ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




กำหนดหนึ่งเดือนในการเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ไม่ใช่อายุความ

กำหนดหนึ่งเดือนในการขอเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ไม่ใช่อายุความ

การร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195

" การประชุมใหญ่นั้นถ้าได้นัดเรียกหรือได้ประชุมกัน หรือได้ลงมติฝ่าฝืนบทบัญญัติในลักษณะนี้ก็ดี หรือฝ่าฝืนข้อบังคับของ บริษัทก็ดีเมื่อกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดร้องขึ้นแล้วให้ศาลเพิก ถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นเสีย แต่ต้องร้องขอภายใน กำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมตินั้น "

กำหนดนี้ไม่ใช่อายุความ เมื่อปรากฏชัดตามคำร้อง ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง เพราะเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2501

กรณีเรื่องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ของบริษัทจำกัดอันผิดระเบียบ และขอให้ศาลสั่งถอนผู้ชำระบัญชีออกจากตำแหน่งนั้น กรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งและผู้ถือหุ้นนับได้ถึงหนึ่งในยี่สิบแห่งหุ้นของบริษัทย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลได้ตามนัยแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ตอนท้ายโดยไม่ต้องดำเนินคดีมีข้อพิพาท

คดีร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ชำระบัญชีออกจากตำแหน่งเมื่อผู้ร้องไม่นำสืบให้เห็นว่าผู้ชำระบัญชีเป็นบุคคลที่ไม่สมควรหรือบกพร่องต่อหน้าที่ ก็ไม่มีข้อเท็จจริงอันจะเป็นทางประกอบการพิจารณาของศาลที่จะชี้ขาดถึงความผิดพลาดบกพร่องของผู้ชำระบัญชีเพื่อสั่งถอดถอนออกจากตำแหน่งได้

การร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ของบริษัทอันผิดระเบียบจะต้องร้องขอต่อศาลภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 ซึ่งเป็นบทบังคับพิเศษ

ปัญหาเรื่องกำหนดเวลาร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ฯ อันผิดระเบียบเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246,247

คดีนี้ผู้ร้องทั้ง 2 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทปัทมวัฒน์ จำกัด ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้คัดค้านออกจากตำแหน่งผู้ชำระบัญชีของบริษัทปัทมวัฒน์ฯ ตั้งกองหมายเป็นผู้ชำระบัญชีแทนโดยอ้างว่ามติของที่ประชุมใหญ่ของบริษัทครั้งที่ 2 ซึ่งลงมติให้มีผู้ชำระบัญชีคนเดียวและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้ชำระบัญชีตามญัตติที่นายเฉลิม ปัทมพงศ์ (ประธานกรรมการบริษัท) เสนอนั้น ไม่มีผลบังคับได้ตาม ก.ม. ผู้ร้องไม่ได้รับความเป็นธรรมฯ มติเรื่องตั้งผู้ชำระบัญชีเสร็จสิ้นไปในคราวประชุมใหญ่ครั้งที่ 1 ให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชีสองคนคือผู้คัดค้านกับนายณัติ เศรษฐบุตรตามข้อบังคับของบริษัทข้อ 1 และ มาตรา 1168(4) แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แล้วการประชุมใหญ่ครั้งที่ 2 เพียงเพื่อลงมติพิเศษในเรื่องเลิกบริษัทเท่านั้นไม่มีอำนาจที่จะประชุมญัตติในเรื่องผู้ชำระบัญชีใหม่อีก

ผู้คัดค้านคัดค้านว่า กรณีเป็นคดีมีข้อพิพาทซึ่งจะต้องฟ้องนายเฉลิมและผู้ถือหุ้นคนอื่น ๆ เป็นจำเลย และที่อ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในการชำระบัญชีก็ต้องฟ้องผู้คัดค้าน จะดำเนินอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทไม่ได้ มติของที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2 ถูกต้องชอบด้วย ก.ม. และตามคำร้องก็มิได้แสดงเหตุว่าผู้ชำระบัญชีกระทำผิดหน้าที่หรือละเลยการชำระบัญชีประการใด ขอให้ยกคำร้อง

ศาลชั้นต้นเห็นว่า ผู้ร้องมีสิทธิที่จะร้องขอได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1257 ไม่จำเป็นต้องฟ้องและมติในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2 ย่อมเพิกถอนมติเดิมได้เสมอ ไม่มีบท ก.ม.ห้ามผู้ร้องไม่ได้นำสืบให้เห็นว่านายเฉลิมใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอย่างใด และนายฟุ้งไม่สมควรจะเป็นผู้ชำระบัญชีประการใดไม่สมควรเพิกถอนนายฟุ้งออกจากผู้ชำระบัญชีให้ยกคำ

ผู้ร้องอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับศาลชั้นต้นว่าการแต่งตั้งนายฟุ้งเป็นผู้ชำระบัญชีคนเดียวเป็นโมฆะ เพราะเหตุใดสำคัญว่าที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2 ดำเนินการประชุมนอกระเบียบวาระซึ่งผู้ร้องได้คัดค้านไม่เห็นด้วยได้แล้วที่ประชุมยังดำเนินการประชุมเพื่อแต่งตั้งนายฟุ้งเป็นผู้ชำระบัญชีคนเดียว เป็นการไม่ถูกต้องตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175 จึงตกเป็นโมฆะ และผู้ชำระบัญชีก็คงมีอยู่ตามเดิมแล้ว ไม่มีเหตุจะต้องแต่งตั้งใหม่ ให้ยกคำร้องที่ขอให้ตั้งกองหมายเป็นผู้ชำระบัญชีเสีย

ผู้คัดค้านฎีกา

ศาลฎีกาเห็นว่า ปัญหาที่ผู้คัดค้านโต้เถียงว่าคดีเป็นคดีมีข้อพิพาท นั้น

กรณีเรื่องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดย่อมมีสิทธิที่จะร้องต่อศาลได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 และกรณีเรื่องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ชำระบัญชีและตั้งผู้อื่นแทนที่ผู้ถือหุ้นนับได้ถึงหนึ่งในยี่สิบแห่งทุนของบริษัทก็ย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1257 ซึ่งเป็นสิทธิตามบทบัญญัติแห่ง ก.ม. แพ่งสองมาตราดังกล่าวนั้นได้กำหนดให้ไว้ตรงตามข้อความตอนท้ายของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 อัน เกี่ยวกับเรื่องบุคคลที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลอยู่แล้วข้อโต้แย้งของผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น

แต่ผู้ร้องมิได้กล่าวอ้างว่านายฟุ้งเป็นบุคคลที่ไม่สมควรหรือบกพร่องต่อหน้าที่ผู้ชำระบัญชีประการใด คดีไม่มีข้อเท็จจริงที่ศาลจะชี้ขาดความผิดพลาดบกพร่องของนายฟุ้งเพื่อสั่งถอดถอนจากตำแหน่งผู้ชำระบัญชีให้ได้ คำขอของผู้ร้องจึงเป็นอันตกไป

ตามคำร้องของผู้ร้องมุ่งประสงค์ว่า การลงมติของที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2 เรื่องตั้งนายฟุ้งเป็นผู้ชำระบัญชีแต่เพียงคนเดียวเป็นการลงมติที่ผิดระเบียบ ไม่มีผลตามก.ม. กรณีเป็นเรื่องที่จะต้องบังคับตามความใน มาตรา 1195 ซึ่งต้องพิจารณาว่าผู้ร้องได้ปฏิบัติการถูกต้องครบถ้วนตามบท มาตรา 1195 แล้วหรือประการใด

มาตรา 1195 บัญญัติว่า "การประชุมใหญ่นั้น ถ้าได้นัดเรียกหรือได้ประชุมกัน หรือได้ลงมติฝ่าฝืนบทบัญญัติในลักษณะนี้ก็ดี หรือฝ่าฝืนข้อบังคับของบริษัทก็ดี เมื่อกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดร้องขึ้นแล้ว ให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นเสียแต่ต้องร้องขอภายในกำหนดเดือนหนึ่ง นับแต่วันลงมตินั้น"

ตัวบทแสดงความมุ่งหมายให้เห็นได้โดยถนัดว่า มติของที่ประชุมใหญ่นั้นแม้จะเป็นไปโดยผิดระเบียบหรือไม่ก็ตามผู้ดำเนินงานก็ต้องปฏิบัติการไปตามมติเช่นในกรณีเรื่องนี้ผู้ชำระบัญชีต้องปฏิบัติการตาม มาตรา 1253-1254 ภายในกำหนดเวลา14 วัน เป็นอาทิ ซึ่งผู้ร้องก็ยอมรับว่าผู้ชำระบัญชีได้ดำเนินการไปแล้วตามนั้น ก.ม.ไม่ประสงค์ที่จะให้การปฏิบัติงานตามมติของที่ประชุมใหญ่จำต้องหยุดชะงักชักช้าโดยใช่เหตุจึงได้ตราบทบังคับไว้ในข้อความตอนท้ายว่า เมื่อผู้ใดจะร้องขอต่อศาลเพื่อให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบ จะต้องร้องขอเสียภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมตินั้น มิฉะนั้นแล้วก็ถือว่าเป็นที่พอใจของทุกฝ่ายแล้ว จะมาร้องขอให้เพิกถอนในภายหลังเมื่อเกินกำหนดเวลาดังกล่าวนั้นอีกต่อไปไม่ได้ ซึ่งเป็นบทบังคับพิเศษตาม ก.ม. เฉพาะกรณีที่เกี่ยวข้องกับวิธีปฏิบัติการตามก.ม. มาตรานี้ และมิได้เกี่ยวข้องถึงเรื่องอายุความตามสิทธิเรียกร้องที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 163

ปรากฏตามคำร้องว่ามติของที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2 ซึ่งผู้ร้องอ้างว่าเป็นมติอันผิดระเบียบนั้น ได้ลงมติตั้งแต่วันที่ 26 ต.ค.2498 ผู้ร้องเพิ่งนำคดีมาร้องศาลเมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2498 เกินกว่ากำหนดเวลาตามที่ มาตรา 1195 บังคับไว้ ผู้ร้องจึงหมดสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลได้เสียแล้ว อนึ่ง ข้อนี้เป็นปัญหาข้อ ก.ม.เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5), 246, 247

พิพากษากลับศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้องของผู้ร้อง




อายุความฟ้องร้องคดี

อายุความมูลละเมิด, ฟ้องทายาทผู้ทำละเมิดที่ตายแล้ว, มรดกและความรับผิดของทายาท, การขุดดินและความเสียหายทางสาธารณะ,
คดีเช่าซื้อรถตู้, ยักยอกรถตู้, ฟ้องร้องเกินกำหนด 3 เดือน, คดีขาดอายุความ,
สิทธิในการฟ้องคดีมรดก, อายุความมรดก, การครอบครองที่ดินโดยมิได้จดทะเบียนสมรส
เรื่องอายุความ 2 ปี มาตรา 193/34 (11), การนับอายุความในกรณีค่ารักษาพยาบาล
อายุความค่าจ้างว่าความ, อายุความสะดุดลง, ดอกเบี้ยผิดนัด, สัญญาจ้างทำของ,
อายุความ 5 ปี หนี้ตามสัญญา, หนี้ที่ต้องชำระเป็นงวดๆ อายุความ, ฟ้องคดีขาดอายุความ หนี้เงินกู้
การชำระหนี้ซึ่งขาดอายุความแล้วจะเรียกคืนไม่ได้
หนังสือรับสภาพหนี้ทำให้อายุความมูลหนี้เดิมสะดุดหยุดลง
อายุความฟ้องเรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงชู้
สิทธิฟ้องเรียกเงินคืนผิดสัญญาจะซื้อขาย
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง
ฟ้องผิดตัวอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลง-อำนาจฟ้อง
อายุความรับผิดในฐานะตัวแทนไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ
อายุความตามสัญญาให้บริการทางการแพทย์อันเป็นเอกเทศสัญญา
อายุความคดีความผิดฐานฉ้อโกง ร้องทุกข์เกิน 3 เดือน
วันวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง
อายุความสะดุดหยุดลงย่อมเป็นคุณเฉพาะแก่ฝ่ายโจทก์
รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ผู้ค้ำประกันยกข้อต่อสู้เรื่องขาดอายุความ
ฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้อย่างเจ้าหนี้สามัญ
ไม่ได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ
ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในหนี้ที่ห้างได้ก่อให้เกิดขึ้น