ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ทนายความมีอำนาจดำเนินคดีแม้เลิกบริษัทแล้ว

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

ทนายความมีอำนาจดำเนินคดีแม้เลิกบริษัทแล้ว

ขณะที่ถูกฟ้องบริษัทยังไม่ได้เลิกกันและได้แต่งตั้งทนายความต่อสู้คดี แม้ต่อมาได้เลิกบริษัทในระหว่างอุทธรณ์ ก็ไม่ทำให้โจทก์มีเหตุที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเพราะทนายความยังมีอำนาจดำเนินคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6497/2551

ขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและได้แต่งตั้งทนายความต่อสู้คดี และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ คดีอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้เลิกบริษัทแล้ว และจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี มาตรา 1249 บัญญัติว่า “ห้างหุ้นส่วนก็ดี บริษัทก็ดี แม้จะได้เลิกกันแล้ว ก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาจำเป็นเพื่อการชำระบัญชี” และมาตรา 1272 บัญญัติว่า “ในคดีฟ้องเรียกหนี้สินซึ่งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น หรือผู้ชำระบัญชีเป็นลูกหนี้อยู่ในฐานเช่นนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี” เห็นได้ว่า แม้การชำระบัญชีสิ้นสุดไปแล้ว กฎหมายยังให้เจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินที่บริษัทหรือผู้ถือหุ้นเป็นหนี้อยู่ได้ และคดีนี้โจทก์ฟ้องก่อนที่จำเลยที่ 1 จะเลิกบริษัท คู่กรณียังคงว่ากล่าวคดีกันต่อไปได้

ขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามในคดีนี้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและจำเลยที่ 1 ได้แต่งตั้ง บ. เป็นทนายความต่อสู้คดี และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 คดีอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้เลิกบริษัทแล้ว และจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2537 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1249 บัญญัติว่า “ห้างหุ้นส่วนก็ดี บริษัทก็ดี แม้จะได้เลิกกันแล้ว ก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาจำเป็นเพื่อการชำระบัญชี” และมาตรา 1272 บัญญัติว่า “ในคดีฟ้องเรียกหนี้สินซึ่งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น หรือผู้ชำระบัญชีเป็นลูกหนี้อยู่ในฐานเช่นนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี” จากบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่า แม้การชำระบัญชีสิ้นสุดไปแล้ว กฎหมายยังให้เจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินที่บริษัทหรือผู้ถือหุ้นเป็นหนี้อยู่ได้ และคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 กับพวกชำระหนี้ให้โจทก์ และเป็นการที่โจทก์ฟ้องก่อนที่จำเลยที่ 1 จะเลิกบริษัท ตามบทบัญญัติดังกล่าวคู่กรณียังคงว่ากล่าวคดีกันต่อไปได้ และทนายความของจำเลยที่ 1 ยังคงมีอำนาจดำเนินคดีต่อไปตามที่ได้รับแต่งตั้งไว้ได้ จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นนับแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2537

คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงิน 26,989,589.86 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 18,756,657 บาท และ 305,510.95 บาท นับแต่วันที่ 28 มีนาคม 2530 และนับแต่วันฟ้องตามลำดับจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยทั้งสามให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ให้ยกฟ้องโจทก์ ต่อมาโจทก์ยื่นคำฟ้องอุทธรณ์พร้อมคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วไม่อนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ โดยศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์นำเงินค่าขึ้นศาล 200,000 บาท มาชำระภายใน 15 วัน ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งไม่อนุญาต และให้นำเงินค่าขึ้นศาลมาชำระภายใน 15 วัน โจทก์ขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาล ศาลชั้นต้นอนุญาตให้วางเงินค่าขึ้นศาลภายในวันที่ 6 ธันวาคม 2544 จนกระทั่งวันที่ 4 ธันวาคม 2544 โจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์เพิ่งทราบว่าจำเลยที่ 1 ได้เลิกบริษัทแล้ว และจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2537 จำเลยที่ 1 จึงสิ้นสภาพบุคคลตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2537 ทนายความของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2537 แล้ว ดังนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2537 เป็นต้นไปจึงไม่ชอบ ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2537 เป็นต้นไป และดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ในขณะยื่นคำฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย คู่ความทั้งสองฝ่ายต่างก็ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตลอดมาโดยไม่ได้หยิบยกข้อเท็จจริงเรื่องจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทและชำระบัญชีเสร็จสิ้นเข้าสู่ศาล ศาลจึงไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยที่ 1 ยังคงมีสภาพเป็นนิติบุคคลหรือไม่ จนกระทั่งศาลได้มีคำพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว คำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความ ทั้งโจทก์เพิ่งยกขึ้นอ้างเมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี และศาลไม่อนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ พฤติการณ์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และแม้ว่าจำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนเลิกบริษัทและชำระบัญชีเสร็จสิ้นแล้ว แต่ทนายความของจำเลยที่ 1 ก็ยังมีหน้าที่ต้องจัดการอันสมควรทุกอย่างเพื่อรักษาประโยชน์ของจำเลยที่ 1 กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ดำเนินมาแล้ว ให้ยกคำร้อง ค่าคำร้องเป็นพับ

  โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามในคดีนี้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและจำเลยที่ 1 ได้แต่งตั้งนายบุญชูเป็นทนายความต่อสู้คดี และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 คดีอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้เลิกบริษัทแล้ว และจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2537

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ทนายความของจำเลยที่ 1 มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2537 หรือไม่ และมีเหตุต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นนับแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2537 หรือไม่ ในปัญหาดังกล่าวประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 บัญญัติว่า “ห้างหุ้นส่วนก็ดี บริษัทก็ดี แม้ได้เลิกกันแล้ว ก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็น เพื่อการชำระบัญชี” และมาตรา 1272 บัญญัติว่า “ในคดีฟ้องเรียกหนี้สินซึ่งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นหรือผู้ชำระบัญชีเป็นลูกหนี้อยู่ในฐานเช่นนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี” จากบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่า แม้การชำระบัญชีสิ้นสุดไปแล้ว กฎหมายยังให้เจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินที่บริษัทหรือผู้ถือหุ้นเป็นหนี้อยู่ได้ และคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 กับพวกชำระหนี้ให้โจทก์ และเป็นการที่โจทก์ฟ้องก่อนที่จำเลยที่ 1 จะเลิกบริษัท ตามบทบัญญัติดังกล่าวคู่กรณียังคงว่ากล่าวคดีกันต่อมาได้ และทนายความของจำเลยที่ 1 ยังคงมีอำนาจดำเนินคดีต่อไปตามที่เห็นสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ตามที่ได้รับแต่งตั้งไว้ได้ ดังนั้นจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นนับแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2537 ตามคำร้องของโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น?

พิพากษายืน ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นฎีกาแทนจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นเงิน 1,500 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่แก้ฎีกาจึงไม่กำหนดค่าทนายความชั้นฎีกาให้




เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วน บริษัท

ผู้จัดการมรดกและการจัดการหุ้นมรดก, การเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น, การเปลี่ยนแปลงสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น, สิทธิของผู้จัดการมรดกในการประชุมผู้ถือหุ้น
หลักเกณฑ์การนัดประชุมสมาคม, กฎข้อบังคับสมาคมและการเพิกถอนมติ,
ผู้ถือหุ้นฟ้องร้องกรรมการบริษัท
กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลไม่ผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัว
กิจการของสามีภริยาซึ่งได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด
หนี้เงินค่าหุ้นที่ยังไม่ได้ส่งใช้ของผู้ถือหุ้นที่ถึงแก่ความตายแล้ว
อำนาจกระทำการของผู้แทนนิติบุคคล
เป็นการกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลจึงไม่ผูกพันบริษัท