้อื่นที่เข้าร่วมโครงการในฐานะคู่สัญญา จึงถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีส่วนได้เสียและเป็นหุ้นส่วนในกิจการของจำเลยที่ 1 นั้น เห็นว่า ตามสำเนาบันทึกรายงานการประชุมและบันทึกการชำระเงินของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้ความตามเอกสารดังกล่าวว่าจำเลยที่ 3 เคยถูกคณะอนุกรรมการพิจารณาเรื่องการโฆษณาสถานพยาบาล กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ มีมติว่าการกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งมีการกระทำในลักษณะที่เป็นการร่วมในการโฆษณา โครงการศัลยกรรมของจำเลยที่ 1เข้าข่ายเป็นการโฆษณาสถานพยาบาลเฉพาะทางศัลยกรรมของจำเลยที่ 3 ฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 มาตรา 38 และถูกคณะกรรมการเปรียบเทียบคดี เปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 20,000 บาท จำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันใน โครงการศัลยกรรมย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดำเนินการโครงการดังกล่าวร่วมกัน ส่วนจำเลยที่ 4 ได้ความว่า จำเลยที่ 4 เป็นผู้มีส่วนร่วมในการโฆษณา โครงการศัลยกรรมโดยเป็นผู้ให้ความเห็นในทางการแพทย์เกี่ยวกับการทำศัลยกรรมในโครงการดังกล่าวด้วย จึงถือว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการของจำเลยที่ 3 และได้รับผลประโยชน์ร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนผู้ดำเนินกิจการร่วมกันด้วย

ตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าโครงการศัลยกรรมของจำเลยที่ 1 ที่มีการโฆษณาว่า การทำศัลยกรรมกับโครงการของจำเลยที่ 1 ไม่มีรอยแผลเป็นนั้นเป็นการโฆษณาที่ไม่ตรงต่อความจริงทำให้โจทก์หลงเชื่อแล้วตัดสินใจเข้าร่วมโครงการของจำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาแก่โจทก์ และกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงิน 100,000 บาท โดยจำเลยที่ 1 ไม่ต้องคืนเงินค่าบริการศัลยกรรมทั้งหมดให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3037/2566

ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาต่อโจทก์ มิใช่เรื่องการทำละเมิด โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ จึงต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้เป็นที่ยุติว่า กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ประพฤติผิดสัญญาต่อโจทก์ ดังนั้น จึงไม่มีเหตุจำต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในมูลฐานความผิดฉ้อโกงประชาชนหรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 โฆษณาโครงการเฟซออฟโดยแสดงให้เห็นว่าผู้เข้ารับการผ่าตัดดึงหน้าในโครงการผ่าตัดศัลยกรรมของจำเลยที่ 1 จะไร้รอยแผลเป็น ไม่เจ็บ หน้าจะเด็กลงนั้น มีลักษณะเป็นการเสนอให้บริการทางการแพทย์ เมื่อโจทก์หลงเชื่อการโฆษณาและตกลงเข้าร่วมโครงการกับจำเลยที่ 1 สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาให้บริการทางการแพทย์อันเป็นเอกเทศสัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่มิได้มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อโจทก์รู้ว่าการทำศัลยกรรมของจำเลยที่ 4 ที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ไม่ดีโดยนำคดีมาฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความการที่จำเลยที่ 1 โฆษณาว่าเป็นการผ่าตัดไร้รอยแผล แม้จะเป็นการโฆษณาเกินความจริง แต่แผลเป็นหลังผ่าตัดที่ยังคงเหลืออยู่ที่ขมับ หลังใบหู และท้ายทอยของโจทก์เป็นแผลเป็นที่เกิดขึ้นตามปกติของการผ่าตัด ซึ่งโจทก์ยอมรับว่าผลการผ่าตัดทำให้ใบหน้าโจทก์เปลี่ยนแปลงดีขึ้นกว่าเดิม กรณียังไม่อาจรับฟังได้ว่าการกระทำที่ถูกฟ้องร้องในคดีนี้เกิดจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรมหรือจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้บริโภค หรือกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จึงไม่อาจสั่งให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 จ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคฯ มาตรา 42 วรรคหนึ่ง ได้

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 6,885,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และขอให้ศาลกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษต่อจำเลยทั้งสี่ขั้นสูงสุด

จำเลยทั้งสี่ให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 17 เมษายน 2562) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 12,000 บาท สำหรับค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ได้รับการยกเว้นนั้น ให้จำเลยที่ 1 นำมาชำระต่อศาลในนามของโจทก์ เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ชำระตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี คำขออื่นให้ยก ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ให้เป็นพับ

โจทก์และจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ โดยศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 17 เมษายน 2562) เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยให้ปรับเปลี่ยนลดลงหรือเพิ่มขึ้นได้ตามพระราชกฤษฎีกาซึ่งตราขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ที่แก้ไขใหม่บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์และจำเลยที่ 1 ฎีกา โดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้ฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เห็นว่า ในส่วนความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์นั้น ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่โฆษณาว่าการผ่าตัดไม่มีรอยแผลเป็นมีลักษณะเป็นข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง เป็นการโฆษณาที่ใช้ความไม่เป็นธรรม ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับการบริการ และตัดโอกาสโจทก์ผู้บริโภคที่จะใช้ข้อมูลดังกล่าวตัดสินใจที่จะเข้าทำสัญญากับจำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาต่อโจทก์ มิใช่เรื่องการทำละเมิด โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับอนุญาตให้ฎีกา ในปัญหาข้อนี้ จึงต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้เป็นที่ยุติว่า กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ประพฤติผิดสัญญาต่อโจทก์ ดังนั้น จึงไม่มีเหตุจำต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในมูลฐานความผิดฉ้อโกงประชาชน หรือไม่ ซึ่งการที่จำเลยที่ 1 โฆษณาโครงการ ฟ. ผ่านทางโปรแกรมยูทูปและเว็บไซต์ของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าผู้เข้ารับการผ่าตัดดึงหน้าในโครงการผ่าตัดศัลยกรรม ฟ. ของจำเลยที่ 1 จะไร้รอยแผลเป็น ไม่เจ็บ หน้าจะเด็กลงนั้น มีลักษณะเป็นการเสนอให้บริการทางการแพทย์ ซึ่งเมื่อโจทก์หลงเชื่อการโฆษณาและตกลงเข้าร่วมโครงการกับจำเลยที่ 1 ดังนี้ สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาให้บริการทางการแพทย์ อันเป็นเอกเทศสัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่มิได้มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์อ้างว่า โจทก์รู้ว่าการทำศัลยกรรมของจำเลยที่ 4 ที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ไม่ดีตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2560 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 17 เมษายน 2562 ซึ่งยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผลฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ที่ได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ด้วยหรือไม่ ซึ่งในส่วนของจำเลยที่ 2 โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ใช้บัญชีทางการค้าและงานบริการของจำเลยที่ 1 โดยใช้บัญชีที่ชื่อว่า “โครงการ ฟ. โดยนายบทมากร ” มีผู้รับประโยชน์เป็นจำเลยที่ 1 และยังยอมรับว่าเป็นผู้ดูแลและสั่งให้พนักงานในโครงการของจำเลยที่ 1 อัดคลิปเผยแพร่ในเว็บไซต์ของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ยังเป็นผู้ฟ้องเรียกเงินค้างชำระจากผู้อื่นที่เข้าร่วมโครงการในฐานะคู่สัญญา จึงถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีส่วนได้เสียและเป็นหุ้นส่วนในกิจการของจำเลยที่ 1 นั้น เห็นว่า แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝากที่ใช้สำหรับรับเงินจากผู้เข้าร่วมโครงการ และรับว่าเป็นผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ ฟ. รวมทั้งจำเลยที่ 2 เคยฟ้องเรียกเงินจากผู้เข้าร่วมโครงการในนามของจำเลยที่ 2 เองก็ตาม แต่ในข้อนี้จำเลยที่ 2 นำสืบว่า กรณีดังกล่าวเป็นการกระทำตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้รับค่าจ้างจากจำเลยที่ 1 อันเป็นไปในลักษณะที่จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ส่วนการเปิดบัญชีดังกล่าวสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ให้ทำหน้าที่รับผิดชอบในการโอนเงินจำนวนนั้นไปชำระแก่โรงพยาบาล โดยทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้รับส่วนแบ่งหรือผลประโยชน์จากโครงการจากจำเลยที่ 1 นอกเหนือไปจากเงินค่าจ้างแต่ประการใด ลำพังข้อเท็จจริงที่ได้ความดังกล่าวจึงยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ร่วมกิจการหรือเป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 ดังที่โจทก์กล่าวอ้าง จำเลยที่ 2 จึงไม่จำต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ สำหรับจำเลยที่ 3 และที่ 4 นั้น ข้อเท็จจริงได้ความจากคำเบิกความของโจทก์ว่า ในการติดต่อเข้าร่วมโครงการกับจำเลยที่ 1 นั้น โจทก์ได้เจรจาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการทำศัลยกรรมผ่าตัดกับตัวแทนจำเลยที่ 1 ทางข้อความออนไลน์โดยมิได้ติดต่อกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยตรง ซึ่งตามข้อความดังกล่าวยังระบุว่า หากโจทก์เข้าร่วมโครงการของจำเลยที่ 1 แล้ว จะชำระค่าผ่าตัดเพียง 200,000 บาท เท่านั้น ซึ่งต่อมาวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560 โจทก์เดินทางมาจากประเทศเยอรมนีไปที่โครงการของจำเลยที่ 1 และได้พบกับจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 แจ้งว่า จะต้องมีการทำศัลยกรรมเพิ่มเติมอีกหลายอย่างและโจทก์จะต้องชำระเงินเพิ่มเติมอีกเป็นเงิน 245,000 บาท นอกจากนี้โจทก์ยังตกลงที่จะให้ทำศัลยกรรมใบหน้าแก่เพื่อนของโจทก์อีก 2 คน เป็นเงินรวม 90,000 บาท จำเลยที่ 1 ได้รับเงินไว้และออกใบเสร็จรับเงินให้แก่โจทก์ หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ได้นำโจทก์กับเพื่อนขึ้นรถตู้ไปที่โรงพยาบาลของจำเลยที่ 3 โดยมีจำเลยที่ 4 เป็นผู้ตรวจใบหน้าของโจทก์อีกครั้ง เมื่อปรากฏว่าไม่มีการดึงเหนียงและดึงคอ และโจทก์แจ้งไปยังจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็เป็นผู้กำหนดราคาในการทำศัลยกรรมดังกล่าวและลดราคาค่าใช้จ่ายจาก 100,000 บาท เป็น 90,000 บาท โดยนำเงินที่จะทำศัลยกรรมให้แก่เพื่อนของโจทก์มาจ่ายแทน และจำเลยที่ 1 ยังนำคีย์การ์ดของโรงพยาบาลของจำเลยที่ 3 เพื่อผ่านเข้าห้องพักมาให้แก่โจทก์เพื่อพักรอการผ่าตัดอีกด้วย ซึ่งเจือสมกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามข้อความการสนทนาที่แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 มีอำนาจตัดสินใจรับผู้เข้าร่วมโครงการที่ผ่านการตรวจร่างกายเข้ารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลเฉพาะทางศัลยกรรมตกแต่งกมลแทนจำเลยที่ 3 และมีอำนาจในการตกลงราคาค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดทำศัลยกรรมแทนจำเลยที่ 3 รวมทั้งนัดหมายวันเวลาที่จะเข้ารับการผ่าตัดทำศัลยกรรมที่โรงพยาบาลของจำเลยที่ 3 ได้ หากไม่มีข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 มาก่อน จำเลยที่ 1 ก็ไม่น่าจะมีอำนาจตัดสินใจเกี่ยวกับการตกลงราคา ค่าใช้จ่าย รวมทั้งจัดการให้โจทก์เข้ารับการผ่าตัดศัลยกรรมในวันเวลาที่ตกลงกับโจทก์ได้ นอกจากนี้ ที่จำเลยที่ 1 พูดว่า เพราะเรามีโรงพยาบาล 2 แห่ง ในโลกเท่านั้น ซึ่งจำเลยที่ 1 เบิกความตอบคำถามค้านโจทก์รับว่า หนึ่งในโรงพยาบาลดังกล่าวหมายถึงโรงพยาบาลของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 1 กับนายอิศรา กรรมการของจำเลยที่ 3 ยังเบิกความตอบคำถามค้านทนายโจทก์ รับว่าเป็นภาพที่มีการถ่ายที่โรงพยาบาลของจำเลยที่ 3 อันเป็นข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 ทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ โครงการ ฟ. โดยใช้สถานที่โรงพยาบาลของจำเลยที่ 3 ในการโฆษณามาโดยตลอด ส่วนที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 3 เคยยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีละเมิดที่ถ่ายภาพสถานที่ต่าง ๆ โรงพยาบาลเฉพาะทางศัลยกรรมตกแต่งกมลของจำเลยที่ 3 นำไปทำเป็นวิดีโอคลิปเผยแพร่ทางเว็บไซต์โดยไม่ได้รับอนุญาตแล้วมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า จำเลยที่ 3 ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับเว็บไซต์ของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ตกลงที่จะหยุดการกระทำซึ่งละเมิดต่อจำเลยที่ 3 โดยวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการของจำเลยที่ 1 นั้น แต่เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามสำเนาบันทึกรายงานการประชุมและบันทึกการชำระเงินของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพที่โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรียกมารวมไว้ในสำนวน ซึ่งได้ความตามเอกสารดังกล่าวว่า ก่อนคดีดังกล่าว จำเลยที่ 3 เคยถูกคณะอนุกรรมการพิจารณาเรื่องการโฆษณาสถานพยาบาล กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ มีมติว่าการกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งมีการกระทำในลักษณะที่เป็นการร่วมในการโฆษณา โครงการ ฟ. ของจำเลยที่ 1 นั้น เข้าข่ายเป็นการโฆษณาสถานพยาบาลเฉพาะทางศัลยกรรมตกแต่งกมลของจำเลยที่ 3 ฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 มาตรา 38 ประกอบประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2546) เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการโฆษณาสถานพยาบาล และถูกคณะกรรมการเปรียบเทียบคดี เปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 20,000 บาท จึงเชื่อว่าการที่จำเลยที่ 3 ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ในคดีดังกล่าวเป็นเพียงการหลีกเลี่ยงการถูกดำเนินคดีในเรื่องเกี่ยวกับการโฆษณาโรงพยาบาลของจำเลยที่ 3 และเป็นการหาช่องทางไว้ต่อสู้คดีหากถูกผู้เข้ารับการผ่าตัดฟ้องร้องให้ร่วมรับผิดในการโฆษณาของจำเลยที่ 1 มากกว่าประสงค์จะบังคับคดีตามคำพิพากษากับจำเลยที่ 1 อย่างจริงจัง ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงมิใช่พยานหลักฐานที่จะชี้ให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีผลประโยชน์จากการโฆษณาร่วมกับจำเลยที่ 1 ดังที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันใน โครงการ ฟ. ดังที่ได้วินิจฉัยมาข้างต้น ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดำเนินการโครงการดังกล่าวร่วมกัน ส่วนจำเลยที่ 4 นั้น นอกจากเป็นสามีนางศิริเพ็ญ กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับอนุญาตแล้ว จำเลยที่ 4 ยังเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลโรงพยาบาลเฉพาะทางศัลยกรรมตกแต่งกมลของจำเลยที่ 3 อีกทั้งยังปรากฏตามรายงานการประชุม คณะกรรมการเปรียบเทียบคดี ครั้งที่ 7/2559 วันที่ 15 มีนาคม 2559 ตามเอกสารที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกมาประกอบสำนวนคดีนี้สรุปได้ความว่า จำเลยที่ 4 เป็นผู้มีส่วนร่วมในการโฆษณา โครงการ ฟ. โดยเป็นผู้ให้ความเห็นในทางการแพทย์เกี่ยวกับการทำศัลยกรรมในโครงการดังกล่าวด้วย จึงถือว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการของจำเลยที่ 3 และได้รับผลประโยชน์ร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนผู้ดำเนินกิจการร่วมกันด้วย

ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้กำหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษ นั้น เห็นว่า การที่จำเลยที่ 1 โฆษณาว่าเป็นการผ่าตัดไร้รอยแผล แม้จะเป็นการโฆษณาเกินความจริง แต่แผลเป็นหลังผ่าตัดที่ยังคงเหลืออยู่ที่ขมับ หลังใบหู และท้ายทอยของโจทก์เป็นแผลเป็นที่เกิดขึ้นตามปกติของการผ่าตัดซึ่งโจทก์ยอมรับว่าผลการผ่าตัดทำให้ใบหน้าโจทก์เปลี่ยนแปลงดีขึ้นกว่าเดิม กรณียังไม่อาจรับฟังได้ว่าการกระทำที่ถูกฟ้องร้องในคดีนี้เกิดจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม หรือจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้บริโภค หรือกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จึงไม่อาจสั่งให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 จ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 42 วรรคหนึ่ง ได้ ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน

ส่วนปัญหาตามฎีกาของโจทก์ที่ว่า โจทก์สมควรได้รับค่าเสียหายเพียงใด นั้น ในข้อนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า โครงการของจำเลยที่ 1 ที่มีการโฆษณาว่า การทำศัลยกรรมกับโครงการของจำเลยที่ 1 ไม่มีรอยแผลเป็นนั้นเป็นการโฆษณาที่ไม่ตรงต่อความจริงทำให้โจทก์หลงเชื่อแล้วตัดสินใจเข้าร่วมโครงการของจำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาแก่โจทก์ และกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงิน 100,000 บาท แต่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ทำสัญญากับจำเลยที่ 1 เนื่องจากถูกจำเลยที่ 1 หลอกลวงด้วยข้อความอันเป็นเท็จจึงเป็นการเข้าใจผิดในสาระสำคัญย่อมตกเป็นโมฆะ มิใช่เรื่องของสัญญาหรือการผิดสัญญา จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินทั้งหมดให้แก่โจทก์นั้น มีลักษณะเป็นฎีกาที่ขัดแย้งกันเอง และยังเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และ 252 ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยบางส่วน

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระเงิน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 17 เมษายน 2562) เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยให้ปรับเปลี่ยนลดลงหรือเพิ่มขึ้นได้ตามพระราชกฤษฎีกาซึ่งตราขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ที่แก้ไขใหม่ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 




อายุความฟ้องร้องคดี

อายุความมูลละเมิด, ฟ้องทายาทผู้ทำละเมิดที่ตายแล้ว, มรดกและความรับผิดของทายาท, การขุดดินและความเสียหายทางสาธารณะ,
คดีเช่าซื้อรถตู้, ยักยอกรถตู้, ฟ้องร้องเกินกำหนด 3 เดือน, คดีขาดอายุความ,
สิทธิในการฟ้องคดีมรดก, อายุความมรดก, การครอบครองที่ดินโดยมิได้จดทะเบียนสมรส
เรื่องอายุความ 2 ปี มาตรา 193/34 (11), การนับอายุความในกรณีค่ารักษาพยาบาล
อายุความค่าจ้างว่าความ, อายุความสะดุดลง, ดอกเบี้ยผิดนัด, สัญญาจ้างทำของ,
อายุความ 5 ปี หนี้ตามสัญญา, หนี้ที่ต้องชำระเป็นงวดๆ อายุความ, ฟ้องคดีขาดอายุความ หนี้เงินกู้
การชำระหนี้ซึ่งขาดอายุความแล้วจะเรียกคืนไม่ได้
หนังสือรับสภาพหนี้ทำให้อายุความมูลหนี้เดิมสะดุดหยุดลง
อายุความฟ้องเรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงชู้
สิทธิฟ้องเรียกเงินคืนผิดสัญญาจะซื้อขาย
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง
ฟ้องผิดตัวอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลง-อำนาจฟ้อง
อายุความรับผิดในฐานะตัวแทนไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ
อายุความคดีความผิดฐานฉ้อโกง ร้องทุกข์เกิน 3 เดือน
วันวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง
อายุความสะดุดหยุดลงย่อมเป็นคุณเฉพาะแก่ฝ่ายโจทก์
รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ผู้ค้ำประกันยกข้อต่อสู้เรื่องขาดอายุความ
ฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้อย่างเจ้าหนี้สามัญ
ไม่ได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ
ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในหนี้ที่ห้างได้ก่อให้เกิดขึ้น
กำหนดหนึ่งเดือนในการเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ไม่ใช่อายุความ